Mercury X1 : หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน ที่ใช้คอนโทรลเลอร์ AI NVIDIA Jetson Xavier NX และบอร์ดควบคุมมอเตอร์ ESP32

Mercury X1 wheeled humanoid robot

Elephant Robotics Mercury X1 เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน (Wheeled Humanoid Robot) สูง 1.2 เมตร ที่มาพร้อมแขนกล 2 แขนที่ใช้ NVIDIA Jetson Xavier NX เป็นตัวควบคุมหลักและไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 สำหรับการควบคุมมอเตอร์ เหมาะสำหรับการวิจัย การศึกษา งานบริการ ความบันเทิง และการควบคุมระยะไกล หุ่นยนต์ตัวนี้มีอิสระในการเคลื่อนไหวถึง 19 องศา สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุด 1 กิโลกรัม ทำงานได้ต่อเนื่องนานถึง 8 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 1.2 เมตร/วินาที หรือประมาณ 4.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์แขนคู่ Mercury B1 ของบริษัท พร้อมฐานเคลื่อนที่ประสิทธิภาพสูง สเปคของ Mercury X1: คอนโทรลเลอร์หลัก – NVIDIA Jetson Xavier NX CPU – โปรเซสเซอร์ NVIDIA Carmel ARM v8.2 แบบ 64 บิต 6-core […]

AAEON FWS-2370 : อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Atom Parker Ridge/Snow Ridge, พร้อมพอร์ต Ethernet 14 ช่อง

FWS-2370 Intel Atom network appliance

FWS-2370 เป็นอุปกรณ์เครือข่าย (Network Appliance) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ตระกูล Intel Atom C Series “Parker Ridge” หรือ P Series “Snow Ridge”(ค่าเริ่มต้นใช้ Atom C5315) ออกแบบมาเฉพาะสำหรับแอปพลิเคชัน SD-WAN และ uCPE โดยระบบนี้รวมเอา Intel QAT และ Intel VT-d/VT-x เพื่อเร่งความเร็วในการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลและงานด้าน Virtualization, รองรับหน่วยความจำ DDR4 สูงสุด 64GB (ECC/Non-ECC) ผ่านสล็อต SODIMM สองช่องและมีตัวเลือกที่เก็บข้อมูล eMMC บนบอร์ดสูงสุด 128GB, การเชื่อมต่อเครือข่ายประกอบด้วยพอร์ต RJ-45 2.5GbE (ชิป Intel I226-V) สี่พอร์ต, พอร์ต Gigabit Ethernet RJ-45 (ชิป Marvell 88E1543) สี่พอร์ตและพอร์ต 10GbE SFP+ สี่พอร์ตพร้อมตัวเลือก PoE af/at เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งานที่เพิ่มขึ้น สำหรับการเชื่อมต่อเพิ่มเติมของ FWS- […]

โฆษณา

ESP32 Rainbow : คอมพิวเตอร์ย้อนยุค ZX Spectrum แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ ESP32-S3

esp32 spectrum

กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์แบบย้อนยุค (Retrocomputing) คงจะดีใจเมื่อทราบว่ามี ZX Spectrum รุ่นจำลองใหม่ออกสู่ตลาดนั่นคือ ESP32 Rainbow โดยบอร์ดคอมพิวเตอร์แบบเดี่ยวนี้ได้แทนที่ชิป Zilog Z80 ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 ซึ่งรันบนโปรแกรมจำลอง (Emulator) ทำให้คอมพิวเตอร์คลาสสิกแห่งยุค 80 กลับมามีชีวิตอีกครั้งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าเดิม ESP32 Rainbow มาพร้อมกับจอแสดงผลสีในตัว, ช่องใส่ microSD สำหรับจัดเก็บข้อมูล, คีย์บอร์ดแบบสัมผัสที่ออกแบบในสไตล์ ZX Spectrum และพอร์ต USB Type-C สำหรับเชื่อมต่อพลังงานและข้อมูล, ตัวคีย์บอร์ดได้รับการออกแบบใหม่ด้วยการพิมพ์ UV สีแบบ full-color แม้ว่าคีย์บอร์ดแบบสัมผัสอาจไม่ได้ให้ประสบการณ์การพิมพ์ที่ดีที่สุด แต่ก็ดูเหมือน ZX Spectrum รุ่นเดิม จุดเด่นอีกอย่างคือพอร์ต USB-C ที่รอ […]

Android 16 developer preview เวอร์ชั่นแรกถูกปล่อยออกมา (เร็วกว่าที่คาดไว้มาก)

Android 16 developer preview

Google ปล่อยระบบปฏิบัติการ Android รุ่นใหม่ทุกปี โดย Android 15 Developer Preview เวอร์ชันแรก ถูกปล่อยออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ แต่บริษัทก็ได้ประกาศเปิดตัว Android 16 Developer Preview เวอร์ชันแรกหลังจากปล่อย Android 15 อย่างเป็นทางการบน AOSP เพียงไม่กี่เดือน โดยให้เหตุผลว่าเป็น “ความพยายามที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมในแอปและอุปกรณ์ได้เร็วขึ้น” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Google มีแผนจะปล่อย Android API สองเวอร์ชั่นในปีหน้าโดยเวอร์ชันหลัก (Major SDK) ที่จะเปิดตัวในไตรมาส 3 ขยับมาเป็นไตรมาส 2 ของปี 2025 และเวอร์ชันย่อย (Minor SDK) เปิดตัวในไตรมาส 4 ของปี 2025  ซึ่งเวอร์ชั่นย่อpจะเน้นเพียงการอัปเดตฟีเจอร์ การปรับแต่งประสิทธิภาพ และการแก้ไขบั๊กเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่เพื่อให้สอดรับกับการเปิดตัวมือถือรุ่นใหม่ท […]

DFRobot EDGE102-DMX512 : คอนโทรลเลอร์สำหรับระบบแสงสว่างที่ใช้ MCU ESP32-S3 และชิปโปรโตคอล DMX512

EDGE102 DMX512 Lighting Programming Controller

DFRobot EDGE102-DMX512 เป็นคอนโทรลเลอร์สำหรับระบบแสงสว่างที่ใช้ชิปรองรับโปรโตคอล DMX512 และไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย มีการออกแบบมาเพื่อการจัดการแสงสว่างในโรงละคร, เวที, และสถานที่จัดงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี WiFi และ Bluetooth ในตัว, สามารถโปรแกรมและควบคุมอุปกรณ์แบบไร้สายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งช่วยลดความยุ่งยากในการตั้งค่าระบบแสงที่ซับซ้อน คอนโทรลเลอร์รุ่นนี้รองรับ RS485 (โหมด master/slave ), I2C, UART, และ GPIO pins ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์และบอร์ดต่าง ๆ ได้หลากหลาย คอนโทรลเลอร์นี้ยังรองรับการทำงานอัตโนมัติผ่านการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์อินฟราเรด, เครื่องวัดระดับเสียง, และเซ็นเซอร์เลเซอร์ โดยมี อินพุตสวิตช์อุตสาหกรรมแบบแยกแสง (Optically Isolated) จำนวน 8 ช่ […]

UP 710S – บอร์ดพัฒนาที่บางและขนาดเท่าบัตรเครดิตที่ใช้ Intel N97 พร้อมซ็อกเก็ต M.2 E-Key WiFi และอินเทอร์เฟสอื่น ๆ

UP 710S Intel N97 development board

UP 710S ของ AAEON เป็นบอร์ด SBC และบอร์ดพัฒนาที่บางมีขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel N97 มาพร้อมซ็อกเก็ต M.2 E-Key สำหรับโมดูล WiFi และ Bluetooth รวมถึงอินเทอร์เฟสอื่น ๆ  เช่น Gigabit Ethernet, USB 2.0, USB 3.0 และเอาต์พุต HDMI คล้ายกับที่พบในบอร์ด Raspberry Pi บอร์ดนี้คล้ายกับ UP 7000 SBC ที่ใช้ซีพียู Intel N50, N97 หรือ N100 แต่ออกแบบมาให้บางกว่า โดยเปลี่ยน 40-pin ที่รองรับ Raspberry Pi ถูกแทนที่ด้วยขั้วต่อ wafer ระยะพิทช์ 1 มม. ซึ่งเปิดใช้งาน GPIO, I2C, SPI และอินเทอร์เฟซ serial (COM) แทน สเปคของ UP 710S: Alder Lake-N SoC ค่าเริ่มต้น – โปรเซสเซอร์ Intel Processor N97 แบบ quad-core สูงสุด 3.6 GHz พร้อม cache 6MB, Intel UHD Graphics Gen 12 (24EU) @ 1.2 GHz; TDP: 12W ตัวเลือก – Intel N50, N100, N200 หน่วยความจำ […]

โฆษณา

การจัดเก็บข้อมูล (Data Acquisition) ความเร็วสูงด้วยอินเทอร์เฟส HSTX ของ Raspberry Pi Pico 2 และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0

Raspberry Pi Pico 2 high speed data acquisition

เราเคยกล่าวถึง อินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณวิดีโอและอินเทอร์เฟซหน้าจอ เนื่องจากสามารถส่งข้อมูลได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถรับข้อมูลได้ Steve Markgraf ได้ค้นพบการใช้งานอินเทอร์เฟส HSTX ในอีกกรณีหนึ่ง คือ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Acquisition) แบบความเร็วสูง โดยใช้บอร์ด Raspberry Pi Pico 2 ร่วมกับบอร์ด DVI Sock สำหรับ Pico และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0 ที่ใช้ MS2130 เขาสามารถสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 75 MB/s จาก RP2350 ที่โอเวอร์คล็อกไปยังคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่มีพอร์ต USB 3.0 ได้ นอกจากนี้บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX ที่น่าจะใช้งานได้เช่นกัน แต่ยังไม่ได้ทำการทดสอบ เฟิร์มแวร์ สำหรับ “h […]

Conexio Stratus Pro nRF9151 : ชุดพัฒนา IoT พลังงานต่ำที่รองรับ LTE-M/NB-IoT, DECT NR+, GPS และอื่นๆ

Conexio Stratus Pro nRF9151 devkit

Conexio Stratus Pro nRF9151 เป็นชุดพัฒนา IoT ที่ใช้ชิป Nordic Semi nRF9151 เป็นชิปประเภท SiP (System-in-Package) พร้อมรองรับการเชื่อมต่อ LTE-M/NB-IoT, DECT NR+ และ GNSS ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ เช่น ตัวติดตามทรัพย์สิน (Asset Trackers), อุปกรณ์ตรวจวัดสิ่งแวดล้อม, สมาร์ทมิเตอร์, และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ชุดพัฒนานี้มาพร้อมกับ “Stratus Pro Expansion Dock” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มการเชื่อมต่อ WiFi 6 ผ่านบอร์ดขยาย nRF7002 และโมดูลอื่นๆ ได้หลากหลายผ่านคอนเนคเตอร์ Grove, Qwiic, MikroBus และซ็อกเก็ต XIAO จาก Seeed Studio อุปกรณ์นี้เป็นรุ่นอัปเดตของ Conexio Stratus Pro รุ่นเดิมที่ใช้ nRF9161 ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีชุดฟีเจอร์ที่คล้ายกันมาก เราจะมาดูรายละเอีย […]

โฆษณา