Avaota A1 – บอร์ด SBC ที่เป็น Open-source hardware ใช้ชิป Allwinner T527 octa-core Cortex-A55 SoC

Avaota A1 open source hardware Allwinner T527 SBC

เมื่อไม่นานนี้เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนาทางอุตสาหกรรม MYiR Tech MYD-LT527 ที่ใช้ชิป Allwinner T527 octa-core Cortex-A55 AI SoC และ Orange Pi กำลังพัฒนาบอร์ดเพื่อให้รองรับ mainline Linux โดย Avaoto A1 มีตัวเลือกที่มีฮาร์ดแวร์ Allwinner T527 อีกตัวหนึ่งพร้อมการออกแบบ บอร์ด SBC ที่เป็น Open-source hardware บอร์ดนี้มาพร้อม RAM สูงสุด 4GB, eMMC flash ขนาด 128GB, เอาต์พุตวิดีโอ HDMI และ DisplayPort, พอร์ต Gigabit Ethernet 2 พอร์ต, โมดูล WiFi 6 และ Bluetooth 5.4, พอร์ต USB,ช่อง audio jack 3.5 มม. และ GPIO header 40 ขาสำหรับขยาย สเปคของ Avaota A1: SoC – Allwinner T527 (หรือ Allwinner A527 พร้อมบอร์ด Avaota A1C ไม่แน่ใจว่าทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างไร) CPU โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A55 แบบ Octa-core ที่มี 4 คอร์ […]

BeagleY-AI บอร์ด SBC ใช้ชิปประมวลผลภาพ TI AM67A พร้อม AI accelerators 4 TOPS

Texas Instruments AM67A single board computer

BeagleY-AI ที่พัฒนาโดย The BeagleBoard.org Foundation เป็นบอร์ด SBC แบบ open-source hardware มีขนาดเท่าบัตรเครดิต ใช้ชิปประมวลผลภาพ Texas Instruments AM67A quad-core Cortex-A53 vision processor พร้อมบล็อกการโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถให้กำลังการประมวลผลได้สูงสุดถึง 4 TOPS สำหรับอัลกอริทึม AI บอร์ดมาพร้อมกับ RAM ขนาด 4 GB, ช่องเสียบ microSD card สำหรับจัดเก็บข้อมูลและการบูตระบบปฏิบัติการ, มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Gigabit Ethernet, WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 และสามารถใช้จอแสดงผลได้สูงสุด 3 จอผ่านอินเตอร์เฟส micro HDMI, OLDI (LVDS) และ MIPI DSI, BeagleY-AI ยังมาพร้อมกับอินเทอร์เฟสกล้อง MIPI CSI 2 ตัว, พอร์ต USB 3.0 4 พอร์ต, พอร์ต USB Type-C 1 พอร์ต และ GPIO header 40 ขาสำหรับการขยาย นอกจากนี้มีคอนเนกเตอร์ PCIe FPC 16 […]

สเปคและราคาของบอร์ด Arduino Nano Matter

arduino nano matter

Arduino Nano Matter เป็นผลิตภัณฑ์จากความร่วมมือระหว่าง Arduino และ Silicon Labs บอร์ด Nano Matter ได้ประกาศเมื่อดือนมกราคม บอร์ดใช้ชิป MGM240S ของ SiLabs และมีตัวเลือกการเชื่อมต่อไร้สายหลายแบบ เช่น Matter, OpenThread และ Bluetooth Low Energy การรองรับมาตรฐาน Matter เป็นคุณสมบัติหลักของบอร์ด Nano Matter โดย Matter เป็นโปรโตคอลการเชื่อมต่อแบบโอเพ่นซอร์สที่ช่วยให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมจากผู้ผลิตหลายค่ายทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น บอร์ดขนาด 45 มม. x 18 มม. ใช้การเชื่อมต่อแบบ dual-mode ด้วย IEEE 802.15.4 (Thread) สำหรับเครือข่ายแบบ mesh และ Bluetooth Low Energy สำหรับการสื่อสารในระยะสั้น เป้าหมายของบอร์ดนี้สามารถนำไปใช้กับอุปกรรณ์ Internet of Things, ระบบอัตโนมัติในบ้าน, ระบบอัตโนมัติระดับมืออาชีพ, การตรวจสอบวัดสภาพแวดล้อ […]

Olimex VGA2HDMI เป็นบอร์ด Open Hardware ที่แปลงสัญญาณ VGA to HDMI

Olimex VGA TO HDMI CONVERTER

Olimex VGA2HDMI เป็นตัวแปลงสัญญาณ VGA to HDMI ที่เป็น OSHW (Open Source Hardware) ได้ออกแบบและทดสอบโดยเฉพาะเพื่อทำงานร่วมกับบอร์ด CERBERUS 2100, AgonLight 2 และ Agon Origins โดยบอร์ดมีพอร์ต VGA เป็นอินพุตและมีพอร์ต HDMI เป็นเอาต์พุต และมีพอร์ต USB-C เพื่อจ่ายไฟภายนอกที่จำเป็นสำหรับบอร์ด เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ NovaVGA ​​Shield ได้เพิ่มเอาต์พุต VGA ให้กับ Arduino UNO ความสามารถดังกล่าวจึงสามารถขยายไปยัง HDMI ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนขยายที่ส่งสัญญาณ VGA ผ่านสาย Ethernet และบอร์ดใหม่สามารถแปลงสัญญาณ VGA ให้เป็น HDMI ได้ มีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ VGA to HDMI อื่นในตลาด เช่น อะแดปเตอร์ VENTION VGA to HDMI บน Amazon แต่ส่วนมากที่เราพบจะเป็นตัวแปลง HDMI to VGA ข้อมูลจำเพาะตัวแปลง Olimex VGA2HDMI: Chipav CV8986 VGA to HDMI […]

Trekko Pico – GPS logger แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ RP2040 พร้อมรองรับ multi-GNSS

trekko pico gps logger

หลังจากประสบความสำเร็จแคมเปญ Kickstarter, SB Components จึงได้เปิดตัว Trekko Pico GPS logger สามารถสั่งซื้อแบบ pre-order โดย Trekko Pico เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก สามารถบันทึกตำแหน่ง เหมาะสำหรับนักเดินทางและผู้ที่ชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ทำให้ง่ายต่อการติดตามเส้นทางและบันทึกข้อมูลการเดินทาง Trekko Pico ใช้ Raspberry Pi RP2040 ที่มีฟังก์ชันการเขียนโปรแกรม การเชื่อมต่อ และการบันทึกข้อมูล, โมดูล Quectel GNSS L76K รองรับการรับสัญญาณ GPS, GLONASS (หรือ BeiDou), Galileo, SBAS พร้อมกัน พร้อมช่องการติดตาม 32 ช่องและช่องรับข้อมูล (Acquisition) 72 ช่อง มีคอนเนกเตอร์ JST 2-pin ที่สามารถใช้เชื่อมต่อแบตเตอรี่ภายนอกได้ และมี Microchip MCP73831 controller ควบคุมการชาร์จและการจัดการแบตเตอรี่ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถใช้แบตเตอรีแบบ coin cel […]

TinyVision – บอร์ด Linux ขนาดเล็กที่ใช้ Allwinner V851S/V851S3 สำหรับแอปพลิเคชันการมองเห็น

tinyvision board

บอร์ดพัฒนา TinyVision ไม่ใช่ TinyVision.ai แต่เป็นบอร์ด Computer Vision จาก YuzukiTsuru นักพัฒนาชาวจีน โดยใช้ Allwinner V851S หรือ V851S3 และได้โฆษณาว่าเป็น “โซลูชันครบวงจรที่รวมอยู่ในบอร์ดเดียวสำหรับเมนบอร์ด Linux, IPC, เซิร์ฟเวอร์, เราเตอร์ และอื่น ๆ” บอร์ดมาพร้อมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Cortex-A7 core ที่ทำงานที่ความเร็ว 1200MHz, อินพุต MIPI CSI 2 ช่อง และ Independent image signal processor (ISP) ที่แยกออกมา สามารถรองรับความละเอียดสูงสุด 2560 x 1440 ในรูปแบบขนาดเล็ก สเปคของ TinyVision: โปรเซสเซอร์ – Allwinner V851SE / V851s3 พร้อม Cortex-A7 core @ 1200MHz และ RISC-V E907GC core @ 600MHz NPU: 0.5 TOPS (tera operations ต่อวินาที) ที่ความแม่นยำ INT8 หน่วยความจำ – 64MB DDR2 (สำหรับ V851se), 128MB DDR3L (สำห […]

Spark Analyzer เป็นอุปกรณ์วิเคราะห์การจ่ายไฟผ่าน USB-C PD ที่ใช้ ESP32-C3

spark analyzer ESP32-C3

Spark Analyzer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ESP32-C3 เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนาและการดีบักในฟังก์ชัน USB-C Power Delivery (UCPD) บอร์ดออกแบบมาแบบเรียบง่าย กะทัดรัด และการจ่ายไฟ (Power Delivery) และการวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ในราคาที่ไม่แพง Spark Analyzer รันบนไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C3FH4 ซึ่งเป็นชิปเซ็ต (SoC) พลังงานต่ำที่มี CPU RISC-V แบบ single-core พร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi 2.4 GHz และ Bluetooth 5 (Low Energy) ในตัว ชิปไร้สายช่วยให้ผู้ใช้ควบคุม Spark Analyzer และตรวจสอบการทำงานของเครื่องได้จากระยะไกล นอกจากนี้ยังรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ผ่าน Matter  อุปกรณ์ช่วยให้ปรับแต่งการส่งพลังงานไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 5V ถึง 20V ขึ้นอยู่กับความต้องการของโปรเจกต์ของคุณ พลังงานถูกส่งไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน termi […]

Microchip เปิดตัว PolarFire SoC Discovery Kit เป็นชุดพัฒนาราคาประหยัด รองรับ Linux และแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์

Microchip announces the PolarFire SoC Discovery Kit

SoC Discovery Kit เป็นชุดพัฒนาหรือ Development Kit ผลิตภัณฑ์ใหม่รุ่นล่าสุดของ Microchip สำหรับ PolarFire series เป็นรุ่นแรกของตระกูล SoC FPGA ที่ใช้ซีพียู RISC-V มีคุณสมบัติการใช้พลังงานต่ำ, มีประสิทธิภาพการระบายความร้อนเยี่ยม และมีระบบป้องกันที่มีความปลอดภัยในระดับสำหรับระบบเครือข่ายอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังรองรับระบบความจำย่อย L2 แบบ Deterministic ซึ่งรองรับระบบ Linux และแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ เมื่อปี 2020, Microchip ได้เปิดตัวชุดพัฒนา Icicle Kit สำหรับ PolarFire SoC และตามมาด้วย Video and Imaging Kit ซึ่งมีไว้สำหรับแอปพลิเคชันวิดีโอและวิดีโอที่มีแบนด์วิดท์ระดับกลาง ตอนนี้นี้ Microchip ได้ประกาศเปิดตัวชุดพัฒนา Discovery Kit ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีราคาถูกกว่า Icicle Discovery Kit ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จำเป็นสำห […]