Link.ONE : ชุดพัฒนา LPWAN แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN, สามารถเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE

RAKwireless Link.ONE เป็นชุดพัฒนา LPWAN แบบ all-in-one ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE และชิป nRF52840 Cortex-M4F 2.4 GHz multi-protocol wireless microcontroller, Semtech SX1262 LoRa RF transceiver, และโมดูล Quectel BG77 LTE-M และ NB-IoT และโดยมีองค์ประกอบจากแพลตฟอร์มอุปกรณ์ต้นแบบ WisBlock IoT ของบริษัท

นอกจากโมดูล WisBlock แล้ว ชุดนี้รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน เช่น สายอากาศ 4 อัน สำหรับการเชื่อมต่อ LTE-IoT, LoRaWAN, GNSS และ Bluetooth, สาย USB สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม และ Monogoto SIM card ที่ครอบคลุมทั่วโลกและข้อมูล 500MB ที่ใช้ได้เป็นเวลา 10 ปี รองรับ DTAC, Real Future (True), และ AWN (AIS) เครือข่าย 2G ถึงสูงสุด 4G

RAKwireless Link.ONE

สเปค Link.ONE hardware:

  • บอร์ดฐาน RAK19007 WisBlock พร้อมพอร์ต USB และเที่ชาร์จ Li-ion
  •  โมดูลหลัก RAK4631 WisBlock พร้อมด้วย
    • Nordic Semiconductor nRF52840 32-bit Arm Cortex-M4F microcontroller @ 64 MHz พร้อมแฟลช 1 MB Flash, 256 KB RAM, Bluetooth Low Energy 5.0 protocol stack
    • Semtech SX1262 LoRa/LoRaWAN RF transceiver พร้อม LoRaWAN 1.0.2 protocol stack (รองรับ Class A & C), รองรับการครอบคลุมทั่วโลก: RU864, IN865, EU868, US915, AU915, KR920, AS923
    • I/Os – I2C, SPI, analog inputs, digital inputs และ outputs
    • สายอากาศ LoRaWAN และ BLE
  • RAK5860 เป็นโมดูลอินเทอร์เฟส Wisblock พร้อม
    • โมดูล Quectel BG77 NB-IoT (Cat NB2), LTE-M (Cat M1) และ GNSS ที่เชื่อมต่อผ่าน UART ไปยัง MCU nRF52840
    • รองรับความเร็ว downlink สูงสุด 588Kbps และ uplink 1,119Kbps
    • คอนเนกเตอร์ IPEX สำหรับสายอากาศ LTE และ GPS ภายนอก, มีสายอากาศ LTE ภายนอก 3dBi ให้ในชุด
    • ตัวเลือก Nano SIM และ ESIM
  • ตัวเลือก กลอ่งเคส “Unify” IP65 ขนาด 100x75x38 มม.

All in one LPWAN devkit NB IoT LTE M LoRaWAN GNSS Bluetooth

Ken YU, CEO ของ RAKwireless ได้บอกกับ CNX Software ถึงเหตุผลในการสร้าง Link.ONE devkit และศักยภาพการใช้งานที่เป็นไปได้ดังนี้

… เราพบว่ามีนักพัฒนาหลายคนที่ต้องการใช้งาน LoRa/LoRaWAN และ Cellular ในผลิตภัณฑ์เดียว โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรม IoT การใช้งานอาจมีดังนี้
Use case 1: คุณสามารถตั้งค่าให้ LoRaWAN เป็นอุปกรณ์หลักและ Cellular NB-IoT เป็นอุปกรณ์รอง หรือคุณสามารถตั้งค่า Cellular เป็นอุปกรณ์หลักและ LoRaWAN เป็นอุปกรณ์รอง
Use case 2: คุณสามารถใช้ Cellular เป็นการส่งข้อมูลกลับ (backhaul) แต่ใช้ LoRa เป็น Peer-to-Peer เพื่อปลุกให้อุปกรณ์เหล่านั้นตื่นขึ้นมา
Use case 3: การติดตั้ง Cellular modem ในอุปกรณ์ทุกเครื่องมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป (แต่ละอุปกรณ์ต้องใช้ SIM card) ดังนั้นใช้เซ็นเซอร์หลายตัวสามารถแชร์ Cellular modem หนึ่งอันโดยการส่งข้อมูลผ่าน LoRa Peer-to-Peer

เอกสารประกอบให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ วิธีการประกอบชุด และคำแนะนำในการเริ่มต้นใช้งาน Arduino IDE และ RAKwireless BSP สำหรับ Arduino Board Manager

RAKwireless Link.ONE all-in-one LPWAN development kit สามารถซื้อได้ในราค$56(~1,900฿) แต่จะไม่มีกล่องเคส Unify และถ้าต้องต้องการกล่องเคส IP65 รวมชุดคิทราคา $94 (~3,200฿)

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Link.ONE LTE-M, NB-IoT, and LoRaWAN all-in-one LPWAN devkit is programmable with the Arduino IDE

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา