บริษัท GuRu Wireless ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้พัฒนาและสาธิตระบบการส่งพลังงานแบบไร้สายที่สามารถปรับขยายและออกแบบให้เป็นโมดูลาร์ได้ โดยระบบนี้สามารถจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ที่ต้องการพลังงานสูง เช่น โดรน ได้ในระดับหลายกิโลวัตต์ จากระยะไกลถึง 30 ฟุต (ประมาณ 9 เมตร) นอกจากนี้ยังระบุว่าระบบดังกล่าวสามารถจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ เช่น ไฟ LED และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ได้ในระยะทางหลายกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่ก้าวหน้าจากชุดทดลองการส่งพลังงานแบบไร้สายระยะใกล้ของ GuRu ที่เราเคยนำเสนอไปในปี 2020 ระบบนี้ใช้สัญญาณวิทยุคลื่นมิลลิเมตรความถี่สูง 24 GHz เพื่อส่งพลังงานในระยะทางไกลโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือระบบสายโยง โดย GuRu ใช้เทคโนโลยีตัวส่งสัญญาณแบบ phased array ที่รวมชิป RFIC ที่พัฒ […]
โดรน LiteWing DIY ที่ใช้ ESP32 ใช้งบประมาณในการสร้าง 440฿
LiteWing ของ ทีมงาน Circuit Digest ได้ออกแบบโดรน DIY ราคาถูกที่ควบคุมด้วยโมดูล ESP32 โดยใช้แผ่น PCB แบบกำหนดเองและชิ้นส่วนที่มีจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป ซึ่งงบประมาณในการสร้างประมาณ 1,000 รูปี หรือประมาณ 440฿ โดรน DIY ESP32 ได้รับการออกแบบให้เป็นทางเลือกแทนโดรน DIY ที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งโดยทั่วไปจะมีราคาเกือบ $70(~2,500฿) ผลลัพธ์ที่ได้คือโดรนมีขนาดเท่าฝ่ามือและควบคุมผ่าน WiFi โดยใช้สมาร์ทโฟน และไม่ใช้ชิ้นส่วนที่สร้างจากการพิมพ์ 3D Printer โดยใช้แผ่น PCB เป็นโครงลำของโดรน คุณสมบัติและส่วนประกอบสำคัญของโดรน DIY ESP32 โมดูลไร้สาย – ESP32-WROOM-32 สำหรับการควบคุม WiFi โดยใช้สมาร์ทโฟน ที่เก็บข้อมูล – ช่องเสียบ MicroSD card slot เซนเซอร์ – MPU6050 IMU สำหรับการควบคุมความเสถียร การขับเคลื่อน 4x 720 มอเตอร์คัพแบบไม่มีแกน ( […]
M5Stamp Fly : โดรน WiFi ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมจอยสติ๊ก และใช้โปรโตคอล ESPNOW สำหรับการสื่อสาร
M5Stamp Fly ของ M5Stack เป็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้โมดูล M5Stamp S3 WiFi 4 และ BLE IoT ของบริษัทที่ใช้ ESP32-S3 ซึ่งมีมอเตอร์ 4 ตัวและเซนเซอร์หลายตัว และสามารถควบคุมได้ด้วยจอยสติ๊ก M5Atom WiFi joystick controller โดยใช้ชิป ESP32-S3 WiSoC เช่นกัน เมื่อไม่นานมานี้เราได้เห็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้ ESP32 หรือ ESP8266 เช่นโดรน DIY ที่ใช้ ESP32 และโดรน PiWings 2.0 แต่ M5Stamp Fly เหนือกว่า โดยมีเซนเซอร์ทั้งหมด 6 ตัว ซึ่งได้แก่ Barometer (วัดความดันบรรยากาศ), เซ็นเซอร์วัดระยะทางแบบ time-of-flight 2 ตัว, 6-axis IMU, 3-axis magnetometer และเซนเซอร์ล็อคตำแหน่ง (optical flow sensor) นอกจากนี้ยังมีพอร์ต Grove 2 พอร์ตสำหรับเซนเซอร์หรือโมดูลเพิ่มเติม สเปคของ M5Stamp Fly (K138) : ตัวควบคุมหลัก – โมดูล M5Stamp S3 WiSoC – Es […]
Ochin V2 – บอร์ดฐาน Raspberry Pi CM4 ขนาดจิ่วพร้อม micro HDMI และรองรับ Fast Ethernet สำหรับใช้งานด้านหุ่นยนต์
Ochin V2 เป็นบอร์ดฐาน Raspberry Pi CM4 carrier board เป็นรุ่นอัพเดต บอร์ด Ochin มีขนาดจิ่วสำหรับแอปพลิเคชันด้านหุ่นยนต์และโดรน โดยได้เพิ่มพอร์ต micro HDMI, รองรับ Fast Ethernet ผ่านแพดหรือตัวเชื่อมต่อ GHS (ไม่มีคอนเนกเตอร์ RJ45), LED สำหรับผู้ใช้ 2 ดวง และและการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ฟอร์มแฟคเตอร์ยังเหมือนเดิมขนาด 55 x 40 x 4.7 มม. หรือขนาดประมาณ Raspberry Pi Compute Module 4 ซึ่งเมื่อรวมกับอินเทอร์เฟส USB, UART, I2C และ SPI ที่หลากหลาย ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในพื้นที่จำกัด เช่น ระบบหุ่นยนต์หรือ UAVs (อากาศยานไร้คนขับ) สเปคของ Ochin V2 (แสดงความแตกต่างจาก Ochin V1 ด้วยตัวหนาหรือขีดทับ– โมดูลที่รองรับ – Raspberry Pi CM4 พร้อมโปรเซสเซอร์ Broadcom BCM2711 quad-core Cortex-A72, RAM สูงสุด 8GB, Fl […]
X-Fly Drone – โดรนที่บินได้คล้ายนกสื่อสารผ่าน Bluetooth ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32WB15CC
Edwin Van Ruymbeke นักวิศวกรทางการบิน เปิดตัว X-Fly เป็นโดรนที่จำลองรูปแบบการบินของนก โดรนสื่อสารผ่านทาง Bluetooth โดยใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32WB15CC, มีระยะการบิน 100 เมตร และสามารถบินได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 8-12 นาที ด้วยแบตเตอรี่ที่สามารภถอดเปลี่ยนได้ บริษัทกล่าวว่าได้ร่วมมือกับกองทัพฝรั่งเศสเพื่อพัฒนากลไกสามารถกระพือปีก ซึ่งประกอบด้วย gyroscopes และ g-sensors เพื่อช่วยให้การบินมีความเสถียร โดรนสามารถควบคุมได้ด้วยแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนหรือจอยสติ๊กแบบออปติคอล ที่สามารถต่อกับโดรนได้และยังมีความทนทานต่อการชน, ระบบแบตเตอรี่ที่สามารถเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว, และกลไกปีกที่ปรับปรุงเพื่อการบินระยะไกล เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับโดรน เช่น โดรน Kudrone Nano Drone ที่ใช้ Qualcomm Flight RB5 และโดรนที่ใช้ Qualcomm Flight Pro […]