DALI2 expansion module สำหรับบอร์ด ESP32-C6-Pico และ ESP32-S3-Pico ช่วยใช้งานในระบบไฟอัจฉริยะได้ง่ายขึ้น

DALI2 expansion module for ESP32-C6-Pico

Waveshare ได้เปิดตัวโมดูล Pico-DALI2 expansion module สำหรับบอร์ด ESP32-Pico series ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการสื่อสารผ่านโปรโตคอล DALI โมดูลนี้ใช้งานได้กับบอร์ดพัฒนา เช่น ESP32-C6-Pico และ ESP32-S3-Pico และมาพร้อมกับขั้วต่อแบบ screw terminal เพื่อให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ DALI ภายนอกได้ DALI (Digital Addressable Lighting Interface) เป็นโปรโตคอลมาตรฐาที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบแสงสว่างในระบบอัตโนมัติของอาคาร โปรโตคอล DALI2 เป็นรุ่นล่าสุดของโปรโตคอล DAL มีความสามารถที่ดีกว่า โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมได้แก่ รองรับการทำงานแบบ multi-master ระบบสามารถรองรับการทำงานของผู้ควบคุมหลายตัว และความสามารถในการจัดการพลังงานที่ดีขึ้น อุปกรณ์ DALI2 สามารถสื่อสารแบบสองทิศทาง คือสามารถสื่อสารได้ทั้งการส่งคำสั่งและรับข้อมูลสถานะกลับจากอุป […]

Kumquat – บอร์ดสมองกลฝังตัวที่ใช้ Allwinner V3s พร้อม CAN แบบแยกสัญญาณ, Ethernet, และ ESP32 สำหรับ WiFi และ Bluetooth

Kumquat Allwinner V3s development board

Kumquat เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัว (Embedded System Board) ที่ใช้ Allwinner V3s ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม, ระบบอัตโนมัติในบ้าน, โครงการ IoT, หุ่นยนต์ และการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว, Allwinner V3s มาพร้อมกับซีพียู ARM Cortex-A7 cores และหน่วยความจำแรม DDR2 ขนาด 64MB พร้อมที่เก็บข้อมูลแบบ SPI flash ขนาด 8MB, มีตัวเลือกการเชื่อมต่อประกอบด้วย Ethernet, USB-C, CAN-FD แบบแยก สัญญาณ (isolated) และ WiFi/Bluetooth ผ่านโมดูล ESP32 นอกจากนี้ Kumquat ยังมาพร้อมกับขา IO ที่ตรวจจับอัตโนมัติได้ 8 ช่อง สำหรับแรงดันไฟฟ้า 12/24V และรีเลย์ 4 ตัว สำหรับควบคุมอุปกรณ์ภายนอก อีกทั้งยังมีวงจร RTC (Real-Time Clock) พร้อมแบตเตอรี่สำรอง, Kumquat ใช้ระบบปฏิบัติการ Buildroot Linux พร้อม Mainline Linux kernel และสามารถเขี […]

บอร์ด Wiznet W55RP20-EVB-Pico ที่ใช้ชิป W55RP20 SiP โดยรวมคอนโทรลเลอร์ Ethernet W5500 และ MCU RP2040

W55RP20-EVB-PICO evaluation board

Wiznet เปิดตัวบอร์ดพัฒนา W55RP20-EVB-Pico ซึ่งเป็นบอร์ดขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ชิป W55RP20 เป็นประเภท SiP (System-in-a-Package) โดยรวมไอซี 2 วงจรไว้ในแพคเกจเดียวกัน ได้แก่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และคอนโทรลเลอร์ W5500 Ethernet นอกจากนี้ยังมีชิปแฟลชขนาด 2MB สำหรับเก็บเฟิร์มแวร์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนา W5100S-EVB-Pico2 และ W5500-EVB-Pico2 ซึ่งทั้งสองบอร์ดใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 รุ่นใหม่และคอนโทรลเลอร์ Ethernet ภายนอก (W5500 หรือ W5100S) โดยที่ RP2350 มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น หน่วยความจำ One Time Programmable (OTP), การบู๊ตอย่างปลอดภัย (Secure Boot) และเทคโนโลยี Arm TrustZone ทำให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น ในทางกลับกัน W55RP20 ได้รวมคอน […]

Phyx LANA-TNY – บอร์ดพัฒนาที่ใช้ MCU RISC-V WCH CH32V203 สำหรับแอปพลิเคชันแบบฝังตัว

LANA-TNY CH32V203

LANA-TNY เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดที่สร้างโดย Phyx และใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203 RISC-V บอร์ดนี้ได้นำเสนอโซลูชันต้นทุนต่ำสำหรับการพัฒนาระบบสมองฝังตัวและมี USB bootloader ในตัว ซึ่งช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเมอร์ภายนอกเพื่อแฟลชเฟิร์มแวร์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับช่องเชื่อมต่อ USB-C และการออกแบบที่เรียบง่าย โดยมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นสำหรับเริ่มต้นการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว Phyx LANA-TNY ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203G6U6 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ขนาด 32 บิตจาก WCH Electronics สามารถทำงานที่ความเร็วสูงสุด 144MHz พพร้อมรองรับการคูณ/หาร 1 ไซเคิล บอร์ดนี้มีหน่วยความจำ SRAM ขนาด 10KB หน่วยความจำ Flash แบบ single-cycle 32KB และ Flash ภายนอกเพิ่มเติมอีก 224KB สำหรับจัดเก็บโปรแกรมหรือข้อมูล แม้ว่าหน่วยควา […]

Pimoroni Pico Plus 2 W ได้รวม MCU RP2350B กับโมดูล Wi-Fi และ Bluetooth ของ Raspberry Pi RM2

Pimoroni Pico Plus 2W front and back

Raspberry Pi เปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีชิป RP2350 ใหม่จะมีการอัปเกรดหลายอย่าง แต่ไม่มีการเชื่อมต่อไร้สายเหมือนกับ Pico W ขณะที่ยังไม่มี Raspberry Pi Pico 2 W อย่างเป็นทางการ Pimoroni ได้พัฒนาอุปกรณ์ทางเลือกที่ไม่เป็นทางการชื่อว่า Pimoroni Pico Plus 2 W ซึ่งรวม Wi-Fi และ Bluetooth โดยใช้โมดูล Raspberry Pi RM2 ที่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และอาจจะปรากฏใน Pico 2W ในอนาคต บอร์ด Pimoroni Pico Plus 2 W ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350B เป็นชิป Arm Cortex-M33 แบบ dual-core  พร้อมหน่วยความจำแบบ Flash QSPI 16MB รองรับ XiP, หน่วยความจำ PSRAM 8MB, การเชื่อมต่อไร้สาย, พอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและรับส่งข้อมูล และคอนเนกเตอร์ Qwiic/STEMMA QT สำหรับเชื่อมต่อกับ Breakout Board เราเคยพ […]

บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX รองรับการแสดงผลวิดีโอและการเชื่อมต่อหน้าจอ

Adafruit Feather RP2350 with HSTX Port

“Adafruit Feather RP2350 with HSTX port” เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่มีพอร์ตอินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ขนาด 22 พินบนบอร์ด นอกจากนี้บอร์ดยังมีที่ชาร์จ LiPo 200mA+ ในตัว, ไฟ LED RGB, คอนเนกเตอร์ STEMMA QT และพอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม บอร์ดนี้สามารถใช้งานร่วมกับ FeatherWings และรองรับการพัฒนาด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่โปรเจกต์ฝังตัว อุปกรณ์ IoT ไปจนถึงการศึกษาและการสร้างต้นแบบ ก่อนหน้านี้เราเคยกล่าวถึงบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 หลากหลายรุ่น เช่น MOTION 2350 Pro ที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมหุ่นยนต์และมอเตอร์, โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party สำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่จำ […]

ANAVI Dev Mic : ไมโครโฟนดิจิทัลแบบรอบทิศทางที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2040 MCU

anavi dev mic RP2040

ANAVI Dev Mic เป็นบอร์ดไมโครโฟนแบบโอเพ่นซอร์สจาก ANAVI Technology ในเมือง Plovdiv ประเทศบัลแกเรีย โดยใช้โมดูล Seeed Studio XIAO RP2040 และไมโครโฟนดิจิทัลแบบรอบทิศทางจาก STMicroelectronics เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขนาดเล็กกะทัดรัดและราคาไม่แพง ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าไมโครโฟน USB เหมาะสำหรับงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ machine learning ด้านเสียง การออกแบบมีความเรียบง่ายและไม่ซับซ้อน โดยมีโมดูล Seeed Studio XIAO RP2040 อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และขา GPIO จำนวน 9 ขาสำหรับการขยาย, ไมโครโฟน STMicroelectronics MP23DB01HP (MK1) ติดตั้งอยู่ด้านบนของบอร์ดโดยมีรูเล็กๆ อยู่ด้านล่าง เป็นไมโครโฟน MEMS ดิจิทัลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้พลังงานต่ำ สามารถจับเสียงจากทิศทางต่างๆ ได้โดยมีความเพ […]

บอร์ด Pimoroni Explorer สำหรับการเรียนรู้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมจอ LCD 2.8 นิ้ว, breadboard sensors และอื่นๆ

Pimoroni Explorer Starter Kit

บอร์ด Pimoroni Explorer เป็นบอร์ดสำหรับการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 มีหน้าจอ LCD ขนาด 2.8 นิ้ว, ขั้วต่อสำหรับลำโพง, และพอร์ต I/O ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถสร้างวงจร ทดลองโปรเจกต์ และสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด Breadboard ขนาดเล็ก, ปุ่มสัมผัส และขั้วต่อแบบ crocodile clip terminals ทำให้เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ Raspberry Pi Limited เพิ่งเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 พร้อมกับ บอร์ด Raspberry Pi Pico ราคา $5 (~180฿) และเราได้เห็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 มากมาย เช่น Cytron MOTION 2350 Pro, Bus Pirate 5XL และ 6 รวมถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ, Pimoroni Explorer เป็นอีกหนึ่งบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 สเปคขอ […]