ANAVI Miracle Emitter เป็น open source hardware (OSHW) ที่ใช้ชิป ESP32-C3 รองรับทั้ง WiFi และ Bluetooth Low Energy (BLE) ออกแบบมาเพื่อควบคุมแถบไฟ RGB LED strips แบบ Addressable ที่ใช้ไฟ 5V โดยสามารถใช้งานร่วมกับ Home Assistant ผ่านโปรโตคอล MQTT และยังรองรับเฟิร์มแวร์ยอดนิยมอย่าง WLED ที่ช่วยให้สามารถควบคุมแถบไฟ LED strips ได้ง่ายผ่านเว็บอินเทอร์เฟซ
บอร์ดยังมี I2C headers จำนวน 4 ช่อง สำหรับเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์และจอ OLED ขนาดเล็ก, UART header และ GPIO header. เป็นการอัปเดตจาก Leon ANAVI Miracle Controller รุ่นก่อนหน้าที่เปิดตัวในปี 2019 ซึ่งใช้ชิป ESP8266 โดยในปัจจุบันการควบคุมแถบไฟ RGB LED strips ด้วยซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์โอเพ่นซอร์สนั้นง่ายกว่า
สเปคของ ANAVI Miracle Emitter :
- Wireless Module – Seeed Studio XIAO ESP32C3
- Wireless MCU – Espressif Systems ESP32-C3 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์สถาปัตยกรรม RISC-V แบบ Single-core @ 160 MHz พร้อม SRAM 400KB, ROM 384KB, flash 4MB, รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 4 และ Bluetooth LE 5.0
- เสาอากาศ – เสาอากาศภายนอกแบบ u.FL
- พอร์ต USB – พอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม
- ควบคุมแถบไฟ RGB LED strips – ขั้วต่อ screw terminal block 3 พินพร้อม 5V, DATA, GND
- จอแสดงผล – รองรับจอ OLED ขนาด 0.96 นิ้วแบบเลือกติดตั้ง (เชื่อมต่อ I2C DISPLAY header)
- การขยาย
- 3x I2C headers สำหรับโมดูลเซ็นเซอร์แบบเลือกติดตั้ง
- 5-pin GPIO header
- 4-pin UART header
- อื่น ๆ – ปุ่มกดสำหรับผู้ใช้
- แหล่งจ่ายไฟ
- 5V/1A ผ่านพอร์ต USB-C (เหมาะสำหรับแถบไฟ strips ขนาดสั้น)
- 5V ผ่านขั้วต่อแบบสกรู (สำหรับแถบไฟ RGB LED stripss ขนาดยาว)
- ขนาด – 65.29 x 32.77 มม.
เช่นเดียวกับบอร์ดอื่น ๆ จาก Leon, ANAVI Miracle Emitter เป็น open-source hardware โดยไฟล์ออกแบบฮาร์ดแวร์ด้วย KiCad และภาพวาดสำหรับตัดกล่องอะคริลิกถูกเผยแพร่ไว้บน GitHub ถ้าต้องการควบคุมแถบไฟ RGB LED strips แบบ 12V ที่ไม่สามารถระบุตำแหน่ง (non-addressable) รุ่นเก่ากว่าอย่าง ANAVI Light Controller (แบบ standalone) หรือ ANAVI Light pHAT อาจเหมาะสมกว่า
ทุกวันนี้เมื่อเราเห็นบอร์ด ESP32 ที่ระบุว่าใช้งานร่วมกับ Home Assistant ได้ ก็มักจะหมายถึงการใช้เฟิร์มแวร์ ESPHome พร้อมไฟล์ YAML สำหรับการตั้งค่า ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถนำมาใช้งานกับ Miracle Controller ได้เช่นกัน แต่ Leon เลือกที่จะเขียน Arduino sketch ของตนเอง ที่รองรับ MQTT (และใช้งานร่วมกับ Home Assistant ได้) โดยใช้ไลบรารี FastLED Animation Library เฟิร์มแวร์นี้ยังรองรับเซ็นเซอร์ I2C หลายชนิดได้ทันที ได้แก่ เซ็นเซอร์วัดแสง BH1750, เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ BMP180, เซ็นเซอร์ตรวจจับสี RGB, แสงโดยรอบ, ระยะใกล้ และท่าทาง APDS-9960, เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความชื้น HTU21D นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้ง WLED firmware, ซึ่งใช้งานง่ายกว่า แต่จะไม่รองรับการใช้งานเซ็นเซอร์เหล่านี้

ANAVI Miracle Emitter เปิดตัวบน Crowd Supply โดยราคาของแพ็คเกจเริ่มต้นที่ $30 (~1,000฿) สำหรับชุดพื้นฐานที่ประกอบด้วยบอร์ด, สายอากาศ, กล่องอะคริลิก และชุดน็อต/สกรู, ชุด Starter Kit ราคา $45 (~1,500฿) เพิ่มจอ OLED และแถบไฟ RGB LED strip ที่มี NeoPixel 10 ดวง, ชุด Developer Kit ราคา $60 (~2,000฿) เพิ่มเซ็นเซอร์ 3 ชนิดสำหรับตรวจจับท่าทางและสี, แสง, อุณหภูมิ และความชื้น มีค่าจัดส่งมายังประเทศไทยอีก $12 (~400฿) โดยมีกำหนดเริ่มส่งของภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม
แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : ANAVI Miracle Emitter – A WiFi and BLE RGB LED controller compatible with Home Assistant, WLED firmware (Crowdfunding)

บรรณาธิการข่าวและบทความภาษาไทย CNX Software ได้มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Smart Home และ IoT