HPMicro HPM64G0 : ไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ความเร็ว 1 GHz

1GHz RISC-V Microcontroller

ฉันได้เข้าไปที่เว็บไซต์ HPMicro เห็นภาพไมโครคอนโทรลเลอร์ 1 GHz ที่เรียกว่า HPM64G0 มันดูน่าสนใจ ดังนั้นฉันจึงคลิกลิงก์ไปยังเพจเอกสาร สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ HPM6700/6400 ของบริษัท แต่ตามแบบของประเทศจีน ต้องใส่เบอร์มือถือเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร แต่ไม่สำเร็จเพราะเพราะต้องใช้เบอร์มือถือของประเทศจีน ถ้าใครสามารถสร้างเว็บไซต์สำรองไว้ใน Mega หรือเว็บไซต์อื่นในประเทศอื่นที่เข้าถึงได้ง่าย ในที่สุดฉันได้พบบทความเป็นภาษาจีนบน EETrend ซึ่งเราสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ HPM64G0 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ ความเร็ว 1GHz ที่ใช้สถาปัตยกรรม RISC-V ก่อนหน้านี้เรามี MCU ที่ความเร็วเท่านี้ของ Arm พร้อม NXP i.MX RT1170 แต่ฉันยังไม่เห็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ไหนที่โอเวอร์คล็อกที่ความถี่เร็วแบบนี้ ข้อมูลจำเพาะเบื้องต้นและคุณสมบัติ […]

LILYGO T-RSC3 : บอร์ด ESP32-C3 มีอินเตอร์เฟส RS232 และ RS485 แบบแยกสัญญาณ, DC อินพุต 5 ถึง 24V

ESP32 C3 board RS232 RS485

LILYGO T-RSC3 เป็นบอร์ด ESP32-C3 ขนาดเล็ก มีการเชื่อมต่อ WiFi 4 และ Bluetooth LE 5.0 รองรับโปรโตคอลการสื่อสาร RS232 ผ่านตัวเชื่อมต่อ DB9 และ RS485 ผ่านตัวเชื่อมต่อเทอร์มินัล และรองรับแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC รับอินพุตในช่วง 5V ถึง 24V LILYGO ได้สร้างบอร์ด ESP32 ที่มีอินเตอร์เฟส CAN Bus และ RS485 ที่เรียกว่า T-CAN485 แล้ว แต่ไม่มีการแยกสัญญาณ (isolation), T-RSC3 ใหม่มีทั้งอินเทอร์เฟซ RS232 และ RS485 แต่ไม่มี CAN Bus ซึ่งได้รับการปกป้องด้วยโมดูลแยกสัญญาณ (isolated transceiver) ที่จะช่วยให้ปลอดภัยมากขึ้นในโหมดการใช้งานในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม สเปคของบอร์ด LILYGO T-RSC3: โมดูลการสื่อสารไร้สาย – โมดูล Espressif Systems ESP32-C3-MINI-1U พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C3 RISC-V ความเร็ว 160 MHz พร้อม SRAM 400 KB ,WiF […]

Espressif ESP32-P4 – ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ใช้ RISC-V dual-core ความเร็ว 400 MHz

ESP32 P4

ESP32-P4 เป็นชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ของ Espressif ที่ใช้ RISC-V dual-core ชนิดใช้งานทั่วไป (general-purpose) มีความเร็วสูงสุด 400 MHz พร้อมส่วนขยายคำสั่ง AI, ,มีขา I/O จำนวนมาก และด้านความปลอดภัย (security) นอกจากนี้ ESP32-P4 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวแรกจาก Espressif Systems ที่ไม่รองรับการสื่อสารไร้สาย ดังนั้นจึงน่าจะถูกมองว่าเป็นทางเลือกแทน STM32F7/H7 microcontrollers หรือ NXP i.RT crossover processors ที่ใช้ Arm Cortex-M7 และมีราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้ยังมีการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าชิป ESP32 อื่น ๆ ด้วยส่วนหนึ่งมาจาก third RISC-V core โอเวอร์คล็อกที่ 40 MHz ที่สามารถทำให้ระบบทำงานต่อไปได้ ในขณะที่สอง high-performance cores หยุดทำงาน คุณลักษณะและข้อมูลจำเพาะที่สำคัญของ ESP32-P4: MCU subsystems CPU Dual-core RISC-V H […]

Bouffalo Lab BL616/BL618 : MCU RISC-V รองรับ WiFi 6, Bluetooth 5.2 และ Zigbee

Sipeed BL616 module

BL616/BL618 ของ Bouffalo Lab เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย RISC-V 32 บิตที่รองรับการใช้งาน 2.4 GHz WiFi 6, Bluetooth 5.2 dual-mode และ IEEE 802.15.4 สำหรับ Zigbee, Thread และ Matter ที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชัน IoT เราเจอ BL616 RISC-V IoT MCU ครั้งแรกในช่วงเปิดตัว BL602/BL606 ในเดือนพฤศจิกายน 2020 แต่จนถึงตอนนี้เราแทบไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมันเลย ดูเหมือนว่าทั้ง BL616 และ BL618 จะเปิดตัวในเดือนหน้าโดยมีความแตกต่างหลักระหว่างสองรุ่นคือ BL616 มี GPIO 19 ขา และ BL618 มี GPIO 35 ขา สเปคของ Bouffalo Lab BL616 และ BL618: MCU core – CPU RISC-V 32-บิต (RV32GCP) ที่ความเร็วสูงสุด 384 MHz (Datasheet ระบุว่า 320 MHz) พร้อม FPU และ DSP, คำสั่ง cache 32KB และข้อมูล cache 16KB VPU – ตัวเข้ารหัสวิดีโอ MJPEG หน่วยความจำ – […]

Lichee Pi 4A RISC-V SBC ที่ใช้ชิป TH1520 คู่แข่งของ Raspberry Pi 4

Lichee Pi 4A RISC V SBC

Lichee Pi 4A เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) ที่ใช้ชิป Alibaba T-Head TH1520 quad-core RISC-V Xuantie C910 เป็นตัวประมวลผลที่ความเร็ว 1.8 GHz พร้อม Imagination GPU และ 4 TOPS NPU สำหรับการประมวลผล AI สามารถแข่งขันกับ Raspberry Pi 4 ได้คุณสมบัติและประสิทธิภาพ เราเคยกล่าวถึง Lichee Pi 4A (LPi4A) ในบทความของเราเกี่ยวกับ Sipeed LM4A RISC-V system-on-module แต่ในขณะนั้นเรามีเพียงข้อมูล ฺBenchmarks ของบอร์ดเท่านั้น ไม่มีรูปถ่าย และข้อมูลสเปคของ SBC, Sipeed ได้เผยแพร่รูปภาพและข้อมูลสเปคเพิ่มเติมโดยละเอียด และกำลังเปิดรับการสั่งจองล่วงหน้า เรามาดูรายละเอียดกัน สเปคของ Lichee Pi 4A เทียบกับ Raspberry Pi 4 ชิป TH1520 เคยโปรโมทว่าความเร็วสูงถึง 2.5 GHz แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าจะลดลงมาที่ 1.8 GHz ระบบปฏิบัติการรองรับซอฟต์แวร์ […]

Pinecil V2 หัวแร้งบัดกรี สามารถเชื่อมต่อ Bluetooth LE บนหน้าเว็บเบราว์เซอร์

Web interface Pinecil V2 soldering iron

ตอนนี้สามารถใช้การเชื่อมต่อ Bluetooth LE ของ หัวแร้ง Pinecil V2 บนหน้าเว็บเบราว์เซอร์ (web interface) เพื่อใช้ในการตรวจสอบและ/หรือตั้งค่าอุณหภูมิและกำลังไฟฟ้าของหัวแร้ง RISC-V ได้ เมื่อปีที่แล้วได้เปิดตัวหัวแร้ง Pinecil V2 พร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ Bouffalo Lab BL706 RISC-V Bluetooth เราได้รับการบอกเล่าว่ามีหลักการที่จะใช้คุณสมบัติของ Bluetooth LE อย่างไร: อัพเกรดไฟล์ฟีเจอร์ OTA และการอัปเกรดเฟิร์มแวร์ OTA และการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ จากอุปกรณ์ที่อยู่ระยะไกล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ส่วนหลังนี้ได้รับการดูแลโดย Joric ซึ่งได้เขียน web application เพื่อแสดงข้อมูล telemetry และควบคุมอุณหภูมิของหัวแร้ง หากคุณต้องการใช้ฟังก์ชัน Bluetooth คุณจะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ Pinecil V2 ล่าสุดกับ blisp flashing utility ก่อนไปที่ […]

Sipeed LM4A – โมดูล RISC-V ใช้ CPU T-Head TH1520

RISC-V-modules-cluster-board

LM4A ของบริษัท Sipeed เป็นโมดูล quad-core RISC-V system-on-module ที่ใช้ T-Head TH1520 SoC พบในโน๊ตบุ๊ค ROMA โมดูลจะอยู่ใน SBC เป็นคู่แข่งกับ Raspberry Pi SBC และในบอร์ดคลัสเตอร์ LM4A ย่อมาจาก Lichee Module 4 Model A มาพร้อมกับหน่วยความจำ RAM 4GB ถึง 16GB และflash สูงสุด 64GB และเชื่อมต่อกับบอร์ดฐานผ่านคอนเนกเตอร์ SO-DIMM 260 พิน, TH1520 เป็นหนึ่งใน RISC-V SoCs ที่มี 3D GPU ที่หายาก และ SBC ที่ใช้ LM4A ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพดีกว่า Raspberry Pi 4 ในการทดสอบ benchmarks ตามที่เราจะเห็นด้านล่าง สเปค Sipeed LM4A: SoC – Alibaba T-Head TH1520 โปรเซสเซอร์ Quad-core RISC-V Xuantie C910 (RV64GCV) @ 2.5 GHz, Xuantie C906 audio DSP @ 800 MHz, low power Xuantie E902 core, 50 GFLOPS Imagination 3D GPU และ 4 TOP […]

Linux 6.1 LTS – กับการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux-6.1-LTS

Linus Torvalds ประกาศเปิดตัว Linux 6.1 kernel, อาจจะเป็นรุ่น LTS (Long Term Support) รุ่นล่าสุดสำหรับ Linux เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา: Linux 6.0 ที่ออกก่อนหน้านี้มีปรับปรุงการใช้พลังงาน มีการเพิ่มเติมบางอย่างกับสถาปัตยกรรม OpenRISC และ LoongArch เช่น รองรับ PCI buses, ใช้โปรโตคอล “send” เวอร์ชัน 2 ของ Btrfs และอินเทอร์เฟซ HEVC/H.265 ได้รับการเลื่อนระดับให้เสถียรแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจใน Linux 6.1 LTS ดังนี้ กำลังเริ่มรองรับภาษา Rust ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่บทความที่ lwn.net KMSAN (kernel memory sanitizer) เป็นเครื่องตรวจจับข้อผิดพลาดแบบไดนามิกที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาตัวแปรที่ไม่ได้กำหนด (uninitialized values) และคล้ายกับเครื่องมือ MemorySanitizer ที่ใช้ใน userspace ควรเปิดใช้งานสำหรับการดีบักเท่านั้น เนื่องจา […]