Olimex USB-SERIAL-L : บอร์ด USB-to-serial สำหรับดีบัก พร้อมขา CTS/RTS และสามารถปรับแรงดันไฟ 0.65V ถึง 5.5V

Olimex USB-SERIAL-L

Olimex USB-SERIAL-L เป็นบอร์ด USB-to-serial แบบ open-source hardware ที่มีความสามารถเหนือกว่าบอร์ดดีบักทั่วไปในตลาด ด้วยฟีเจอร์ที่ไม่เพียงแค่รองรับขา Tx/Rx เท่านั้น แต่ยังมีขา CTS/RTS, รองรับอัตรา baud rate สูงสุด 3 Mbps และสามารถปรับแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 0.65V ถึง 5.5V เพื่อใช้งานกับบอร์ดหลากหลายประเภท สเปคของ Olimex USB-SERIAL-L: ชิป USB-to-serial – Silicon Labs CP2102N ขาสัญญาณ 7 เส้น – +5V, GND, CTS, RTS, TX, RX, Vref อัตรา Baud rate ตั้งแต่ 50bps ถึง 3Mbps Output buffers ปรับระดับแรงดันได้ตั้งแต่ 0.65V ถึง 5.5V USB – พอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟและเชื่อมต่อกับโฮสต์ อื่นๆ – ไฟ LED แสดงสถานะ Power, Tx และ Rx แหล่งจ่ายไฟ อินพุต – 5V ผ่านพอร์ต USB-C เอาท์พุต – +5V ไปยังอุปกรณ์เป้าหมาย ขนาด – 35 x 35 x 8 มม. ( […]

Waveshare RP2350-GEEK : บอร์ดพัฒนา USB สามารถใช้เป็นเครื่องมือดีบักสำหรับ Raspberry Pi และบอร์ด Arm อื่น ๆ

Waveshare RP2350-GEEK Development Board

Waveshare เปิดตัว RP2350-GEEK เป็นบอร์ดพัฒนาบรรจุอยู่ในเคสพลาสติกที่มีลักษณะคล้าย USB flash drive ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือดีบักสำหรับบอร์ด Raspberry Pi และอุปกรณ์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm อื่น ๆ ได้ บอร์ดพัฒนาใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 และมาพร้อมกับคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น จอแสดงผล IPS LCD สี 65K ขนาด 1.14 นิ้ว, อินเทอร์เฟส USB Type-A, ช่องเสียบ microSD ที่รองรับการสื่อสาร SDIO และ SPI, หน่วยความจำ NOR-Flash ขนาด 16MB และพอร์ตการเชื่อมต่อหลากหลาย เช่น 3-pin SWD, USB to UART และ I2C บอร์ดนี้รองรับเครื่องมือดีบัก CMSIS-DAP มาตรฐาน เช่น OpenOCD ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับขั้วต่อดีบัก 3-pin ของ Raspberry Pi สำหรับการดีบักได้ อีกทั้งยังมีเฟิร์มแวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่สามารถอัปเกรดได้ง่าย ตัวบอร์ดพัฒนานี้ถูกบรรจุอยู […]

รีวิว : มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite (Intel Processor N100) – Part 3 : ทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04

GEEKOM Mini Air12 Lite Ubuntu review

เราได้ดูสเปค แกะกล่องและลองใช้งาน และทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 ของ มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite พร้อมหน่วยความจำ DDR4-3200 8GB, SATA SSD 256GB, พอร์ต HDMI กับ DisplayPort ให้อย่างละ 1 ช่อง, การเชื่อมต่อ Gigabit Ethernet, การเชื่อมต่อไร้สายก็มี WiFi 6 และ Bluetooth 5.3 และพอร์ต USB 3.2/2.0 Type-A จำนวน 6 พอร์ต ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 Linux โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, ทดสอบประสิทธิภาพ Benchmarks, การทดสอบประสิทธิภาพของที่เก็บข้อมูล (SSD และพอร์ต USB), ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย, การทดสอบ Stress test และอุณหภูมิ CPU, เสียงของพัดลม และการใช้พลังงานของมินิพีซี พร้อมทั้งจะทำการเปรียบเทียบกับมินิพีซี GEEKOM Mini Air12 ที่ใช้ซีพียูเหมือนกัน เราจะทำการติดต […]

SparkFun เปิดตัวบอร์ด Quadband GNSS RTK Breakout ที่ใช้โมดูล Quectel LG290P สำหรับการนำทางความแม่นยำสูง

SparkFun Quadband GNSS RTK Breakout

SparkFun เปิดตัว Quadband GNSS RTK Breakout ที่ใช้โมดูล Quectel LG290P ออกแบบมาสำหรับใช้กับงาน RTK (Real-Time Kinematic) ที่มีความแม่นยำสูง โมดูลนี้รองรับระบบดาวเทียม GPS, GLONASS, Galileo, BDS, QZSS, และ NavIC โดยสามารถรับสัญญาณได้พร้อมกันจากย่านความถี่ L1, L2, L5 และ L6/E6 โมดูลนี้ยังรองรับระบบเพิ่มวามแม่นยำ SBAS (เช่น WAAS, EGNOS, GAGAN) และบริการ PPP (เช่น BDS PPP-B2b, QZSS CLAS) เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่แม่นยำและสามารถกำหนดตำแหน่งได้อย่างรวดเร็วสำหรับงานนำทางที่ต้องการความแม่นยำสูง บอร์ด Breakout นี้มีการออกแบบที่เล็กกะทัดรัด (ขนาด 43.2 x 43.2 มม.) และรองรับการขยายตัวหลายรูปแบบ เช่นขา PTH 24 ขา, คอนเนกเตอร์ JST Qwiic 4 ขา จำนวน 2 ตัว, อินเทอร์เฟส UART 3 ช่อง, คอนเนกเตอร์ USB-C และขา PTH สำหรับ BlueSMiRF/Serial […]

การจัดเก็บข้อมูล (Data Acquisition) ความเร็วสูงด้วยอินเทอร์เฟส HSTX ของ Raspberry Pi Pico 2 และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0

Raspberry Pi Pico 2 high speed data acquisition

เราเคยกล่าวถึง อินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณวิดีโอและอินเทอร์เฟซหน้าจอ เนื่องจากสามารถส่งข้อมูลได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถรับข้อมูลได้ Steve Markgraf ได้ค้นพบการใช้งานอินเทอร์เฟส HSTX ในอีกกรณีหนึ่ง คือ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Acquisition) แบบความเร็วสูง โดยใช้บอร์ด Raspberry Pi Pico 2 ร่วมกับบอร์ด DVI Sock สำหรับ Pico และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0 ที่ใช้ MS2130 เขาสามารถสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 75 MB/s จาก RP2350 ที่โอเวอร์คล็อกไปยังคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่มีพอร์ต USB 3.0 ได้ นอกจากนี้บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX ที่น่าจะใช้งานได้เช่นกัน แต่ยังไม่ได้ทำการทดสอบ เฟิร์มแวร์ สำหรับ “h […]

รีวิว : เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FLSUN T1 พร้อมติดตั้งและทดลองใช้งาน

FLSUN T1 3d printer review

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FLSUN T1 เป็นเครื่องพิมพ์ที่โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่รวดเร็ว ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1000 mm/s และมีความแม่นยำสูง ใช้ระบบการเคลื่อนที่แบบเดลต้า ใช้การเคลื่อนที่ด้วยรางสไลด์ (Linear Rail) และสายพานขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ซึ่งช่วยลดการสั่นสะเทือนขณะพิมพ์ มาพร้อมหน้าจอ LCD ขนาด 4.3 นิ้ว แบบสัมผัสที่ใช้งานง่าย รองรับทั้งการพิมพ์ผ่าน USB และเครือข่าย Wi-Fi ช่วยเพิ่มความสามารถในการสั่งพิมพ์แบบไร้สาย เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FLSUN T1 จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่าย และยังมี FLSun Slicer เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ควบคุมการพิมพ์และเตรียมไฟล์สำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติของ FLSUN โดยเฉพาะ ซอฟต์แวร์นี้ทำหน้าที่เป็นตัวจัดการไฟล์ 3 มิติ (STL, OBJ ฯลฯ) […]

USB Insight Hub : เครื่องมือโอเพ่นซอร์สสำหรับทดสอบ USB ที่ใช้ ESP32-S2

usb insight hub testing tool

USB Insight Hub เป็นเครื่องมือทดสอบ USB ที่ผลิตโดยบริษัท Aerio Solutions SAS ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ใช้ ESP32-S2 ซึ่งเป็นชิป SoC ที่รองรับการเชื่อมต่อไร้สาย อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาสำหรับนักพัฒนาและผู้ที่สนใจเทคโนโลยี Insight Hub เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต USB Type-C และมีพอร์ตขยายปลายทาง (downstream ports) อีกสามพอร์ต แต่ละพอร์ตมาพร้อมกับจอแสดงผลสีขนาด 1.3 นิ้ว ซึ่งจะแสดงข้อมูลของอุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น ชื่อที่กำหนดให้ (enumeration name), แรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ชื่อที่แสดงบนหน้าจอนี้ช่วยให้ง่ายต่อการระบุพอร์ตเสมือนทั้งหมดที่กำลังใช้งานผ่าน Insight Hub ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายตัวพร้อมกัน แม้ว่า Insight Hub จะใช้ชิป SoC ที่รองรับ Wi-Fi แต่ขณะนี้ยังไม่รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย แต่ละพอร์ […]

Datanoise PicoADK v2 : บอร์ด Synthesizer ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 สำหรับการทดลองด้านเสียงดนตรี

PicoADK v2 Synthesizer Development Platform

Datanoise เปิดตัว PicoADK v2 music synthesizer หลังจากประสบความสำเร็จกับ PicoADK v1 โดยบอร์ดใหม่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 บอร์ดนี้รองรับโครงการต่างๆ เช่น ซินธิไซเซอร์แบบกำหนดเอง, เอฟเฟกต์เสียง, และการสร้างเสียงรบกวน อีกทั้ง RP2350 มาพร้อมกับ QSPI PSRAM 8 MB ซึ่งเหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ใช้หน่วยความจำสูง เช่น การหน่วงเสียงยาว นอกจากนี้ยังมีพอร์ต SWD debug, รองรับการใช้งาน microSD card, วงจร MIDI-in ที่มีออปโต้คัปเปลอร์, การเชื่อมต่อ USB Type-C, และไฟ LED สำหรับผู้ใช้งานและแสดงสถานะพลังงาน ก่อนหน้านี้เราได้เขียนเกี่ยวกับบอร์ดซินธิไซเซอร์อื่นๆ เช่น MIDI controller ที่ใช้ Arduino และ TinyLlama คอมพิวเตอร์ย้อนยุค x86 พร้อมด้วย MIDI synthesizer ที่ใช้ Raspberry Pi Zero 2 W สเปคของ PicoADK v2 music synt […]