บอร์ดพัฒนา T2-U รองรับ WiFi และ Bluetooth, รองรับ Tuya Smart Home framework

Tuya T2-U development board

T2-U เป็นบอร์ดพัฒนาที่รองรับ Tuya Smart Home framework ที่มาพร้อมกับโมดูล WiFi และ Bluetooth และโปรเซสเซอร์ RISC ความเร็ว 120 MHz รวมถึงปุ่มต่างๆ, ไฟ LED แสดงสถานะ, GPIO, พลังงาน, และชิป USB-to-serial ในปี 2019 เราได้พูดถึง Tuya ว่าเป็นโซลูชัน Smart Home แบบครบวงจร ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถออกแบบและผลิตอุปกรณ์อัตโนมัติภายในบ้านได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงตัวเคสของอุปกรณ์ เช่น บริษัทมีแผงควบคุมอัจฉริยะ หน้าจอสัมผัสบนระบบ Android ขนาด 4 นิ้วและ และ Zigbee gateway รวมถึง Tuya Link SDK  ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์ Smart Home ได้ แต่ฉันยังไม่เคยเห็นบอร์ดพัฒนาที่รองรับ Tuya มาก่อน สเปคของบอร์ดพัฒนา T2-U: โมดูลไร้สาย – T2-U SoC – MCU RISC 32 บิตที่ไม่ระบุชื่อ ความเร็ว […]

Embedded mini PC ที่ใช้ Rockchip RK3588 มีมาตรฐาน IP68 นำไปใช้งานใต้น้ำได้

Mekotronics R58X-IP68

Mekotronics R58X-IP68 เป็น Embedded mini PC ที่ใช้ชิป Rockchip RK3588 พร้อมมาตรฐานระดับ IP68 ทำให้กันน้ำได้และยังสามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้อีกด้วย เราก่อนหน้านี้เคยพูดถึงแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่มีการรับรองมาตรฐาน IP68 หรือ IP67 เช่น IoT gateways, กล้องถ่ายภาพความร้อน, telemetry modules, โมดูลการวัดระยะไกลและอื่นๆ แพลตฟอร์มเหล่านี้มักใช้คอนเนกเตอร์แบบ M12 หรือ M8 เพื่อความกันน้ำ แต่ Mekotronics R58X-IP68 จะใช้คอนเนกเตอร์แบบปกติที่ถูกบรรจุในซ็อกเก็ตและสายเคเบิลที่กันน้ำ สเปคของ Mekotronics R58X-IP68: SoC – Rockchip RK3588 CPU – โปรเซสเซอร์ Octa-core ที่มี 4x Cortex-A76 cores @ 2.4 GHz, 4x Cortex-A55 cores @ 1.8 GHz GPU – Arm Mali-G610 MP4 GPU VPU Video Decoder 8Kp60 H.265 VP9, ​​AVS2 8Kp30 H.264 AVC/MVC 4Kp60 AV1 108 […]

โฆษณา

บอร์ดเสริม CAN bus สำหรับอุปกรณ์แฮกไร้สาย Flipper Zero ใช้ในการวินิจฉัยรถยนต์และการวิจัยด้านความปลอดภัย

Flipper Zero Add On CANBus

Flipper Add-On CANBus ของ Electronic Cats เป็นบอร์ดเสริมสำหรับ Flipper Zero ที่เพิ่มความสามารถในการสื่อสารผ่าน CAN bus ให้กับอุปกรณ์แฮ็กไร้สายยอดนิยม บอร์ดเสริมนี้ใช้ชิปควบคุม MCP2515 CAN controller และเชื่อมต่อกับ Flipper Zero ผ่านอินเทอร์เฟส SPI ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจจับ ส่ง และบันทึกแพ็กเกจ CAN bus ได้โดยตรงจาก Flipper Zero ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถวิเคราะห์และจัดการการรับส่งข้อมูลของ CAN bus เพื่อการวินิจฉัยรถยนต์ การวิจัยด้านความปลอดภัย และโครงการ DIY ได้ ก่อนหน้านี้เราได้เห็นโมดูลวิดีโอเกมที่ใช้ Raspberry Pi RP2040 สำหรับ Flipper Zero และได้เปิดตัวแอป store แบบ open-source นอกจากนี้ยังมีทางเลือกของ Flipper Zero เช่น อุปกรณ์มัลติทูล M1 สเปคของ Electronic Cats Flipper Add-On CANBus ความเข้ากันได้ – Flippe […]

TinyWatch S3 เป็นสมาร์ทวอทช์แบบโอเพ่นซอร์สที่สามารถปรับแต่งได้และใช้ ESP32-S3 SoC

TinyWatch S3

TinyWatch S3 เป็นบอร์ดพัฒนา ESP32-S3 ในรูปแบบสมาร์ทวอทช์จาก Seon Rozenblum หรือที่รู้จักกันในชื่อ Unexpected Maker TinyWatch S3 ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32-S3 พร้อม quad SPI flash 8MB และ QSPI PSRAM 2MB, มีหน้าจอ LCD ขนาด 240 x 280 พิกเซลพร้อมระบบสัมผัสแบบ capacitive (ผ่านโมดูล CST816T) และเซนเซอร์บนบอร์ดหลายตัว เช่น IMU (inertial measurement unit) 6 แกน, เซนเซอร์ Magnetometer และไมโครโฟน MEMS, มีพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟ การเขียนโปรแกรม และการชาร์จแบตเตอรี่ LiPo ที่เชื่อมต่อ (250mAh หรือ 500mAh) ในขณะที่เฟิร์มแวร์ของผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา แต่ก็สามารถใช้งานเป็นนาฬิกาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ TinyWatch S3 ถูกอธิบายว่าเป็น “บอร์ดพัฒนา ESP32-S3 ที่สวมใส่ได้ที่ข้อมือ” แต่ไม่มี pin heade […]

Arduino จะเปลี่ยนจาก Arm Mbed OS ไปใช้ Zephyr RTOS

Arduino Zephyr RTOS

หลังจากที่ Arm ประกาศหยุดสนับสนุน Mbed OS ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2026 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า Arduino จึงได้ตัดสินใจที่ใช้ Zephyr RTOS แทน Arm Mbed OS สำหรับบอร์ด Arduino ที่ใช้ Mbed OS เช่น Arduino GIGA , Arduino Nano 33 BLE , Arduino Nano RP2040 Connect รวมถึงบอร์ด/โซลูชันในกลุ่ม Arduino Pro เช่น Portenta, Nicla และ Opta แต่ตระกูล Arduino UNO, MKR และ Nano จะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ เนื่องจากการดำเนินการของ Arduino Core ไม่ได้ใช้ Mbed OS การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นในทันที เนื่องจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เวลา และภายในปี 2024 Arduino วางแผนที่จะปล่อย Zephyr OS รุ่น beta ออกมาให้ลองใช้และจะเปิดตัวบอร์ดต่างๆ ตั้งแต่ปี 2025 ก่อนที่ Arm Mbed จะถูกยกเลิกอย่างถาวร Arduino ไม่ใช่บริษัทใหม่สำหรับโครงการ Zephyr เนื่อ […]

ASRock DSF-A6000 embedded box PC ที่ใช้ AMD Ryzen Embedded R2314 พร้อม 2.5GbE รองรับการแสดงผล 4K สี่จอ

ASRock DSF-A6000 embedded box PC

ASRock DSF-A6000 embedded box PC เป็นคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen Embedded R2314 พร้อมหน่วยความจำ dual-channel DDR4 สูงสุด 64GB, พอร์ต RJ45 จำนวน 3 พอร์ต (LAN 1GbE จำนวน 2 พอร์ต และ LAN 2.5GbE จำนวน 1 พอร์ต พร้อมตัวเลือก PoE+), ส่วนการเก็บข้อมูลมีสล็อต M.2 M-Key สำหรับ NVMe SSD และตัวเลือก I/O รวมถึง USB 3.2 Gen2 และ RS232 ในด้านความสามารถในการแสดงผล PC นี้รองรับการแสดงผล 4K พร้อมกันได้สูงสุดสี่จอผ่าน HDMI 2.0b นอกจากนี้ยังรองรับเทคโนโลยี Out-of-Band Management ผ่านการ์ด MPU-OOB ที่เป็นตัวเลือก และมีฟีเจอร์ EDID emulation เพื่อการตั้งค่าการแสดงผลที่ราบรื่นกับเทคโนโลยีที่หลากหลาย ก่อนหน้านี้เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Embedded box PC ที่คล้ายกัน เช่น Distec BoxPC Pro, AAEON ARES-500AI embe […]

โฆษณา

LILYGO T-Halow : บอร์ดที่ใช้ ESP32-S3 พร้อม WiFi HaLoW รองรับกล้อง OV2640/OV5640

ESP32-S3 WiFi HaLow board

LILYGO T-Halow เป็นบอร์ดที่ใช้ ESP32-S3 ที่มาพร้อมกับโมดูล WiFi HaLow ที่มีระยะการส่งสัญญาณสูงสุด 1.2 กม., คอนเนกเตอร์ที่รองรับโมดูลกล้อง OV2640 และ OV5640 และที่ยึดแบตเตอรี่ 18650 สำหรับจ่ายไฟ รวมทั้ง GPIO หลายตัวสำหรับการขยาย เราเขียนบทความเกี่ยวกับมาตรฐาน WiFi 802.11ah ที่มีพลังงานต่ำ ครั้งแรกในปี 2014 โดยจะใช้คลื่นความถี่ที่ 900 MHz แต่การนำไปใช้งานนั้นค่อนข้างช้า และเราได้เห็นชิป 802.11ah (WiFi HaLow) จาก Newracom และ Morse Micro ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อะแดปเตอร์ USB , Raspberry Pi HAT , การ์ด mini PCIe , เกตเวย์และบอร์ดพัฒนา ทั้งหมดนี้ต้องใช้โฮสต์ที่ใช้ Linux แต่ LILYGO T-Halow มาพร้อมกับโมดูล TX-AH WiFI HaLow จาก Taixin Semiconductor ที่สามารถควบคุมได้ผ่านคำสั่ง AT ผ่าน ESP32-S3 หรือพอร์ต micro USB สเปคของ […]

Remote.It เพิ่มการกำหนดค่า WiFi บนบอร์ด Raspberry Pi SBC โดยใช้ Bluetooth

Remote.it Dashboard

Remote.It บริษัทที่ให้บริการการเข้าถึงจากระยะไกล (remote access) เปิดตัวโครงการโอเพ่นซอร์สที่การกำหนดค่าเครือข่าย WiFi บน Raspberry Pi โดยใช้ Bluetooth (BLE) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่า WiFi บนบอร์ดได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือของตัวเอง การกำหนดค่า WiFi บน Raspberry Pi : การกำหนดค่าด้วยตนเอง – ผู้ใช้เชื่อมต่อจอภาพและคีย์บอร์ดเข้ากับ Raspberry Pi เพื่อกำหนดค่าเครือข่ายไร้สายโดยตรงบนอุปกรณ์ การใช้ SD card, SSD NVMe หรือไดรฟ์ USB ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า – สามารถตั้งค่า ESSID ของ WiFi และรหัสผ่านใน Raspberry Pi USB imager ได้และ Raspberry Pi จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยอัตโนมัติเมื่อเริ่มบูตเครื่อง วิธีนี้จะรวดเร็วแต่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขข้อมูลรับรองไหลังจากการติดตั้ง และใช้งานได้เฉ […]

โฆษณา