Cool Pi 4 Model B เป็นบอร์ดทางเลือกที่ทรงพลังว่า Raspberry Pi 4 SBC ส่วนใหญ่มีรูปทรง (form factor) และอินเทอร์เฟซเหมือนกัน แต่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S octa-core Cortex-A76/A55 ตามที่เราเคยรีวิวคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวที่ใช้โปรเสเซอร์ Rockchip RK3588/RK3588S และมินิพีซี เช่น Rock 5B , Khadas Edge2 Pro และ Mekotronics R58 แล้ว และเราประทับใจในประสิทธิภาพ แต่หากคุณต้องการรูปทรงหรือ form factor บอร์ด Raspberry Pi 4, Cool Pi 4 Model B จะตอบสนองความต้องการคุณได้ สเปคของ Cool Pi 4 รุ่น B: SoC – โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S 8 คอร์ พร้อม Cortex-A76 4 คอร์ @ สูงสุด 2.4 GHz, Cortex-A55 4 คอร์, GPU – Arm Mali-G610 พร้อมรองรับ OpenGL ES 3.2, OpenCL 2.2, และรองรับ Vulkan 1.1 , ตัวถอดรหัสวิดีโอ 8Kp60 สำหรับ H.265/A […]
NanoPi R5C : มินิเราเตอร์ มีพอร์ต 2.5GbE 2 ช่อง รองรับโมดูลไร้สาย M.2
FriendlyElec NanoPi R5C เป็นรุ่นที่เล็กกว่าขอ เราเตอร์ NanoPi R5S ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3568 เหมือนกัน แต่ NanoPi R5C มีพอร์ต 2.5GbE 2 ช่อง และเพิ่มโมดูล M.2 WiFi และ Bluetooth ไม่ใช้ดองเกิล USB เหมือนเราเตอร์ NanoPi R-series รุ่นก่อนหน้า มินิเราเตอร์ยังสามารถใช้เป็นมินิพีซีได้ด้วย พอร์ตเอาต์พุตวิดีโอ HDMI 2.0 และพอร์ต USB 3.2 2 ช่อง และมีให้เลือก 2 รุ่น RAM 1GB และแฟลช eMMC 8GB หรือ RAM 4GB และที่เก็บข้อมูล 32GB สเปคของ NanoPi R5C: SoC – โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3568B2 Cortex-A55 แบบ Quad-core ที่สูงสุด 2.0 GHz พร้อม GPU Arm Mali-G52 MP2, 0.8 TOPS AI accelerator, ตัวถอดรหัสวิดีโอ 4Kp60 H.265/H.264/VP9, ตัวเข้ารหัสวิดีโอ 1080p60 H.264/H.265 หน่วยความจำและจัดเก็บข้อมูล LPDDR4X 1GB และ eMMC flash 8GB หรือ LP […]
Innodisk EXMU-X261 – บอร์ด FPGA ใช้ AMD Xilinx Kria K26 เพื่อใช้ในงาน Machine Vision
Innodisk เป็นที่รู้จักกันดีผู้ผลิตด้านอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบฝัง (embedded storage) และชิปหน่วยความจำ ก่อนหน้านี้ได้ประกาศความตั้งใจที่จะหันไปหาตลาด AI และเริ่มต้นด้วยการเปิดตัว USB โมดูลกล้อง เมื่อเดือนที่แล้ว แต่บริษัทได้ก้าวไปอีกด้วยการเปิดตัว บอร์ด FPGA “EXMU-X261” ที่เป็นแพลตฟอร์ม Machine Vision EXMU-X261 ขับเคลื่อนโดยระบบโมดูล (system-on-module) AMD Xilink Kria K26 และมีเอาต์พุตวิดีโอ HDMI 1.4, Gigabit Ethernet, พอร์ต USB 3.1 Gen 1 จำนวน 4 ช่องสำหรับกล้องและอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ รวมถึงซ็อกเก็ต M.2 2 ช่องและ เทอร์มินัลบล็อก (Terminal block) สำหรับส่วนขยาย สเปคของ EXMU-X261: System-on-module ระบบโมดูล – โมดูล FPGA AMD Xilinx Kria K26 ที่ขับเคลื่อนโดย Zynq UltraScale+ XCK26 FPGA MPSoC พร้อมโปรเซส […]
Radxa E25: เราเตอร์ 2.5GbE พร้อมรองรับ WiFi 6 และ 4G/5G
Radxa E25 เป็นเราเตอร์แบบซ้อนกัน (Modular) มีพอร์ต 2.5GbE 2 พอร์ต ที่อิงตาม Radxa CM3 Industrial (CM3I) system-on-module ที่ติดตั้งโปรเซสเซอร์ Rockchip RK3568 quad-core Cortex-A55 และเพิ่มการรองรับการเชื่อมต่อ WiFi 6 และเครือข่ายเซลลูลาร์ (Cellular) 4G หรือ 5G ฉันได้รับบอร์ดฐาน Radxa E25 ตัวอย่างแรกในเดือนมกราคม แต่ตอนนี้บริษัทได้ปรับปรุงการออกแบบด้วยเวอร์ชัน 1.4 ของบอร์ด และจะเปิดตัว Radxa E25 เป็นเราเตอร์ที่สมบูรณ์พร้อมเคสที่คล้ายกับ NanoPi R5S และ LinkStar H68K สเปคของ Radxa E25: SoM – Radxa CM3I พร้อมโปรเซสเซอร์ Rockchip RK3568 Quad-core Cortex-A55 @ 2.0 GHz พร้อม Arm Mali-G52, RAM สูงสุด 8GB, แฟลช eMMC สูงสุด 128GB (สูงสุด 250MB/s), เสริม WiFi และ Bluetooth ที่เก็บข้อมูล – ช่องเสียบ MicroSD, M.2 SATA 2242 […]
AI Camera Dev Kit ใช้ NVIDIA Jetson Nano สามารถสร้างต้นแบบ computer vision รวดเร็ว
ADLINK “AI Camera Dev Kit” ชุดบอร์ดพัฒนาที่มาพร้อมกับกล้อง AI ที่ใช้ NVIDIA Jetson Nano ขนาดพกพาพร้อมเซ็นเซอร์ภาพ 8MP, อินพุตและเอาต์พุตดิจิตอลอุตสาหกรรม และออกแบบมาสำหรับสร้างต้นแบบ AI vision ได้รวดเร็ว (Rapid AI vision prototyping) ชุดอุปกรณ์พร้อมกับพอร์ต Gigabit Ethernet, พอร์ต USB-C สำหรับกำลังไฟฟ้า, ข้อมูล และเอาต์พุตวิดีโอสูงสุด 1080p30, microSD card พร้อม Linux (Ubuntu 18.04) และพอร์ต micro USB เพื่อแฟลชเฟิร์มแวร์ ดังที่เราจะเห็นด้านล่าง นอกจากนี้ ยังมาพร้อมกับไดรเวอร์และซอฟต์แวร์เพื่อเริ่มต้นอย่างรวดเร็วด้วยแอปพลิเคชัน AI-accelerated computer vision สเปคของ AI Camera Dev Kit : ระบบบนโมดูล – NVIDIA Jetson Nano พร้อมด้วย CPU – โปรเซสเซอร์ Quad-core Arm Cortex-A57 GPU – สถาปัตยกรรม NVIDIA Maxwell พร้อม NVI […]
มินิพีซี GOLE 1 R มีซีพียู Rockchip RK3588 พร้อม หน้าจอทัชสกรีนขนาด 5.5 นิ้ว
เมื่อปี 2558 HIGOLE เปิดตัวมินิพีซี GOLE1 พร้อมหน้าจอทัชสกรีน, ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับใบอนุญาต Windows 10 ฟรีและถูกกฎหมาย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัวรุ่น Intel ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบรุ่นเดิม และได้ออกรุ่นล่าสุด GOLE 1 R ใช้ Rockchip RK3588 octa-core Arm Cortex-A76/A55 SoC แทน และใช้ Android 12 เป็นค่าเริ่มต้น GOLE 1 R มาพร้อมกับ RAM 8GB, eMMC flash 128GB, หน้าจอทัชสกรีนขนาด 5.5 นิ้ว, การเชื่อมต่อ Gigabit Ethernet และ WiFi, ไมโครโฟน, ลำโพง, G-sensor (เซนเซอร์ที่ใช้วัดแรงดึงดูดจากแรงกระแทก) และแบตเตอรี่ 2,500 mAh และบริษัทยังจำหน่ายมินิพีซี GOLE 1 RN โดยไม่มีหน้าจอ, ไมโครโฟน, ลำโพง หรือแบตเตอรี่สำหรับจ่ายไฟ ข้อมูลจำเพาะของ GOLE 1 R/RN: SoC – โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588 octa-core (8 คอร์) พร้อ […]
เปิดตัว Orange Pi 5 Rockchip RK3588S SBC ราคาเริ่มต้นที่ $60 (~2,100฿)
Orange Pi 5 (LTS) เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวที่ขับเคลื่อนโดยโปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S แบบ octa-core Cortex-A76/A55 ที่มีต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่าที่สุดทั้งด้านราคาและประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในตลาดคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว ด้วยการ pre-order สั่งซื้อล่วงหน้าโดยราคาเริ่มต้นที่ $60 (~2,100฿) Orange Pi 5 เปิดตัวครั้งแรกด้วย RAM สูงสุด 32GB, หน่วยความจำแฟลช eMMC ขนาด 32GB แต่เมื่อเปิดตัวซอฟต์แวร์ Shenzhen Xunlong Software นำเสนอรุ่น RAM 4GB และ 8GB และไม่มีหน่วยความจำแฟลช บอร์ดรองรับการตั้งค่าใช้งานสองจอ 8K ด้วยเอาต์พุตวิดีโอ HDMI 2.1 และ DisplayPort 1.4 Type-C และยังมีอินเทอร์เฟซการแสดงผล MIPI DSI สูงสุด 2 อินเทอร์เฟซ, อินเทอร์เฟซกล้อง 3 ตัว, การเชื่อมต่อ Gigabit Ethernet และ WiFi 6 และพอร์ต USB พร […]
แก้ไขปัญหาด้านประสิทธิภาพของ ดองเกิล USB to 2.5GbE ที่ใช้ Realtek RTL8156B ใน Ubuntu
ฉันเคยได้รีวิวอะแดปเตอร์อีเทอร์เน็ต USB 3.0 to 2.5 Gbps ที่ใช้ชิป Realtek RTL8156B ใน Ubuntu 20.04 เมื่อฉันตรวจสอบ ฉันไม่ประทับใจกับความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของอแดปเตอร์มากนัก ฉันได้รับคำแนะนำว่า ให้เปลี่ยนเปลี่ยนสายเคเบิล ขนาด MTU ฯลฯ… แต่การเปลี่ยนสายเคเบิลไม่ได้ผล แต่มีความคิดเห็นหนึ่งพูดถึงอาจมีปัญหาจาก cdc_ncm driver ตามด้วยอีกคนหนึ่งบอกว่าการอัปเดตเป็น Linux kernel 5.14 ควรติดตั้งไดรเวอร์ r8152 ที่ถูกต้อง … ดังนั้นฉันจึงทำทำเช่นนี้:
1 |
sudo apt install linux-oem-20.04d |
Linux 5.13 ที่อัปเกรดแล้ว (รวมอยู่ใน Ubuntu 20.04 + HWE) เป็น Linux 5.14 แต่ก็ยังไม่ได้เพราะระบบยังคงใช้ cdc_ncm driver พร้อมลิงก์ half-duplex:
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 |
jaufranc@cnx-laptop-4:~$ inxi -n Network: Device-1: Realtek RTL8111/8168/8411 PCI Express Gigabit Ethernet driver: r8169 IF: enp2s0f1 state: down mac: 98:28:a6:0f:06:07 Device-2: Qualcomm Atheros QCA9377 802.11ac Wireless Network Adapter driver: ath10k_pci IF: wlp3s0 state: up mac: 70:c9:4e:b7:84:77 Device-3: Realtek USB 10/100/1G/2.5G LAN type: USB driver: cdc_ncm IF: enx1cbfced40321 state: up speed: 2500 Mbps duplex: half mac: 1c:bf:ce:d4:03:21 jaufranc@cnx-laptop-4:~$ uname -a Linux cnx-laptop-4 5.14.0-1022-oem #24-Ubuntu SMP Mon Jan 31 16:00:31 UTC 2022 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux |
จากนั้นฉันคิดว่าอาจจำเป็นต้องใช้กฎ udev เพื่อป้องกั […]