Clipper HAT Mini – pHAT 4G LTE สำหรับ Raspberry Pi พร้อมคอนเนกเตอร์ Qwiic/STEMMA QT

pimoroni LTE 4G for Raspberry Pi Clipper HAT Mini

Pimoroni Clipper HAT Mini หรือ CLIPPER LTE Mini HAT เป็นบอร์ดเสริม pHAT 4G LTE สำหรับ Raspberry Pi ที่ช่วยให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายมือถือได้ เหมาะสำหรับโปรเจกต์ระยะไกลที่ WiFi ไม่เสถียรหรือไม่มีสัญญาณใช้งาน บอร์ดนี้ใช้โมเด็ม SIMCom A7683E LTE Cat 1 ซึ่งรองรับย่านความถี่ B1/B3/B5/B7/B8/B20/B28 และมีความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 5 Mbps และดาวน์โหลดสูงสุด 10 Mbps คุณสมบัติเด่นอื่นๆ ของ HAT นี้เช่น ช่องใส่ SIM card, คอนเนกเตอร์สาบอากาศ SMA (สายอากาศจำหน่ายแยกตากหาก), ปุ่มผู้ใช้ 2 ปุ่ม, ไฟ LED แสดงสถานะ และคอนเนกเตอร์ Qwiic/STEMMA QT สำหรับเชื่อมต่อโมดูล I2C บอร์ดนี้ได้รับการออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับ Raspberry Pi  (รวมถึง Raspberry Pi Zero) ได้โดยตรงผ่าน Socket Header ที่บัดกรีมาให้แล้ว  นอกจากนี้ยังมาพร้อ […]

มินิพีซี Beelink EQ14 ที่ใช้ซีพียู Intel N150 Quad-core “Twin Lake” พร้อมพาวเวอร์ซัพพลายในตัว

Beelink EQ14 Intel N150 mini PC

เราเคยกล่าวถึง ซีพียู Intel Processor N150, N250, และ Core i3-N355 จากตระกูล Alder Lake-N Refresh ในมินิพีซี ASUS NUC 14 Essential ที่กำลังจะเปิดตัว ต่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการวางจำหน่าย, Beelink EQ14 เป็นมินิพีซีที่ใช้ซีพียู Intel N150 ที่สามารถซื้อได้แล้ววันนี้ที่ AliExpress (พร้อมปลั๊กแบบ EU) หรือ Amazonในราคาเริ่มต้น $182(~6,300฿) สำหรับช่วงโปรโมชั่น Black Friday และ Cyber Monday 2024 Beelink เรียกซีพียูรุ่นนี้ว่า “Twin Lake” แทน “Alder Lake-N Refresh” แต่เรายังไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากโปรเซสเซอร์ N150 ยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และไม่มีข้อมูลใน Intel Ark, มินิพีซีรุ่นนี้มาพร้อมกับหน่วยความจำ DDR4 ขนาด 16GB, SSD NVMe ความจุ 512GB, พอร์ต HDMI สองพอร์ต, พอร์ต Gigabit Ethernet สองพอร์ต, WiFi 6 และ […]

เปิดตัวบอร์ด Raspberry Pi Pico 2 W พร้อมโมดูลไร้สาย WiFi 4 2.4 GHz และ Bluetooth 5.2

Raspberry Pi Pico 2 W

Raspberry Pi Pico 2 W หรือเวอร์ชั่นไร้สายของ Raspberry Pi Pico 2 ได้เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกับโมดูลไร้สาย WiFi 4 2.4GHz และ Bluetooth 5.2 ในราคาอย่างเป็นทางการ $7(~240฿) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูสเปคและรีวิวสั้นๆ ที่ทดลองโค้ดตัวอย่าง WiFi และ Bluetooth นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้เห็นบอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มาพร้อมกับ WiFi และ Bluetooth เพราะก่อนหน้านี้ Pimoroni ได้เปิดตัวบอร์ด Pico Plus 2 W ที่ใช้ RP2350B MCU และ Raspberry Pi RM2 โมดูลไร้สาย Wi-Fi และ Bluetooth, และ iLabs ก็ได้เปิดตัวบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้โมดูลไร้สาย ESP32-C6 แต่ Raspberry Pi Pico 2 W เป็นบอร์ดอย่างเป็นทางการ มีราคาถูกกว่า และคาดว่าจะได้รับความนิยมและการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด สเปคของ Raspberry Pi Pico 2 W SoC – Raspberr […]

SparkFun เปิดตัวบอร์ด Quadband GNSS RTK Breakout ที่ใช้โมดูล Quectel LG290P สำหรับการนำทางความแม่นยำสูง

SparkFun Quadband GNSS RTK Breakout

SparkFun เปิดตัว Quadband GNSS RTK Breakout ที่ใช้โมดูล Quectel LG290P ออกแบบมาสำหรับใช้กับงาน RTK (Real-Time Kinematic) ที่มีความแม่นยำสูง โมดูลนี้รองรับระบบดาวเทียม GPS, GLONASS, Galileo, BDS, QZSS, และ NavIC โดยสามารถรับสัญญาณได้พร้อมกันจากย่านความถี่ L1, L2, L5 และ L6/E6 โมดูลนี้ยังรองรับระบบเพิ่มวามแม่นยำ SBAS (เช่น WAAS, EGNOS, GAGAN) และบริการ PPP (เช่น BDS PPP-B2b, QZSS CLAS) เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่แม่นยำและสามารถกำหนดตำแหน่งได้อย่างรวดเร็วสำหรับงานนำทางที่ต้องการความแม่นยำสูง บอร์ด Breakout นี้มีการออกแบบที่เล็กกะทัดรัด (ขนาด 43.2 x 43.2 มม.) และรองรับการขยายตัวหลายรูปแบบ เช่นขา PTH 24 ขา, คอนเนกเตอร์ JST Qwiic 4 ขา จำนวน 2 ตัว, อินเทอร์เฟส UART 3 ช่อง, คอนเนกเตอร์ USB-C และขา PTH สำหรับ BlueSMiRF/Serial […]

Waveshare RoArm-M2 หุ่นยนต์แขนกลที่ใช้ ESP32 พร้อม 4-DOF และตัวเลือกเซอร์โว

RoArm M2 Series Robotic Arm

Waveshare เปิดตัวหุ่นยนต์แขนกล RoArm-M2-S และ RoArm-M2-Pro ที่ใช้ ESP32 มีการทำงานข้อต่อแบบ 4 แกน (Degrees Of Freedom : DOF) ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองรุ่นคือ RoArm-M2-S ใช้เซอร์โวมาตรฐาน ในขณะที่ RoArm-M2-Pro ใช้เซอร์โวแบบบัส ST3235 ที่เป็นโลหะทั้งหมด ทำให้มีความทนทานและประสิทธิภาพที่สูงกว่า RoArm-M2 มีการทำงานข้อต่อแบบ 4 แกนออกแบบมาเพื่อการใช้งานด้านการศึกษาและหุ่นยนต์ แข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา ผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์และอะลูมิเนียมอัลลอย รองรับรับน้ำหนักในการยกของได้สูงสุด 0.5 กิโลกรัม และมีระยะพื้นที่การทำงานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร แขนนี้ยังมีความแม่นยำสูงด้วยตัวเข้ารหัสแม่เหล็กความละเอียด 12 บิต และเทคโนโลยีขับเคลื่อนคู่เพื่อเพิ่มแรงบิดและความเสถียรนอกจากนี้ยังมีฐานหมุนได้รอบทิศทาง 360° และรองรับการควบคุมทั้ […]

Mercury X1 : หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน ที่ใช้คอนโทรลเลอร์ AI NVIDIA Jetson Xavier NX และบอร์ดควบคุมมอเตอร์ ESP32

Mercury X1 wheeled humanoid robot

Elephant Robotics Mercury X1 เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน (Wheeled Humanoid Robot) สูง 1.2 เมตร ที่มาพร้อมแขนกล 2 แขนที่ใช้ NVIDIA Jetson Xavier NX เป็นตัวควบคุมหลักและไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 สำหรับการควบคุมมอเตอร์ เหมาะสำหรับการวิจัย การศึกษา งานบริการ ความบันเทิง และการควบคุมระยะไกล หุ่นยนต์ตัวนี้มีอิสระในการเคลื่อนไหวถึง 19 องศา สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุด 1 กิโลกรัม ทำงานได้ต่อเนื่องนานถึง 8 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 1.2 เมตร/วินาที หรือประมาณ 4.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์แขนคู่ Mercury B1 ของบริษัท พร้อมฐานเคลื่อนที่ประสิทธิภาพสูง สเปคของ Mercury X1: คอนโทรลเลอร์หลัก – NVIDIA Jetson Xavier NX CPU – โปรเซสเซอร์ NVIDIA Carmel ARM v8.2 แบบ 64 บิต 6-core […]

AAEON FWS-2370 : อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Atom Parker Ridge/Snow Ridge, พร้อมพอร์ต Ethernet 14 ช่อง

FWS-2370 Intel Atom network appliance

FWS-2370 เป็นอุปกรณ์เครือข่าย (Network Appliance) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ตระกูล Intel Atom C Series “Parker Ridge” หรือ P Series “Snow Ridge”(ค่าเริ่มต้นใช้ Atom C5315) ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแอปพลิเคชัน SD-WAN และ uCPE โดยระบบนี้รวมเอา Intel QAT และ Intel VT-d/VT-x เพื่อเร่งความเร็วในการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลและงานด้าน Virtualization, รองรับหน่วยความจำ DDR4 สูงสุด 64GB (ECC/Non-ECC) ผ่านสล็อต SODIMM สองช่องและมีตัวเลือกที่เก็บข้อมูล eMMC บนบอร์ดสูงสุด 128GB, การเชื่อมต่อเครือข่ายประกอบด้วยพอร์ต RJ-45 2.5GbE (ชิป Intel I226-V) สี่พอร์ต, พอร์ต Gigabit Ethernet RJ-45 (ชิป Marvell 88E1543) สี่พอร์ตและพอร์ต 10GbE SFP+ สี่พอร์ตพร้อมตัวเลือก PoE af/at เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งานที่เพิ่มขึ้น สำหรับการเชื่อมต่อเพิ่มเติมของ FWS- […]

ESP32 Rainbow : คอมพิวเตอร์ย้อนยุค ZX Spectrum แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ ESP32-S3

esp32 spectrum

กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์แบบย้อนยุค (Retrocomputing) คงจะดีใจเมื่อทราบว่ามี ZX Spectrum รุ่นจำลองใหม่ออกสู่ตลาดนั่นคือ ESP32 Rainbow โดยบอร์ดคอมพิวเตอร์แบบเดี่ยวนี้ได้แทนที่ชิป Zilog Z80 ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 ซึ่งรันบนโปรแกรมจำลอง (Emulator) ทำให้คอมพิวเตอร์คลาสสิกแห่งยุค 80 กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าเดิม ESP32 Rainbow มาพร้อมกับจอแสดงผลสีในตัว, ช่องใส่ microSD สำหรับจัดเก็บข้อมูล, คีย์บอร์ดแบบสัมผัสที่ออกแบบในสไตล์ ZX Spectrum และพอร์ต USB Type-C สำหรับเชื่อมต่อพลังงานและข้อมูล, ตัวคีย์บอร์ดได้รับการออกแบบใหม่ด้วยการพิมพ์ UV สีแบบ full-color แม้ว่าคีย์บอร์ดแบบสัมผัสอาจไม่ได้ให้ประสบการณ์การพิมพ์ที่ดีที่สุด แต่ก็ดูเหมือน ZX Spectrum รุ่นเดิม จุดเด่นอีกอย่างคือพอร์ต USB-C ที่รอ […]