เปิดตัว Arduino CLI 1.0 – ทดลองใช้งานกับ Raspberry Pi Pico 2

Arduino CLI Raspberry Pi Pico 2

Arduino ได้เปิดตัว Arduino CLI เวอร์ชัน 1.0.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันเสถียรแรกที่ผู้ใช้และนักพัฒนาสามารถมั่นใจได้ว่า API ของซอฟต์แวร์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของแอปพลิเคชันที่ใช้งานอยู่บน API นี้ เราได้ดู Arduino CLI เป็นครั้งแรกเมื่อยังอยู่ในช่วงอัลฟ่าตั้งแต่ปี 2018 Arduino CLI เวอร์ชัน 1.0.0 ได้รับการปล่อยออกมาเงียบ ๆ เมื่อประมาณสองเดือนที่แล้ว แต่เพิ่งมี การประกาศอย่างเป็นทางการในขณะนี้ และขณะนี้ยูทิลิตีอยู่ในเวอร์ชัน 1.0.4 โดยมีการแก้ไขบั๊กหลายอย่างแล้ว การเปิดตัว Arduino CLI 1.0 เป้าหมายของ API คือการเขียนโปรแกรมลงบนบอร์ดได้อย่างง่ายดายผ่านบรรทัดคำสั่งโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Arduino IDE และ CLI สามารถรวมเข้ากับสคริปต์ของคุณเองเพื่อทำให […]

Raspberry Pi Pico Arduino core 4.0 รองรับบอร์ด RP2350 แล้ว

Raspberry Pi RP2350 Arduino

Earle F. Philhower, III เปิดตัว Raspberry Pi Pico Arduino core 4.0 ซึ่งรองรับบอร์ด Raspberry Pi RP2350 หลากหลายรุ่น นอกเหนือจาก Raspberry Pi Pico 2 ที่เป็นบอร์ดอย่างเป็นทางการ เมื่อบอร์ด Raspberry Pi Pico ที่ใช้ RP2040 ออกสู่ตลาด เราก็ได้เห็น SDK ของ Arduino สองตัว ตัวแรกคือ Raspberry Pi Pico Arduino core ที่สนับสนุนโดยชุมชนและดูแลโดย Earle ส่วนตัวที่สองคือ Arduino Core Mbed 2.0 อย่างเป็นทางการสำหรับบอร์ดอย่าง Arduino Nano Connect RP2040 ตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าเราจะมี SDK ของ Arduino สองตัวสำหรับ RP2350 อีกครั้ง โดยเริ่มจาก Raspberry Pi Pico Arduino core การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Raspberry Pi Pico Arduino core 4.0: เพิ่มการรองรับ Raspberry Pi RP2350 (เฉพาะ Arm เท่านั้น, ส่วน RISC-V cores ยังไม่รองรับในขั้นตอนนี้) อั […]

อะแดปเตอร์ HDMI to screw terminal มีประโยชน์สำหรับบอร์ด Raspberry Pi RP2040 และ RP2350

HDMI screw terminal adapter

อะแดปเตอร์ HDMI to screw terminal ฟังดูอาจจะดูไม่มีประโยชน์ แต่ในส่วนของ Programmable IOs (PIO) และ High-Speed ​​Serial Transmit(HSTX) สิ่งเหล่านี้อาจจะกลายเป็นประโยชน์สำหรับบอร์ดหรือโมดูลที่ใช้ Raspberry Pi RP2040 หรือ RP2350 เนื่องจากบอร์ดเหล่านี้ทั้งหมดสามารถรองรับเอาต์พุต DVI ผ่านคอนเนกเตอร์ HDMI มีบอร์ดไม่กี่ตัวที่รวมพอร์ต HDMI เช่น Olimex RP2040-PICO-PC, Solder Party RP2xxx Stamp Carrier XL  หรือ Adafruit Feather RP2040 เป็นต้น แต่บอร์ดส่วนใหญ่จะไม่มีพอร์ต HDMI แต่มี GPIO headers และอะแดปเตอร์ HDMI to screw terminal จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มพอร์ต HDMI ลงในบอร์ดที่มีอยู่ได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องบัดกรี เพียงแค่ใช้สายจัมเปอร์หรือหรืออาจใช้สาย HDMI เก่า อะแดปเตอร์ HDMI to screw terminal ทั้งหมดค่อนข้างเรียบง […]

บอร์ด Pimoroni Explorer สำหรับการเรียนรู้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมจอ LCD 2.8 นิ้ว, breadboard sensors และอื่นๆ

Pimoroni Explorer Starter Kit

บอร์ด Pimoroni Explorer เป็นบอร์ดสำหรับการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 มีหน้าจอ LCD ขนาด 2.8 นิ้ว, ขั้วต่อสำหรับลำโพง, และพอร์ต I/O ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถสร้างวงจร ทดลองโปรเจกต์ และสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด Breadboard ขนาดเล็ก, ปุ่มสัมผัส และขั้วต่อแบบ crocodile clip terminals ทำให้เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ Raspberry Pi Limited เพิ่งเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 พร้อมกับ บอร์ด Raspberry Pi Pico ราคา $5 (~180฿) และเราได้เห็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 มากมาย เช่น Cytron MOTION 2350 Pro, Bus Pirate 5XL และ 6 รวมถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ, Pimoroni Explorer เป็นอีกหนึ่งบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 สเปคขอ […]

อินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ของ Raspberry Pi RP2350 มันน่าสนใจอย่างไร

Raspberry Pi RP2530 HSTX interface

ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 เพิ่มอินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสการส่งข้อมูลความเร็วสูง พร้อมกับการนำเสนอ PIO (Programmable IO) ของ Raspberry Pi RP2040 เมื่อสามปีก่อน ปัจจุบันไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 ใหม่มี PIO จำนวนสามบล็อกและอินเทอร์เฟส HSTX หนึ่งบล็อกที่สามารถใช้งานได้ผ่าน 8x GPIOs ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจว่า HSTX คืออะไร ใช้ทำอะไร และมันแตกต่างจาก PIOs อย่างไร รวมถึงดูตัวอย่างการเขียนโปรแกรมใน C และ MicroPython กัน อินเทอร์เฟส High-Speed ​​Serial Transmit (HSTX) มีรายละเอียดอยู่ในข้อมูล datasheet ของ RP2350 เริ่มตั้งแต่หน้า 1118 ซึ่งระบุว่า “อินเทอร์เฟส High-Speed ​​Serial Transmit (HSTX) จะทำการสตรีมข้อมูลจากโดเมนสัญญาณนาฬิกาของระบบไปยัง GPIO ได้สูงสุด 8 ขาในอั […]

บอร์ดพัฒนา SparkFun Pro Micro – RP2350 มาพร้อม flash 16MB, PSRAM 8MB

SparkFun RP2350 Pro Micro DEV Board

SparkFun Pro Micro – RP2350 เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดและทรงพลัง ที่ใช้ชิป RP2350 จาก Raspberry Pi และหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด 16MB และ PSRAM 8MB บอร์ดนี้มีการออกแบบตาม Pro Micro รุ่นใหม่และมีพอร์ต USB-C, คอนเนคเตอร์ Qwiic, WS2812B RGB LED, ปุ่ม Boot และ Reset, ฟิวส์ PTC ที่สามารถรีเซ็ตได้, และมีรู PTH และด้านข้างมีรูแบบ castellated pads สำหรับเอาไว้บัดกรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้กล่าวถึง Raspberry Pi Pico 2 และเรายังได้เขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดอื่นๆ ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 เช่น XIAO RP2350, RP2350 Stamp ของ Solder Party และ Cytron MOTION 2350 Pro เรามาดูคุณสมบัติบอร์ดพัฒนาอีกหนึ่งบอร์ดที่ใช้ชิป RP2350 กัน สเปคของ SparkFun Pro Micro – RP2350 ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Ar […]

บอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 กับโมดูล ESP32-C6 WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE

Raspberry Pi RP2350 board ESP32 C6 WiFi module

คุณไม่ต้องรอ Raspberry Pi Pico 2 W เพื่อให้ได้บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มี WiFi และ Bluetooth เพราะมีบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่รวมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350A กับโมดูล ESP32-C6 ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 2.4 GHz WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE บอร์ดนี้ใช้ Adafruit Feather form factor โดยมีรู (Through holes) 28-pin สำหรับ I/O ทำให้สามารถเข้ากันได้กับบอร์ดเสริม FeatherWings มาพร้อมพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และมีคอนเนกเตอร์ JST พร้อมวงจรชาร์จสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ LiPo สเปคของบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5: ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Arm Cortex-M33 processor @ 150MHz Dual-core 32-bit RISC-V processor @ 150MHz สามารถใช้งานได้เพียง 2 […]