บอร์ด USB-to-Serial สำหรับการดีบักมักใช้ในขั้นตอนการเปิดใช้งานบอร์ด, ตรวจหาปัญหาเมื่อบอร์ดไม่สามารถบูตได้, หรือเข้าถึง serial console ในระบบที่ไม่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือวิดีโอเอาต์พุต โดยทั่วไปแค่ต่อสาย GND, Tx, Rx เข้ากับบอร์ดเป้าหมาย และต่อสาย USB กับคอมพิวเตอร์ จากนั้นเปิดโปรแกรมเทอร์มินัลอย่าง Putty, Minicom หรือ Bootterm ด้วยพารามิเตอร์ที่ถูกต้องก็จะสามารถใช้งานได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ง่ายเสมอไป เช่น สาย Tx กับ Rx อาจสลับกัน หรือค่า baudrate ไม่ได้ระบุไว้, Excamera Labs จึงได้ออกแบบ TermDriver 2 อะแดปเตอร์ USB-to-Serial รุ่นใหม่ที่มีหน้าจอสีในตัวเพื่อให้การดีบักง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานแบบสแตนด์อโลน โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์, แสดงผลข้อมูลจาก serial console ได้โดยตรงบนหน้าจอขนาดเล็ก สเปคขอ […]
รีวิว มินิพีซี GEEKOM Mini IT12 2025 Edition (12th Gen Intel Core i7-1280P) – ทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04 Linux (Part3)
หลังจากที่เราได้ดูฮาร์ดแวร์ แกะกล่อง แกะเครื่อง และเปิดใช้งาน (Part 1) และทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 (Part2) ของมินิพีซี GEEKOM Mini IT12 2025 Edition ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Core i7-1280P พร้อม DDR4 32GB, SSD M.2 1TB กันไปแล้ว และในส่วนของบทความนี้เราได้ทำการการติดตั้ง Ubuntu 24.04 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพบนระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 Linux บนซีพียูIntel Core i7-1280P โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, ทดสอบประสิทธิภาพ Benchmarks พร้อมเปรียบเทียบคะแนน Benchmark กับมินิพีซี Mini IT12 2023 Edition ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Core i7-12650H, การทดสอบประสิทธิภาพของที่เก็บข้อมูล (SSD และพอร์ต USB), ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย, การทดสอบ Stress test และอุณหภูมิ CPU, เสียงของพัดลม และการใช้พลังงานของมินิพ […]
RP2350-PiZero – บอร์ด RP2350 ที่มีรูปแบบเดียวกับ Raspberry Pi Zero มาพร้อมพอร์ต mini HDMI และ flash 16MB
Waveshare RP2350-PiZero เป็นรุ่นอัปเดตของ RP2040-PiZero, โดยยังคงรูปแบบบอร์ดแบบ Raspberry Pi Zero เอาไว้ แต่เปลี่ยนจากไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2040 ไปใช้ RP2350 ไมโครคอนโทรลเลอร์ dual-core Cortex-M33/RISC-V ที่ทรงพลังมากกว่า RP2350-PiZero ยังคงมาพร้อมกับ flash ขนาด 16MB, พอร์ต micro HDMI/DVI, พอร์ต USB Type-C จำนวน 2 พอร์ต, ช่องใส่ microSD card และ GPIO header 40 ขา นอกจากนี้ยังรองรับการจ่ายไฟ 5V ผ่าน USB-C และรองรับแบตเตอรี่ LiPo ผ่านคอนเนกเตอร์แบบ 2 ขาพร้อมวงจรชาร์จในตัว สเปคของ RP2350-PiZero: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350B CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm TrustZone และ Secure boot หรือ Dual-core RISC-V Hazard3 @ 150 MHz สามารถเลือกใช้คอร์ประมวลผลใดก็ได้ทั้งสอง หน่วยความจำ – SRAM บ […]
nanoCH57x : บอร์ดพัฒนาที่ใช้ WCH CH570/CH572 พร้อมพอร์ต USB-C, 2.4GHz radio/BLE และขา GPIO
nanoCH57x ออกแบบโดย MuseLab เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ WCH CH570/CH572 รองรับคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz แบบ proprietary (ในรุ่น CH570) หรือ Bluetooth LE (ในรุ่น CH572) โดยมีราคาถูกเพียง $3.50 (~115฿) และมีขนาดเล็กกว่า CH570 Basic Evaluation Board ที่เป็นบอร์ดอย่างเป็นทางการ เราเคยพบไมโครคอนโทรลเลอร์ราคาถูกนี้ครั้งแรกในเดือนมีนาคมปีนี้ และพบว่าบอร์ดพัฒนาอย่างเป็นทางการเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่เดือนเมษายน บอร์ดพัฒนา nanoCH57x ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH572D RISC-V ทำงานที่ความถี่ 100 MHz (รุ่น CH570D จะตามมาในภายหลัง) โดยมีหน่วยความจำแฟลชขนาด 256KB, SRAM ขนาด 12KB, และคริสตัลออนบอร์ดความถี่ 32 MHz ตัวบอร์ดยังมาพร้อมพอร์ต USB 2.0 Type-C (ใช้งานได้ทั้ง Host และ Device) และสายอากาศแบบ PCB สำหรับการสื่อสาร BLE/RF สเปคบอร์ดพัฒนา M […]
BentoIO CMX1 – บอร์ดฐานสำหรับ Raspberry Pi CM5 แบบบางพิเศษเพียง 11 มม.
BentoIO CMX1 เป็นบอร์ดฐาน (carrier board) สำหรับ Raspberry Pi CM5 ขนาดกะทัดรัดและบางพิเศษ พัฒนาโดยบริษัท Terioto ในประเทศเยอรมนี ด้วยขนาดเพียง 85 x 85 มม. และความสูงแค่ 11 มม. ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในพื้นที่จำกัด เช่น ระบบฝังตัว (Embedded Systems), การควบคุมอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ Edge ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด หลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของโมดูล Raspberry Pi CM5 และ carrier board, เราได้เห็นบอร์ดอื่น ๆ เช่น Waveshare CM5-NANO-B และ Orange Pi CM5 “Tablet” Base Board ออกมาแล้ว แน่นอนว่าบอร์ดเหล่านั้นมีขนาดกะทัดรัด แต่ก็ไม่ได้บางเท่ากับบอร์ดนี้ ถึงแม้ว่าจะบาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าขาดพอร์ตเชื่อมต่อ เพราะบอร์ดนี้มี GPIO headerแบบ 40 พินที่เข้ากันได้กับ Raspberry Pi, พอร์ต USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง, header USB 2.0 ภายในอ […]
Renesas RA2L2 – ไมโครคอนโทรลเลอร์พลังงานต่ำตัวแรกที่รองรับมาตรฐาน USB-C Revision 2.4
Renesas RA2L2 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) รุ่นแรกของโลกที่ใช้พลังงานต่ำและรองรับมาตรฐาน USB-C Revision 2.4 พร้อมความสามารถในการตรวจจับ CC สำหรับกำลังไฟ 15W และรองรับ USB FS นอกจากนี้ยังรองรับ CAN Bus, I3C และ UART พลังงานต่ำอีกด้วย โดยการเปิดตัวนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์ในตระกูล Renesas RA รุ่นอื่น ๆ เช่น RA2A2 MCU ที่ใช้ Arm Cortex-M23 ซึ่งเปิดตัวในปี 2024 และ RA4L1 เป็น MCU ที่ใช้พลังงานต่ำมาก (ultra-low-power) เพียง 168 µA/MHz 168 µA/MHz พร้อม Flash dual-bank และรองรับการสัมผัสแบบ capacitive ไมโครคอนโทรลเลอร์ RA2L2 ที่ใช้ Cortex-M23 มาพร้อมกับหน่วยความจำแฟลชสำหรับเก็บโค้ดสูงสุด 128KB, SRAM ขนาด 16KB และ data flash ขนาด 4KB ซึ่งสามารถใช้งานเสมือน EEPROM ได้ รองรับแรงดันไฟเลี้ยงกว้างตั้งแต่ 1.6V ถึง 5.5V […]
ชิป Allwinner H135 RISC-V สำหรับโปรเจคเตอร์และโซลูชัน KVM
Allwinner H135 เป็นชิป SoC แบบมัลติมีเดียสถาปัตยกรรม RISC-V 64 บิต ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับโปรเจคเตอร์ต้นทุนต่ำ แต่ด้วยการรองรับ HDMI Rx และการเข้ารหัสวิดีโอ MJPEG ที่ความละเอียด 1080p60 ก็ทำให้เหมาะสำหรับโซลูชัน KVM (Keyboard, Video, Mouse) ระดับเริ่มต้นเช่นกัน H135 ใช้แกนประมวลผล XuanTie C906 รองรับหน่วยความจำ DDR2/DDR3/DDR3L สูงสุด 256MB มาพร้อมตัวถอดรหัสวิดีโอ H.265/H.264 ที่ความละเอียด 1080p60 มีอินเทอร์เฟซแสดงผล MIPI DSI, LVDS แบบสองช่อง, และ RGB888 รวมถึงพอร์ตเชื่อมต่อรอบด้าน เช่น USB, SDIO, UART, SPI, PWM, GPIO และอื่น ๆ สเปคของ Allwinner H135 : CPU – XuanTie C906 RISC-V CPU พร้อม I-cache 64 KB และ D-cache 64 KB หน่วยแสดงผล (Display Engine) Allwinner Awonder1.1 Lite สำหรับการประมวลผลภาพ Kรองรับการแก้ไข […]
BUG : อุปกรณ์ USB สำหรับการแฮ็กอย่างถูกจริยธรรม (Ethical Hacking) พร้อมตัวเลือก MCU RP2040, ESP32-S3 หรือ STM32
Tarun’s BUG เป็นอุปกรณ์ลักษณะคล้ายแฟลชไดรฟ์ USB ที่มาพร้อมหน้าจอขนาดเล็ก ถูกอธิบายว่าเป็น อุปกรณ์แฮ็กจริยธรรมอย่างถูกจริยธรรม (Ethical Hacking) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI, รองรับการควบคุมด้วยเสียง และมีตัวเลือกหน่วยประมวลผลให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core, ชิป Espressif Systems ESP32-S3 wireless SoC หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32F411 Cortex-M4F อุปกรณ์นี้ยังมีช่องใส่ microSD card สำหรับเก็บข้อมูล และรุ่นที่ใช้ ESP32-S3 ยังรองรับการเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth Low Energy (BLE) ด้วย BUG มีความสามารถในการ “ป้อนคำสั่งผ่าน HID ขั้นสูง” (เช่น การจำลองคีย์บอร์ดหรือเมาส์) พร้อมการควบคุมแบบไร้สาย และการผสานรวมกับ ChatGPT ได้อย่างลงตัว เหมาะสำหรับนักแฮ็กจริยธรรม (Ethical hacker), ผู้ฝึกอบรมด้า […]