Renesas Electronics ได้เพิ่มกลุ่ม MCU ใหม่สองรุ่นลงในตระกูล RA ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) 32 บิต ด้วย RA4E2 ความเร็ว 100 MHz และ RA6E2 ความเร็ว 200 MHz Arm Cortex-M33 microcontrollers ที่ออกแบบมาสำหรับ “แอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพสูง” ในแพ็คเกจขนาดเล็ก เช่น เซนเซอร์, เกมมิ่ง, อุปกรณ์สวมใส่ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ไมโครคอนโทรลเลอร์ใหม่นี้มี SRAM 40 KB, flash 128 KB หรือ 256 KB และรวมอินเตอร์เฟสต่างๆ บนชิป เช่น CAN FD, USB, QSPI, SSI, และ I3C interfaces เพื่อให้เป็นทางเลือกที่ง่ายต่อการอัพเกรดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงจากสมาชิกรายอื่นๆ ของตระกูล Renesas RA รุ่น Renesas RA4E2 MCU RA4E2 และ RA6E2 เป็นกลุ่มไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีราคาถูกที่สุดในตระกูล RA พร้อมกับฟังก์ชั่น CAN FD ในชิป ซึ่งรุ่น RA4E2 เหมาะสำหร […]
WisDuo RAK11720 : โมดูล LoRaWAN และ Bluetooth LE พร้อม MCU Ambiq Apollo3 Blue ใช้พลังงานต่ำ
RAKWireless WisDuo RAK11720 เป็นโมดูล LoRaWAN และ Bluetooth LE ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Ambiq Apollo3ฺ Blue, BLE 5.0 ใช้พลังงานต่ำมาก (ultra-low-power) และ LoRa transceiver ใช้ชิป Semtech SX1262 Wisduo RAK11720 เป็นแบบ Pin to Pin ที่เหมือนกับ โมดูล LoRaWAN ที่ใช้ Wisduo RAK3172 ที่ใช้ STM32WL และมีการเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อ Bluetooth LE และหน่วยความจำเพิ่มเติมเข้ามา ทำให้ง่ายต่อการอัพเกรดแอปพลิเคชัน IoT สเปคของ WisDuo RAK11720: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Ambiq Apollo3 Blue AMA3B1KK-KBR-B0 Arm Cortex-M4F ล็อคความเร็วไว้ที่ 96 MHz พร้อมหน่วยความจำแฟลช 1MB, SRAM 348 , Bluetooth LE 5.0 และการใช้พลังงานที่ใช้งานน้อยกว่า < 6 μA/ MHz LoRa Semtech SX1262 sub-GHz radio transceivers ตามข้อกำหนด LoRaWAN 1.0.3 รองรับ […]
Aspinity AB2 AML100 : บอร์ด Arduino Shield รองรับ Analog Machine Learning ใช้พลังงานต่ำมาก
Aspinity AB2 AML100 เป็นบอร์ด Arduino Shield ที่ใช้ AML100 analog machine learning processor ของบริษัทฯ, เมื่อเทียบกับ digital ML processors ลดการใช้พลังงานลงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ และบอร์ด Shield นี้สามารถใช้งานกับ Renesas Quick-Connect IoT platform หรือแพลตฟอร์มการพัฒนาอื่น ๆ ที่มี Arduino Uno Rev3 headers ได้ บริษัทฯ ได้กล่าวว่าตัวประมวลผล AML100 analog machine learning processor ใช้พลังงานเพียง 15µA สำหรับการเชื่อมต่อเซนเซอร์, การประมวลผลสัญญาณและการตัดสินใจ และการทำงานของตัวประมวลผลนี้จะเกิดขึ้นภายในโดเมนแอนะล็อกเพื่อลดภาระของด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งทำให้ไมโครคอนโทรลเลอร์สามารถอยู่ในสถานะพลังงานต่ำสุดได้จนกว่าจะมีเหตุการณ์/ภาวะผิดปกติเกิดขึ้น สเปคของ Aspinity AB2 AML100 Arduino Shield : ชิป ML – ชิป Aspinity […]
ePulse Feather : บอร์ดพัฒนาใช้ ESP32 และประหยัดพลังงานในโหมด Deep Sleep
Thingpulse ePulse Feather เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32 ตาม form factor ของ Adafruit Feather และปรับให้มีการประหยัดพลังงานหรือ Lower-power ในโหมด Deep Sleep อยู่ที่ 12 ถึง 27 uA บอร์ด ePulse Feather ใช้โมดูล ESP32-WROVER ที่มี Flash 8MB และ SPRAM 8MB และมาพร้อมกับพอร์ต USB-C สำหรับชาร์จแบตเตอรี่และโปรแกรมผ่านชิป CH9102F UART, สามารถเชื่อมต่อขา I/Os headers ที่มาจาก Feather form factor, บอร์ดนี้สามารถนำมาใช้ในรีโมตคอนโทรลเพื่อเชื่อมต่อ WiFi ที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่สำหรับระบบอัตโนมัติในบ้านหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในโหมด sleep จนกว่าผู้ใช้จะกดปุ่มใดปุ่มหนึ่ง สเปคของ ThingPulse ePulse Feather: โมดูลไร้สาย – โมดูล Espressif Systems ESP32-WROVER-E-N8R8 พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ dual-core ESP32-D0WD-V3 หร […]
การเปิดตัว Linux 6.2 – กับเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS
Linus Torvalds ได้เปิดตัว Linux 6.2 พร้อมกับการประกาศบน LKML ตามปกติ Linux 6.1 รุ่นก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวเป็น LTS (Long Term Support) kernel พร้อมรองรับภาษาโปรแกรม Rust และ KMSAN kernel memory sanitizer รวมถึงการปรับปรุง Multi-gen LRU (MG-LRU) เพื่อการจัดการ swap file/partition ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย จุดเด่นของลินุกซ์ 6.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.2 ประกอบด้วย: Linux 6.2 มีการปรับปรุงในการแก้ไขช่องโหว่ Retbleed ที่เกิดจาก speculative execution บน x86-64 และ ARM processors ให้เร็วขึ้น และ FineIBT –ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของระบบ แต่ Linux 6.2 ได้พัฒนาวิธีการแก้ไขที่เบากว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้นสำหรับชุดคำสั่ง Skylake-based cores โดยที่การเปิดใช้งาน IBRS จะไม่มีผลกระทบต่ […]
ชิปเซ็ต MediaTek Dimensity 7200 ที่ใช้ Armv9 Cortex-A715/A510 เพื่อสมาร์ทโฟน 5G ระดับกลาง
เปิดตัวชิปเซ็ต MediaTek Dimensity 7200 ใหม่ล่าสุดที่ใช้กระบวนการผลิตด้วย 4 นาโนเมตร ที่ออกแบบมาสำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลาง และมีตัวประมวลผล Armv9 Octa-core ประกอบด้วย Cortex-A715 สองคอร์, Cortex-A510 หกคอร์ พร้อมกับ GPU Mali-G610 MC4 สามารถการเชื่อมต่อ 5G, WiFi 6E และ Bluetooth 5.3 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนถึงตอนนี้ ฉันได้เห็นเพียง Armv9 SoCs ที่มีคอร์ Cortex-A510 “LITTLE” ร่วมกับ,คอร์ Cortex-A710 /A715 “big” และคอร์ Cortex-X2 หรือ Cortex-X3 “flagship cores” ที่พบในตัวประมวลผล Dimensity 9200 แต่ Dimensity 7200 เป็นหนึ่งในตัวประมวลผล Armv9 รุ่นแรกที่ไม่มีคอร์ Cortex-X เพื่อให้เป็นตัวเลือกที่มีราคาถูกกว่าและที่เห็นอีกตัวหนึ่งคือ Snapdragon 7 Gen 1 สเปคของ MediaTek Dimensity 7200: CPU 2x Arm Cortex-A715 สูงสุด 2.8GHz […]
Bluetooth 5.4 เพิ่มการรองรับป้ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (ESL)
กลุ่ม Bluetooth Special Interest Group (SIG) ได้นำสเปคหลักของมาตรฐาน Bluetooth 5.4 มาใช้พร้อมคุณสมบัติต่างๆ เช่น PAwR และ EAD ที่ออกแบบมาสำหรับระบบป้ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Shelf Label (ESL) มาตรฐานหลักของ Bluetooth 5.3 ถูกนำมาใช้ในเดือนสิงหาคม 2021 พร้อมการปรับปรุงต่างๆ และ Bluetooth 5.4 ตามมาด้วยคุณสมบัติที่ดูเหมือนจะน่าสนใจเป็นหลักสำหรับเครือข่าย Bluetooth ขนาดใหญ่ ด้วยการรองรับการสื่อสารแบบสองทิศทางด้วยการเชื่อมต่อโหนดปลายทางนับพันจุดโดยใช้จุดเข้าถึงเพียงจุดเดียว ซึ่งจะเป็นกรณีของระบบ Electronic Shelf Label หรือ Shelf Sensor Bluetooth 5.4 มีคุณสมบัติใหม่เพิ่มเติม 4 ประการ : Periodic Advertising with Responses (PAwR) – PAwR เป็นการจัดการการส่งข้อมูลแบบ Bluetooth Low Energy (LE) ใหม่ ซึ่งให้วิธี […]
Wi-R โพรโทคอล : เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านร่างกายมนุษย์, ใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth ถึง 100 เท่า
Wi-R โพรโทคอลเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้แบบไม่มีการแผ่รังสีใช้ Electro-Quasistatic (EQS) เพื่อการสื่อสารสามารถใช้ร่างกายเป็นตัวนำสัญญาณได้ และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth ถึง 100 เท่าต่อบิต Wi-R รวมการสื่อสารแบบไร้สายและแบบมีสายเข้าด้วยกัน Wi-R มีระยะช่วงสัญญาณไร้สายเพียง 5 ถึง 10 ซม. แต่เนื่องจากใช้ใช้ร่างกายที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์ Wi-R เป็นสายต่อ ระยะในตัวผู้สื่อสารสามารถยืดออกได้ถึง 5 เมตร ในขณะที่โซลูชันไร้สายแบบเดิม เช่น Bluetooth สร้างฟิลด์ระยะ 5-10 เมตรรอบๆ บุคคล, โพรโทคอล Wi-R จะสร้างเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ BAN (ฺฺBody area network) ซึ่งสามารถใช้ในการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ, สมาร์ทวอทช์ และ/หรือหูฟัง โดยมีความปลอดภัย/ความเป็นส่วนตัวสูง และอายุการใช้งานแ […]