Olimex RVPC เป็นคอมพิวเตอร์ RISC-V ราคา 1 ยูโร(~36฿) ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ WCH CH32V003 RISC-V และมาพร้อมกับพอร์ต VGA สำหรับการแสดงผลวิดีโอ และคอนเนกเตอร์ PS/2 สำหรับเชื่อมต่อคีย์บอร์ด คุณอาจจะไม่สามารถทำอะไรได้มากนักกับอุปกรณ์นี้ในฐานะผู้ใช้งานทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะบอร์ด RVPC ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สนี้มีเป้าหมายหลักที่ตลาดการศึกษา โดยนำเสนอเป็นชุดคิทที่ต้องบัดกรีเอง เพื่อให้ราคาขายต่ำลงและใช้เป็นชุดเรียนรู้การบัดกรีด้วย สเปคของ Olimex RVPC: MCU – WCH CH32V003 ไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V2A 32 บิต สูงสุด 48 MHz พร้อม SRAM 2KB, flash 16KB (แพ็คเกจ SOP8 พร้อม 6x GPIO) เอาท์พุตวิดีโอ – คอนเนกเตอร์ VGA (3x GPIO ใช้สำหรับ Vsync, HSync และ RGB) พอร์ตคีย์บอร์ด – คอนเนกเตอร์ PS/2 (ใช้ 2x GPIO) พอร์ตโปรแ […]
Jumperless V5 : เบรดบอร์ดสามารถโปรแกรมได้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350B พร้อมแหล่งจ่ายไฟในตัว
Jumperless V5 เป็นเบรดบอร์ด (Breadboard) ที่สามารถโปรแกรมได้ ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350B ซึ่งช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้สายจัมเปอร์ในการเชื่อมต่อ ทำให้สามารถเริ่มต้นทดลองสร้างต้นแบบได้ทันที อุปกรณ์นี้ถูกอธิบายว่าเป็น “Integrated Development Environment (IDE) สำหรับฮาร์ดแวร์” นอกจากนี้ Jumperless V5 ยังช่วยลดความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์ทดสอบ เพราะมีแหล่งจ่ายไฟในตัว และสามารถทำงานเป็นมัลติมิเตอร์, ออสซิลโลสโคป, เครื่องสร้างสัญญาณฟังก์ชัน, และตัววิเคราะห์ลอจิก Jumperless V5 breadboard ตามชื่อที่บอกไว้ เป็นเวอร์ชันปรับปรุงจาก Jumperless รุ่น original โดยมีการอัปเกรดสำคัญหลายอย่างเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น Jumperless V5 มีจอแสดงผลแบบเมทริกซ์ LED ขนาด 14 x 30 ใต้เบรดบอร์ด, โพรบสำหรับการเชื่อมต่อและว […]
Sensor Watch Pro เปลี่ยนนาฬิกา Casio F-91W ให้เป็นสมาร์ทวอทช์ดิจิทัลแบบโมดูลาร์ที่ใช้ MCU Arm Cortex M0+
Joey Castillo จาก Oddly Specific Objects ได้เปิดตัวนาฬิการุ่นถัดจาก Sensor Watch ซึ่งใช้ชื่อว่า Sensor Watch Pro โดย Sensor Watch Pro เป็นการเปลี่ยนบอร์ดสำหรับนาฬิกาดิจิทัลคลาสสิก Casio F-91W หรือ A158W แทนที่กลไกควอตซ์เดิมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ ARM Cortex-M0+ ที่ใช้พลังงานต่ำ Sensor Watch Pro ยังคงคุณสมบัติต่างๆ จาก Sensor Watch Lite และมาพร้อมกับการอัปเกรดบางอย่าง เช่น piezo buzzer ที่เสียงดังกว่า, ไฟ RGB LED, เซนเซอร์แสงอินฟราเรด, และประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ต้องบัดกรีเลย รุ่นใหม่นี้รวมเข้ากับขั้วต่อสปริงโลหะที่สั่งทำพิเศษ ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องบัดกรีด้วยตนเองหลังจากซื้อ เราเคยพูดถึงนาฬิกาที่สามารถปรับแต่งได้ เช่น Bangle.js, Bangle.js 2, และ Watchy ผู้ซื้อสามารถเลือกจอ LCD ที่กำหนดเองได้ซึ่งเพิ่มจำนวนเซ็กเมนต์จาก 7 […]
The Things Indoor Gateway Pro : โซลูชัน LoRaWAN ที่ใช้ ESP32 และ Semtech SX1302
Things Industries ได้เปิดตัว The Things Indoor Gateway ครั้งแรกเมื่อปี 2019 ซึ่งเป็นเกตเวย์ (gateway) สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN แบบหลายช่องสัญญาณที่มีราคาไม่แพง ออกแบบมาเพื่อใช้งานในเครือข่าย IoT แม้ว่าจะมีแบบช่องสัญญาณเดียวราคาถูก เช่น Dragino OLG01 ที่มีราคา $83.50(~2,700฿) แต่เกตเวย์เหล่านี้มักพบปัญหาในการเชื่อมต่อในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ช่องสัญญาณร่วมกัน, The Things Indoor Gateway ที่มีราคาอยู่ประมาณ $111(~3,600฿) จึงเป็นโซลูชันที่เชื่อถือได้สำหรับการใช้งาน IoT ในขนาดใหญ่ ด้วยความสำเร็จที่ได้รับจากรุ่นก่อนบริษัทได้เปิดตัวเกตเวย์รุ่นใหม่ Things Indoor Gateway Pro ซึ่งเป็น LoRaWAN gateway ที่ออกแบบมาเพื่อการติดตั้งเครือข่าย IoT ที่ราบรื่น โดยมีฟีเจอร์ zero-touch provisioning (การกำหนดค่าอัตโนมัติ), การ […]
เปิดตัว Raspberry Pi AI Camera ที่ใช้เซนเซอร์ Sony IMX500 AI และ MCU RP2040
เราเคยได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Raspberry Pi ได้จัดแสดง Raspberry Pi Zero 2W พร้อมกล้อง Raspberry Pi AI Camera ที่ใช้เซนเซอร์ Sony IMX500 intelligent vision ในงาน Embedded World 2024 แต่ในขณะนั้นยังไม่มีวางจำหน่าย และตอนนี้กล้อง AI Camera ของ Raspberry Pi วางจำหน่ายแล้ว และต่อมาได้มีการเปิดตัว Raspberry Pi AI Kit ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น ซึ่งออกแบบมาสำหรับ Raspberry Pi 5 โดยมาพร้อมกับ Hailo-8L NPU 13 TOPS ที่เชื่อมต่อผ่าน PCIe, ส่วนกล้อง AI Camera ที่ใช้เซนเซอร์ Sony IMX500 และมีไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 ช่วยจัดการ Neural Network และเฟิร์มแวร์ แม้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า แต่ก็ยังสามารถทำงานหลายอย่างได้ เช่น การตรวจจับวัตถุและจำแนกร่างกาย และสามารถใช้งานได้กับ Raspberry Pi SBC ทุกรุ่นที่มีตัวเชื่อมต่อ MIPI CS […]
ThunderScope เป็นออสซิลโลสโคปแบบโอเพ่นซอร์สพร้อมพอร์ต Thunderbolt และ PCIe มีอัตราการสุ่มตัวอย่างข้อมูล 1 GS/s
ThunderScope เป็นเครื่องมือวัดออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) แบบโอเพ่นซอร์สเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทาง Thunderbolt/USB4 และ PCIe โดยมีอัตราการสุ่มตัวอย่างสูงสุด 1 GS/s สามารถพกพาสะดวก เป็นทางเลือกโอเพ่นซอร์สที่มีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับออสซิลโลสโคปแบบตั้งโต๊ะและแบบใช้พีซีราคาแพง และยังมีอัตราการสุ่มตัวอย่างที่สูงกว่าออสซิลโลสโคปแบบ USB ส่วนใหญ่ ThunderScope สตรีมข้อมูลตัวอย่างไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อการประมวลผลและการวิเคราะห์สัญญาณ ซึ่งแตกต่างจากออสซิลโลสโคปแบบดั้งเดิมที่ “ถูกจำกัดด้วยความสามารถในการประมวลผลภายในและอินเทอร์เฟสผู้ใช้ที่จำกัด” โดย ThunderScope ใช้อินเทอร์เฟสที่เร็วที่สุดอย่าง Thunderbolt ในการสตรีมข้อมูล ทำให้สามารถใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ของคุณได้อย่างเต็มที่ ThunderScope ยังเป็น & […]
MYiR Tech MYC-LD25X : โมดูลที่ใช้ STM32MP25 ขนาดเล็กสามารถรันบน Debian 12
MYC-LD25X ของ MYiR Tech เป็นโมดูล (system-on-module) ขนาดเล็กกะทัดรัด 39×37 มม. ที่ออกแบบโดยใช้ STMicro STM32MP25 dual-core Cortex-A35 SoC ทำงานที่ความเร็ว 1.5GHz พร้อมด้วย Cortex-M33 core และ NPU ที่สามารถประมวลผลได้ถึง 1.35 TOPS โมดูลนี้มาพร้อมกับ RAM LPDDR4 สูงสุด 2GB, หน่วยความจำ eMMC ขนาด 8GB และตัวเลือกการเชื่อมต่อหลากหลาย เช่น Gigabit Ethernet, Edge computing, ระบบพลังงาน และระบบอัตโนมัติ, MYC-LD25X เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในสาขาเหล่านี้ ก่อนหน้านี้เราเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนาอื่นๆ จาก MYiR เช่น MYD-J7A100T, MYD-YG2UL, MYD-YG2LX และ MYD-J1028X นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง system-in-package และโมดูล system-on-module ที่ใช้ STM32MP25 เช่น Digi ConnectCore MP25 และ Octavo OSD32MP2 […]
รีวิว Radxa X4 Kit : บอร์ด SBC ที่ใช้ Intel N100 – ทดสอบประสิทธิภาพและ GPIO บน Ubuntu 24.04 (Part 2)
หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ Radxa X4 Kit เบื้องต้นไปแล้ว ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน Radxa X4 Kit บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับซิงเกิ้ลบอร์ดยอดนิยมอย่าง Raspberry Pi 5 โดยใช้การทดสอบตามหัวข้อดังนี้ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และหลังจากนั้นเรายังจะทดสอบการใช้งานขา GPIO จำนวน 40 ขาที่เชื่อมต่อกับ MCU RP2040 ที่ติดตั้งบนบอร์ดให้เห็นกันว่าถ้าต้องการจะใช้งานจะทำได้อย่างไร ข้อมูลระบบเบื้องต้น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 |
unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ cat /etc/lsb-release DISTRIB_ID=Ubuntu DISTRIB_RELEASE=24.04 DISTRIB_CODENAME=noble DISTRIB_DESCRIPTION="Ubuntu 24.04 LTS" unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ uname -a Linux radxa-x4 6.8.0-40-generic #40-Ubuntu SMP PREEMPT_DYNAMIC Fri Jul 5 10:34:03 UTC 2024 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ df -mh Filesystem Size Used Avail Use% Mounted on tmpfs 772M 2.3M 770M 1% /run /dev/nvme0n1p2 116G 12G 99G 11% / tmpfs 3.8G 4.0K 3.8G 1% /dev/shm tmpfs 5.0M 8.0K 5.0M 1% /run/lock efivarfs 192K 84K 104K 45% /sys/firmware/efi/efivars /dev/nvme0n1p1 1.1G 6.2M 1.1G 1% /boot/efi tmpfs 772M 2.6M 770M 1% /run/user/1000 |
โดยเราทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ลงไปบน SSD ขนาด 128GB และแรมขนาด 8GB จากนั้นเราทำการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้วย […]