SO-ARM101 : ชุดคิทหุ่นยนต์แขนกลคู่แบบโอเพนซอร์ส รองรับการทำงานกับ LeRobot ของ Hugging Face

SO-ARM101 robotic arm hugging face support

SO-ARM101 “Arm Servo Motor Kit” เป็นชุดคิทหุ่นยนต์แขนกลคู่ (dual robotic arm) แบบโอเพนซอร์สที่สามารถทำงานร่วมกับ LeRobot แพลตฟอร์มหุ่นยนต์ของ Hugging Face ได้ และได้รับการออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับโมดูลและคอมพิวเตอร์ AI ของ NVIDIA Jetson SO-ARM101 เป็นการอัปเดตจาก SO-ARM100 ชุดคิทแขนกลโอเพนซอร์สแบบ DIY  ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้วพร้อมการรองรับเฟรมเวิร์ก LeRobot โดย SO-ARM101 ยังคงประกอบด้วยแขนแบบ Leader Arm และ Follower Arm เช่นเดิม แต่มีการปรับปรุงการเดินสายไฟให้ดียิ่งขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาสายหลุดที่เคยเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อที่ 3 พร้อมทั้งมอเตอร์ที่มีอัตราทดเกียร์ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น และเพิ่มความสามารถใหม่บางอย่าง เช่น แขนแบบ Leader Arm สามารถ “ติดตาม” การเคลื่อนไหวของแขนผู้ตามได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานด้า […]

ESPuno Pi Zero : บอร์ด ESP32-C6 สามารถรับอินพุต DC 60V มาพร้อมอินเทอร์เฟซ RS-485

ESPuno Pi Zero

ESPuno Pi Zero เป็นบอร์ดขนาดเท่ากับ Raspberry Pi Zero ที่ใช้โมดูล ESP32-C6-MINI-1 รองรับ Wi-Fi 6, Bluetooth Low Energy (BLE) และการเชื่อมต่อไร้สายแบบ 802.15.4 พร้อมด้วยวงจรแปลงไฟ SMPS ที่สามารถรับไฟเลี้ยง DC ได้สูงสุด 60V ผ่านขั้วต่อแบบ 2 ขา (2-pin terminal block) บอร์ดยังมาพร้อมกับพอร์ต USB-C จำนวน 2 พอร์ต โดยพอร์ตหนึ่งเชื่อมต่อกับ ESP32-C6 ส่วนอีกพอร์ตเชื่อมกับชิป USB-to-serial รุ่น CH343P, GPIO header แบบ 40 ขา, คอนเนกเตอร์ Grove, terminal block แบบ 3 ขาสำหรับ RS-485, DMX, Profibus และยังมีปุ่มและไฟ LED สเปค ESPuno Pi Zero: ESP32-C6-MINI-1-N4 หรือ ESP32-C6-MINI-1U-N4 SoC – Espressif Systems ESP32-C6 single-core 32-bit RISC-V clocked สูงสุด 160 MHz, ROM 320KB, SRAM 512KB, low-power RISC-V core @ สูงสุด 20 MHz […]

Pico Indicator เพิ่มไฟ LED ให้กับ GPIO และพาวเวอร์ของ Raspberry Pi Pico และบอร์ดที่รองรับ

Add LEDs to Raspberry Pi Pico GPIO

บริษัท 8086 Consultancy ได้ออกแบบบอร์ดเรียบง่ายที่ชื่อว่า Pico Indicator เพื่อเพิ่มไฟ LED ให้กับขา GPIO และขาพาวเวอร์ของ Raspberry Pi Pico และบอร์ดอื่น ๆ ที่มีเลย์เอาต์ขาเหมือนกัน ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นบอร์ดเพื่อการศึกษาบางรุ่น เช่น Cytron Maker Uno RP2040 ที่มีไฟ LED สำหรับแต่ละขา GPIO ซึ่งช่วยให้เรียนรู้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และยังช่วยในการดีบักโปรเจกต์โดยไม่ต้องใช้มัลติมิเตอร์หรือออสซิลโลสโคป แต่บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ส่วนใหญ่มักมีไฟ LED เพียงไม่กี่ดวง รวมถึงตระกูล Raspberry Pi Pico ที่มีเพียงไฟ LED สำหรับผู้ใช้หนึ่งดวงเท่านั้น ดังนั้น Pico Indicator จะแก้ปัญหานี้โดยการเพิ่มไฟ LED ทั้งหมด 29 ดวง เพื่อใช้กับ Pico, Pico W, Pico 2, Pico 2 W และบอร์ดที่เข้ากันได้ ซึ่งช่วยแสดงสถานะของขาที่เป็นลอจิกระดับสูง (logic level […]

UNIHIKER K10 : แพลตฟอร์มการศึกษา TinyML ราคาประหยัด รองรับการตรวจจับภาพและการจดจำเสียง

UNIHIKER K10

UNIHIKER K10 เป็นแพลตฟอร์มการศึกษาเรียนรู้ STEM ต้นทุนต่ำสำหรับแอปพลิเคชัน TinyML ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32-S3 ซึ่งมาพร้อมกับส่วนขยายเวกเตอร์สำหรับประมวลผลงาน เช่น การตรวจจับภาพหรือการจดจำเสียง มาพร้อมกับหน้าจอสีขนาด 2.8 นิ้วในตัว, กล้อง, ลำโพง, ไมโครโฟน 2 ตัว, เซ็นเซอร์หลายตัว, ช่องใส่ microSD Card และคอนเนกเตอร์ขอบแบบ BBC Micro:bit สำหรับสัญญาณพลังงานและ GPIOs ถือเป็นรุ่นที่ปรับแต่งให้มีต้นทุนต่ำกว่ารุ่นพี่ที่ใช้ Linux อย่าง UNIHIKER M10 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2022 และคุณอานนท์ยังได้รีวิว UNIHIKER ในปี 2023 โดยแสดงวิธีตั้งค่า, ใช้งานแพลตฟอร์ม SIoT กับข้อความ MQTT และเขียนโปรแกรมผ่าน Jupyter Notebook, Python หรือ Visual Studio Code มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรุ่นใหม่ที่ใช้ ESP32-S3 กัน สเปคของ […]

รีวิว SMARTHON Smart City IoT Starter Kit สำหรับ BBC Micro:bit

Smarthon Smart City IoT Starter Kit review

SMARTHON Smart City IoT Starter Kit สำหรับ micro:bit เป็นชุดการเรียนรู้สำหรับเด็กอายุ 10 ปีขึ้นไป โดยสอนเกี่ยวกับโครงการพื้นฐานตั้งแต่การเปิด-ปิด LED ไปจนถึงโครงการที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วยเซ็นเซอร์หลายตัว การเชื่อมต่อ IFTTT และการพัฒนาแอปมือถือ บริษัทได้ส่งตัวอย่างชุดเริ่มต้นพร้อมบอร์ด BBC Micro:bit มาให้เราเพื่อทดลอง และเราจะรายงานประสบการณ์ของเราในการใช้ชุดอุปกรณ์นี้ในรีวิวนี้ แกะกล่อง SMARTHON Smart City IoT Starter Kit สำหรับ micro:bit แพ็คเกจที่เราได้รับประกอบด้วย SMARTHON Smart City IoT Starter Kit สำหรับ Micro:bit และ บอร์ด BBC Micro:bit V2 (ซึ่งไม่ได้รวมในชุด Starter Kit) ด้านล่างของบรรจุภัณฑ์แสดงรายการส่วนประกอบหลักและมี QR code ที่ไปยังหน้าผลิตภัณฑ์ แพ็คเกจนี้ประกอบด้วยโมเดลกระดาษแข็งและไม้, สายเคเบิลต่า […]

LILYGO T-Bao : หุ่นยนต์ AI ขนาดจิ๋วที่ใช้ชิป ESP32 และ Kendryte K210 RISC-V พร้อมกล้องและจอแสดงผล

LILYGO T-Bao AI robot

T-Bao AI Robot เป็นอุปกรณ์ฝังตัว (embedded)/หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วที่รวมชิป ESP32 และไมโครคอนโทรลเลอร์ K210 RISC-V ซึ่งสามารถทำงานด้านการจดจำใบหน้าและการใช้งานหุ่นยนต์ได้ อุปกรณ์ขนาดจิ๋วนี้มีหน้าจอสัมผัสแบบ capacitive ขนาด 1.54 นิ้วความละเอียด 240×240, กล้อง 2MP รุ่น OV2640, ตัวขยายเสียง MAX98357A I2S, ไดรเวอร์มอเตอร์ DRV8833, เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบ 6 แกน MPU6050 และชิปจัดการพลังงาน AXP202 PMU นอกจากนี้ยังรองรับการชาร์จผ่าน USB,รองรับการต่อกับตัวต่อ LEGO, และสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยล้อเลื่อนในตัว คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้เหมาะสำหรับโครงการด้านการศึกษา, การพัฒนาหุ่นยนต์, การประยุกต์ใช้งาน IoT และการสร้างต้นแบบระบบฝังตัวต่างๆ สเปคของ LILYGO T-Bao SoCs Kendryte K210  โปรเซสเซอร์ RISC-V แบบ dual-core 64 บิต @ 400 M […]

Mercury X1 : หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน ที่ใช้คอนโทรลเลอร์ AI NVIDIA Jetson Xavier NX และบอร์ดควบคุมมอเตอร์ ESP32

Mercury X1 wheeled humanoid robot

Elephant Robotics Mercury X1 เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน (Wheeled Humanoid Robot) สูง 1.2 เมตร ที่มาพร้อมแขนกล 2 แขนที่ใช้ NVIDIA Jetson Xavier NX เป็นตัวควบคุมหลักและไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 สำหรับการควบคุมมอเตอร์ เหมาะสำหรับการวิจัย การศึกษา งานบริการ ความบันเทิง และการควบคุมระยะไกล หุ่นยนต์ตัวนี้มีอิสระในการเคลื่อนไหวถึง 19 องศา สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุด 1 กิโลกรัม ทำงานได้ต่อเนื่องนานถึง 8 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 1.2 เมตร/วินาที หรือประมาณ 4.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์แขนคู่ Mercury B1 ของบริษัท พร้อมฐานเคลื่อนที่ประสิทธิภาพสูง สเปคของ Mercury X1: คอนโทรลเลอร์หลัก – NVIDIA Jetson Xavier NX CPU – โปรเซสเซอร์ NVIDIA Carmel ARM v8.2 แบบ 64 บิต 6-core […]

CYOBot v2 แพลตฟอร์มหุ่นยนต์โมดูลาร์แบบโอเพนซอร์สที่ใช้ ESP32-S3 รองรับเซอร์โวได้สูงสุด 16 ตัว

cyobot modular robotics platform

Create Your Own Bot (CYOBot) v2 เป็นแพลตฟอร์มหุ่นยนต์โมดูลาร์แบบโอเพ่นซอร์สสำหรับนักเรียน, ครูผู้สอน, ผู้ที่สนใจทำกิจกรรมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และวิศวกรในอนาคต โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 และรองรับการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ได้สูงสุดถึง 16 ตัว เพื่อการควบคุมที่ซับซ้อน CYOBot v2 เป็นการพัฒนาต่อจากแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สี่ขาจากบริษัทเดียวกัน โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น การออกแบบโมดูลาร์, การอัปเกรดไปใช้ชิป ESP32-S3, ช่องมอเตอร์ที่มากขึ้น, และบล็อกขยายที่รองรับอุปกรณ์เสริมมากขึ้น นอกจากนี้ยังรองรับการรวมระบบ AI เช่น ChatGPT เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน CYOBot รองรับการตั้งค่า 3 รูปแบบผ่าน CYOBrain ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนแพลตฟอร์มหุ่นยนต์และควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ รวมถึงส่วนประกอบที่พิมพ์ 3D แยกต่างหาก รูปแบบ CYOBot Crawler คือหุ่ […]