IOL HAT เพิ่ม IO-Link Master ให้กับ Raspberry Pi สำหรับใช้งานเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ ในระบบ IoT อุตสาหกรรม

Raspberry Pi IO Link HAT

Pinetek Networks เปิดตัว IOL HAT เป็นบอร์ดขยาย (Expansion boards) สำหรับ Raspberry Pi ที่ใช้โปรโตคอล IO-Link (ตามมาตรฐาน IEC 61131-9) เพื่อเชื่อมต่อและสื่อสารกับเซ็นเซอร์อุตสาหกรรม โดยบอร์ดนี้ใช้ชิป MAX14819 IO-Link master transceiver จาก Analog Devices และมาพร้อมกับพอร์ต SDCI (Single-Drop Digital Communication) จำนวน 2 ช่อง แม้ว่าการพัฒนาโปรโตคอล IO-Link จะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2006 และมาตรฐาน IEC 61131-9 หรือ “Single-drop digital communication interface (SDCI) หรืออินเทอร์เฟซการสื่อสารดิจิทัลแบบจุดเดียว สำหรับเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ (Actuator) ขนาดเล็ก”จะถูกนำมาใช้ในปี 2013 แต่โปรโตคอลนี้เพิ่งเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยผลิตภัณฑ์อย่าง บอร์ด STMicro EVLIOL4LSV1 สำหรับแอกชูเอเตอร์แบบ IO-Link และ […]

Microchip SAMA7D65 : ไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ Cortex-A7 มาในรูปแบบแพ็กเกจ SoC และ SiP ที่ใช้ Cortex-A7 MPU พร้อมแรม DDR3L ในตัวสูงสุด 2Gbit

Microchip SAMA7D65 Cortex-A7 MPU

Microchip เปิดตัว SAMA7D65 MPU, ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบฝังตัวประสิทธิภาพสูงที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm Cortex-A7 ออกแบบมาสำหรับงานด้าน HMI (Human-Machine Interface) และการเชื่อมต่อในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม ภายในบ้าน การแพทย์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า MPU รุ่นนี้มีให้เลือกทั้งในรูปแบบ System-in-Package (SiP) และ System-on-Chip (SoC) โดยรองรับอินเทอร์เฟซการแสดงผลหลายแบบ เช่น MIPI DSI, LVDS และ 8-bit Serial RGB พร้อมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก 2D GPU สำหรับเร่งการประมวลผลภาพกราฟิก, หน่วยความจำและที่เก็บข้อมูลรองรับทั้ง DDR2/DDR3/DDR3L และ LPDDR2/3 แบบ 16 บิต พร้อมตัวเลือกหน่วยความจำ DDR3 ฝังในตัวขนาด 1 Gbit หรือ 2 Gbit, หน่วยความจำ NAND Flash, eMMC Flash และ SD card ด้านการเชื่อมต่อมี Ethernet แบบ Gigabit สองพอร์ตที่รองรับ […]

แฮ็กสายอากาศเพิ่มระยะสัญญาณของบอร์ด ESP32-C3 USB-C ได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า

ESP32-C3 board antenna hack

มีบอร์ด IoT ขนาดเล็กที่ใช้ชิป ESP32-C3 และมาพร้อมพอร์ต USB-C วางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาด ซึ่งถึงแม้ว่าบอร์ดเหล่านี้จะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่การออกแบบสายอากาศนั้นแตกต่างกัน และถ้าออกแบบมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อระยะของสัญญาณ WiFi และ Bluetooth Peter Neufeld ตัดสินใจดัดแปลงบอร์ด ESP32-C3 ราคาประหยัดตัวหนึ่งด้วยการเพิ่มสายอากาศแบบปรับแต่งเอง และผลลัพธ์ก็คือบอร์ดตัวนั้นสามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า และในบางกรณีก็เกือบถึงสามเท่า บอร์ดขนาดเล็กเหล่านี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงแทบไม่มีพื้นที่รอบ ๆ เสาอากาศเซรามิกที่มักใช้กัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ต่ำลง เพื่อแก้ปัญหานี้ Peter จึงเพิ่มสายอากาศความยาว 31 มม. ที่ทำจากลวดเคลือบเงิน โดยดัดเป็นวงกลมขนาดประมาณ 8 มม. อยู่นอกตัวบอร์ด แ […]

Samsung EMDX หน้าจอสีแบบ e-paper 32 นิ้วพร้อมรองรับ Tizen 8.0 ความละเอียด 2560×1440 และสามารถใช้งานได้นานสูงสุด 200 วันต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

Samsung 32 inch EM32DX color E-paper Display

Samsung เปิดตัวหน้าจอ e-paper สีขนาด 32 นิ้ว ความละเอียด WQHD (2,560 x 1,440 พิกเซล) มาพร้อมแบตเตอรี่ในตัวขนาด 4,600mAh ซึ่งสามารถใช้งานได้นานสูงสุดถึง 200 วันต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ถ้ามีการอัปเดตภาพเพียงวันละครั้ง Samsung 32″ EMDX ออกแบบมาเป็นหลักสำหรับการใช้งานในป้ายดิจิทัล (Digital Signage) เช่น ในร้านค้า, ร้านอาหาร, ระบบขนส่งสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ เช่นเดียวกับจอ e-paper ทั่วไป หน้าจอจะไม่ใช้พลังงานเลยหากภาพบนหน้าจอไม่เปลี่ยนแปลง ตอนแรกเรารู้สึกแปลกใจที่เห็นภาพหน้าจอ EMDX มีสีสันสดใสมากจากภาพที่ Samsung ได้แชร์ แต่พอสังเกตดูใกล้ ๆ ก็เริ่มไม่มั่นใจว่าภาพเหล่านั้นเป็นภาพถ่ายจากหน้าจอจริงหรือไม่ สเปคของหน้าจอ Samsung 32″ EMDX color e-paper : หน้าจอ: ePaper สี E-Ink Spectra 6 ขนาด 32 นิ้ว ความละเอียด 2,5 […]

เซ็นเซอร์ควอนตัมวัดสนามแม่เหล็กของ Bosch ที่ใช้เพชรสังเคราะห์, เลเซอร์ และคลื่นไมโครเวฟ เพื่อการวัดค่าที่มีความแม่นยำสูงเป็นพิเศษ

Bosch Quantum Sensing Development Board

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ควอนตัม (Quantum Computer) กันมาบ้างแล้ว แต่ “เซ็นเซอร์ควอนตัม” ล่ะ? เรื่องนี้อาจยังใหม่สำหรับหลายคน โดยล่าสุด Bosch กำลังพัฒนาเซ็นเซอร์วัดสนามแม่เหล็กแบบควอนตัม (magnetic-field quantum) ที่ใช้ “พลังของฟิสิกส์ควอนตัม” เพื่อให้สามารถวัดค่าได้อย่างแม่นยำสูงสุด และยังมีขนาดเล็กกว่าวิธีการอื่น ๆ อย่างมาก เช่น SQUID (Superconducting Quantum Interference Device), เซลล์ไอระเหย (vapor cells), หรือกับดักแสง (optical traps) ที่มักใช้ในเซ็นเซอร์ควอนตัมทั่วไป Bosch Quantum Sensing (ชื่อเต็มของบริษัท) อธิบายเพิ่มเติมว่า เซ็นเซอร์ควอนตัมของบริษัทนั้นเหนือกว่าระบบเซ็นเซอร์ทั่วไป โดยให้ทั้งช่วงการวัดที่กว้างกว่า, ความไวในการตรวจจับที่สูงกว่า, และความละเอียดเชิงพื้นที่ที่ดีกว่า ปัจจุบันบ […]

ADLINK COM-HPC-mMTL – โมดูล COM-HPC Mini ที่ใช้โปรเซสเซอร์สูงสุด Intel Core Ultra 7 165H 16 คอร์

COM-HPC mMTL 14 Core Intel Core Ultra COM HPC Mini

ADLINK COM-HPC-mMTL เป็นคอมพิวเตอร์ในโมดูล (Computer-on-Module) เกรดอุตสาหกรรม ขนาด COM-HPC Mini ที่ออกแบบตามมาตรฐาน COM-HPC R1.2 โดยใช้โปรเซสเซอร์ Intel Meteor Lake รองรับสูงสุดถึง Intel Core Ultra 7 165H แบบ 16 คอร์ มาพร้อมกราฟิก Intel Arc ที่มี 8 คอร์ Xe, หน่วยเร่งความเร็ว AI Intel AI Boost NPU ที่ประมวลผลได้สูงสุด 8.2 TOPS, และมี ช่อง PCIe Gen4 จำนวน 16 เลน โมดูลขนาด Mini ตามมาตรฐาน COM-HPC R1.2 รองรับหน่วยความจำ LPDDR5x สูงสุด 64GB แบบฝังบนบอร์ด (Soldered-down), มีตัวเลือกสำหรับติดตั้ง NVMe BGA SSD และมีอินเทอร์เฟซ SATA จำนวน 2 ช่อง, Ethernet 2.5 Gbps 2 ช่อง, DDI/USB4, และ USB 3.0/2.0 ทั้งหมดนี้เชื่อมต่อผ่านคอนเนกเตอร์มาตรฐานแบบ board-to-board ขนาด 400 พิน ที่ใช้ในโมดูล COM-HPC Mini สเปคของ ADLINK COM-HPC- […]

Aerium Lumen – บอร์ดฐานสำหรับ NVIDIA Jetson ออกแบบมาเพื่อโดรนและหุ่นยนต์

NVIDIA Jetson Carrier Board for drones

Lumen ของ Aerium System เป็นบอร์ดฐาน (carrier board) สำหรับโมดูล NVIDIA Jetson แบบ SO-DIMM ที่ออกแบบมาสำหรับโดรนและหุ่นยนต์โดยเฉพาะ มาพร้อมกับคอนเนกเตอร์แบบบาง (low-profile) หลายประเภทสำหรับ I/O เช่น USB, UART, I2C และอื่น ๆ รวมถึงช่องเสียบ M.2 จำนวนสามช่องสำหรับการขยายที่เก็บข้อมูลและเชื่อมต่อระบบไร้สาย บอร์ดนี้มีเป้าหมายการใช้งานคล้ายกับ carrier board สำหรับ Jetson Orin Nano/NX ที่เป็นไปตามข้อกำหนด NDAA ของ ARK Electronics ที่ออกแบบมาเพื่อโดรน ซึ่งเราเคยพูดถึงเมื่อปีที่แล้ว แต่ Lumen ไม่ได้วางจำหน่ายเป็นชุดคิทแบบสมบูรณ์ และไม่ได้รับการรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนด NDAA อย่างไรก็ตาม จุดเด่นคือมีขนาดเล็กกว่าและเบากว่า จึงอาจเหมาะสำหรับโดรนหรือหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กและ/หรือมีความซับซ้อนน้อยกว่า ซึ่งยังคงสามารถใช้ประ […]

STMicro STM32MP23 : ชิปไมโครโปรเซสเซอร์ (MPU) ที่ใช้ Cortex-A35/M33 พร้อม NPU 0.6 TOPS สำหรับงาน IoT และด้าน ML อุตสาหกรรม

STM32MP235 block diagram

STMicroelectronics STM32MP23 เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ (MPU) ที่ใช้ Cortex-A35 แบบ dual-core สำหรับการประมวลผลทั่วไป มาพร้อม Cortex-M33 core สำหรับงานเรียลไทม์ และมีประสิทธิภาพในการประมวลผล 600 GOPS (0.6 TOPS) รองรับการทำงานที่อุณหภูมิสูงสุดถึง 125°C ออกแบบมาสำหรับการประมวลผล Edge Computing ในงานอุตสาหกรรมและ Internet-of-Things (IoT) รวมถึงแอปพลิเคชัน Human-Machine Interface (HMI) ขั้นสูง และงานด้าน machine-learning (ML) ชิปตัวนี้ต่อยอดมาจาก STM32MP25 series ที่เปิดตัวในปี 2023 และวางจำหน่ายจริงในปีถัดมา ซึ่งถือเป็นรุ่นแรกของตระกูล STM32MP2 โดย STM32MP23 เป็นรุ่นราคาประหยัดของ STM32MP25 ที่ยังคงสเปกหลายอย่างใกล้เคียงกัน (รวมถึงใช้แพ็กเกจที่เข้ากันได้แบบ pin-to-pin) แต่มีการปรับลดคุณสมบัติบางส่วน เช่น NPU ที่รองรับได […]