Mono Gateway เป็นบอร์ดเราเตอร์ขนาด nano-ITX ที่ใช้โปรเซสเซอร์ NXP LayerScape LS1046A แบบ quad-core processor มาพร้อมพอร์ต 10GbE SFP+ จำนวน 2 ช่อง, พอร์ต RJ45 gigabit Ethernet จำนวน 3 ช่อง และช่องเสียบ M.2 สำหรับโมดูลไร้สาย เช่น WiFi 6 หรือ WiFi 5 แบบสามย่านความถี่, Bluetooth และ Thread คำอธิบายช่อง YouTube ของ Toma Zaman ระบุไว้ว่า “I hate routers” (ฉันเกลียดเราเตอร์) และนั่นคือเหตุผลที่ “Gateway” ตัวนี้ถือกำเนิดขึ้น เขาต้องการเราเตอร์ที่ตรงกับความต้องการและสามารถใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สได้ โปรเซสเซอร์ NXP Layerscape LS1046A จึงถูกเลือกใช้งาน เนื่องจากรองรับ Ethernet 10 Gbps และสามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 26 Gbps สำหรับการใช้งานที่เกี่ยวกับ VLAN, PPPoE และ NAT สเปคของ Mono Gateway : So […]
T-Pico-2350 ชุดพัฒนาแบบครบวงจรที่มาพร้อมชิป Raspberry Pi RP2350, ESP32-C6, หน้าจอสัมผัสสี 2.33 นิ้ว รองรับการแสดงผลวิดีโอผ่านพอร์ต HDMI
LILYGO T-Pico-2350 หรือที่เรียกอีกชื่อว่า T-Pico2 เป็นชุดพัฒนาแบบปิดครอบสมบูรณ์ ซึ่งใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ร่วมกับชิป ESP32-C6 สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย มาพร้อมหน้าจอสัมผัสสีแบบ capacitive ขนาด 2.33 นิ้ว และพอร์ตเอาต์พุตวิดีโอแบบ HDMI (DVI) การออกแบบนี้เป็นการอัปเดตจากรุ่น T-PicoC3 ที่เปิดตัวในปี 2022 โดยใช้ดีไซน์เคสของ T-Display S3 Pro และชุดพัฒนายังมาพร้อมกับช่องใส่ microSD card, พอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม, ขา GPIO สองแถว, คอนเนคเตอร์ GPIO แบบ FPC ขนาด 13 พิน, คอนเนคเตอร์ Qwiic สำหรับ I2C/UART สองชุด และมีวงจรจัดการพลังงาน (PMU) สำหรับการใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ สเปคของ T-Pico-2350: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm Trustzone, S […]
PiEEG kit – ห้องแล็บชีววิทยาแบบพกพาที่ใช้ Raspberry Pi 5
เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับการใช้เซ็นเซอร์ควอนตัม สำหรับอินเทอร์เฟซเชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (brain-computer interfaces หรือ BCI) และแอปพลิเคชันทางชีวการแพทย์อื่น ๆ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต แต่ถ้าคุณอยากทดลองกับเทคโนโลยี BCI และวิทยาศาสตร์ชีวภาพตั้งแต่วันนี้ ชุด PiEEG ก็มีทุกอย่างที่คุณต้องใช้ในการเริ่มต้น โดยทุกชิ้นส่วนถูกจัดเก็บอย่างเรียบร้อยในกระเป๋าเดินทางขนาดกะทัดรัด พกพาสะดวกไม่ว่าจะใช้งานที่บ้าน มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียน ห้องแล็บชีววิทยาแบบพกพานี้นี้พัฒนาขึ้นจาก PIEEG Shield สำหรับ Raspberry Pi ที่เปิดตัวในปี 2023 โดยประกอบด้วย Raspberry Pi 5 รุ่นแรม 8GB, หน้าจอขนาด 9 นิ้ว, บอร์ดเซ็นเซอร์, ขั้วอิเล็กโทรดและสายสำหรับ EEG (วัดคลื่นสมอง) รวมถึงขั้วอิเล็กโทรดสำหรับบันทึกสัญญาณสำหรับ for EMG (กล้าม […]
คอนโทรลเลอร์อุตสาหกรรม Raspberry Pi CM4 พร้อมซอฟต์แวร์ CODESYS รองรับ EtherCAT, Modbus และโมดูล I/O สูงสุด 32 โมดูล
EDATEC ED-PLC2010 อุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรม ที่ใช้ Raspberry Pi CM4 โดยรองรับอินเทอร์เฟซ EtherCAT และ Modbus, เชื่อมต่อโมดูล I/O ได้สูงสุด 32 โมดูล และมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ CODESYS runtime ที่ติดตั้งมาเรียบร้อยแล้ว รองรับการควบคุมแบบเรียลไทม์และการสร้างภาพแสดงผล (visualization) คอนโทรลเลอร์อุตสาหกรรมที่สามารถติดตั้งบนราง DIN โดยใช้ Raspberry Pi CM4 ไม่ใช่ของใหม่เสียทีเดียว โดยมีผลิตภัณฑ์ เช่น Modberry 500 CM4 และ Edgebox-RPI4 หลังจากที่เปิดตัว Raspberry Pi Compute Module 4 ในปี 2020 ล่าสุดในปี 2024 Seeed Studio ได้เปิดตัว reComputer R1113-10 เกตเวย์ IoT, และ Sfera Labs ได้เปิดตัว Strato Pi Max ขณะเดียวกัน TECHBASE ก็ได้อัปเกรด Modberry 500 ให้ใช้โมดูล CM5 ที่ทรงพลังมากขึ้น แต่ความแตกต่างหลักของ EDATEC […]
เครื่องมอนิเตอร์ Altech DO-1 สำหรับ Modbus สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Modbus RTU/TCP ได้สูงสุด 128 ตัว
บริษัท Altech Corp จากสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเปิดตัว DO-1 Universal Monitor สำหรับอุปกรณ์ Modbus ซึ่งช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถตรวจสอบ เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์และกระบวนการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความดัน การสั่นสะเทือน และการใช้พลังงาน โดยไม่มีค่าบริการรายเดือนหรือค่าลิขสิทธิ์ licenses ใดๆ DO-1 เป็นโซลูชันแบบไม่ผูกกับผู้ผลิตรายใด (vendor-agnostic) ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Modbus แบบ RTU และ TCP ได้สูงสุด 128 อุปกรณ์ มาพร้อมกับหน่วยความจำภายในสำหรับจัดเก็บข้อมูล 5GB และสามารถขยายได้สูงสุด 128GB ผ่าน microSD card รองรับการเชื่อมต่อ Ethernet คู่, และยังมีตัวเลือกสำหรับ WiFi และ Bluetooth อีกด้วย อุปกรณ์นี้ยังรองรับการจ่ายไฟแบบคู่ โดยมีอินพุตไฟ 12V/24V DC ผ่านขั้วต่อแบบ te […]
IOL HAT เพิ่ม IO-Link Master ให้กับ Raspberry Pi สำหรับใช้งานเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ ในระบบ IoT อุตสาหกรรม
Pinetek Networks เปิดตัว IOL HAT เป็นบอร์ดขยาย (Expansion boards) สำหรับ Raspberry Pi ที่ใช้โปรโตคอล IO-Link (ตามมาตรฐาน IEC 61131-9) เพื่อเชื่อมต่อและสื่อสารกับเซ็นเซอร์อุตสาหกรรม โดยบอร์ดนี้ใช้ชิป MAX14819 IO-Link master transceiver จาก Analog Devices และมาพร้อมกับพอร์ต SDCI (Single-Drop Digital Communication) จำนวน 2 ช่อง แม้ว่าการพัฒนาโปรโตคอล IO-Link จะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2006 และมาตรฐาน IEC 61131-9 หรือ “Single-drop digital communication interface (SDCI) หรืออินเทอร์เฟซการสื่อสารดิจิทัลแบบจุดเดียว สำหรับเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ (Actuator) ขนาดเล็ก”จะถูกนำมาใช้ในปี 2013 แต่โปรโตคอลนี้เพิ่งเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยผลิตภัณฑ์อย่าง บอร์ด STMicro EVLIOL4LSV1 สำหรับแอกชูเอเตอร์แบบ IO-Link และ […]
Microchip SAMA7D65 : ไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ Cortex-A7 มาในรูปแบบแพ็กเกจ SoC และ SiP ที่ใช้ Cortex-A7 MPU พร้อมแรม DDR3L ในตัวสูงสุด 2Gbit
Microchip เปิดตัว SAMA7D65 MPU, ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบฝังตัวประสิทธิภาพสูงที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm Cortex-A7 ออกแบบมาสำหรับงานด้าน HMI (Human-Machine Interface) และการเชื่อมต่อในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม ภายในบ้าน การแพทย์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า MPU รุ่นนี้มีให้เลือกทั้งในรูปแบบ System-in-Package (SiP) และ System-on-Chip (SoC) โดยรองรับอินเทอร์เฟซการแสดงผลหลายแบบ เช่น MIPI DSI, LVDS และ 8-bit Serial RGB พร้อมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก 2D GPU สำหรับเร่งการประมวลผลภาพกราฟิก, หน่วยความจำและที่เก็บข้อมูลรองรับทั้ง DDR2/DDR3/DDR3L และ LPDDR2/3 แบบ 16 บิต พร้อมตัวเลือกหน่วยความจำ DDR3 ฝังในตัวขนาด 1 Gbit หรือ 2 Gbit, หน่วยความจำ NAND Flash, eMMC Flash และ SD card ด้านการเชื่อมต่อมี Ethernet แบบ Gigabit สองพอร์ตที่รองรับ […]
แฮ็กสายอากาศเพิ่มระยะสัญญาณของบอร์ด ESP32-C3 USB-C ได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า
มีบอร์ด IoT ขนาดเล็กที่ใช้ชิป ESP32-C3 และมาพร้อมพอร์ต USB-C วางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาด ซึ่งถึงแม้ว่าบอร์ดเหล่านี้จะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่การออกแบบสายอากาศนั้นแตกต่างกัน และถ้าออกแบบมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อระยะของสัญญาณ WiFi และ Bluetooth Peter Neufeld ตัดสินใจดัดแปลงบอร์ด ESP32-C3 ราคาประหยัดตัวหนึ่งด้วยการเพิ่มสายอากาศแบบปรับแต่งเอง และผลลัพธ์ก็คือบอร์ดตัวนั้นสามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า และในบางกรณีก็เกือบถึงสามเท่า บอร์ดขนาดเล็กเหล่านี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงแทบไม่มีพื้นที่รอบ ๆ เสาอากาศเซรามิกที่มักใช้กัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ต่ำลง เพื่อแก้ปัญหานี้ Peter จึงเพิ่มสายอากาศความยาว 31 มม. ที่ทำจากลวดเคลือบเงิน โดยดัดเป็นวงกลมขนาดประมาณ 8 มม. อยู่นอกตัวบอร์ด แ […]