Centauri Carbon เป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติระบบ core-XY รุ่นแรกของ Elegoo ที่รองรับการใช้งานครบครันทั้งคนทั่วไป จนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้วัสดุวิศวกรรม มาพร้อมพื้นที่การพิมพ์ขนาด 256 × 256 × 256 มิลลิเมตร ด้วยโครงสร้างส่วนบนและแชสซีที่ผลิตด้วยการหล่อแบบบูรณาการ พร้อมเสาอลูมิเนียมอัลลอยเสริมแรง 4 เสา และแผงข้างสแตนเลสสตีลช่วยเพิ่มความแม่นยำในการประกอบและความมั่นคงอย่างมาก ทำให้เป็นรากฐานที่แข็งแรงสำหรับการพิมพ์ความเร็วสูง ความเร็วในการพิมพ์ความเร็วสูงสุดถึง 500 mm/s และดีไซด์ห้องแบบปิดช่วยเพิ่มการหุ้มฉนวนเพื่อการควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำ สามารถพิมพ์วัสดุทั่วไปอย่าง PLA และจัดการกับ ABS, PETG และอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย และเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีกล้อง AI Camera สามารถบันทึก timelapseได้ มีระบบ fully autobed และยังมีสามารถพิมพ์ผ่าน WiFi ได้อีกด้วย และอีกทั้งยังเป็นหนึ่งในเครื่องพิมพ์ระบบ Core-XY ที่ดีที่สุด สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย เช่น ตัวละครจากอนิเมะ การตกแต่งบ้าน ออกแบบแฟชั่น อุปกรณ์เสริมสำหรับรถยนต์ และอื่นๆ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
บริษัท ELEGOO ได้ส่งชุดอุปกรณ์ครบชุดเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Centauri Carbon มาให้ได้รีวิว ซึ่งเครื่องนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและนี่เป็นครั้งแรกที่ฉัยเคยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก่อนอื่นจะเริ่มจากดูสเเปค, แกะกล่อง, การประกอบ, การทดลองใช้งานครั้งแรกผ่านหน้าจอสัมผัสแบบ Capacitive ขนาด 4.3 นิ้วที่ติดตั้งมาพร้อมตัวเครื่อง และการใช้งานกับโปรแกรม ElegooSlicer
สเปคของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ELEGOO Centauri Carbon
- ประเภทเครื่องพิมพ์ – FDM (Fused Deposition Modeling)
- ปริมาตรการสร้างสูงสุด – 256 x 256 x 256 (มม.³)
- ความแม่นยำในการพิมพ์ – ± 0.1 มม.
- เส้นผ่านศูนย์กลางหัวฉีด – มาตรฐาน (0.4 มม.)
- ความเร็วในการพิมพ์ – ≤ 500 มม./วินาที
- เส้นใยที่รองรับ – Carbon/Glass Fiber Reinforced, Filaments/PLA/PETG/ABS/ASA/TPU/PET/PC/PA
- อุณหภูมิแวดล้อมโดยรอบ: 5 °C~40°C
- อุณหภูมิสูงสุดของหัวฉีด – 320 °C
- อุณหภูมิสูงสุดของ Heated Bed – 110 °C
- ซอฟต์แวร์ Slicer – ELEGOO Slicer (แนะนำ
- รูปแบบไฟล์อินพุต –STL, OBJ, 3MF, STP
- รูปแบบไฟล์เอาท์พุต –: G-code
- อินเทอร์เฟซ – USB, WIFI
- พาวเวอร์ซัพพลาย
- กำลังไฟเข้า – AC 100-240V; 50/60Hz
- กำลังไฟพิกัด –: 1100 วัตต์ @ 220 โวลต์, 350 วัตต์ @ 110 โวลต์
- ขนาดเครื่อง – 398 x 404 x 490 มม.
- น้ำหนักสุทธิ – 17.5 กก.
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ELEGOO Centauri Carbon ยังรองรับการพิมพ์ต่อเนื่องหลังจากการขัดข้องของไฟฟ้า (Power-Loss Resume Printing)
แกะกล่อง ELEGOO Centauri Carbon
โดยฉันได้รับ 2 กล่อง กล่องแรกก่อนเป็นกล่องเล็กซึ่งเป็น 3D printer Filament และถัดมาอีก 3 วันได้รับอีกกล่องใหญ่เป็น ELEGOO Centauri Carbon
เรามาเปิดกล่องแกะดูข้างในกัน ในกล่องเล็กจะมีเส้นใย Filament ของ ELEGOO PLA 1.75 มม.น้ำหนักก 1 กิโลกรัม จำนวน 1 ม้วน
กล่องใหญ่จะมีตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มีการป้องกันมาเป็นอย่างดี
มาดูตัวเครื่อง ด้านหน้าจะเป็นประตูทำจากกระจกเทมเปอร์ที่ทนทานทำให้มองเห็นกระบวนการพิมพ์ได้แบบเรียลไทม์, มีพอร์ต USB-A, คอนเนกเตอร์หน้าจอ ส่วนด้านหลังมีช่องใส่สาย Filament, ช่องกรองอากาศ (Air Filter), ช่องกำจัดเศษเส้นไยพลาสติก Filament (Excess chute), สวิตซ์ Power
และมีสติกเกอร์บอกสเปคโดยย่อ
ด้านข้างซ้ายจะไม่มีอะไร ส่วนด้านขวาจะมีที่ใส่ขาแขวน (Spool Holder) Filament และเซนเซอร์ตรวจจับเส้นใย Filament
และอุปกรณ์ภายในประกอบด้วย
- ประแจ ขนาด 1.5/2.0/2.5/3.0 มิลลิเมตร
- ไขควง
- สายไฟ
- คู่มือการใช้งานและคู่มือการประกอบ
- เส้นพลาสติกตัวอย่าง (Filament Sample)
- Scraper Blade
- ขาแขวน Filament (Spool Holder)
- กาวแท่ง ELEGOO Build Platform (Glue Stick)
- Unclogging Pin Tool ใช้แก้ไขปัญหาหัวฉีดอุดตัน
- สติ๊กเกอร์
- สารหล่อลื่น หรือจาระบี ELEGOO grease for 3d printer
- USB Flash Drive
- แปรงเช็ดหัวฉีด (Spare Heatbed Nozzle wiper)
- หน้าจอควบคุมแบบสัมผัส
- แผ่นฝาปิดด้านบน
เรามาดูตัวเครื่องกัน เมื่อเปิดข้างในเราจะเห็น High-Power AC Heated Bed ใช้ระบบทำความร้อนแบบ AC รองรับกำลังสูงสุดถึง 1000W (ที่ 220V) สำหรับการทำความร้อนอย่างรวดเร็วถึงอุณหภูมิที่ต้องการ ช่วยลดเวลาการเตรียมตัวก่อนการพิมพ์
และที่ด้านบนมีแผ่นรองพิมพ์แบบยืนหยุ่นสองด้าน A และ B โดยด้าน A จะเหมาะกับพิมพ์ PLA/TPU/ABS/PETG/Carbon-Fiber ส่วนด้าน B จะเหมาะกับพิมพ์ PLA
High Performance Stepper Driver แกน X และ Y ติดตั้งตัวขับสเต็ปเปอร์ 4260 ความเร็วสูงและประสิทธิภาพสูง ซึ่งให้กำลังที่แข็งแกร่งสำหรับการพิมพ์ที่เสถียรและรวดเร็ว
การออกแบบด้วยโครงสร้างการเคลื่อนที่แบบ CoreXY ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็ว ความแม่นยำ และความเที่ยงตรงในการวางตำแหน่งของการพิมพ์ ความเร็ว: สูงสุด 500 mm/s การเร่งความเร็ว: สูงสุด 20000 mm/s²
กล้อง (Chamber Camera) มีฟีเจอร์ Time-Lapse สำหรับการบันทึกกระบวนการทั้งหมด ชมสด และบันทึกทุกขั้นตอนของการพิมพ์ของคุณ และยังมีไฟ LED ในตัว ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตามกระบวนการพิมพ์ได้ง่ายแม้ในสภาพแวดล้อมที่มืด
ด้านขวาของตัวเครื่องจะมี Filament Detection Sensor การตรวจจับการมีหรือขาดเส้นใย Filament ถ้ามีจะมีไฟสีน้ำเงินขึ้น การออกแบบฟีเจอร์การแจ้งเตือนมาพร้อมกับการหยุดทำงานอัตโนมัติ เมื่อมีการตรวจจับการขาด Filament ช่วยป้องกันการสูญเสียวัสดุและความล้มเหลวในการพิมพ์ที่เกิดจากฟีลามเมนต์ไม่เพียงพอ
หน้าจอแสดงผลสัมผัสแบบ Capacitive ขนาด 4.3 นิ้วที่มีสีสันสดใส ซึ่งให้การนำทางที่สะดวกและการออกแบบที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่น
และที่ด้านข้างมีอินเทอร์เฟซ USB Type-A สำหรับโปรแกรม ห้ามเชื่อมต่อพอร์ตนี้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ภายนอกโดยตรงโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
ฝาของเครื่องด้านบนระบุว่า เมื่อมีการพิมพ์เส้นใย Filament ที่ใช้อุณหภูมิต่ำ เช่น PLA และ และเส้นใยยืดหยุ่น (flexible) โปรดนำฝาครอบด้านบนออก
พัดลมระบบระบายความร้อนภายในสำหรับโมเดลใช้พัดลมความเร็วสูงขนาด 5020 แบบสี่สาย ที่มาพร้อมกับการตอบสนองความเร็วและการควบคุมความเร็วที่แม่นยำ ช่วยให้รายละเอียดทุกอย่างของโมเดลถูกนำเสนอได้อย่างสมบูรณ์แบบ และยังมีพัดลมระบายความร้อนภายนอกกำลังสูงที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนสำหรับโมเดลที่พิมพ์ด้วยความเร็วสูง
เครื่องพิมพ์ 3 มิติรองรับการพิมพ์ผ่าน WiFi และ USB flash drive รวมถึงการอัปเกรดเฟิร์มแวร์แบบ OTA พร้อมหน่วยความจำ แฟลช ขนาด 8GB สำหรับเก็บข้อมูลโมเดลต่างๆ อุปกรณ์ใช้ตัวขับสเต็ปเปอร์แบบเงียบเพื่อลดเสียงระหว่างการพิมพ์อย่างมีประสิทธิภาพ
การประกอบก่อนใช้งาน
ด้วยอุปกรณ์ครบครันในชุด ELEGOO Centauri Carbon ทำให้สามารถประกอบและเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มต้นการพิมพ์ชิ้นงานได้ง่ายขึ้นเพียงไม่กี่ขั้นตอน โดยไม่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เพิ่มเติม สามารถดูคู่มือในการประกอบได้จากคู่มือที่ให้มา เราจะเริ่มจากคู่มือให้สองอันที่ให้มาเป็น User Guide และ User Manual โดยใน User manual จะมีรายละเอียดที่เยอะกว่าและมี QR Code ให้แสกนเพื่อดูคลิปวิดีโอการประกอบและการใช้งานเบื้องต้น เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ขั้นตอนแรกได้แก่ การถอดอุปกรณ์เซฟตี้ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติโดย ขันน็อตทั้งหมด 3 จุด ตามเครื่องหมายลูกศรสีแดงโดยใช้ประแจขนาด 3.0 มิลลิเมตร
ถัดมาการเชื่อมต่อหน้าจอแสดงผลสัมผัสขนาด 4.3 นิ้วกับตัวเครื่อง โดยการนำสาย ribbon cable เสียบเข้ากับหน้าจอ
การออกแบบที่วาง Filament Holder ด้านขวาของเครื่อง เพื่อช่วยให้สะดวกในการเปลี่ยนและตรวจสอบการจ่าย Filament โดยนำขาแขวน (Spool Holder) Filament มาติดกับตัวเครื่อง
ในการติดตั้งเส้นใย Filament ที่ด้านขวาของตัวเครื่องเพียงใส่เส้นใย Filament ไปที่ Detection Sensor ให้สุดแล้วเครื่องจะทำการโหลดเส้นใย
ก่อนที่จะเสียบปล๊กเปิดสวิตซ์ เราต้องตรวจแรงด้นไฟฟ้าก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติมีแรงดันไฟฟ้า กำลังไฟเข้า: AC 100-240V; 50/60Hz เพียงเท่านี้ก็สามารถเปิดเครื่องใช้งานได้เลย
การทดลองใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ELEGOO Centauri Carbon
โดยเริ่มจากการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติจากหน้าจอ (screen operation instruction) จะให้เราเลือกภาษา
เครื่องจะให้เราตรวจสอบว่าทำการอดน็อตออกหรือยังแล้วจึงกดคำว่า confirm
โปรดสังเกตว่า เครื่องพิมพ์อของคุณเป็นช่องว่างเปล่า ไม่มีสิ่งกีดขวาง
สังเกตว่า
- แผ่นรองพิมพ์ของคุณอยู่ในด้าน A
- กระบวนการนี้จะสำเร็จในอีก 30 นาที โปรดตรวจสอบว่าจะไม่มีการตัดไฟหรือมีสิ่งใดมารบกวนการพิมพ์
โดยการเตรียมเครื่องนั้นเราคิดว่ามีเสียงดัง เหมือนกำลังจะระเบิดแต่นั่นคือปกติ และมีลมออกมาเล็กน้อย
เมื่อสำเร็จแล้วให้กด confirm และเริ่มการพิมพ์ของคุณ
ทดสอบเริ่มการพิมพ์ครั้งแรก โดยเปิดเครื่องให้เซตอุณหภูมิไว้ที่ 220 องศา
จากนั้นนำ USB Flash Drive เสียบเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยที่เราสังเกตจะเห็นว่ามีช่องเสียบ USB เพียงจุดเดียว
กดไปที่ไฟล์ ในส่วน Local จะไม่ขึ้นอะไรสำหรับครั้งแรก และในครั้งถัดไปจะขึ้นว่าเคยคุณพิมพ์อะไรไปบ้าง หรือคุณจะกดไปที่ Print History เพื่อดูประวัติการพิมพ์ของคุณ
จากนั้นกดที่ USB Drive และกดที่ Model
และเลือกสิ่งที่คุณอยากพิมพ์ โดยใน USB Flash Drive จะมีตัวอย่างให้เล็กน้อย เช่น เรือ แบบจำลองเครื่องพิมพ์ 3 มิติอันเล็ก หอไอเฟล เครื่องมือ พระพุทธเจ้า แจกัน ครั้งนี้เราต้องการพิมพ์ให้ได้รูปเรือ เราได้เลือก 3DBenchy
จะเวลา 15 นาที 29นาที กดปุ่ม print
ผลงานที่ได้
หมายเหตุ : แต่เมื่อเส้นพลาสติกหมดระหว่างการพิมพ์ เครื่องพิมพ์จะหยุดปฏิบัติการโดยอัตโนมัติ
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ELEGOO Centauri Carbon กับโปรแกรม ElegooSlicer
เราจะลงโปรแกรม ElegooSlicer จาก USB Flash Drive กดไปที่ software และติดตั้ง
เมื่อลงโปรแกรมเรียบร้อย
โดยจะให้เราเลือกรุ่นเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
และเลือกประเภทของเส้นใย Filament
ขั้นตอนการพิมพ์โดยใช้โปรแกรม
- เชื่อมต่อกับตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติผ่าน Wifi และนำเลขของตัวเครื่องมาเชื่อมต่อกับโปรแกรม
- นำเข้าไฟล์ 3DBenchy.stl จาก Flash drive (ไฟล์ที่สามารถนำเข้าได้ .STL .3MF .STEP หรืออื่น ๆ ที่ปรากฏยกเว้น .blend หรือ มากกว่านั้น) ในที่นี้ใช้ไฟล์ .STL ในการนำเข้า ถ้าต้องการส่งออกหรือนำออกให้ Save เป็นไฟล์ .G-code หรือกด Print ที่มุมบนขวาของโปรแกรมได้เลย เมื่อเชื่อมเครื่องพิมพ์ 3 มิติไว้กับโปรแกรม
- โดยสามารถเลือกโหมดความเร็วในการพิมพ์
ผลลัพธ์จากการเลือกโหมดการพิมพ์
ถ้าสังเกตโดยแต่ละโหมดจะมีลายละเอียดการพิมพ์ที่แตกต่างกันไม่มากหรือแทบจะไม่ต่างกันเลย
เราได้ทำการทดลองนำแบบจากที่อื่นมาทำการพิมพ์ โดยเราเลือก Mickey Mouse Christmas ซึ่งเราสามารถแก้ไขต้นฉบับการพิมพ์ได้
ในตอนแรกเราทำการพิมพ์โดยไม่เปิดโหมด Support ได้ตัวอย่างดังนี้
เราจึงได้ใช้โหมด Support เพื่อช่วยรองรับ
โดยโหมด Support จะมีแบบให้เลือกนั้นคือ Grid และ Snug
ในการพิมพ์ครั้งแรก เราได้ทำการใช้ Support โหมด Grid
แล้วสังเกตว่ามิกกี้เม้าส์ อาจหนาเกินไปและแกะยาก เลยทำการลองอีกครั้ง
ด้วยโหมด Snug ได้ผลลัพธ์ดังนี้
ทำการตัด Support ออก ผลงานที่ได้สวยงามกว่าอันแรก
เราสามารถดูวิดีโอการพิมพ์โดยเข้าไปที่หน้าจอ Camara > Video List > เลือกไฟล์ (MP4) > Export แล้วข้อมูลจุะส่งไปยัง Flash Drive
เรามาดูวิดีโอกัน
เรามาทดลองพิมพ์ชั้นงานอื่นกัน
ทดสอบการพิมพ์ โมเดลมังกร ใช้วัสดุ PLA เราได้ใช้โปรแกรม ElegooSlicer ขยายให้ตัวใหญ่ขึ้นโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 4 ชั่วโมง 31 นาที
เมื่อแกะพลาสติกที่ฐานออกมาจะเป็นเหมือนโซ่
ทดสอบการพิมพ์ โมเดลที่ใส่อุปกรณ์เครื่องเขียน โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 50 นาที
ทดสอบการพิมพ์ โมเดลที่วางโทรศัพท์ โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 57 นาที ผลงานออกมาไม่ค่อยเนียนเท่าไหร่เพราะที่โปรแกรม ElegooSlicer เราไม่ได้ใส่ support
สรุป
จากการทดลองใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ELEGOO Centauri Carbon ในฐานะผู้เริ่มต้น พบว่าเครื่องนี้สะดวกสำหรับมือใหม่เป็นอย่างมากและสามารถใช้งานได้ดี เครื่องพิมพ์ 3 มิติมาในรูปแบบประกอบเกือบเสร็จแล้ว ทำให้ผู้ใช้เพียงแค่ทำตามขั้นตอนไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถเริ่มพิมพ์งานได้ โดยคู่มือการใช้งานที่ให้มามีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย ทำให้การตั้งค่าและการใช้งานเป็นไปอย่างราบรื่น การใช้งานได้ทั้งจากหน้าจอสัมผัสหรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรม ElegooSlicer และ WiFi โดยทางโปรแกรมใช้งานไม่ยากมือใหม่สามารถใช้และทำความเข้าใจได้ง่าย พร้อมกล้องสำหรับติดตามการทำงานแบบเรียลไทม์ ลดความจำเป็นในการเฝ้าดูเครื่องตลอดเวลา และเรายังสามารถดูวิดีโอการพิมพ์ที่สำเร็จได้ด้วย แต่มีข้อจำกัดคือต้องเปิดฝาเครื่องระหว่างพิมพ์ด้วยเส้นใย PLA ซึ่งอาจลืมได้ง่ายจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเริ่มงาน โดยรวมถือเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นเรียนรู้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
ขอขอบคุณ ELEGOO ที่ส่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Centauri Carbon มาให้ฉันได้รีวิวครั้งนี้ สามารถสั่งซื้อแบบ pre-order ได้ที่ร้านค้าออนไลน์ของ ELEGOO ในราคาเริ่มต้นที่ $299.99 (~10,000฿) ถ้าจองในประเทศไทยตอนนี้ราคา 14900฿.

มีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เเละ กำลังศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เเละ ปัญญาประดิษฐ์