การเปิดใช้ Bluetooth ของ MediaTek MT7922 บน Ubuntu 24.04

MT7922 Bluetooth Ubuntu 24.04

เราพบโมดูล MediaTek MT7922 ที่รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth 5.3 ในมินิพีซีหลายนุาย แต่ Bluetooth จะไม่ทำงานใน Linux เนื่องจากขาดไดรเวอร์ ซึ่งในโพสต์นี้เราจะแสดงวิธีเปิดใช้งาน Bluetooth ในโมดูล MediaTek MT7922 ได้อย่างง่ายดายเมื่อใช้งานบน Ubuntu 24.04 เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว่า Ian Morrisson ได้ส่งแพตซ์ (patch) ที่เพิ่ม ID สำหรับโมดูล MT7922 (Azurewave AW-XB591NF) ที่อยู่ในมินิพีซี GEEKOM รุ่นล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตามทฤษฎีแล้วอาจจะต้องสร้าง Linux kernel ใหม่  แต่เนื่องจากตอนนี้ Linux 6.10 ได้ปล่อยออกมาแล้ว มันง่ายมากขึ้นเนื่องจาก Canonical ได้ทำให้ Linux 6.10 kernel ใช้ได้สำหรับ Ubuntu ดังนั้นเราจำเป็นเพียงแค่ติดตั้งมัน และปัญหาก็จะได้รับการแก้ไข! Ubuntu 24.04 มาพร้อมกับ Linux 6.8 เราสามารถเห็นข้อผิ […]

รีวิว Agrosense LoRaWAN sensors และ SenseCAP M2 LoRaWAN indoor gateway

SenseCAP M2 Multi Platform LoRaWAN Indoor Gateway review

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมารีวิวเซ็นเซอร์ในซีรี่ย์ Agrosense ซึ่งเป็นกลุ่มของเซ็นเซอร์ไร้สายที่รับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN ของ MakerFabs ครับ โดยคราวนี้ผมได้รับเซ็นเซอร์สำหรับการวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมมา 4 ชุด และได้รับได้รับเกตเวย์ (gateway) สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN มาเพิ่มอีก 1 ชุด ตามรายการด้านล่างนี้ครับ AgroSense LoRaWAN Barometric Pressure Sensor สำหรับการวัดความกดอากาศ (barometric pressure) สามารถวัดค่าได้ในช่วง 300 ถึง 1100 hPa (±0.12 hPa) มีความละเอียด 0.01 hPa AgroSense LoRaWAN Light Intensity Sensor สำหรับการวัดความเข้มแสง (light intensity) ในช่วง 1 ถึง 65535 lx (±1 lx) และความละเอียด ±20% AgroSense LoRaWAN Temperature & Humidity Sensor สำหรับการวัดอุณหภูมิในช่วง -40℃ ถึง 85℃ (±0.2℃ ) และความชื้นในช […]

รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic

Cytron Maker Uno RP2040 review CircuitPython

หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้  Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และกา […]

การซ่อมสายอากาศ WiFi ขาดของมินิพีซี

Insert WiFi Antenna mini PC

เนื่องจากระหว่าง รีวิวมินิพีซี GEEKOM A8 เราได้แกะเครื่องข้างในเพื่อยืนยันรุ่น SSD และโมดูล WiFi และที่ฝาเคสพลาสติกมีสายอากาศ WiFi 1 เส้นเชื่อมต่ออยู่ และเราไม่ทันได้ระวังและการติดตั้งสายอากาศที่เสี่ยงต่อการทำหลุดได้ง่าย ทำให้สายอากาศที่เชื่อมต่อกับโมดูลหลุดออก 1 เส้น ในวันนี้เราจะทำการซ่อมสายอากาศดังกล่าว โดยเริ่มจากการสั่งซื้อสายอากาศ ครั้งแรกเราได้ซื้อสายอากาศจาก Shopee เป็นรุ่น IPEX1 ซึ่งไม่ถูกต้องกับโมดูลนี้ โดยสายอากาศที่เราสั่งซื้อต้องเป็นรุ่น IPEX4 MHF4 ถึงจะถูกต้อง ผู้อ่านควรดูก่อนว่าโมดูลของตัวเองต้องใช้กับสายอากาศรุ่นอะไร เรามาใส่กันเริ่มจากเอาพลาสติกใสที่อยู่บนโมดูลออก เราทำการใส่สายอากาศ IPEX4 MHF4 Female แล้วใช้ดินสอที่มีหัวยางลบช่วยดัน (สาเหตุที่ใช้ยางลบเพราะยางลบมีความนุ่ม ถ้าใช้อย่างอื่นอาจจะเส […]

รีวิว Maker Uno RP2040 บนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic และจอ OLED I2C

Maker Uno RP2040 review with Arduino IDE

Cytron ได้ผลิตบอร์ด Arduino ตัวล่าสุดชื่อ Maker Uno RP2040 บอร์ดพัฒนาที่ผสมผสานฟอร์มแฟคเตอร์ Arduino/Maker Uno ร่วมกับชิปประมวลผล Raspberry Pi RP2040 และมีหน่วยความจำแฟลชขนาดใหญ่ ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE (C/C++), Micropython, CircuitPython ทำให้สามารถเข้าถึงได้ทั้งสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูง บอร์ดพร้อมกับ Layout การเชื่อมต่อให้มีความสะดวกมากขึ้น เช่น การเพิ่ม Maker Port จำนวน 1 พอร์ต สำหรับเซนเซอร์, Grove Port จำนวน 6 พอร์ต, พอร์ตการเชื่อมต่อ Servo 4 พอร์ต ทำให้ลดระยะเวลาในการเชื่อมต่อ บอร์ดยังมีตัวเลือกการจ่ายไฟสองแบบคือ USB (5V) ผ่านช่องเสียบ USB-C หรือแบตเตอรี่ LiPo/Li-Ion เซลล์เดียวผ่านขั้วต่อ LiPo สเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 ฟอร์มแฟคเตอร์ Arduino/Maker Uno ขับเคลื่อนโดย Raspberry P […]

รีวิว – เซนเซอร์ SONOFF Zigbee Human Presence (SNZB-06P) และ Door/Window (SNZB-04P) ตัวล่าสุด

Sonoff SNZB-04P SNZB-06P review

ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว SONOFF ทยอย refresh ผลิตภัณฑ์ Zigbee รุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ และทาง CNX Software ก็ได้รีวิว Switch/Button (SNZB-02P) ตัว  Temperature / Humidity (SNZB-01P) และ Motion Sensor (SNZB-03P)  ไปเมื่อไม่นานมานี้ และคราวนี้ก็มีเซ็นเซอร์ Zigbee จาก SONOFF เพิ่มมาอีกสองมาถึงมือเรา นั่นคือ Human Presence Sensor (SNZB-06P) และ Door/Window Sensor (SNZB-04P) หลังจากที่ทดลองใช้มาสักพักใหญ่ๆ โดยรวมวัสดุที่ทำ รูปลักษณ์ มันก็ดูดีขึ้นกว่ารุ่นเดิม และความเสถียรก็ดีกว่ารุ่นก่อนหน้านี้เยอะทีเดียวโดยเฉพาะ Door/Window Sensor ส่วน Human Presence Sensor ก็เป็นรุ่นแรก ใช้ได้ดีทีเดีนส ไม่ได้ขี้เหร่เลยถ้าเทียบจากราคาและคุณสมบัติที่ให้มา มาดูกันเลยครับ Door/Window Sensor (SNZB-04P)  มาแกะกล่องดูกัน ชัดเจนว่ารูปลักษณ์มนกลมข […]

การสร้างแอพ Android/iOS คำนวณเกรดในเว็บไซต์ Thunkable

การสร้างแอปคำนวณเกรด Thunkable

Thunkable คืออะไร เป็นเว็บไซต์ที่สร้างหรือผลิตแอพพลิเคชั่นใช้ได้ทั้ง Android และ iOS สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต สามารถใช้งานได้ทั้งในเว็บไซต์ Thunkable และแอพพลิเคชั่น Thunkable โดยการเขียนโปรแกรมที่ใช้ Blocks ในการลากต่อกันเพื่อเขียนคำสั่งควบคุม เหมือนกับการต่อจิ๊กซอร์ ในวันนี้เราจะมาลองใช้ Thunkable ในการทำแอพคำนวณเกรด Thunkable มีการทำงานอย่างไร เมื่อเข้าสู่เว็ป Thunkable ผู้ใช้ใหม่ให้กดที่ Get start จะเข้าสู่การเข้าสู่ระบบ หรือการสร้างบัญชีใหม่ เมื่อเราจะสร้างโปรเจคใหม่ให้กดไปที่ Create New Project การสร้างแอปพลิเคชั่นคำนวณเกรด เมื่อเรากด Create New Project เว็บไซต์ จะให้กรอกชื่อโปรเจค ประเภท และติ๊กถูกด้านล่างเราจะไม่ติ๊ก เราจะทำการดึงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างแอพพลิเคชั่น จะมี 3 […]

รีวิว: SunFounder GalaxyRVR หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารเพื่อการศึกษา

SunFounder GalaxyRVR

ชุดหุ่นยนต์จากบริษัท SunFounder มีชื่อเรียกว่า GalaxyRVR เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบให้เลียนแบบหุ่นยนต์สำรวจดาวเคราะห์ต่างๆ ของ NASA มาเป็นชุดหุ่นยนต์เพื่อเรียนรู้การเขียนโปรแกรมสำหรับผู้ที่สนใจหรือนักเรียนในห้องเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยี ในชุดหุ่นยนต์ GalaxyRVR มาพร้อมกับโมดูลกล้องความละเอียดสูงส่งสัญญาณผ่านเครือข่าย WiFi สามารถทำให้เหมือนกับการสำรวจดาวเคราะห์จริงผ่านหน้าจอ มีโมดูลการหลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยโมดูล Ultrasonic  มีเซอร์โวมอเตอร์ในการปรับยก-ลง ของกล้องหน้าได้ มีระบบหมุนเวียนพลังงานด้วยแผงโซล่าเซลล์อีกด้วย หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารของ NASA ในปัจจุบัน NASA ใช้หุ่นยนต์ Perseverance หรือที่รู้จักกันในชื่อ Percy เป็นหุ่นยนต์สำรวจดาวเคราะห์รุ่นล่าสุดที่มาถึงดาวอังคาร ได้รับการออกแบบมาเพื่อสำรวจปล่องภูเขาไฟ Jezero ซึ่ง […]