DIY เครื่องเล่นเกมคอนโซลย้อนยุค พร้อมจอคู่ใช้ Raspberry Pi 400

DIY Enclosure Raspberry Pi 400 console

“Block after Block” ออกแบบเครื่องเล่นเกมย้อนยุค (Retro-gaming console) แบบหน้าจอคู่โดยใช้ไม้อัดและคีย์บอร์ดพีซี Raspberry Pi 400 เพื่อให้ผู้เล่นสามารถเผชิญหน้ากันระหว่างการต่อสู้หรือเล่นเกมอื่น ๆ แม้ว่าจะมีโปรเจกต์ต่างๆ ที่ใช้ Raspberry Pi SBCs เป็นเครื่องมือพัฒนาอย่างหลากหลาย แต่คีย์บอร์ดพีซี Raspberry Pi 400 นั้นเหมือนกับผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคมากกว่า เนื่องจากปัจจัยด้านรูปแบบ แต่ Block after Blockได้รวมพีซีเข้ากับเครื่องเล่นเกมคอนโซลย้อนยุคของตัวเอง โดยใช้ทักษะการทำงานไม้และติดตั้ง RetroPie บนอุปกรณ์ Pi 400 โปรเจ็กต์ DIY นี้เกี่ยวข้องกับการใช้เวลาในเวิร์กช็อปตัดไม้ และเมื่อคุณทำส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะเป็นเรื่องง่ายต่อไป รายการสิ่งของที่ต้องใช้มีดังนี้: คีย์บอร์ดพีซี Raspberry Pi 400 2 จอภาพ (จอภาพมือสองก็ได้) […]

ควบคุมรีเลย์ 8 ตัวด้วย Raspberry Pi Pico โดยใช้ PicoRelay8 หรือ Pico-Relay-B

Waveshare Pico Relay B with Raspberry Pi Pico board

PicoRelay8 ของ 8086 Consultancy เป็นบอร์ดฐานสำหรับบอร์ด Raspberry Pi Pico (W)ที่มาพร้อมกับรีเลย์ Normally Open 8 ตัวที่รองรับแรงดันไฟฟ้า 28V DC / 10A สามารถนำไปใช้กับโปรเจกต์อัตโนมัติทุกประเภท ส่วน Waveshare Pico-Relay-B รองรับรีเลย์ 8 ตัว รองรับทั้ง DC load และ AC load และมาพร้อมกับคุณสมบัติพิเศษบางอย่าง PicoRelay8 สเปคของบอร์ด PicoRelay8: บอร์ด MCU ที่รองรับ – Raspberry Pi Pico หรือ Pi Pico W และยังสามารถทำงานได้กับบอร์ดทางเลือกที่คล้ายกัน เช่น Banana Pi BPI-Pico-RP2040 หรือ BPI-PicoW-S3 , WeAct RP2040 และอื่น ๆ ที่มีขา GPIO ทั้งหมดที่ใช้กับ PicoRelay8 รีเลย์ มาพร้อมกับรีเลย์ HF3FF/005-1HST 8 ตัว ที่รองรับแรงดันไฟฟ้า 28V DC/10A และยังรองรับไฟฟ้าแรงดันสูงสุด 10A/250V AC และ 15A/125V AC แต่บอร์ดไม่ได้ถูกออกแบบม […]

ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ในบ้าน แถมได้น้ำร้อนด้วย!

server hot water cylinder

Heata เป็นบริษัทใน UK ที่เริ่มต้นจากโครงการนวัตกรรมร่วมกับบริษัท British Gas ที่เชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์กับถังน้ำร้อนของบ้าน และให้น้ำร้อนสูงสุด 4.8 kWh./วัน และอย่างต่ำ 2.5 kWh. ตามข้อกำหนดสัญญาการให้บริการ บริษัทต่างๆ ใช้เงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อทำการระบายความร้อนจากเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูล และเกือบทั้งหมดจะเป็นการใช้พลังงานที่ไม่มีประโยชน์เลย ดังนั้น Heata จึงตัดสินใจสร้างโซลูชันแบบ win-win ที่ลดต้นทุนการระบายความร้อนและแถมได้น้ำร้อนด้วยให้กับผู้ที่ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์นี้ในบ้าน กระบวนการติดตั้งได้รับการทดสอบและได้รับการอนุมัติโดยบริษัท British Gas ดังนั้นคุณจึงไม่เสียการรับประกันถังน้ำร้อน และกลไกการถ่ายเทความร้อนได้รับสิทธิบัตรใน UK ภายใต้สิทธิบัตร GB2576035 ช่างจะมาตัดฉนวนและเชื่อมต่อสะพานความร้อน (Thermal Bridge […]

USB Cereal : USB-C ที่เป็นเครื่องมือดีบักและพัฒนาแบบ Open-source

USB C debug board

USB Cereal ของ 0xDA LLC เป็นเครื่องมือพัฒนาฮาร์ดแวร์แบบ Open-source ที่มีพอร์ต USB-C จำนวน 3 ช่อง ออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการการทดสอบ, การพัฒนา, การดีบัก และการผลิตอุปกรณ์ที่มีพอร์ต USB Type-C โครงการ USB Cereal เริ่มต้นที่ Google โดยผ่านการแก้ไขหลายครั้งเพื่อปรับปรุงคุณภาพและลดต้นทุนในการผลิต และอุปกรณ์นี้สามารถใช้สำหรับการดีบัก USB Type-C ทุกประเภทโดยใช้การสื่อสารแบบ UART serial กับอุปกรณ์โฮสต์ผ่านขา SBU (sideband use) ของพอร์ต USB-C ซึ่งมักจะเอาไว้ใช้สำหรับแอพพลิเคชั่นที่เฉพาะเจาะจงของอุปกรณ์ สเปคของ USB Cereal: พอร์ต USB Type-C 2x พอร์ต USB-Cสำหรับการเชื่อมต่อผ่านระหว่างโฮสต์และอุปกรณ์ทดสอบ (DUT) หมายเหตุ: พอร์ต DUT อยู่ที่ด้านที่มีพอร์ต USB Type-C 1 ช่อง ยังไม่ได้รับการตรวจจับทิศทางเพื่อให้การออกแบบเป็นไปโ […]

บอร์ด T-Display-S3 Touch : ใช้ ESP32-S3 มีจอสัมผัส touchscreen

T Display S3 Touch

T-Display-S3 Touch เป็นรุ่นอัพเดตของบอร์ด T-Display-S3 “Basic” ที่ใช้ ESP32-S3 โดยเพิ่มจอสัมผัส (Touchscreen) ขนาด 320×170 พิกเซล โดยใช้เซ็นเซอร์หน้าจอสัมผัสแบบ I2C รุ่น CST816 สเปคอื่นๆของบอร์ดยังคงเหมือนเดิม ที่มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3R8 dual-core WiFi และ Bluetooth LE, หน่อยความจำแฟลช 16MB, หน้าจอสีขนาด 1.9 นิ้ว, ความละเอียด 320×170 พิกเซล, พอร์ต USB Type-C, มี I/O และรองรับแบตเตอรี่ LiPo สเปคของ T-Display-S3 Touch: Wireless MCU – Espressif Systems ESP32-S3R8 ใช้ตัวประมวลผล Xtensa LX7 dual-core 32-บิต  พร้อมชุดคำสั่ง vector ในประมวลผลด้าน AI, RAM 512KB ,PSRAM 8MB, การเชื่อมต่อไร้สาย พื้นที่เก็บข้อมูล – หน่วยความจำแฟลช 16MB เชื่อมต่อผ่าน ESP32-S3  WiFi 4 2.4GHz (802.11b/g/n) พร้อมรองรับ Band […]

Compute Blade : บอร์ดฐาน Raspberry Pi CM4 รองรับ PoE และมี NVMe SSD สามารถติดตั้งในตู้ Rack

Compute Blade Raspberry Pi CM4 rack

Uptime Lab Compute Blade เป็นอีกหนึ่งบอร์ดฐานของ Raspberry Pi CM4 แต่มีลักษณะที่ไม่เหมือนใคร โดยมีการออกแบบเป็นแบบยาว เพื่อใช้ติดตั้งในตู้ Rack และบอร์ดมีซ็อกเก็ต M.2 สำหรับ NVMe SSD และพอร์ต Ethernet รองรับ PoE+ บอร์ดไออกแบบมาเพื่อเน้นความจุสูง (High-density), เน้นการประหยัดพลังงาน (low-power consumption) สามารถติดตั้งและใช้งานได้อย่างง่ายดาย สำหรับการใช้ในบ้านหรือในศูนย์ข้อมูล ผู้ใช้สามารถสร้าง Home lab, edge server ที่มีค่า latenct ต่ำกว่าบริการ cloud และระบบ CI/CD (build farms) สำหรับการทดสอบและพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ สเปคของ Compute Blade: SoM –  รองรับ Raspberry Pi CM4 และ บอร์ดทางเลือก เช่น Radxa CM3 และ Pine64 SoQuartz พื้นที่จัดเก็บ ซ็อกเก็ต NVMe SSD สูงสุด 22110 (รองรับขนาด 2230, 2242, 2260, 2280) ช่องเสียบ […]

M5Stamp S3 : โมดูล IoT รองรับ WiFi และ BLE, GPIO 23 ขา ระยะห่าง 2.54 และ 1.27 มม.

M5Stamp S3

M5Stamp S3 หรือ M5Stamp ESP32S2 หรือ Stamp S3 เป็นโมดูล IoT ที่ใช้ ESP32-S3 ขนาดจิ๋ว รองรับ WiFi และ Bluetooth LE (BLE) มีพอร์ต USB Type-C, มีขา I/O มากกว่า 20 ขา Pin Header มีระยะห่าง 2.54 มม. และ 1.27 มม. และเป็นรูแบบ Castellated holes และเคสกันความร้อน ในปัจจุบันมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ ESP32-S3 “ใหม่” จำนวนมาก ซึ่งเป็นการอัพเดตจากการออกแบบ ESP32 และ M5Stamp S3 ของ M5Stack ก็สร้างขึ้นจาก M5Stamp Pico รุ่นก่อน และรุ่น ต่างๆของ ESP32-C3 ได้แก่ M5Stamp C3 และ C3U สเปคของ M5Stamp S3: WiSoC – Espressif Systems ESP32-S3FN8  ใช้ตัวประมวลผล Xtensa LX7 dual-core 32-บิต  พร้อมชุดคำสั่ง vector ในประมวลผลด้าน AI สูงสุด 240MHz, มี RISC-V ULP เป็น co-processor, SRAM 512KB , WiFi 2.4GHz (802.11b/g/n), Bluetooth 5.0 B […]

Puya PY32 : ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M0+ อาจมีราคาถูกที่สุดในโลก

PY32 MCU development board

ชิป PY32 Arm Cortex-M0+ ของบริษัท Puya Semiconductor (Shanghai) เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูล Arm MCU 32 บิต ซึ่งหนึ่งในตระกูลคือชิป PY32F002AL15S6TU อาจมีราคาถูกที่สุดในโลก ขายราคาต่ำกว่า 8 เซนต์ (~2.7฿) ต่อหน่วยในคำสั่งซื้อ 5,000 ชิ้นขึ้นไปพร้อม SRAM 3KB, flash 20KB ในแพ็คเกจ 8-pin SOP-8 เมื่อปี 2016 เมื่อฉันเคยค้นหา MCU ที่ถูกที่สุดในโลกฉันพบไมโครคอนโทรลเลอร์ Holtek HT48R002 8 บิต และเมื่อไม่กี่ปีต่อมา (2019) ฉันก็พบ MCU Padauk PMS150C “3 Cents” ทั้งสองเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต ซึ่งมี OTG (One-Time Programming) ROM ซึ่งไม่สามารถใช้งานในการพัฒนาหรืออัพเดทได้ง่าย แต่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Puya PY32 อยู่ในช่วงราคาเดียวกัน แต่มี 32-บิต Arm Cortex-M0+ ที่มีความเร็ว 24-48MHz, พื้นที่เก็บข้อมูล flash 16KB-64KB และ SRA […]