Arduino Plug and Make Kit สำหรับผู้เริ่มต้น ประกอบด้วยบอร์ด Arduino UNO R4 WiFi และโมดูล I2C Modulino

Arduino UNO R4 WiFi Modulino nodes

Arduino เพิ่งเปิดตัวชุดคิท “Plug and Make” ที่ออกแบบมาสำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งประกอบด้วยบอร์ด Arduino UNO R4 WiFi, โมดูล Modulino 7 ตัว, ฐาน “Modulino” สำหรับติดตั้ง UNO R4 และโมดูลและมีสายเคเบิล, สเปเซอร์, สกรู และน็อตต่างๆ เมื่อคิดถึงโปรเจกต์ Arduino อาจนึกถึงบอร์ดทดลองหรือแม้แต่การบัดกรี แต่ชุด Arduino Plug and Make ใหม่นี้ไม่ต้องการสิ่งเหล่านั้น ไม่ต้องใช้บอร์ดทดลอง สายจัมเปอร์ หรือการบัดกรี ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อโมดูลกับบอร์ด Arduino ผ่านสาย Qwiic ติดตั้งทุกอย่างอย่างเรียบร้อยบนฐานที่มีมาให้ และทำตามหนึ่งในเจ็ดโครงการที่มีคำแนะนำทีละขั้นตอนที่มาพร้อมกับชุดนี้ได้เลย เนื้อหาชุด Arduino Plug and Make บอร์ด Arduino UNO R4 WiFi 7x โมดูล Modulino I2C Modulino Knob* – ตัวเข้ารหัสสำหรับการปรับค่า Modulino Pixels* – ไ […]

รีวิว Agrosense LoRaWAN sensors และ SenseCAP M2 LoRaWAN indoor gateway

SenseCAP M2 Multi Platform LoRaWAN Indoor Gateway review

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมารีวิวเซ็นเซอร์ในซีรี่ย์ Agrosense ซึ่งเป็นกลุ่มของเซ็นเซอร์ไร้สายที่รับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN ของ MakerFabs ครับ โดยคราวนี้ผมได้รับเซ็นเซอร์สำหรับการวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมมา 4 ชุด และได้รับได้รับเกตเวย์ (gateway) สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN มาเพิ่มอีก 1 ชุด ตามรายการด้านล่างนี้ครับ AgroSense LoRaWAN Barometric Pressure Sensor สำหรับการวัดความกดอากาศ (barometric pressure) สามารถวัดค่าได้ในช่วง 300 ถึง 1100 hPa (±0.12 hPa) มีความละเอียด 0.01 hPa AgroSense LoRaWAN Light Intensity Sensor สำหรับการวัดความเข้มแสง (light intensity) ในช่วง 1 ถึง 65535 lx (±1 lx) และความละเอียด ±20% AgroSense LoRaWAN Temperature & Humidity Sensor สำหรับการวัดอุณหภูมิในช่วง -40℃ ถึง 85℃ (±0.2℃ ) และความชื้นในช […]

บอร์ด Infineon CY8CKIT-062S2-AI evaluation kit ที่ใช้ PSoC 6 พร้อมเซนเซอร์, Arduino Header และคอนเนกเตอร์ Pmod

Infineon CY8CKIT-062S2-AI PSoC 6 Edge AI evaluation kit

บอร์ด Infineon CY8CKIT-062S2-AI evaluation kit เป็นแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PSoC 6 และออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและทดสอบแอปพลิเคชันด้าน Edge AI ได้อย่างง่ายดาย บอร์ดพัฒนานี้มีเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เรดาร์, ไมโครโฟน, เซนเซอร์ Magnetometer, IMU และเซนเซอร์วัดความดันอากาศ ซึ่งทำให้การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย นอกจากนี้ บอร์ดยังมีการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth และมีขั้วต่อขยายเพิ่มเติมที่สามารถใช้เชื่อมต่อโมดูลและเซ็นเซอร์อื่นๆ คุณสมบัติทั้งหมดนี้ทำให้บอร์ดนี้มีประโยชน์ในการสร้างแอปพลิเคชันที่ใช้ AI ในหลายด้าน เช่น ระบบอัตโนมัติในบ้านอัจฉริยะ, การตรวจสอบอุตสาหกรรม, อุปกรณ์สวมใส่ อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ และหุ่นยนต์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับโมดูล AI Edge ที่ใช้พลังงานต่ำที่คล้ […]

รีวิว SONOFF Zigbee Water Leak Sensor (SNZB-05P) เซนเซอร์ตรวจจับน้ำรั่ว พร้อมใช้งานร่วมกับ eWeLink และ Home Assistant

SONOFF Zigbee Water Leak Sensor SNZB 05P review

วันนี้เราจะมารีวิวเซ็นเซอร์ตัวใหม่อีกตัวจาก SONOFF ที่เป็นแบบ Zigbee มันก็คือ Water Leak Sensor (SNZB-05P) ตัวนี้เป็นรุ่นแรกเลยของเซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่วที่ SONOFF มี ที่ผ่านมาเราได้ทำการรีวิวเซ็นเซอร์ Zigbee ตัวอื่นๆแต่เป็นแบบอัพเกรดจากรุ่นก่อนๆ สำหรับสาวก SONOFF น่าจะชอบใจเพราะเซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่วเป็นตัวที่ควรจะมีใน ecosystem ของ SONOFF มาตั้งนานแล้ว ในเมื่อออกมาทีหลังสะขนาดนี้มันก็มีจุดต่างเพิ่มขึ้นมาด้วยคือ มาพร้อมกับสายขยายระยะการตรวจจับ (Extended Detection Cable) และมีขายต่างหากต้องการระยะที่มากขึ้นเกิน 2m ไอ้เจ้าสายนี้ดูแล้วน่าจะทำให้การนำไปใช้งานทำได้หลากหลายมากกว่าแค่เซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่ว มาดูกัน! มาแกะกล่อง SONOFF Zigbee Water Leak Sensor (SNZB-05P) ภายในกล่องประกอบไปด้วย ตัวเซ็นเซอร์ สายขยายระยะ […]

รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic

Cytron Maker Uno RP2040 review CircuitPython

หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้  Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และกา […]

บอร์ดพัฒนา RPGA Feather ได้รวมชิป RP2040 กับ Lattice iCE40 FPGA สำหรับโครงการ Sensor Fusion

rpga feather board

บอร์ด RPGA Feather ของ Oak Development Technologies ได้รวมไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 เข้ากับ iCE5LP4K FPGA ของ Lattice Semiconductor ลงในบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather iCE5LP4K FPGA เป็นชิปที่ใช้พลังงานต่ำ (ultra-low-power) ในตระกูลผลิตภัณฑ์ iCE40 Ultra ที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันบนมือถือ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพา ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 ทำให้การเขียนโปรแกรมด้วย CircuitPython บน FPGA ง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ของ Oak Development Technologies ที่ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather เช่น บอร์ด IcyBlue (ที่ใช้ก iCE5LP4K FPGA) และ Lattice FeatherWing สเปคของ RPGA Feather: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์  Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+  @ 133 […]

จอสัมผัส ESP32-S3 ขนาด 7 นิ้ว ของ Waveshare พร้อมอินเทอร์เฟส RS485, CAN Bus, I2C, UART และเซนเซอร์แอนะล็อก

ESP32 S3 7 inch Touch LCD

Waveshare ESP32-S3-Touch-LCD-7 เป็นจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วที่ใช้ ESP32-S3 รองรับ WiFi 4 และ Bluetooth 5 LE มีอินเทอร์เฟสการขยายที่หลากหลาย เช่น RS485, CAN Bus, I2C, UART และอินพุตแบบแอนะล็อก ซึ่งสามารถใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน HMI เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ด ESP32 พร้อมจอแสดงผลหลายรุ่น แต่ส่วนใหญ่เป็นหน้าจอขนาดเล็กไม่เกิน 3 นิ้ว และหน้าจอขนาดใหญ่นั้นหายากมาก ยกเว้นจอ e-Paper ที่ใช้ ESP32 เช่น Inkplate 10 หรือ จอ e-Paper 7.5 นิ้วของ LILYGO ส่วนใหญ่จะใช้ ESP32-S3 เนื่องจากมาพร้อมกับอินเทอร์เฟส RGB LCD และจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว ESP32-S3 ที่เราเคยรีวิวอย่างจอแสดงผลขนาด 7.0 นิ้วของ Elecrow ที่มีสเปคคล้ายกับ Waveshare ESP32-S3- Touch-LCD-7 แต่ I/O headers น้อยกว่า Waveshare ESP32-S3-Touch-LCD-7: Wireless module – ESP32-S […]

HealthyPi Move เครื่องวัดชีพจร แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ nRF5340 ในรูปแบบเหมือนนาฬิกา

healthypi move hand

HealthyPi Move เป็นเครื่องวัดชีพจรหรือข้อมูลทางชีวภาพอื่นๆ  เป็นรุ่นล่าสุดในกลุ่ม HealthyPi ของ ProtoCentral เป็นรุ่นแรกที่มาในรูปแบบอุปกรณ์สวมใส่และสามารถวัดได้มากถึง 8 รายการ เครื่องวัดวัดชีพจร ใช้ Nordic Semiconductor nRF5340 dual-core SoC ซึ่งมีหน่วยประมวลผลแอปพลิเคชัน Cortex-M33 และหน่วยประมวลผลเครือข่าย Cortex-M33 พร้อมหน่วยความจำแฟลชขนาด 128 128MB ที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เฟส QSPI ความเร็วสูง สามารถเก็บข้อมูลที่ประมวลผลได้ถึง 10 วัน มีความสามารถในการวัดปฏิกิริยาเหงื่อที่ผิวหนัง (EDA/GSR), วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณหลอดเลือดฝอยที่อยู่ใต้ผิวหนัง (PPG) เพื่อระบุความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (SPO2), ความดันโลหิต และอัตราการผันแปรของการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ […]