Cerebro เป็นบอร์ดแบบโมดูลาร์หรือคลัสเตอร์บอร์ดที่ออกแบบมาเพื่อรองรับโมดูล (System-on-Module) ได้สูงสุดถึง 4 โมดูล เช่น NVIDIA Jetson SO-DIMM, Raspberry Pi CM4 หรือ CM5 รวมถึง Radxa CM5 โดยบอร์ดนี้มีการรวม BMC (Baseboard Management Controller) เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างโมดูล CPU ต่างๆ
Cerebro ถูกออกแบบขึ้นจากความไม่พอใจของทีมงาน Sparklab Solution ที่ไม่สามารถหาบอร์ดที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ แม้ว่าจะมีคลัสเตอร์บอร์ดอื่นๆ สำหรับ Raspberry Pi Compute Module อยู่แล้ว แต่ Cerebro ให้ความยืดหยุ่นที่มากกว่า ด้วยซ็อกเก็ต M.2 จำนวน 3 ช่องต่อหนึ่งโหนด, BMC ในตัวที่สามารถขยายเพิ่มเติมได้, รองรับ KVM ระหว่างโหนดแต่ละตัว, พอร์ต Ethernet คู่, พอร์ต USB 3.2 ความเร็ว 10 Gbps และฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย

สเปคของ Cerebro Clusterboard :
- Compute Modules
- 4x SODIMM-260 slots
- ความเข้ากันได้
- Nvidia Jetson Orin NX/Nano
- Raspberry Pi CM4/CM5 ผ่านอะแดปเตอร์
- Radxa CM5 ผ่านอะแดปเตอร์
- รองรับการใช้งานร่วมกันของโมดูลต่างยี่ห้อ/รุ่นในบอร์ดเดียวกัน
- ที่เก็บขอมูล
- 2x M.2 key-M slots ต่อโหนด (รวม 8 ช่อง) สำหรับ NVMe SSD
- 1x MicroSD card slot
- การแสดงผลวิดีโอ
- HDMI multiplexer สำหรับแบ่งสัญญาณวิดีโอร่วมกันระหว่างโหนดและ BMC
- คอนเนกเตอร์ MIPI DSI
- ระบบเครือข่าย
- Gigabit Ethernet ภายในพร้อมรองรับ VLAN
- พอร์ต Uplink 2 พอร์ต
- USB – พอร์ต USB 3.1 Gen2 (10 Gbps) และพอร์ต USB 2.0
- การขยาย
- 2x M.2 Key-M slots ต่อโหนด (รวม 8 ช่อง) สำหรับ SSD หรือ AI accelerator
- 1x M.2 key-E slot ต่อโหนด (รวม 4 ช่อง) สำหรับโมดูลไร้สาย
- M.2 slot เชื่อมต่อกับ BMC
- GPIO header 40 พิน
- Board management module (BMC)
- คอนโทรลเลอร์ในตัวสำหรับควบคุมพลังงาน, การตรวจสอบสถานะ และพัดลม
- BMC ขยายได้ – ช่องเสียบที่รองรับ Toradex Verdin สำหรับประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
- อื่น ๆ
- RTC ในตัว
- RGB LED; multiple LEDs
- ระบบระบายความร้อน – 5x PWM fan headers สำหรับระบายความร้อนแบบแอคทีฟ และมีตัวเลือกระบายความร้อนแบบพาสซีฟ
- ระบบ KVM ครบชุด เพื่อสลับการควบคุมระหว่างโหนดต่าง ๆ ด้วยจอ, คีย์บอร์ด และเมาส์ชุดเดียว
- พาวเวอร์ซัพพลาย – องรับแรงดันสูงสุด 72V; 50W PSU
- ขนาด – 244 x 190 มม. (เข้ากันได้กับเคส Micro-ATX)


มีข้อมูลเกี่ยวกับการรองรับซอฟต์แวร์ค่อนข้างจำกัด แต่ทางผู้พัฒนาแจ้งว่า Cerebro สามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์หลากหลายประเภทได้ เช่น Linux distributions, ระบบ Kubernetes และ container environments”
ทางบริษัทได้จัดทำต้นแบบแนวคิด (Proof-of-Concept) โดยใช้ชุดพัฒนา NVIDIA Jetson แต่ในวิดีโอแนะนำโครงการนั้น แสดงเพียงภาพเรนเดอร์ของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายเท่านั้น และไม่มีการสาธิตหรือแสดงตัวต้นแบบของบอร์ดที่ผู้สนับสนุนจะได้รับแต่อย่างใด
คู่แข่งที่ใกล้เคียงที่สุดคือ Turing Pi 2 / Turing Pi 2.5 เมนบอร์ด mini-ITX ซึ่งสามารถรองรับโมดูล (SoM) ได้สูงสุด 4 โมดูลผ่านคอนเนกเตอร์ SODIMM 260 พินเช่นเดียวกัน แต่มีความสามารถในการขยายที่น้อยกว่า ในหลาย ๆ ด้าน Cerebro ถือเป็นบอร์ด Turing Pi เวอร์ชันที่ใหญ่และล้ำหน้ากว่า โดยยังคงรองรับ NVIDIA Jetson และ Raspberry Pi CM4/CM5 เช่นเดิม แต่เพิ่มช่องเสียบ M.2 ถึง 13 ช่อง (แทนที่ mPCIe เพียง 2 ช่องใน Turing Pi) และรองรับ BMC ขั้นสูง รวมถึงฟีเจอร์เพิ่มเติมอื่น ๆ
Sparklab Solution ได้เปิดตัว Cerebro clusterboard บน Kickstarter โดยตั้งเป้าหมายระดมทุนมากกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 40 ล้านบาท) แพ็คเก็จสำหรับผู้สนับสนุนเริ่มต้นที่ 429 ยูโร (~19.000฿) สำหรับผู้สนับสนุน 200 คนแรก และจะมีการคิดค่าจัดส่งเพิ่มเติมหลังสิ้นสุดแคมเปญ โดยคาดว่าจะจัดส่งรางวัลได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2026 ซึ่งไม่น่าแปลกใจนักเพราะยังไม่มีต้นแบบที่ใช้งานได้ของบอร์ดเวอร์ชันสุดท้าย โครงการนี้อาจดูน่าสนใจแต่ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูง และเป้าหมายการระดมทุนก็ดูท้าทายไม่น้อย เว้นแต่ว่าความต้องการของตลาดสำหรับบอร์ดลักษณะนี้จะมีมากกว่าที่คาดไว้
แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Cerebro clusterboard supports up to four NVIDIA Jetson, Raspberry Pi CM4/CM5, or Radxa CM5 modules (Crowdfunding)

บรรณาธิการข่าวและบทความภาษาไทย CNX Software ได้มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Smart Home และ IoT