Waveshare เปิดตัวบอร์ดพัฒนา USB-C ที่ใช้ RP2350 จำนวน 3 รุ่นที่มีขา Castellated, รองรับแบตเตอรี่และพอร์ต Ethernet ในตัว

Waveshare RP2350 development boards

Waveshare ได้เปิดตัวบอร์ดพัฒนา USB-C และ USB-A ทั้งหมด 4 รุ่นที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ได้แก่บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350-Plus, บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350-Zero Mini, บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350-ETH Mini และบอร์ดพัฒนา USB Waveshare RP2350-GEEK RP2350-Plus เป็นบอร์ดพัฒนาประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัดที่มีลักษณะคล้าย Raspberry Pi Pico พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350, พอร์ต USB Type-C, รองรับแบตเตอรี่ และเข้ากันได้กับโมดูล Raspberry Pi Pico รุ่นต่างๆ, ส่วน RP2350-Zero Mini เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดกะทัดรัดพร้อมด้านข้างมีขาแบบ Castellated, GPIO 29 พิน, รองรับ USB Type-C, PIO และอุปกรณ์ต่อพ่วงหลากหลาย เหมาะสำหรับ IoT, หุ่นยนต์ และระบบฝังตัว, RP2350-ETH Mini มีการรองรับพอร์ต Ethernet และฟังก์ชัน GPIO หลากหลาย เห […]

เปิดตัวบอร์ด Raspberry Pi Pico 2 W พร้อมโมดูลไร้สาย WiFi 4 2.4 GHz และ Bluetooth 5.2

Raspberry Pi Pico 2 W

Raspberry Pi Pico 2 W หรือเวอร์ชั่นไร้สายของ Raspberry Pi Pico 2 ได้เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกับโมดูลไร้สาย WiFi 4 2.4GHz และ Bluetooth 5.2 ในราคาอย่างเป็นทางการ $7(~240฿) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูสเปคและรีวิวสั้นๆ ที่ทดลองโค้ดตัวอย่าง WiFi และ Bluetooth นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้เห็นบอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มาพร้อมกับ WiFi และ Bluetooth เพราะก่อนหน้านี้ Pimoroni ได้เปิดตัวบอร์ด Pico Plus 2 W ที่ใช้ RP2350B MCU และ Raspberry Pi RM2 โมดูลไร้สาย Wi-Fi และ Bluetooth, และ iLabs ก็ได้เปิดตัวบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้โมดูลไร้สาย ESP32-C6 แต่ Raspberry Pi Pico 2 W เป็นบอร์ดอย่างเป็นทางการ มีราคาถูกกว่า และคาดว่าจะได้รับความนิยมและการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด สเปคของ Raspberry Pi Pico 2 W SoC – Raspberr […]

จอแสดงผลสีทรงกลมขนาด 1.28 นิ้วที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, GPIO headers, เคสโลหะ

RP2350 Rounded LCD

Waveshare เปิดตัว RP2350-LCD-1.28 เป็นโมดูลจอแสดงผลสีทรงกลมขนาด 1.28 นิ้วที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมความละเอียด 240×240 พิกเซล และ IPS panel 65,000 สี บอร์ดนี้ยังมีตัวจัดการแบตเตอรี่ลิเธียมแบบชาร์จไฟได้ IMU 6 แกนพร้อม gyroscope 3 แกนและ accelerometer 3 แกน, GPIO pins หลายขาและคอนเนกเตอร์ USB Type-C สำหรับการเขียนโปรแกรมและการจ่ายไฟ นอกจากนี้ ยังรองรับการเชื่อมต่อ USB 1.1 แบบ host/device, เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ, และช่อง PWM จำนวน 24 ช่อง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถกำหนดค่าได้อย่างยืดหยุ่นสำหรับการใช้งานขา I/O ที่หลากหลาย คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้โมดูลนี้เหมาะกับการใช้งานใน IoT, เทคโนโลยีสวมใส่, และแอปพลิเคชันระบบฝังตัว ทางบริษัทยังมีตัวเลือกเคสโลหะ CNC ซึ่งช่วยเพิ่มความทนทานและการระบายความร้อน เหมาะสำหรับการใช้งานแบบพกพ […]

CodeCell : บอร์ดพัฒนาขนาดจิ๋วที่ใช้ ESP32-C3 สำหรับโปรเจกต์หุ่นยนต์ อุปกรณ์สวมใส่และสมาร์ทโฮม

CodeCell ESP32-C3 mini development board

วิศวกรและ YouTuber Carl Bugeja ได้ร่วมกันสร้าง CodeCell ซึ่งเป็นบอร์ดพัฒนาขนาดจิ๋วที่ใช้ชิป ESP32-C3 ออกแบบมาเป็นสมองกลสำหรับหุ่นยนต์ อุปกรณ์สวมใส่ และอุปกรณ์สมาร์ทโฮม โดยมาพร้อมกับเซนเซอร์ IMU 9 แกน สำหรับการประมวลผลการเคลื่อนไหว และมีตัวเลือกให้ติดตั้งเซนเซอร์แสง VCNL4040 อีกด้วย บอร์ดนี้มีพอร์ต USB Type-C สำหรับการส่งข้อมูลและจ่ายพลังงาน รวมถึงแบตเตอรี่ลิเธียมโพลิเมอร์พร้อมวงจรชาร์จไฟ บอร์ดมีขนาดเพียง 18.5 x 18.5 มม. บอร์ดขนาดจิ๋วนี้เล็กกว่าบอร์ดพัฒนาจิ๋วอื่นๆ เช่น Unexpected Maker NANOS3, Unexpected Maker OMGS3, Waveshare ESP32-S3-Zero และ XIAO ESP32S3 ของ Seeed Studio, ส่วน Epi C3 มีขนาดเล็กกว่าที่ 23 x 12.75 มม. สเปคของบอร์ดพัฒนา CodeCel ESP32-C3 mini ไมโครคอนโทรลเลอร์ –  ESP32-C3 RISC-V MCU โปรเซสเซอร์ R […]

Seeed Studio เปิดตัว Sensor Kit ที่ใช้ ESP32-C6 และ mmWave 60GHz สำหรับตรวจจับคนล้มและการหายใจ/การเต้นของหัวใจ

mmWave human fall detection and heartbeat sensor

เราเคยได้รีวิว โมดูล MR60FDA1 60GHz mmWave Sensor เป็นเซนเซอร์ตรวจจับสถานะคนล้ม ซึ่งใช้โมดูล XIAO ESP32C3 เป็นตัวประมวลผลหลักพร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแอปพลิเคชัน IoT ได้หลากหลาย และตอนนี้ Seeed Studio ได้เปิดตัวโมดูล mmWave Sensor ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นสำหรับสำหรับการตรวจจับคนล้มและการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ โดยโมดูล MR60FDA2 ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการตรวจจับสถานะคนล้ม ในขณะที่ โมดูล MR60BHA2 ถูกออกแบบมาเพื่อการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉพาะ โมดูลทั้งสองใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C6 รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth LE ให้การตรวจจับที่เชื่อถือได้สำหรับการตรวจสอบคนล้มแบบเรียลไทม์และการติดตามการเต้นของหัวใจอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับไฟ RGB LED ที่ปรับแต่งได้แล […]

บอร์ดพัฒนา Cocket Nova CH552 ที่ใช้ CH552G ไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต 8051 core ราคา 200฿

Cocket Nova CH552 dev board

Cocket Nova CH552 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ราคาถูกและใช้งานได้หลากหลาย ที่ใช้ CH552G เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต 8051 core รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงและทำงานที่ความเร็ว 24MHz ออกแบบมาเพื่อผู้เริ่มต้นและผู้ที่ชื่นชอบการพัฒนา บอร์ดนี้มาพร้อมการโปรแกรมที่ง่ายผ่าน USB Type-C มีไฟ LED ในตัว, Neopixel RGB, ปุ่มรีเซ็ตและปุ่มบูต, และคอนเน็กเตอร์ Qwiic/STEMMA QT เพื่อการขยายฟังก์ชันที่ง่าย นอกจากนี้ยังเข้าถึง GPIO ได้ถึง 17 พิน รองรับ PWM, ADC และฟังก์ชันปุ่มสัมผัส ฟีเจอร์เหล่านี้รวมกับต้นทุนต่ำและสามารถนำใช้กับเบรดบอร์ดมาตรฐาน ทำให้บอร์ดพัฒนานี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้และการทดลอง เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH552G/T เช่น คีย์บอร์ดที่สามารถโปรแกรมผ่าน Arduino ราคา $10(~300฿). Turing Smart Screen […]

บอร์ด Wiznet W55RP20-EVB-Pico ที่ใช้ชิป W55RP20 SiP โดยรวมคอนโทรลเลอร์ Ethernet W5500 และ MCU RP2040

W55RP20-EVB-PICO evaluation board

Wiznet เปิดตัวบอร์ดพัฒนา W55RP20-EVB-Pico ซึ่งเป็นบอร์ดขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ชิป W55RP20 เป็นประเภท SiP (System-in-a-Package) โดยรวมไอซี 2 วงจรไว้ในแพคเกจเดียวกัน ได้แก่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และคอนโทรลเลอร์ W5500 Ethernet นอกจากนี้ยังมีชิปแฟลชขนาด 2MB สำหรับเก็บเฟิร์มแวร์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนา W5100S-EVB-Pico2 และ W5500-EVB-Pico2 ซึ่งทั้งสองบอร์ดใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 รุ่นใหม่และคอนโทรลเลอร์ Ethernet ภายนอก (W5500 หรือ W5100S) โดยที่ RP2350 มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น หน่วยความจำ One Time Programmable (OTP), การบู๊ตอย่างปลอดภัย (Secure Boot) และเทคโนโลยี Arm TrustZone ทำให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น ในทางกลับกัน W55RP20 ได้รวมคอน […]

Phyx LANA-TNY – บอร์ดพัฒนาที่ใช้ MCU RISC-V WCH CH32V203 สำหรับแอปพลิเคชันแบบฝังตัว

LANA-TNY CH32V203

LANA-TNY เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดที่สร้างโดย Phyx และใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203 RISC-V บอร์ดนี้ได้นำเสนอโซลูชันต้นทุนต่ำสำหรับการพัฒนาระบบสมองฝังตัวและมี USB bootloader ในตัว ซึ่งช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเมอร์ภายนอกเพื่อแฟลชเฟิร์มแวร์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับช่องเชื่อมต่อ USB-C และการออกแบบที่เรียบง่าย โดยมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นสำหรับเริ่มต้นการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว Phyx LANA-TNY ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203G6U6 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ขนาด 32 บิตจาก WCH Electronics สามารถทำงานที่ความเร็วสูงสุด 144MHz พพร้อมรองรับการคูณ/หาร 1 ไซเคิล บอร์ดนี้มีหน่วยความจำ SRAM ขนาด 10KB หน่วยความจำ Flash แบบ single-cycle 32KB และ Flash ภายนอกเพิ่มเติมอีก 224KB สำหรับจัดเก็บโปรแกรมหรือข้อมูล แม้ว่าหน่วยควา […]