Wio-LR1121 โมดูล LoRa ขนาดจิ๋วรองรับย่านความถี่ sub-GHz, S-Band และ 2.4GHz

Wio-LR1121

Seeed Studio Wio-LR1121 เป็นโมดูล LoRa ขนาดจิ๋ว, ที่รองรับหลายย่านความถี่ โดยใช้ชิป RF transceiver รุ่น LR1121 ซึ่งเป็นเวอร์ชันราคาประหยัดของ LR1120 ที่ตัดความสามารถในการสแกน GNSS และ Wi-Fi ออก โดยรองรับย่านความถี่ sub-GHz, S-Band (1.9–2.1GHz) และ 2.4GHz ก่อนหน้านี้เราเคยเห็น LR1121 ถูกใช้งานในโมดูล MuRata Type-2GT และโมดูลจาก LILYGO ที่ใช้เป็นตัวเลือกสำหรับ บอร์ด T-Eth Elite, ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการบัดกรี เนื่องจากใช้รูปแบบขาแบบ castellated holes และแผ่นสัมผัส (pads) สเปคของ Wio-LR1121 : RF Transceiver – Semtech LR1121 ย่านความถี่ที่รองรับ – ย่านความถี่ 863 ถึง 928 MHz, 2.4 ถึง 2.5 GHz หมาเหตุ; LR1121 รองรับย่าน S-Band ที่ 2.1 ถึง 2.3 GHz ด้วย แต่ในสเปกของโมดูลนี้ไม่ได้กล่าวถึงอย่างเ […]

Maduino Zero Wi-Fi HaLow – บอร์ด 802.11ah สามารถเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE

Maduino Zero Wi-Fi Halow module

Makerfabs Maduino Zero Wi-Fi HaLow เป็นบอร์ดพัฒนาสามารถใช้งานด้านซอฟต์แวร์ได้เหมือนกับ Arduino Zero, ที่รองรับการสื่อสารแบบ Wi-Fi HaLow (802.11ah) ซึ่งออกแบบมาสำหรับการสื่อสารไร้สายระยะไกลและใช้พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านเกษตรอัจฉริยะ ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม และการตรวจสอบระยะไกล บอร์ดนี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Microchip ATSAMD21G18 ซึ่งเป็นชิป Cortex-M0+ สำหรับจัดการ I/O การควบคุมระบบ และการเชื่อมต่อกับโมดูล WiFi HaLow ที่ใช้ชิปตระกูล TXW83xx โดยสามารถทำงานในย่านความถี่ย่อย GHz ระหว่าง 730–950 MHz นอกจากนี้ยังมีช่องใส่ microSD สำหรับจัดเก็บข้อมูล และมีขา GPIO headers 2 แถว, ตัวบอร์ดสามารถจ่ายไฟได้ทั้งผ่านพอร์ต USB Type-C หรือแบตเตอรี่ LiPo ขนาด 3.7V (สามารถชาร์จผ่าน USB ได้) และมาพร้อมกับเสาอากาศภายนอก […]

โมดูล M5Stack Stamp-S3A รองรับ WiFi และ BLE สำหรับ IoT รุ่นใหม่พร้อมสายอากาศที่ปรับปรุงใหม่และประหยัดพลังงาน

M5Stack Stamp-S3A

M5Stack Stamp-S3A หรือที่รู้จักกันในชื่อ M5StampS3A เป็นรุ่นอัปเดตของ โมดูล M5Stamp S3 ที่ใช้ชิป ESP32-S3 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2023 โดยรุ่นใหม่มีการปรับปรุงได้แก่ การออกแบบสายอากาศให้ดีขึ้น, การใช้พลังงานที่ต่ำกว่า, ปุ่มกดผู้ใช้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีตรรกะการควบคุมไฟ RGB LED ที่เปลี่ยนไป ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ ยังคงเหมือนเดิม ได้แก่ หน่วยความ Flash ขนาด 8MB, ไฟ RGB LED, ปุ่มอินพุต และ GPIO ทั้งหมด 23 พิน ในขนาดที่จิ๋วเพียง 26 x 18 มม. โดยมีให้เลือก 2 รุ่น ได้แก่รุ่น Stamp-S3A ที่ไม่มีขา headers บัดกรีมาให้ และรุ่น Stamp-S3A PIN1.27 มีขา headers บัดกรีมาให้พร้อมใช้งาน และมีฝาครอบกันความร้อนสีส้ม สเปคของ M5Stamp-S3A: WiSoC – Espressif Systems ESP32-S3FN8 CPU ไมโครคอนโทรลเลอร์ Xtensa LX7 dual-core 32-บิต พร้อมชุดคำส […]

Raspberry Pi Radio Module 2 (RM2) วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้ว

Raspberry Pi Radio Module 2

Raspberry Pi ได้ประกาศวางจำหน่าย โมดูลไร้สาย Radio Module 2 (RM2) อย่างเป็นทางการ โดยรองรับการเชื่อมต่อ WiFi 4 และ Bluetooth LE ในราคาเพียง $4 (~130฿) ก่อนหน้านี้ Raspberry Pi RM2 เคยเปิดให้ใช้งานเฉพาะกับพาร์ทเนอร์บางรายเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงพบโมดูล RM2 อยู่ในบอร์ด Pimoroni Pico Plus 2 W และ SparkFun Thing Plus – RP2350 มาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว การประกาศล่าสุดนี้หมายความว่า ทุกคนสามารถซื้อได้แล้ว และเอกสารต่าง ๆ เช่น datasheet ก็ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเรียบร้อยแล้ว สเปคของ Raspberry Pi Radio Module 2 (RM2) : ชิปเซ็ต – ชิปคอมโบ Infineon CYW43439 Wi-Fi 4 ความถี่ 2.4 GHz (802.11b/g/n) อัตรา PHY สูงสุด 96 Mbps, รองรับช่องสัญญาณขนาด 20 MHz Bluetooth 5.2 ทั้งแบบ Classic และ LE โครงสร้าง SISO (Single Input, […]

รีวิวสเก็ตบอร์ดไฟฟ้า MEEPO V5 – แกะกล่อง แยกชิ้นส่วน แกะเครื่อง ดูคุณสมบัติและทดสอบประสิทธิภาพ

MEEPO V5 electric skateboard review

เราได้รับสเก็ตบอร์ดไฟฟ้ารุ่น MEEPO V5 มารีวิว ตอนแรกก็คิดว่าจะข้ามไป เพราะเท่าที่ดูหัวข้อไม่ค่อยเกี่ยวกับที่ CNX Software นำเสนอในส่วนใหญ่ แต่พอเห็นภาพที่มีน็อตที่สามารถแกะเครื่องดูข้างในได้ก็เลยตัดสินใจรีวิว โดยจะเริ่มจากการแกะกล่อง ดูฟีเจอร์ของตัวเครื่อง แล้วก็ทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน พัสดุขนาดใหญ่และยาวกว่าที่เราคาดไว้ เพราะมีสองกล่อง: หนึ่งกล่องสำหรับสเก็ตบอร์ดไฟฟ้า และสําหรับหมวกกันน็อค สเก็ตบอร์ดยังค่อนข้างใหญ่และหนักกว่า (8 กก.) ขนาดใหญ่กว่าสเก็ตบอร์ดที่เราเคยเล่นตอนเด็กๆ คุณภาพแข็งแรง ที่เห็นมีรอยบนสเก็ตบอร์ดและฝุ่นบนล้อเพราะเราลองเล่นก่อนถ่ายรูป อุปกรณ์เสริมประกอบด้วย ที่ชาร์จ 42V/1.5A พร้อมสายไฟ, รีโมทคอนโทรล M6C, สาย USB-C สําหรับชาร์จรีโมทคอนโทรล และ T-tool สำหรับซ่อมบำรุง เช่นเข้าถึงช่องใส่แบตเตอร […]

บอร์ดพัฒนา ESP32-C61-DevKitC-1 ที่ใช้ ESP32-C61 เป็นชิป SoC ราคาไม่แพงที่รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth LE 5.0

ESP32-C61-DevKitC-1

ESP32-C61-DevKitC-1 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32-C61 ซึ่งเป็นชิป SoC ราคาไม่แพงที่รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth LE 5.0 โดยเปิดตัวครั้งแรกในเดือนมกราคม 2024 และเพิ่งเข้าสู่การผลิตจำนวนมากในเดือนนี้ (มิถุนายน 2025) บอร์ดมาพร้อมกับพอร์ต USB-C สองพอร์ต, ปุ่มสองปุ่ม, ไฟ LED RGB, และ GPIO headers ในรายงานสรุปประจำปี 2024 ของ CNX Software ได้คาดการณ์ว่า Espressif น่าจะเปิดตัว SoC ESP32-C5 ที่รองรับ WiFi 6 แบบ Dual-band ในปี 2025 แต่เรากลับลืมเกี่ยวกับ ESP32-C61 ซึ่งเป็นรุ่นประหยัดของ ESP32-C6 ตอนนี้บอร์ดพัฒนา ESP32-C61-DevKitC-1 และโมดูล ESP32-C61-WROOM-1  วางจำหน่ายแล้ว ดังนั้น เรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน สเปคของ ESP32-C61-DevKitC-1: โมดูลไร้สาย – ESP32-C61-WROOM-1 SoC – ESP32-C61HR2 CPU – RISC-V 32-bit  single-core โอ […]

NearLink เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายที่มีความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และพลังงานต่ำ

NEARLINK

NearLink ได้รับการพัฒนาโดย SparkLink Alliance นำโดย Huawei ร่วมกับพันธมิตรอุตสาหกรรมและสถาบันวิจัยชั้นนำในประเทศจีน,  NearLink เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายที่รวดเร็ว เสถียร และประหยัดพลังงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเติมเต็มช่องว่างและข้อจำกัดของ Bluetooth และ Wi-Fi ทั้งในแง่ของความหน่วงต่ำ (low latency), ความเร็วสูง (high speed), และ การใช้พลังงานต่ำ (low power consumption) และจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับ สามารถใช้งานในอุตสาหกรรมและผู้บริโภคทั่วไป NearLink แบ่งการใช้งานออกเป็น 2 โหมดหลักได้แก่: SparkLink Low Energy (SLE) ออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบ low-power เช่น IoT, wearable, อุปกรณ์สุขภาพ และอื่น ๆ รองรับอุปกรณ์จำนวนมากในเครือข่ายเดียว และเป้าหมายเพื่อแทนที่ Bluetooth LE SparkLink Basic (SLB) ใช้ในงานที่ต้องการ แบนด์ […]

บอร์ด LILYGO MySondy GO LoRa32 ใช้โมดูล LoRa ความถี่ 433MHz ในการติดตาม radiosonde (บอลลูนตรวจอากาศ)

LILYGO MySondy GO

“LILYGO MySondy GO LoRa32” เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่ใช้ชิป ESP32-PICO-D4 พร้อมโมดูล LoRa ความถี่ 433 MHz และจอ OLED ขนาด 0.96 นิ้ว ออกแบบมาเพื่อใช้ติดตาม (RS41) radiosondes ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดกับบอลลูนตรวจอากาศ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศ บอร์ดนี้ดูเหมือนจะเป็นบอร์ด TTGO T3 รุ่นเก่าที่ติดตั้งโมดูล LoRa32 ความถี่ 433 MHz จากบริษัท LILYGO โดยมาพร้อมกับเฟิร์มแวร์ MySondo ที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจในวิทยุสมัครเล่นหรืออุตุนิยมวิทยาสามารถติดตามบอลลูนตรวจอากาศ และอาจนำไปสู่การค้นหาและเก็บกู้บอลลูนที่ตกกลับมาได้อีกครั้ง สเปคของ LILYGO MySondy GO LoRa32: SiP – Espressif Systems ESP32-PICO-D4 system-in-package พร้อมโปรเซสเซอร์ ESP32 dual-core Xtensa @ 240 MHz, พร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi 2. […]