รีวิว WisGate Connect Gateway ที่มีระบบ Private LoRaWAN Platform พร้อมใช้งานอยู่ในตัวเดียวกัน

WisGate Connect Gateway จากบริษัท RAKwireless มีจุดเด่นนอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ปกติ เหมือนเกตเวย์ทั่วๆไปแล้ว เรายังสามารถทำให้เกตเวย์ดังกล่าว ทำหน้าที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการงานต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งเราไม่ค่อยจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ที่มีความสามารถสูงและยืดหยุ่นแบบนี้ จึงเป็นที่มาขอการรีวิวแนะนำให้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
RAK7391 WisGate Connect เป็นผลิตภัณฑ์เกตเวย์ที่ใช้ Raspberry Pi CM4 เพื่อรองรับโมดูลสัญญาณวิทยุ และโมดูล WisBlock ที่แตกต่างกัน มีอินเทอร์เฟซที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของนักพัฒนาที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึง HDMI, Ethernet, USB, mPCIe, CSI, DSI, M.2, WisBlock, PoE และ Raspberry Pi HAT แน่นอนว่ายังสามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์เกตเวย์ LoRaWAN พื้นฐาน ที่รองรับโมดูลแยกกันได้ถึง 4 โมดูล คุณสามารถมีเกตเวย์ LoRaWAN ความถี่ย่อย 16 แชนเนล และเกตเวย์ LoRaWAN 2.4 GHz บนอุปกรณ์เครื่องเดียวกันได้
มีโหมดการจ่ายไฟที่ยืดหยุ่น เช่น ขั้ว DC, ขั้ว Phoenix และ POE (อุปกรณ์เสริม) มีอินเทอร์เฟซพัดลมเพื่อกระจายความร้อนสำหรับ CPU ที่คุณสามารถควบคุมตามอุณหภูมิของ CPU นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟในกรณีที่ไฟดับ มี ultracapacitors สามารถจ่ายไฟให้กับระบบ เพื่อให้ระบบสามารถส่งการแจ้งเตือน หรือการตัดแหล่งจ่ายไฟได้อย่างง่ายดาย
สามารถดูรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ WisGate Connect ได้จากเวปไซท์ของบริษัท RAKwireless

overview

Unboxing

WisGate Connect รุ่นที่รีวิวอยู่นี้ จะมีออพชั่นของหน่วยความจำ RAM 4 GB และ eMMC 32 GB เพื่อรองรับการติดตั้งโปรแกรม ทำหน้าที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จัดเก็บข้อมูลจากเซนเซอร์ไว้ในฐานข้อมูลต่อไป

unbox
RAKwireless WisGate Connect Gateway Unboxing
RAKwireless WisGate Connect Gateway Front
RAKwireless WisGate Connect Gateway Front
RAKwireless WisGate Connect Gateway Back
RAKwireless WisGate Connect Gateway Back
RAK5146 WisLink LPWAN and Raspberry Pi CM 4
RAK5146 WisLink LPWAN Concentrator and Raspberry Pi Compute Module 4

hardware1

hardware2

hardware3

Software Structures
software

LoRaWAN Technology

LoRaWAN เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำ (Low Power Wide Area Network) สื่อสารได้สองทิศทาง ปลอดภัยและราคาถูก เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับการใช้งานในอุปกรณ์ IoT (Internet of Things), M2M (Machine-to-Machine) และแนวคิดของเมืองอัจฉริยะ (Smart City)

เครือข่ายลอร่าแวนสาธารณะ (Public LoRaWAN Network)

เป็นเครือข่ายที่สร้างขึ้นเพื่อให้บริการอุปกรณ์ IoT รองรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่างๆ เช่น ลอร่าแวนเกตเวย์ และเครื่องแม่ข่ายบนคลาวด์ โดยทั่วไปแล้วการเข้าถึงเครือข่ายสาธารณะ จะมีค่าธรรมเนียมมาจากจำนวนอุปกรณ์ ของผู้ใช้ปลายทางที่ลงทะเบียนในเครือข่าย และจากจำนวนข้อมูลที่ถ่ายโอนติดต่อสื่อสารกัน ผู้ใช้งานแค่เป็นเจ้าของอุปกรณ์ปลายทางอย่างน้อยหนึ่งเครื่องเท่านั้น (เซ็นเซอร์ / แอคชูเอเตอร์) เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายลอร่าแวนสาธารณะ และรับข้อมูลบนแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ ที่สามารถจัดเก็บลงฐานข้อมูล, แสดงผลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลได้
ข้อได้เปรียบของเครือข่ายสาธารณะคือ ความเป็นไปได้ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานในรูปแบบบริการ ซึ่งคิดค่าบริการสำหรับการถ่ายโอนข้อมูล ดังนั้นหากเรามีอุปกรณ์น้อยๆ ก็จะมีความคุ้มค่ามาก เพราะไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เอง

เครือข่ายลอร่าแวนส่วนตัว (Private LoRaWAN Network)

เนื่องจากเครือข่ายลอร่าแวน ซึ่งอยู่ภายใต้แบนด์วิธที่ไม่มี The Industrial, Scientific, and Medical (ISM) frequency bands ทุกคนสามารถสร้างเครือข่ายลอร่าแวนของตนเองได้ (Unlicensed) ทั้งเพื่อตนเองใช้ หรือเพื่อธุรกิจการค้าเชิงพาณิชย์ต่างๆ หากคุณสนใจที่จะปรับใช้เครือข่ายลอร่าแวนส่วนตัว ซึ่งแตกต่างจากเครือข่ายสาธารณะ คุณต้องมีลอร่าแวนเกตเวย์ ในการรับอุปกรณ์ปลายทาง และเซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชัน เป็นของตัวเอง ที่จะรวบรวมข้อมูลเซ็นเซอร์และเรียกใช้เซิร์ฟเวอร์เครือข่ายแบบกำหนดเอง ที่สามารถจัดการเครือข่ายลอร่าแวน
ข้อได้เปรียบของเครือข่ายลอร่าแวนส่วนตัว นั้นชัดเจนด้วยการสร้างเครือข่ายของคุณเอง หลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการถ่ายโอนข้อมูล ในทางกลับกัน จำเป็นต้องคาดหวังต้นทุนการได้มาที่สูงขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินโครงการดังกล่าว

การเชื่อมต่อ WisGate Connect ด้วย Secure Shell

การเชื่อมต่อกับ WisGate Connect ทำได้ 2 แบบ คือ

  1. แบบเชื่อมทางสาย ผ่านพอร์ตแลน RJ45 Ethernet
  2. แบบเชื่อมต่อไร้สาย ผ่าน Access Point ด้วยสัญญาณไวไฟ ในที่นี้เพื่อความสะดวก เราจะเลือกการเชื่อมต่อแบบไร้สาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดสัญญาณไวไฟ เลือกเชื่อมต่อ Access Point ชื่อ “RAK_1D4F
  • ไม่ใช้ PIN เลือก “Connect using a security key instead” รหัสผ่านคือ rakwireless
  • ดูที่หน้าจอ OLED จะแสดงผล Network vlan0 IP. address

WisGate Connect Access Point

run โปรแกรม Putty

SSH. <IP.address> port 22

run-putty

Debian GNU/Linux 11 rakpios tty1

login as: rak
password: changeme -> จะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่าน
จากนั้นระบบปฏบัติการ RAK PiOS จะปิดตัวเองโดยอัตโนมัติ

Debian-GMU-Linux11-rak-pios-putty

รายละเอียดของระบบปฏิบัติการ RAK PiOS

rak@rakpios:~ $ cat /etc/os-release

RAK-PiOS

การติดตั้ง Private LoRaWAN Application มี 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1 ติดตั้งผ่าน Docker Command Line

บริษัท RAKwireless ได้จัดเตรียมตัวอย่าง Docker compose เพื่อนำไปปรับใช้งานกับ WisGate Connect ไว้ใน github ชื่อ RAK7391 WisGate Connect Example use cases มีทั้งหมด 6 ตัวอย่างดังนี้
Use cases 1 Dual_Band_LoRaWAN_Gateway : เกตเวย์แบบสแตนด์อโลนเต็มรูปแบบพร้อมการรองรับตัวรวมสัญญาณ LoRaWAN แบบ subGHz รวมถึงตัวรวมสัญญาณแบบ LoRaWAN แบบ 2.4GHz มาพร้อมกับการเข้าถึงระยะไกลโดยใช้ TailScale และ The Things Stack.
Use cases 2 MQTT_to_ModBUS_bridge : เชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลข้ามระบบกันระหว่างโปรโตรคอล ModBUS ที่ใช้โมดูล WisBlock RS485 ไปยัง ด้วย MQTT Bridge โดยใช้โมดูล RAK8802 ด้วยการควบคุมลอจิกผ่าน Node-RED
Use cases 3 Node-RED : บริการ Node-RED แบบกำหนดเองพร้อมสิทธิพิเศษและโมดูลทั้งหมดซึ่งตั้งค่าไว้แล้ว จึงสามารถใช้กับโมดูล WisBlock ใดๆ ที่รองรับจนถึงปัจจุบันนี้
Use cases 4 Standalone_LoRaWAN_Gateway : Standalone LoRaWAN gateway with UDP packet forwarder, The Things Stack LNS, NodeRED, InfluxDB and Grafana.
Use cases 5 Standalone_LoRaWAN_Gateway_TagoCore : Standalone LoRaWAN gateway with UDP packet forwarder, The Things Stack LNS and TagoCore.
Use cases 6 WiFi-HaLow : โมดูล Wi-Fi HaLow AHPI7292S ร่วมกับบอร์ด RAK7391 หรือบอร์ด Raspberry Pi
ในที่นี้เราจะเลือกติดตั้งตาม Use cases 4 Standalone_LoRaWAN_Gateway ประกอบด้วย 7 Docker compose โดยมีขั้นตอนดังนี้

Standalone-LoRaWAN-Gateway-docker

rak@rakpios:~ $ git clone https://github.com/RAKWireless/rak7391-examples.git
rak@rakpios:~ $ cd rak7391-examples
rak@rakpios:~ $ cd Standalone_LoRaWAN_Gateway
rak@rakpios:~ $ nano docker-compose.yml


rak@rakpios:~ $ sudo ./run.sh

run-examples-Standalone-LoRaWAN-Gateway

udp-packet-forwarder : โต้ตอบกับชิป LoRa เพื่อรับและถ่ายโอนแพ็กเก็ต LoRa
Stack : คือ LoRaWAN Network Server เป็นบริการของ The Things Stack ซึ่งถูกใช้งานร่วมกับบริการ Redis และ Postgres บริการนี้เปิดใช้งานการเชื่อมต่อ การจัดการ และการตรวจสอบอุปกรณ์ เกตเวย์ และแอปพลิเคชันของผู้ใช้ปลายทาง
Redis : เป็นที่เก็บข้อมูลหลักสำหรับ Network Server, Application Server และ Join Server และยังใช้โดย Identity Server และระบบเหตุการณ์ต่างๆ
Postgres : เป็นอีกหนึ่งฐานข้อมูลที่ถูกเรียกใช้โดย The Things Stack
Node-RED : มีโฟลว์เริ่มต้นซึ่งสมัครรับข้อมูลอัปลิงค์จาก The Things Stack โดยโปรโตคอล MQTT และเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล InfluxDB ซึ่งมีชื่อว่า Sensors
InfluxDB : จัดเตรียมฐานข้อมูลชนิดอนุกรมเวลา เพื่อให้ Node-RED ทำการบันทึกข้อมูลที่ได้มาจากเซ็นเซอร์
Grafana : ดึงทรัพยากรข้อมูลจาก InfluxDB มาทำการแสดงภาพข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น กราฟ, เกจ, แผนภูมิ
สำหรับวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เคยใช้งาน Docker มาบ้างแล้ว เนื่องจากต้องรู้จักคำสั่งต่างๆ ของ Docker Compose และป้อนผ่าน Command Line prompt

Docker Compose Command Line prompt

ตัวอย่างการเข้าใช้งาน LoRaWAN Network Server ของ The Things Stack

LoRaWAN Network Server The Things Stack

Register-gatewaty-Things-Stack

วิธีที่ 2 ติดตั้งผ่าน Portainer Local

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ Portainer template for RAK7391

SSH <IP.address> port 22
rak@rakpios:~ $ portainer up

setting Portainer Local

เปิด Browser ด้วย Google Chrome URL https://<IP.Address> : 9443

Login Portainer Local

User: admin Password: changeme -> จะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านความยาวไม่น้อยกว่า 12 ตัวอักษร

User setting Portainer Local

ไปที่เมนูหน้า Setting และ “App Template” ในช่อง URL ให้เพิ่มลิงค์ “https://raw.githubusercontent.com/RAKWireless/portainer-templates/master/portainer_app_template.json

admin setting Portainer Local

จะปรากฏเมนู App Template เพิ่มขึ้นมาใหม่ และแสดงรายการ Docker Container ให้เราเลือกติดตั้งใช้งานได้มากถึง 35 Application Templates ตัวอย่างเช่น LoRaWAN Network Server, Scada, OPC-UA Server, PLC, Home Assistant, Zigbee, Database, Dashboards ฯลฯ ดังรูป

portainer Docker Container 35 app portainer 35 app Docker Container 35 app Docker Container portainer portainer app Templates 35 app portainer 35 app Templates

ในขั้นตอนต่อไปนี้เราจะสร้างแพลตฟอร์ม Private LoRaWAN ให้ทำงานบริการอยู่ในอุปกรณ์เกตเวย์ WisGate Connect แบบครบวงจรในตัวเดียวกัน ประกอบด้วย UDP Packet Forwarder, ChirpStack, Node-RED, InfluxDB และ Grafana โดยมีขั้นตอนการติดตั้งดังนี้

ติดตั้ง UDP Packet Forwarder -> Deploy the Container

udp-packet-forwarder : โต้ตอบกับชิป LoRa เพื่อรับและถ่ายโอนแพ็กเก็ตแบบ LoRa
สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://github.com/RAKWireless/udp-packet-forwarder
Name:     CNXsoftwareUDPPacketForwarder
Network:     host
Time Zone:     Asia/Bangkok
RAK gateway model:     RAK5146
Concentrator interface:     USB
Has GPS:     True
Has LTE:     False
Where the concentrator is connected to:     /dev/ttyACM0
Where the GPS is connected to:     /dev/ttyAMA0
Source of the Gateway EUI:     Generate gateway EUI based on folllowing network interfaces: eth0, wlan0, usb0, eth1, or most used NIC
LNS URL or Server_Host:     <IP.address>
Server port:     1700
TTN Frequency Plan:     as_915_928(as_923_1)

portainer application Templates list information portainer local application Templates list information

ติดตั้ง ChirpStack Network Server -> Deploy the stack

ChirpStack : คือ LoRaWAN Network Server เป็นชุดโปรแกรมแบบ Stack ซึ่งถูกใช้งานร่วมกับบริการ MQTT Mosquitto, Redis และ Postgres บริการนี้เปิดใช้งานการเชื่อมต่อ การจัดการ และการตรวจสอบอุปกรณ์ เกตเวย์ และแอปพลิเคชันของผู้ใช้ปลายทาง
Name:     CNXsoftware
Time Zone:     Asia/Bangkok
Network Server Band:     AS923

docker portainer ChirpStack

ChirpStack user: admin pass: admin
จะมีการติดตั้ง Docker ทั้งหมดจำนวน 6 Container Stack ตามลำดับดังนี้

  • chirpstack-gateway-bridge-1
  • chirpstack-network-server-1
  • chirpstack-application-server-1
  • chirpstack-mosquitto-1
  • chirpstack-redis-1
  • chirpstack-postgresql-1

ติดตั้ง NodeRed -> Deploy the stack

Node-RED : มีโฟลว์เริ่มต้นซึ่งสมัครรับข้อมูลอัปลิงค์จาก ChirpStack โดยโปรโตคอล MQTT เพื่อนำ data payload ไปถอดรหัสด้วยอัลกอริทึมแบบ Base64 และเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล InfluxDB หรือตรวจสอบข้อมูลเพื่อแจ้งเตือนผ่าน LINE Notify Application

Time Zone:     Asia/Bangkok

ติดตั้ง InfluxDB -> Deploy the Container

InfluxDB : จัดเตรียมฐานข้อมูลชนิดอนุกรมเวลา เพื่อให้ Node-RED ทำการบันทึกข้อมูลที่ได้มาจากเซ็นเซอร์
Time Zone:     Asia/Bangkok

docker portainer InfluxDB

ก่อนการใช้งาน InfluxDB ต้องเปิด Container console เพื่อสร้าง Database ตามขั้นตอนดังนี้

  • connect user: root
  • influx
  • create database iot
  • quit

ติดตั้ง Grafana -> Deploy the Container

Grafana : ดึงทรัพยากรข้อมูลจาก InfluxDB มาทำการแสดงภาพข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น กราฟ, เกจ, แผนภูมิ เป็นต้น
Time Zone:     Asia/Bangkok

docker portainer Grafana

รูปแสดงรายการ Docker Contrainer and Stack ทั้งหมดที่ได้ทำการติดตั้งเสร็จแล้ว และทำงานให้บริการอยู่ตลอดเวลา

portainer Contrainer list

Private LoRaWAN Platform Test Run

Private LoRaWAN Platform

เข้าใช้งาน ChirpStack Network Server

เปิด Browser URL http://<IP.address> : 8080
และทำการล๊อคอินด้วยชื่อ admin รหัสผ่าน admin ซึ่งกำหนดให้มาเป็นค่าเริ่มต้น หลังจากนั้นเราสามารถเป็นรหัสผ่านได้เองในภายหลัง

ChirpStack Network Server

Add LoRaWAN Gateway : ทำการพิ่ม RAKwireless RAK7391 WisGate Connect

chirpstack LoRaWAN Gateway

LIVE LORAWAN FRAMES : เราสามารถดูรายละเอียดของแพ็กเก็ตต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของเกตเวย์ที่จะรับสัญญาณได้

chirpstack LIVE LORAWAN FRAMES

Add Applications : ตั้งชื่อ RAKwireless

chirpstack Add Applications

Add Device : ตั้งชื่อ LinkONE กำหนดค่า Device EUI คือ 88 88 88 88 88 88 33 33 กดปุ่ม CREATE DEVICE

chirpstack Add Device

กำหนดการ Activation : เป็นแบบ OTAA (Over The Air Activation) ใส่ค่า Application Key คือ 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 กดปุ่ม SET DEVICE-KEYS

chirpstack Activation OTAA

LoRaWAN Sensor Node Device (Link.ONE) : ถูกเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีโดย Arduino IDE ให้ทำการอ่านค่าสถานะของแบตเตอรี่ และส่งข้อมูลออกไปทุกๆ 1 นาที โดยข้อมูลจะถูกเข้ารหัสด้วยอัลกอริทึม Base64 Encode

chirpstack LoRaWAN Sensor Node Device

หมายเหตุ:- รายละเอียดของสินค้า Link.ONE ผู้เขียนได้เคยรีวิวการใช้งานอย่างละเอียด สามารถเข้าไปดูตามลิงค์ข้างล่างนี้
ภาษาไทย : รีวิว Link.ONE ชุดพัฒนา IoT แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN
ภาษาอังกฤษ : Using Link.ONE all-in-one LPWAN development kit with ChipStark, Node-Red, InfluxDB, and Grafana

เข้าใช้งาน Node-RED

โดยเปิด Browser URL http://<IP.address> : 1880
ซึ่ง Node-RED ได้ติดตั้ง Flow Node ที่เราต้องใช้งานไว้พร้อมหมดแล้ว เช่น MQTT in, Function, InfluxDB out, HTTP Request และ node อื่นๆ ที่ RAKwireless ได้ติดตั้งไว้ให้รองรับกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น WisBlock Module, ModBus เป็นต้น

Node-RED

Node-RED จะทำการเก็บข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์และข้อมูลระบบ LoRaWAN ต่างๆ ลงในฐานข้อมูลอนุกรมเวลา InfluxDB โดยอัตโนมัติ

iNode-RED nfluxdb

เข้าใช้งาน Grafana

โดยเปิด Browser URL http://<IP.address> : 3000
ทำการล๊อคอินครั้งแรกด้วยชื่อ admin รหัสผ่านคือ admin หลังจากนั้นจะถูกบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ หรือหากยังไม่ต้องการเปลี่ยนตอนนี้ก็กดปุ่ม Skip
Grafana Dashboard อ่านข้อมูลต่างๆ มาจากฐานข้อมูลอนุกรมเวลา InfluxDB เพื่อนำมาแสดงผลเช่น ค่าแบตเตอรี่โวลท์เตจ (V), ค่าเปอร์เซนต์ของแบตเตอรี่ (%), การใช้ไฟในขณะส่งข้อมูล (mW)

Grafana Dashboard

LINE Notify Application : ทำการตรวจสอบค่าลิเธียมแบตเตอรี่โวลท์เตจ หากมีค่าต่ำกว่า 3.3 โวลท์ จะทำการแจ้งเตือนไปที่ Group Line ให้เราทราบทันที

testrun Grafana Link.ONE vs WisGate Connect Gateway

ตลอดระยะเวลาของการทดสอบอุปกรณ์ WisGate Connect ได้เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง สามารถทำงานได้เป็นปกติ อุณหภูมิที่มือสัมผัสได้แค่อุ่นๆ เนื่องจากใช้ตัวเครื่องเป็นวัสดุอลูมิเนียมทำหน้าที่เป็น Heat sink จึงมีการระบายความร้อนที่เหมาะสม โดยไม่ต้องมีพัดลมช่วยแต่อย่างใด

บทสรุป

RAKwireless WisGate Connect เหมาะกับนักพัฒนาวางระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สายต่างๆ ที่มีคุณสมบัติครอบคลุมการสื่อสารไร้สายทุกรูปแบบ ทำงานเป็นทั้ง เกตเวย์, เซิร์ฟเวอร์เครือข่าย และเซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชัน อยู่ในตัวเครื่องเดียวกัน ให้ตอบโจทย์ตามที่เราต้องการ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องจัดหาเครื่องเซิร์ฟเวอร์เอง ก็ต้องแลกมากับการที่ต้องออกแรงติดตั้งเองทั้งหมด ซึ่งก็ไม่ยากอะไร แค่ทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่ได้เขียนอธิบายไว้ชัดเจนแล้ว
แต่..หากคุณต้องการใช้งานเพียงแค่เป็น ลอร่าแวนเกตเวย์สำเร็จรูปแบบทั่วๆไป ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติมอีก เราขอแนะนำ RAKwireless WisGate Edge ซึ่งจะมีราคาถูกและใช้งานได้ง่ายกว่า

ขอขอบคุณ บริษัท RAKwireless ที่ส่งชุดผลิตภัณฑ์ WisGate Connect มาให้รีวิวในครั้งนี้ และหากคุณสนใจอยากลองหามาใช้งาน สามารถทำการสั่งซื้อได้ทีร้านค้าของบริษัท ชุดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีราคาเริ่มต้นที่ $149 หรือ ~5,200 บาท ไปจนถึงราคา $531 หรือ ~18,600 บาท ขึ้นอยู่กับออฟชั่นที่เราเลือก

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา