รีวิว SenseCAP T1000 LoRaWAN GPS Tracker กับการติดตามตำแหน่งของฝูงวัว

SenseCAP T1000 เป็นอุปกรณ์ติดตามตำแหน่งโดยใช้พิกัดจีพีเอส และมีเซ็นเซอร์ต่างๆ ในตอนแรกอุปกรณ์จะส่งข้อมูลแบบไร้สายระยะไกลแต่ใช้พลังงานต่ำ ไปยังเครือข่ายลอร่าแวนเป็นระยะๆ ลงทุนในอนาคตของการจัดการปศุสัตว์ด้วยตัวติดตามจีพีเอส ในด้านการเกษตรอัจฉริยะ เทคโนโลยี IoT ไม่เพียงแต่สามารถพบได้ ในการวิเคราะห์และจัดการดิน, พืชผล และน้ำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการติดตามตำแหน่งของปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอีกแง่มุมที่สำคัญของการทำฟาร์ม ในที่นี้เราจะมาทดสอบดูว่าเทคโนโลยี LoRaWAN บูรณาการเข้ากับระบบติดตามปศุสัตว์ได้อย่างไร?
cattle3

แกะกล่อง

unbox

แกะกล่องออกมา จะพบกับอุปกรณ์ SenseCAP T1000 GPS Tracker มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต และสายชาร์ทแบตเตอรี่

SenseCAP T1000

SenseCAP T1000 กับการทำปศุสัตว์อัจฉริยะ

  • ระบุตำแหน่งของฝูงแบบเรียลไทม์
  • ระบุตัวตนของสัตว์ได้อย่างง่ายดาย
  • เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้แรงงานคน
  • รักษาความปลอดภัยฟาร์มของคุณ ป้องกันถูกขโมย
  • การแจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
  • เป็นการสร้างรั้วเสมือน และแจ้งเตือนเมื่อสัตว์ออกนอกพื้นที่กำหนด โดยไม่ต้องสร้างรั้วล้อมรอบจริงๆ

จะเห็นได้ว่านำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการทำปศุสัตว์นั้นมีความสำคัญ และเกิดประโยชน์อย่างมาก ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบที่อยู่ อุณหภูมิ และกิจกรรมของสัตว์ได้อย่างแม่นยำ

SenseCAP T1000 Configuration

ทำการติดตั้งแอพ SenseCAP Mate, ลงทะเบียนใช้งาน, เพื่อเพิ่มอุกรณ์ SenseCAP T1000 ด้วยวิธีสแกน QR.Code และกำหนดตั้งค่าต่างๆ ตามรูป

sensecap1 sensecap2

Add Device and Geolocation Strategy GNSS only

sensecap3 sensecap4

LoRa other Platform Setting and 1 minute Periodic work mode

SenseCAP Portal

คือระบบคลาว์ดเซิฟเวอร์ของ Seeed Studio ซึ่งเราจะต้องทำการลงทะเบียนก่อน และเลือกเข้าใช้งานแบบ Global Station จากเวปเพจ https://sensecap.seeed.cc เพื่อทำการเพิ่มอุปกรณ์ LoRaWAN Gateway และเชื่อมต่ออินเตอร์เนทเข้ากับคลาว์ดเซิฟเวอร์

portal1

หมายเหตุ – เนื่องจากผู้รีวิวไม่มี LoRaWAN Gateway ของ Seeed Studio จึงไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก SenseCAP Portal ที่ให้บริการคลาว์ดเซิฟเวอร์ ซึ่งจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆไว้พร้อมแล้วได้ แต่.. SenseCAP T1000 ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับ LoRaWAN Gateway ยี่ห้ออื่นๆได้ รวมถึง Network Server อื่นๆได้อีกด้วย

portal2

SenseCAP T1000 with Private LoRaWAN Network

ผู้รีวิวได้ทำการติดตั้ง LoRaWAN Outdoor Gateway จำนวน 4 ตัว มีรัศมีการรับส่งข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ และมีซอฟแวร์ ChirpStack ทำหน้าที่เป็น LoRaWAN Network Server และ Application Server ต่างๆ เช่น Node-RED, InfluxDB, Grafana

platform

  • เพิ่มอุปกรณ์ SenseCAP T1000 ลงใน ChirpStack Network Server
  • ที่ Device-profiles ในส่วนของ CODEC เลือกเป็น Custom JavaScript codec functions

codec

  • ในช่อง Payload Codec ป้อนโปรแกรมภาษาจาวาสคลิปสามารถพบได้บน GitHub

หลังจากที่อุปกรณ์ SenseCAP T1000 ได้เชื่อมต่อกับ Network Server ได้สำเร็จ อุปกรณ์จะส่งพิกัดจีพีเอสและเซ็นเซอร์ ตามที่เราได้ตั้งค่าไว้ในที่นี้คือ ส่งทุกๆ 1 นาที ซึ่งจะมีรูปแบบของข้อมูลใน payload เป็น Packet ID no. 6 ดังรูป

gnss1

gnss2

gnss3

แสดง Device data ที่ได้รับการยืนยันแล้ว (Confirmed)

devicedata

Raw data Base64 Encoder

chirpstack1

Data payload description

chirpstack2

Data payload Base64 Decoder

chirpstack3

  • เปิดเครื่อง โดยกดปุ่ม Power On ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที
  • ไฟจะกระพริบ และหาเครือข่าย LoRaWAN
  • นำอุปกรณ์ SenseCAP T1000 ไปติดตั้งที่หลังใบหูของวัว แต่..ในการทดสอบครั้งนี้เพื่อความสะดวก ขอใช้เป็นสายคล้องคอวัวแทน

cattle1

  • ทดสอบกับฝูงวัวในสถานที่จริง ใกล้บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยทราย อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ประเทศไทย

cattle2

  • เราใช้เวลาในการทดสอบสั้นๆ ประมาณ 30 นาที SenseCAP T1000 สามารถส่งข้อมูล Uplink ทุกๆ 1 นาที ไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล InfluxDB

nodered

influxdb

คลิปวิดีโอ

บทสรุป

ผลิตภัณฑ์ SenseCAP T1000 Tracker จากบริษัท Seeed Studio ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการติดตามสิ่งของต่างๆ ได้เป็นอย่างดี (Asset Tracking) รองรับเทคโนโลยีลอร่าแวนสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำ สำหรับภายนอกอาคารจะระบุตำแหน่งด้วยจีพีเอสที่มีความแม่นยำ 1 เมตร และหากเข้ามาอยู่ภายในอาคาร ก็จะระบุตำแหน่งด้วยสัญญาณไวไฟหรือบลูทูธ หากมีอุปกรณ์ Access Point หรือ Bluetooth Beacon ที่อยู่ในรัศมีติดต่อใช้งานกันได้

แต่..หากนำไปใช้กับการติดตามสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าโล่งแจ้ง เช่น ฝูงวัว (Cattle Tracking), แกะ, กวาง, ม้า, ช้าง, อูฐ และอื่นๆ อาจจะต้องทำการแก้ไขเรื่องแหล่งจ่ายพลังงาน ให้สามารถใช้งานได้ระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น เนื่องจากการติดตั้งอุปกรณ์ SenseCAP T1000 Tracker จะทำการยึดติดกับหลังใบหูของวัว และอยู่ในทุ่งหญ้าโล่งแจ้ง กล่าวคือหากใช้กับแบตเตอรี่ประเภทลิเธียมโพลิเมอร์ ควรมีแผงโซล่าเซลที่มีขนาดเท่ากับอุปกรณ์ SenseCAP T1000 เพื่อเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ชาร์จไฟกลับไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่โดยอัตโนมัติ ทำให้สะดวกกว่าการนำมาชาร์จไฟด้วยตนเองทุกครั้งที่แบตเตอรี่หมด นอกจากนี้ควรเพิ่มเซ็นเซอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอีกด้วย

ขอขอบคุณบริษัท Seeed Studio ที่ส่งชุดผลิตภัณฑ์ SenseCAP T1000-A LoRaWAN GPS Tracker มาให้รีวิวในครั้งนี้ และบริษัทได้เปิดตัว SenseCAP T1000 บน Kickstarter โดยมีเป้าหมายการระดมทุน $20,000 (ประมาณ 7 แสนบาท) ซึ่งตอนนี้ทะลุเป้าหมายไปแล้ว และแพ็คเกจเริ่มต้นราคา $28(~1,000฿) สำหรับ T1000 แบบ snap hook และการทดลองใช้ 3 เดือนสำหรับแพลตฟอร์ม SenseCAP… แม้ว่าราคาฮาร์ดแวร์จะดูน่าสนใจ แต่ค่าส่งจะเพิ่มอีก $45 (~1,500฿)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา