NXP MCX W72x ชิป SoC ไร้สายที่ใช้ Cortex-M33 รองรับ Bluetooth 6.0 Channel Sounding, Zigbee, Thread และ Matter

NXP MXC W72x block diagram

NXP MCX W72x เป็นซีรีส์ชิป SoC แบบไร้สายที่ใช้ Cortex-M33 รองรับ Bluetooth 6.0 และคลื่นวิทยุ 802.15.4 สำหรับโปรโตคอล Zigbee, Thread และ Matter โดยตระกูล MCX W72x ยังรองรับฟีเจอร์ Bluetooth Channel Sounding เพื่อการวัดระยะทางที่แม่นยำ พร้อมกับมี Localization Compute Engine (LCE) ที่ช่วยลดความหน่วง (latency) ในการประมวลผล MCX W72x ถือเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นที่สองในตระกูล MCX W wireless family ต่อจากรุ่น MCX W71x โดยรุ่นใหม่ MCX W72x มาพร้อมกับหน่วยความจำ SRAM สูงสุด 264 KB, flash2MB, ใช้คอร์ Cortex-M33 แยกเฉพาะเพื่อจัดการกับ Bluetooth และ 802.15.4, มีระบบรักษาความปลอดภัย EdgeLock Secure Enclave และรองรับการเชื่อมต่อ I/O หลากหลาย ในแพ็คเกจขนาด 48 ขา คุณสมบัติและสเปคเด่นของ NXP MCX W72x : คอร์ไมโครคอนโทรลเลอร์ แล […]

NXP OrangeBox 2.0 : แพลตฟอร์ม Automotive Domain Controller สำหรับระบบ V2X ที่ใช้ชิป NXP i.MX 94

NXP OrangeBox 2.0 automotive domain controller

NXP OrangeBox 2.0 เป็นแพลตฟอร์มพัฒนา Automotive Domain Controller สำหรับระบบ V2X (Vehicle-to-Everything) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ NXP i.MX 94 ซึ่งออกแบบมาสำหรับยานยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะ โดยทำหน้าที่เป็นคอนโทรลเลอร์ศูนย์กลางระหว่าง Gateway ของรถยนต์กับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทั้งแบบใช้สายและไร้สาย พร้อมรองรับฟีเจอร์ เช่น Wi-Fi 6/6E, Bluetooth 5.3, UWB, 5G Cellular และระบบ Secure Car Access ที่เหมาะสำหรับการควบคุมโซนของยานยนต์ (Automotive Zone Controller), ระบบ Smart Car Access และการสื่อสาร V2X นี่เป็นครั้งแรกที่เรากล่าวถึงแพลตฟอร์มที่ใช้ i.MX 94 โดย NXP ระบุว่า OrangeBox 2.0 มีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นก่อนหน้าที่ใช้ NXP i.MX 8XLite SoC ถึง 4 เท่า โดยชิป i.MX 94 มีแกนประมวลผล Cortex-A55, Cortex-M7 และ Cortex-M33 พร้อมด้วยหน่วย […]

ชิปไร้สาย Silicon Labs SiXG301 และ SiXG302 “Series 3” สำหรับแอปพลิเคชัน IoT ที่ใช้พลังงานจากสายไฟและแบตเตอรี่

Silicon Labs SiMG301 Series 3 wireless SoC

Silicon Labs ได้เปิดตัวชิป SoC “Series 3” ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 22 นาโนเมตร (nm) ได้แก่ SiXG301 และ SiXG302 ซึ่งเป็นชิป multiprotocol wireless SoC ที่ใช้ Arm Cortex-M33 โดยออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ IoT ทั้งแบบใช้ไฟฟ้าจากสาย (line-powered) และแบบใช้แบตเตอรี่ ชิป SiXG301 มาพร้อมกับหน่วยความจำแฟลชขนาด 4MB และ SRAM ขนาด 512KB ภายในยังมีวงจรขับ LED ล่วงหน้า (LED pre-driver) สำหรับใช้งานในผลิตภัณฑ์ไฟอัจฉริยะ (Smart Lighting) และบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) และรองรับการสื่อสารไร้สาย 2.4 GHz หลายโปรโตคอล เช่น Bluetooth, Zigbee และ Thread รวมถึงรองรับ มาตรฐาน Matter ส่วนชิป SiXG302 ที่รองรับเฉพาะ Bluetooth และ Matter จะมีการใช้พลังงานต่ำเป็นพิเศษ โดยใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 15 ไมโครแอมป์ต่อเมกะเฮิรตซ์ (µA/MHz) หรือ ต่ำกว่าชิปคู่แข่งใ […]

Adafruit Sparkle Motion Stick – บอร์ดควบคุม WLED แบบ USB ที่ใช้ ESP32-S3 มีเอาต์พุตไฟ LED 5V สองช่อง, ไมโครโฟน I2S และเคส snap-fit

Adafruit Sparkle Motion Stick Enclosure Kit

Adafruit ได้เปิดตัว Adafruit Sparkle Motion Stick อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเป็นบอร์ดควบคุม Neopixel แบบ USB ที่มีขนาดกะทัดรัด รองรับการใช้งานร่วมกับ WLED ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถูกออกแบบมาสำหรับโปรเจกต์ไฟ LED แบบโต้ตอบกับเสียง (audio-reactive), อุปกรณ์คอสเพลย์, ไฟประดับเทศกาล และการใช้งานอื่นๆ บอร์ดนี้ใช้โมดูล ESP32-S3 เป็นหลัก มาพร้อมพอร์ต USB Type-A สำหรับทั้งการโปรแกรมและจ่ายไฟ (5V, 2A สูงสุด) และมีเคสพลาสติกแบบเรียบง่ายสำหรับป้องกันบอร์ด (ไม่กันน้ำ) คุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่นไมโครโฟนแบบ I2S ในตัว สำหรับตรวจจับเสียงเพื่อใช้งานร่วมกับเอฟเฟกต์ไฟ, ตัวรับสัญญาณ IR (อินฟราเรด) สำหรับควบคุมระยะไกล, ปุ่มกดที่สามารถโปรแกรมได้ตามต้องการ, ไฟ NeoPixel หนึ่งดวงบนบอร์ด และไฟแสดงสถานะสีแดง (status LED), ขั้วต่อแบบ screw te […]

SiFli SF32LB52J : ไมโครคอนโทรลเลอร์ Bluetooth ที่ใช้ big.LITTLE พร้อม Arm Cortex-M33 เป็นชิปหลักของสมาร์ทวอทช์ Core Time 2

SiFli SF32LB52J block diagram

SiFli SF23LB52J เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ที่รองรับ Bluetooth 5.3 ซึ่งอยู่ในตระกูล SF32LB52x โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบ big.LITTLE ที่มี Cortex-M33 จำนวน 2 คอร์ ประกอบด้วย high-performance core ความเร็ว 240 MHz  สำหรับรันแอปพลิเคชันของผู้ใช้หรือส่วน GUI และ low-power core ความเร็ว 24 MHz สำหรับจัดการการทำงานของ Bluetooth เมื่อไม่กี่เดือนก่อน Eric Migicovsky ผู้ก่อตั้งบริษัทสมาร์ทวอทช์ Pebble และปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้ง Core Devices ได้เปิดตัว สมาร์ทวอทช์  Core 2 Duo และ Core Time 2 ซึ่งรันเฟิร์มแวร์แบบโอเพ่นซอร์ส PebbleOS โดยทั้งสองรุ่นนี้ถือเป็นการนำ Pebble 2 และ Pebble Time 2 ที่ไม่เคยวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการกลับมาอีกครั้ง พร้อมมีการปรับปรุงเล็กน้อย ก่อนหน้านี้มีข้อมูลว่า Core 2 Duo ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Nordic nRF52840 A […]

Bluetooth 6.1 เพิ่มฟีเจอร์ Randomized RPA Updates เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน

Bluetooth 6.1

กลุ่ม Bluetooth Special Interest Group (SIG) เพิ่งประกาศรับรอง Bluetooth 6.1 Core Specification อย่างเป็นทางการ โดยมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Randomized Resolvable Private Address (RPA) Updates และแก้ไขข้อผิดพลาด (errata) หลายรายการ ฟีเจอร์ Randomized RPA Updates นี้ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมความเป็นส่วนตัวและเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน (power efficiency) ให้กับอุปกรณ์ Bluetooth โดยจะทำการสุ่มช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ (randomizing the timing of address changes) เพื่อทำให้บุคคลภายนอกติดตามหรือจับความเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ได้ยากขึ้นในระยะยาว และยังช่วยลดภาระจากการเปลี่ยนที่อยู่ (offloading the address change operation) ให้กับส่วนของ Controller เพื่อให้อุปกรณ์ Bluetooth ใช้พลังงานน้อยลงและยืดอายุการใช้งานแบตเตอ […]

Adafruit Sparkle Motion – บอร์ดควบคุมไฟ LED แบบ addressable ที่ใช้ชิป ESP32 พร้อมเอาต์พุต 4 ช่อง, พอร์ตจ่ายไฟ USB-C 100W และรองรับ WLED/xLights

Adafruit Sparkle Motion

Adafruit Sparkle Motion เป็นบอร์ดควบคุมไฟ LED ที่ใช้ชิป ESP32 ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable เช่น WS2812B, APA102, SK6812, LPD8806, UCS2904 และ SM16704 โดยรองรับการใช้งานร่วมกับทั้งโครงการ WLED และ xLights และมาพร้อมพอร์ต USB-C PD ที่รองรับกำลังไฟสูงถึง 100W เพื่อรองรับการใช้งานกับไฟ LED ที่ต้องการแรงดันสูงได้ บอร์ดนี้รองรับการจ่ายไฟได้ 2 แบบ ได้แก่ พอร์ต USB-C PD (เลือกได้ระหว่าง 5V, 12V และ 20V) และแจ็ค DC ขนาด 2.1 มม. มีฟิวส์ขนาด 5A และขั้วต่อสัญญาณขาออกที่มีการแปลงระดับแรงดันไฟ (level-shifted) เพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable นอกจากนี้บอร์ดยังมีไมโครโฟนดิจิทัล I2S ในตัว, ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด (IR), พอร์ต Stemma QT สำหรับ I2C, ระบบ USB-Serial พร้อมวงจรรีเซตอัตโนมัติ, GPIO breakout pads, NeoPi […]

SPARK Microsystems SR1120 : ชิปรับส่งสัญญาณไร้สายแบบ UWB ใช้พลังงานต่ำมาก รองรับอัตราการส่งข้อมูลสูงสุด 41 Mbps

SPARK SR1120 UWB transceiver

SPARK Microsystems SR1120 เป็นชิปรับส่งสัญญาณไร้สาย (wireless transceiver) แบบ Ultra-Wideband (UWB) เจเนอเรชันที่สองของบริษัท ซึ่งสามารถรองรับอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดได้ถึง 41 Mbps โดยใช้พลังงานต่ำมาก (ultra-low power) และสามารถใช้พลังงานน้อยกว่าคู่แข่งในด้านการวัดระยะด้วย UWB ถึง 100 เท่า บริษัทจากแคนาดารายนี้ยังชูจุดเด่นว่าชิป UWB ของตนมีประสิทธิภาพเหนือกว่า Bluetooth อย่างชัดเจน โดย SR1120 รุ่นใหม่นี้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่า Bluetooth ถึง 40 เท่า ใช้พลังงานน้อยกว่า 25 เท่า และมีค่าความหน่วง (latency) ต่ำกว่าถึง 60 เท่า แต่ผู้อ่านควรทราบว่า Bluetooth LE รองรับอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดได้ 2 Mbps ซึ่งจะทำให้ SR1120 เร็วกว่า Bluetooth LE ประมาณ 20 เท่า (ไม่ใช่ 40 เท่าอย่างที่กล่าวอ้าง) และ Bluetooth HDT ที่กำลังจ […]