Firefly ได้เปิดตัว CSB1-N10 series เป็นเซิร์ฟเวอร์คลัสเตอร์ AI ซึ่งออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติหรือ Natural language processing, หุ่นยนต์ และการสร้างภาพ เซิร์ฟเวอร์นี้มาในรูปแบบขนาด 1U สำหรับติดตั้งในตู้ Rack เหมาะสำหรับการใช้งานใน Data Center, เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว และงาน Edge deployments เซิร์ฟเวอร์รุ่นนี้มาพร้อมกับโหนดประมวลผลหลายตัว โดยใช้โปรเซสเซอร์ประหยัดพลังงาน เช่น Rockchip RK3588, RK3576 หรือ SOPHON BM1688 หรือโมดูล NVIDIA Jetson ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น Orin Nano และ Orin NX ด้วยพลังการประมวลผล AI ตั้งแต่ 60 ถึง 1000 TOPS เซิร์ฟเวอร์ CSB1-N10 สามารถรองรับความต้องการของโมเดล AI ขนาดใหญ่ได้ เช่น โมเดลภาษาธรรมชาติอย่าง Gemma-2B และ Llama3 รวมถึงโมเดลภาพ เช่น EfficientVIT และ S […]
Murata Type 2FR : โมดูล IoT แบบ tri-radio ที่เล็กที่สุดในโลก รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6, Bluetooth 5.4 และ Thread
Murata ได้เปิดตัวโมดูล IoT แบบสามคลื่นวิทยุ (tri-radio) ที่เล็กที่สุดในโลก ได้แก่ซีรีส์ Type 2FR/2FP และซีรีส์ Type 2KL/2LL สำหรับโซลูชันที่มีโฮสต์ โมดูลขนาดกะทัดรัดรองรับการสื่อสารแบบสามคลื่นวิทยุ ได้แก่ Wi-Fi 6, Bluetooth 5.4 และ Thread พร้อมการรองรับ Matter เพื่อความเข้ากันได้ในการทำงานร่วมกัน, ซีรีส์ Type 2FR/2FP ถือเป็นโมดูลที่เล็กที่สุดในโลก (ขนาด 12.0 x 11.0 x 1.5 มม.) พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ในตัว เหมาะสำหรับโซลูชันที่มีต้นทุนต่ำและการรวมระบบสูง นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยตามมาตรฐานทางไซเบอร์ล่าสุด และรองรับการทำงานร่วมกับระบบ Matter ในขณะเดียวกันซีรีส์ Type 2KL/2LL ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับโปรเซสเซอร์ประสิทธิภาพสูงที่ใช้ Linux หรือ RTOS โดยโมดูลเหล่านี้ให้การสื่อสารแบบสามวิทยุที่เชื่อ […]
GigaDevice GD32H75E – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M7 ความเร็ว 600MHz พร้อม EtherCAT SubDevice Controller
GigaDevice เปิดตัว EtherCAT SubDevice Controller รุ่นแรก GDSCN832 และไมโครคอนโทรลเลอร์ซีรีส์ GD32H75E ที่ใช้ Arm Cortex-M7 ความเร็ว 600 MHz ที่มี EtherCAT SubDevice Controller ในตัว ไมโครคอนโทรลเลอร์ GH32G57E มาพร้อมกับหน่วยความจภ SRAM 1024KB, flash 3840KB พร้อมฟีเจอร์ป้องกันข้อมูล, รองรับ Ethernet PHY ได้สูงสุด 2 พอร์ต, อินเทอร์เฟซ USB ทั้งแบบ Full Speed และ High-Speed รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงและตัวจับเวลา (Timer) หลากหลายรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ทั้งสองรุ่นได้รับการออกแบบมาสำหรับตลาด ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม และเหมาะสำหรับการใช้งาน เช่น การควบคุมเซอร์โว, ไดรฟ์ความถี่ตัวแปร (Variable Frequency Drives), อุปกรณ์ PLC สำหรับงานอุตสาหกรรม, และโมดูลการสื่อสาร สเปคของ Gigadevice GD32H75E: CPU – โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-M7 32 บิตท […]
บอร์ด Luckfox Lyra ที่ใช้ SoC Rockchip RK3506G2 แบบ Triple-core พร้อมอินเทอร์เฟสจอแสดงผล, ตัวเลือกพอร์ต Ethernet
บอร์ด Luckfox Lyra ที่ใช้ SoC Rockchip RK3506G2 ซึ่งมีซีพียู Arm Cortex-A7 สามคอร์ พร้อม Cortex-M0 หนึ่งคอร์สำหรับงานเรียลไทม์ มีหน่วยความจำ DDR3 ขนาด 128MB บนชิป อินเทอร์เฟสจอแสดงผล MIPI DSI และใช้เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต 22 nm (นาโนเมตร) โดยมีสามรุ่น ได้แก่ Luckfox Lyra, Lyra B (พร้อม flash 256MB) และ Luckfox Lyra Plus ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกัน แต่รุ่น Plus มีขนาดยาวกว่าจะเพิ่มคอนเนคเตอร์ Ethernet RJ45 ความเร็ว 10/100Mbps และหน่วยความจำ flash แบบ SPI NAND ขนาด 256MB นี่เป็นบอร์ดแรกของ Luckfox ที่ใช้โปรเซสเซอร์ RK3506G2 โดยมาพร้อมการเชื่อมต่อ Ethernet และอินเทอร์เฟสจอแสดงผล แต่ไม่ใช่บอร์ด Arm Linux รุ่นแรกจากบริษัทที่มี Ethernet และอินเทอร์เฟสจอแสดงผล เราเคยกล่าวถึง Luckfox Pico Ultra เป็นบอร์ดพัฒนาไมโคร Linux […]
I-Pi SMARC Amston Lake ชุดพัฒนาที่ใช้ SoC Intel Atom x7433RE, LPDDR5 8GB, GPIO headers ของ Raspberry Pi สองชุด
I-Pi SMARC Amston Lake ของ ADLINK เป็นชุดพัฒนาแบบไม่มีพัดลม (fanless) ที่ใช้โมดูล (system-on-module) SMARC 2.1 พร้อม SoC Intel Atom X7433RE แบบ Quad-core, หน่วยความจำ LPDRR5 8GB และ eMMC flash สูงสุด 256GB และยังมี carrier board ที่มาพร้อม 2.5GbE แบบคู่พร้อม TSN, GPIO headers ที่รองรับ Raspberry Pi จำนวน 2 ชุด, และอินเทอร์เฟสอื่น ๆ มากมาย ประกอบด้วยอินเทอร์เฟสการแสดงผล: 4-lane MIPI DSI, HDMI, eDP, และ dual-channel LVDS, อินเทอร์เฟสกล้อง MIPI CSI 2 ช่อง, เสียง: ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม., USB: พอร์ต USB Type-A จำนวน 4 พอร์ต, การขยาย: สล็อต PCIe M.2 จำนวน 3 สล็อต สำหรับที่เก็บข้อมูล, การเชื่อมต่อไร้สาย, และการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ สเปคของชุดพัฒนา I-Pi SMARC Amston Lake: โมดูล LEC-ASL SMARC 2.1 Amston Lake SoC – โปรเ […]
HiFi-Amped : Audio HAT สำหรับ Raspberry Pi พร้อม DAC คู่และแอมพลิฟายเออร์ Class D
HiFi-Amped เป็น Audio HAT สำหรับ Raspberry Pi ออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว Raspberry Pi โดยเฉพาะ มีคุณสมบัติเด่นคือใช้ DAC คู่รุ่น PCM5100 และวงจรขยายเสียง TPA3110 class D amplifier (กำลังขับ 2x15W ที่ 8 โอห์ม หรือ 1x30W ที่ 4 โอห์ม) เพื่อคุณภาพเสียงที่สูงและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ คุณสมบัติหลักของโมดูลนี้ ได้แก่ รองรับการใช้งานกับลำโพงขนาดเล็กและขนาดใหญ่, รองรับการจ่ายไฟจากแหล่งพลังงานภายนอกสำหรับลำโพงและ Raspberry Pi, สามารถปิดการทำงานของแอมพลิฟายเออร์ผ่าน GPIO เพื่อลดเสียงรบกวนเมื่อไม่ได้ใช้งาน ทำให้ HiFi-Amped เหมาะสำหรับเป็น Media Center ของ Raspberry Pi หรือระบบสตรีมเสียงที่มีประสิทธิภาพสูง สเปคของ HiFi-Amped: ความเข้ากันได้ – Raspberry Pi 2, 3, 4, 5, Zero และอาจรองรับรุ่นอื่น ๆ ที่ใช้ GPIO […]
Inky Frame 7.3″ : จอแสดงผล ePaper 7 สีที่ใช้ Raspberry Pi Pico 2 W
Inky Frame 7.3″ เป็นจอแสดงผล ePaper ที่ใช้ Raspberry Pi Pico 2 W พร้อมหน้าจอ E Ink ขนาด 7.3 นิ้ว ความละเอียด 800 x 480 พิกเซล รองรับการแสดงผล 7 สี มาพร้อมฟีเจอร์อื่นๆ เช่นปุ่มที่มีไฟ LED 5 ปุ่ม, คอนเนกเตอร์ Qwiic/STEMMA QT จำนวน 2 พอร์ต, ช่องใส่ microSD card, และช่องต่อแบตเตอรี่ที่รองรับการประหยัดพลังงาน จอแสดงผล Pico 2 W ePaper นี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการพลังงานต่ำ เช่น แดชบอร์ดอัตโนมัติในบ้าน, การแสดงข้อมูลจากเซนเซอร์, และการแสดงภาพแบบคงที่ เทคโนโลยี E Ink ช่วยประหยัดพลังงานโดยใช้ไฟเฉพาะตอนรีเฟรชหน้าจอ และยังสามารถคงภาพเดิมไว้ได้แม้ไม่มีไฟเลี้ยง ตัวจอสามารถติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบและมาพร้อมขาโลหะสำหรับการตั้งวาง เราเคยพูดถึง Waveshare 4-inch Spectra จอแสดงผล ePaper 6 สี รวมถึงโมดูลอื่นๆ เช่น Inkycal v3, […]
Sonata v1.0 : แพลตฟอร์ม RISC-V ที่รวม FPGA AMD Artix-7 และ MCU Raspberry Pi RP2040
lowRISC เปิดตัว Sonata v1.0 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีความเสถียรที่พัฒนาภายใต้โครงการ Sunburst ออกแบบมาสำหรับวิศวกรระบบฝังตัว (Embedded Systems Engineers) โดยแพลตฟอร์มนี้รองรับเทคโนโลยี CHERIoT ช่วยเพิ่มคุณสมบัติการแบ่งส่วน (Compartmentalization) และความปลอดภัยของหน่วยความจำ (Memory Safety) เพื่อเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการสร้างระบบฝังตัวที่มีความปลอดภัยสูง CHERIoT เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นความปลอดภัย โดยพัฒนาขึ้นบน RISC-V Ibex core ของ lowRISC ซึ่งมีพื้นฐานมาจากงานวิจัย CHERI ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และ SRI International เทคโนโลยีนี้ช่วยแก้ปัญหาความปลอดภัยของหน่วยความจำ เช่น Buffer Overflow และ Use-After-Free Errors ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Capability-Based ของ CHERI รูปแบบของ Capability ใน CHERIoT ครอบคลุมถึงการกำหนดสิทธ […]