การจัดเก็บข้อมูล (Data Acquisition) ความเร็วสูงด้วยอินเทอร์เฟส HSTX ของ Raspberry Pi Pico 2 และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0

Raspberry Pi Pico 2 high speed data acquisition

เราเคยกล่าวถึง อินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณวิดีโอและอินเทอร์เฟซหน้าจอ เนื่องจากสามารถส่งข้อมูลได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถรับข้อมูลได้ Steve Markgraf ได้ค้นพบการใช้งานอินเทอร์เฟส HSTX ในอีกกรณีหนึ่ง คือ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Acquisition) แบบความเร็วสูง โดยใช้บอร์ด Raspberry Pi Pico 2 ร่วมกับบอร์ด DVI Sock สำหรับ Pico และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0 ที่ใช้ MS2130 เขาสามารถสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 75 MB/s จาก RP2350 ที่โอเวอร์คล็อกไปยังคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่มีพอร์ต USB 3.0 ได้ นอกจากนี้บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX ที่น่าจะใช้งานได้เช่นกัน แต่ยังไม่ได้ทำการทดสอบ เฟิร์มแวร์ สำหรับ “h […]

รีวิว : เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FLSUN T1 พร้อมติดตั้งและทดลองใช้งาน

FLSUN T1 3d printer review

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FLSUN T1 เป็นเครื่องพิมพ์ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่รวดเร็ว ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1000 mm/s และมีความแม่นยำสูง ใช้ระบบการเคลื่อนที่แบบเดลต้า ใช้การเคลื่อนที่ด้วยรางสไลด์ (Linear Rail) และสายพานขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ซึ่งช่วยลดการสั่นสะเทือนขณะพิมพ์ มาพร้อมหน้าจอ LCD ขนาด 4.3 นิ้ว แบบสัมผัสที่ใช้งานง่าย รองรับทั้งการพิมพ์ผ่าน USB และเครือข่าย Wi-Fi ช่วยเพิ่มความสามารถในการสั่งพิมพ์แบบไร้สาย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FLSUN T1 จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย และยังมี FLSun Slicer เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ควบคุมการพิมพ์และเตรียมไฟล์สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติของ FLSUN โดยเฉพาะ ซอฟต์แวร์นี้ทำหน้าที่เป็นตัวจัดการไฟล์ 3 มิติ (STL, OBJ ฯลฯ) […]

USB Insight Hub : เครื่องมือโอเพ่นซอร์สสำหรับทดสอบ USB ที่ใช้ ESP32-S2

usb insight hub testing tool

USB Insight Hub เป็นเครื่องมือทดสอบ USB ที่ผลิตโดยบริษัท Aerio Solutions SAS ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ใช้ ESP32-S2 ซึ่งเป็นชิป SoC ที่รองรับการเชื่อมต่อไร้สาย อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาสำหรับนักพัฒนาและผู้ที่สนใจเทคโนโลยี Insight Hub เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB Type-C และมีพอร์ตขยายปลายทาง (downstream ports) อีกสามพอร์ต แต่ละพอร์ตมาพร้อมกับจอแสดงผลสีขนาด 1.3 นิ้ว ซึ่งจะแสดงข้อมูลของอุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น ชื่อที่กำหนดให้ (enumeration name), แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ชื่อที่แสดงบนหน้าจอนี้ช่วยให้ง่ายต่อการระบุพอร์ตเสมือนทั้งหมดที่กำลังใช้งานผ่าน Insight Hub ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายตัวพร้อมกัน แม้ว่า Insight Hub จะใช้ชิป SoC ที่รองรับ Wi-Fi แต่ขณะนี้ยังไม่รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย แต่ละพอร์ […]

Datanoise PicoADK v2 : บอร์ด Synthesizer ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 สำหรับการทดลองด้านเสียงดนตรี

PicoADK v2 Synthesizer Development Platform

Datanoise เปิดตัว PicoADK v2 music synthesizer หลังจากประสบความสำเร็จกับ PicoADK v1 โดยบอร์ดใหม่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 บอร์ดนี้รองรับโครงการต่างๆ เช่น ซินธิไซเซอร์แบบกำหนดเอง, เอฟเฟกต์เสียง, และการสร้างเสียงรบกวน อีกทั้ง RP2350 มาพร้อมกับ QSPI PSRAM 8 MB ซึ่งเหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ใช้หน่วยความจำสูง เช่น การหน่วงเสียงยาว นอกจากนี้ยังมีพอร์ต SWD debug, รองรับการใช้งาน microSD card, วงจร MIDI-in ที่มีออปโต้คัปเปลอร์, การเชื่อมต่อ USB Type-C, และไฟ LED สำหรับผู้ใช้งานและแสดงสถานะพลังงาน ก่อนหน้านี้เราได้เขียนเกี่ยวกับบอร์ดซินธิไซเซอร์อื่นๆ เช่น MIDI controller ที่ใช้ Arduino และ TinyLlama คอมพิวเตอร์ย้อนยุค x86 พร้อมด้วย MIDI synthesizer ที่ใช้ Raspberry Pi Zero 2 W สเปคของ PicoADK v2 music synt […]

CodeCell : บอร์ดพัฒนาขนาดจิ๋วที่ใช้ ESP32-C3 สำหรับโปรเจกต์หุ่นยนต์ อุปกรณ์สวมใส่และสมาร์ทโฮม

CodeCell ESP32-C3 mini development board

วิศวกรและ YouTuber Carl Bugeja ได้ร่วมกันสร้าง CodeCell ซึ่งเป็นบอร์ดพัฒนาขนาดจิ๋วที่ใช้ชิป ESP32-C3 ออกแบบมาเป็นสมองกลสำหรับหุ่นยนต์ อุปกรณ์สวมใส่ และอุปกรณ์สมาร์ทโฮม โดยมาพร้อมกับเซนเซอร์ IMU 9 แกน สำหรับการประมวลผลการเคลื่อนไหว และมีตัวเลือกให้ติดตั้งเซนเซอร์แสง VCNL4040 อีกด้วย บอร์ดนี้มีพอร์ต USB Type-C สำหรับการส่งข้อมูลและจ่ายพลังงาน รวมถึงแบตเตอรี่ลิเธียมโพลิเมอร์พร้อมวงจรชาร์จไฟ บอร์ดมีขนาดเพียง 18.5 x 18.5 มม. บอร์ดขนาดจิ๋วนี้เล็กกว่าบอร์ดพัฒนาจิ๋วอื่นๆ เช่น Unexpected Maker NANOS3, Unexpected Maker OMGS3, Waveshare ESP32-S3-Zero และ XIAO ESP32S3 ของ Seeed Studio, ส่วน Epi C3 มีขนาดเล็กกว่าที่ 23 x 12.75 มม. สเปคของบอร์ดพัฒนา CodeCel ESP32-C3 mini ไมโครคอนโทรลเลอร์ –  ESP32-C3 RISC-V MCU โปรเซสเซอร์ R […]

จอแสดงผลสัมผัสแบบ Ultra-Wide 4K ขนาด 14 นิ้วสำหรับบอร์ด Raspberry Pi และ LattePanda

14 inch Ultra-Wide Touch Display for Raspberry Pi

จอแสดงผล IPS แบบ Ultra-Wide ขนาด 14 นิ้วของ DFRobot มาพร้อมกับขอบจอบาง ความละเอียด 4K (3840 x 1100) รองรับการสัมผัสแบบ capacitive 10 จุด ออกแบบมาสำหรับการติดตั้งบนคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว เช่น LattePanda Sigma และ Raspberry Pi 5 นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ผ่านอินเทอร์เฟสวิดีโอ USB Type-C แบบคู่และ mini HDMI ด้วยอัตราส่วนภาพเฉพาะ 3.5:1 ที่มีลักษณะเป็นแบบยาว (Bar Type) จอนี้เหมาะสำหรับการแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เหมาะกับหน้าจอโฆษณาบนเคาน์เตอร์, อุปกรณ์วัดผล และ Smart Terminal สเปคของ “14-inch 4K IPS bar touch display” ของ DFRobot จอแสดงผล จอสัมผัส IPS แบบยาว (Bar Type) ขนาด 14 นิ้ว ขอบบาง ความละเอียด 4K (3840×1100) รองรับการสัมผัส capacitive 10 จุด ให้การตอบสนองที่แม่นยำ อัตราส่วนภาพ – 3 […]

บอร์ดพัฒนา Cocket Nova CH552 ที่ใช้ CH552G ไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต 8051 core ราคา 200฿

Cocket Nova CH552 dev board

Cocket Nova CH552 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ราคาถูกและใช้งานได้หลากหลาย ที่ใช้ CH552G เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต 8051 core รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงและทำงานที่ความเร็ว 24MHz ออกแบบมาเพื่อผู้เริ่มต้นและผู้ที่ชื่นชอบการพัฒนา บอร์ดนี้มาพร้อมการโปรแกรมที่ง่ายผ่าน USB Type-C มีไฟ LED ในตัว, Neopixel RGB, ปุ่มรีเซ็ตและปุ่มบูต, และคอนเน็กเตอร์ Qwiic/STEMMA QT เพื่อการขยายฟังก์ชันที่ง่าย นอกจากนี้ยังเข้าถึง GPIO ได้ถึง 17 พิน รองรับ PWM, ADC และฟังก์ชันปุ่มสัมผัส ฟีเจอร์เหล่านี้รวมกับต้นทุนต่ำและสามารถนำใช้กับเบรดบอร์ดมาตรฐาน ทำให้บอร์ดพัฒนานี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้และการทดลอง เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH552G/T เช่น คีย์บอร์ดที่สามารถโปรแกรมผ่าน Arduino ราคา $10(~300฿). Turing Smart Screen […]

Kumquat – บอร์ดสมองกลฝังตัวที่ใช้ Allwinner V3s พร้อม CAN แบบแยกสัญญาณ, Ethernet, และ ESP32 สำหรับ WiFi และ Bluetooth

Kumquat Allwinner V3s development board

Kumquat เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัว (Embedded System Board) ที่ใช้ Allwinner V3s ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม, ระบบอัตโนมัติในบ้าน, โครงการ IoT, หุ่นยนต์ และการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว, Allwinner V3s มาพร้อมกับซีพียู ARM Cortex-A7 cores และหน่วยความจำแรม DDR2 ขนาด 64MB พร้อมที่เก็บข้อมูลแบบ SPI flash ขนาด 8MB, มีตัวเลือกการเชื่อมต่อประกอบด้วย Ethernet, USB-C, CAN-FD แบบแยก สัญญาณ (isolated) และ WiFi/Bluetooth ผ่านโมดูล ESP32 นอกจากนี้ Kumquat ยังมาพร้อมกับขา IO ที่ตรวจจับอัตโนมัติได้ 8 ช่อง สำหรับแรงดันไฟฟ้า 12/24V และรีเลย์ 4 ตัว สำหรับควบคุมอุปกรณ์ภายนอก อีกทั้งยังมีวงจร RTC (Real-Time Clock) พร้อมแบตเตอรี่สำรอง, Kumquat ใช้ระบบปฏิบัติการ Buildroot Linux พร้อม Mainline Linux kernel และสามารถเขี […]

Exit mobile version