บอร์ดพัฒนา T2-U รองรับ WiFi และ Bluetooth, รองรับ Tuya Smart Home framework

Tuya T2-U development board

T2-U เป็นบอร์ดพัฒนาที่รองรับ Tuya Smart Home framework ที่มาพร้อมกับโมดูล WiFi และ Bluetooth และโปรเซสเซอร์ RISC ความเร็ว 120 MHz รวมถึงปุ่มต่างๆ, ไฟ LED แสดงสถานะ, GPIO, พลังงาน, และชิป USB-to-serial ในปี 2019 เราได้พูดถึง Tuya ว่าเป็นโซลูชัน Smart Home แบบครบวงจร ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถออกแบบและผลิตอุปกรณ์อัตโนมัติภายในบ้านได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงตัวเคสของอุปกรณ์ เช่น บริษัทมีแผงควบคุมอัจฉริยะ หน้าจอสัมผัสบนระบบ Android ขนาด 4 นิ้วและ และ Zigbee gateway รวมถึง Tuya Link SDK  ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์ Smart Home ได้ แต่ฉันยังไม่เคยเห็นบอร์ดพัฒนาที่รองรับ Tuya มาก่อน สเปคของบอร์ดพัฒนา T2-U: โมดูลไร้สาย – T2-U SoC – MCU RISC 32 บิตที่ไม่ระบุชื่อ ความเร็ว […]

LILYGO T-Halow : บอร์ดที่ใช้ ESP32-S3 พร้อม WiFi HaLoW รองรับกล้อง OV2640/OV5640

ESP32-S3 WiFi HaLow board

LILYGO T-Halow เป็นบอร์ดที่ใช้ ESP32-S3 ที่มาพร้อมกับโมดูล WiFi HaLow ที่มีระยะการส่งสัญญาณสูงสุด 1.2 กม., คอนเนกเตอร์ที่รองรับโมดูลกล้อง OV2640 และ OV5640 และที่ยึดแบตเตอรี่ 18650 สำหรับจ่ายไฟ รวมทั้ง GPIO หลายตัวสำหรับการขยาย เราเขียนบทความเกี่ยวกับมาตรฐาน WiFi 802.11ah ที่มีพลังงานต่ำ ครั้งแรกในปี 2014 โดยจะใช้คลื่นความถี่ที่ 900 MHz แต่การนำไปใช้งานนั้นค่อนข้างช้า และเราได้เห็นชิป 802.11ah (WiFi HaLow) จาก Newracom และ Morse Micro ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น อะแดปเตอร์ USB , Raspberry Pi HAT , การ์ด mini PCIe , เกตเวย์และบอร์ดพัฒนา ทั้งหมดนี้ต้องใช้โฮสต์ที่ใช้ Linux แต่ LILYGO T-Halow มาพร้อมกับโมดูล TX-AH WiFI HaLow จาก Taixin Semiconductor ที่สามารถควบคุมได้ผ่านคำสั่ง AT ผ่าน ESP32-S3 หรือพอร์ต micro USB สเปคของ […]

Remote.It เพิ่มการกำหนดค่า WiFi บนบอร์ด Raspberry Pi SBC โดยใช้ Bluetooth

Remote.it Dashboard

Remote.It บริษัทที่ให้บริการการเข้าถึงจากระยะไกล (remote access) เปิดตัวโครงการโอเพ่นซอร์สที่การกำหนดค่าเครือข่าย WiFi บน Raspberry Pi โดยใช้ Bluetooth (BLE) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถกำหนดค่า WiFi บนบอร์ดได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือของตัวเอง การกำหนดค่า WiFi บน Raspberry Pi : การกำหนดค่าด้วยตนเอง – ผู้ใช้เชื่อมต่อจอภาพและคีย์บอร์ดเข้ากับ Raspberry Pi เพื่อกำหนดค่าเครือข่ายไร้สายโดยตรงบนอุปกรณ์ การใช้ SD card, SSD NVMe หรือไดรฟ์ USB ที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้า – สามารถตั้งค่า ESSID ของ WiFi และรหัสผ่านใน Raspberry Pi USB imager ได้และ Raspberry Pi จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายโดยอัตโนมัติเมื่อเริ่มบูตเครื่อง วิธีนี้จะรวดเร็วแต่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขข้อมูลรับรองไหลังจากการติดตั้ง และใช้งานได้เฉ […]

LOLIN S3 Mini Pro – บอร์ดจิ๋วที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมจอแสดงผลขนาด 0.85 นิ้วและแผ่น PCB ที่มีหลายสี

LOLIN S3 Mini Pro multi color PCB board

LOLIN S3 Mini Pro เป็นบอร์ดที่ใช้ ESP32-S3 รองรับ WiFi และ BLE มีขนาดจิ๋วพร้อมจอแสดงผลขนาด 0.85 นิ้ว และเป็นหนึ่งในบอร์ดแรกๆ ที่แผ่น PCB มีหลายสี ซึ่งผู้ผลิต PCB บางรายเพิ่งเริ่มนำเสนอ บอร์ดนี้มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3FH4R2 ที่มี SPI flash 4MB และ PSRAM ขนาด 2MB, หน้าจอ TFT ขนาด 128×128 พิกเซล, เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว/ท่าทาง 6 แกน, และ GPIO headers ที่ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับ LOLIN D1 mini shields สำหรับการขยายฟังก์ชันได้ สเปค : SoC – Espressif Systems  ESP32-S3FH4R2 CPU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Dual-core Tensilica LX7 @ สูงสุด 240 MHz Wireless – การเชื่อมต่อ 2.4 GHz 802.11n WiFi 4 และ Bluetooth 5.0 LE หน่วยความจำ – PSRAM 2MB ที่เก็บข้อมูล – SPI flash 4MB จอแสดงผล – หน้าจอ LCD TFT ขนาด 0.85 นิ้ว 128× […]

Radxa X4 : บอร์ด SBC ขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel N100 ราคาเริ่มต้นที่ 2,200 บาท

Radxa X4 x86 Raspberry Pi 5 SBC

Radxa X4 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) มีขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel Processor N100 ที่มีราคาใกล้เคียงกับ Raspberry Pi 5 โดยรุ่น RAM 4GB มีราคาประมาณ $60(~2,200฿)  และรุ่น RAM 8GB มีราคาประมาณ $80(~3,000฿) บอร์ด SBC x86 มีคุณสมบัติหลายอย่างเหมือน Raspberry Pi 5 เช่นเอาต์พุต micro HDMI สองพอร์ต, พอร์ต USB 3.2/2.0 สี่พอร์ต, การเชื่อมต่อเครือข่ายEthernet และ WiFi, และGPIO header 40-pin ที่จัดการผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 การเชื่อมต่อเครือข่ายดีกว่าด้วย 2.5GbE และ WiFi 6, รองรับ M.2 SSD ซึ่งมีความเร็วเร็วกว่าการใช้ PCIe HAT ของ Pi 5 ถึงสี่ถึงแปดเท่า และพอร์ต USB 3.2 มีความเร็วสูงสุดถึง 10 Gbps แต่ข้อเสียหลักคือไม่มีพอร์ต MIPI CSI และ DSI ซึ่งอาจจำเป็นสำหรับโปรเจกต์ที่ต้องการเชื่อมต่อกล้องและจอ […]

Acelink SM81 : โมดูลที่ใช้ MediaTek Filogic 820 รองรับ WiFi 6 รันระบบปฏิบัติการ OpenWrt 23.05 หรือ Debian 11

ACELINK SM81 MediaTek Filogic 820 system on module

Acelink SM81 เป็นโมดูล (system-on-module) ขนาดเล็กกะทัดรัด (50×36 มม.) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ MediaTek Filogic 820 (MT7981A/B) พร้อมการเชื่อมต่อ WiFi 6 และ Ethernet ออกแบบมาสำหรับการใช้งาน IoT เช่น เราเตอร์, Access Point, และเกตเวย์ โมดูลไร้สายมาพร้อมกับหน่วยความจำ DDR4 สูงสุด 1GB, NOR flash 2MB สำหรับ bootloader, eMMC flash 32GB สำหรับ Linux หรือ NAND flash ที่เป็นอุปกรณ์เสริม และแสดง I/O ต่างๆ เช่น gigabit Ethernet, USB 3.0, PCIe 2.1, UART และอื่นๆ ผ่านรูแบบ castellated สเปคของ Acelink SM81: SoC (สามารถเลือกได้ 1 โปรเซสเซอร์) โปรเซสเซอร์ MediaTek MT7981AA (Filogic 820) dual-core @ 1.3 GHz โปรเซสเซอร์ MediaTek MT7981BA (Filogic 820) dual-core @ 1.3 GHz โดยไม่มีอินเทอร์เฟส PCIe หน่วยความจำ – DDR4 @ 2133 Mbps 1G […]

บอร์ด StackyFi ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมคอนเนกเตอร์กล้องและ GPIO header 40-pin สำหรับ Raspberry Pi HAT

StackyFi ESP32-S3 Raspberry Pi Zero board

StackyFi ของ SB Components เป็นบอร์ด IoT ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมการเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth, มี GPIO header 40-pin ที่ส่วนใหญ่เข้ากันได้กับของบอร์ดขยาย Raspberry Pi HAT และคอนเกนเตอร์กล้องสำหรับการถ่ายภาพไปยัง microSD card หรือแอปพลิเคชัน  machine learning บอร์ดที่มีขนาดเท่ากับ Raspberry Pi Zero และยังพร้อมกับพอร์ต USB Type-C สองพอร์ต โดยพอร์ตหนึ่งเป็นพอร์ต “native” และอีกพอร์ตสำหรับการดีบักแบบ serial, เซนเซอร์ IMU, ไฟ LED RGB และปุ่ม Boot และ Reset บอร์ดสามารถรับพลังงานผ่านพอร์ต USB-C หรือแบตเตอรี่ LiPo โดยบอร์ดนี้บางส่วนได้พัฒนามาจากบอร์ด StackPi ที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 สเปคของ StackyFi: โมดูลไร้สาย – ESP32-S3-WROOM-1 MCU – ESP32-S3 dual-core Tensilica LX7 สูงสุด 240 MHz พร้อม […]

เปิดตัว Linux 6.10 พร้อมเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.10 Release Changelog

Linux Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.10 บน LKML (Linux kernel mailing list), เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.9 โดยเพิ่มการรองรับ Intel Flexible Return and Event Delivery (FRED), การรองรับการรัน AMD Secure Nested Paging (SNP) guests, การแก้ไขปัญหา “Register File Data Sampling” (RFDS) ซึ่งเป็นช่องโหว่ทางฮาร์ดแวร์ที่มีผลกระทบกับ Intel Atom CPUs, ฟีเจอร์ named address spaces ของ GCC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล per-CPU, และการรองรับเบื้องต้นสำหรับ FUSE passthrough รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.10 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางส่วนใน Linux 6.10: การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย – เพิ่มประสิทธิภาพการส่งแบบ zero-copy โดยใช้ io_uring และการรวมหล […]

Exit mobile version