Motorola Defy Satellite Link รองรับการสื่อสารผ่านดาวเทียม 2 ทางบนสมาร์ทโฟน ด้วยเทคโนโลยี 3GPP NTN

Motorola Defy Satellite Link

Motorola Defy Satellite Link เป็นอุปกรณ์ Bluetooth ที่รองรับการสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบสองทาง (Two-way) ใช้กับสมาร์ทโฟนเครื่องใดก็ได้ในราคาที่จับต้องได้ ด้วยเทคโนโลยี 3GPP NTN (Non-Terrestrial Network) ล่าสุดได้นำมาใช้ใน MediaTek MT6825 ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม Bullitt Satellite Connect โทรศัพท์ดาวเทียมและฮอตสปอตมีมานานหลายปีผ่านผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น Iridium Go! Satellite Wi-Fi hotspot ที่มีราคาสูงกว่า $1,000(~35,000฿) และไม่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้จำนวนมาก มีบริษัทผู้ผลิตชิป (silicon vendors) และโทรศัพท์มือถือได้เริ่มเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อดาวเทียมแบบสองทางที่มีราคาเหมาะสมให้กับสมาร์ทโฟน เช่น โครงการ Snapdragon Satellite ที่ใช้เทคโนโลยี Iridium ในปัจจุบัน และมีแผนที่จะรองรับ 5G NTN ในอนาคต คุณสมบัติและข้อมูลจ […]

ออสซิลโลสโคป DSO-500K ใช้บอร์ด Raspberry Pi Pico W

Scoopy Android oscilloscope app

FHDM TECH DSO-500K เป็นอุปกรณ์เครื่องมือวัดและทดสอบสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ประเภท ออสซิลโลสโคป (oscilloscope) WiFi มี Sample Rate 500kS/s แบบ 2-channel ที่ใช้บอร์ด Raspberry Pi Pico W และสามารถทำงานผ่าน USB ได้ โดยมี analog bandwidth สูงสุดถึง 150kHz ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นบอร์ด Raspberry Pi Pico ที่ใช้เป็น Logic Analyzer ดังนั้นไม่น่าแปลกใจเมื่อมีคนสร้างออสซิลโลสโคป ที่ใช้ Raspberry Pi Pico W เพื่อให้สามารถแสดงผลบน Android ได้ผ่าน WiFi หรือ USB สเปคและคุณสมบัติของ DSO-500K (ผ่านแอป Scoppy): บอร์ด MCU – บอร์ด Raspberry Pi Pico W พร้อมชิป RP2040 dual-core Cortex-M0+, SPI flash 2MB, การเชื่อมต่อ WiFi 4 และ Bluetooth Sample Rate – Sample Rate สูงถึง 500kS/s(250kS/s เมื่อเปิดใช้งานทั้งสองช่องสัญญาณ) Analog bandwidth […]

Arduino Nano 33 BLE Sense Rev2 เปลี่ยนเซนเซอร์ IMU เป็นชิป BMI270 และ BMM150, เซนเซอร์ HS3003 อุณหภูมิและความชื้น

Arduino Nano 33 BLE Sense Rev2

Arduino Nano 33 BLE Sense Rev2 รุ่นใหม่เป็นการปรับปรุงของ Arduino Nano 33 BLE Sense บอร์ด Machine learning โดยมีฟังก์ชันพื้นฐานเดียวกันแต่มีการเปลี่ยนแปลงเซนเซอร์บางอย่างรวมถึงการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของผู้ใช้งาน การเปลี่ยนแปลงหลักคือ เซนเซอร์ IMU 9 แกนของ STMicro LSM9DS1 ถูกแทนที่ด้วย IMU 2 เซนเซอร์จาก Bosch SensorTech ได้แก่ชิป BMI270 6-axis accelerometer และ gyroscope, และชิป BMM150 3-axis magnetometer, เซนเซอร์อุณหภูมิและความชื้น STMicro HTS221 แทนที่ด้วย Renesas HS3003  และไมโครโฟน MP34DT05 แทนที่ด้วย MP34DT06JTR ชิ้นส่วนเซนเซอร์ที่ถูกแทนที่ทั้งหมดเป็นของ STMicro ดังนั้นจึงค่อนข้างเป็นไปได้ที่การปรับปรุงบอร์ดครั้งที่สองนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาาการจัดหาวัสดุในการผลิต ส […]

SONOFF MINI Extreme (MINIR4) : สวิตช์อัจฉริยะ WiFi ขนาดจิ๋วใช้ ESP32 MCU

SONOFF MINI Extreme 1

SONOFF MINI Extreme (หรือ MINIR4) เป็นสวิตช์อัจฉริยะ WiFi ขนาดจิ๋ว ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32 และออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับโหลด เช่น หลอดไฟและสวิตช์ผนังที่สามารถเป็นสวิตช์ Momentary, สวิตช์ Door exit, สวิตช์ SPDT, สวิตช์แบบ Latching  หรือเซ็นเซอร์สัมผัส ด้วยรูปทรงขนาดจิ๋ว (39.5×33 x16.8 มม.) ทำให้สวิตช์อัจฉริยะ WiFi สามารถใส่ลงในบล็อคไฟต่างๆ ได้ รวมถึงบล็อคไฟขนาดเล็กของยุโรป และเช่นเดียวกับอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในบ้าน SONOFF อื่นๆ MINIR4 สามารถใช้งานกับแอปพลิเคชั่นมือถือ eWelink แต่ยังมีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจ เช่น โหมด ‘Detach Relay’ สเปคของ SONOFF MINI Extreme (MINIR4) : MCU – Espressif Systems ESP32 dual-core wireless microcontroller การเชื่อมต่อ WiFi 4 ความถี่ 2.4 GHz Bluetooth LE ใช้สำหรับจับคู่ อินพุต […]

บอร์ดพัฒนา ใช้ CH32V003 RISC-V MCU ราคา 52฿ พร้อม GCC toolchain และ flasher utility แบบ open source

Cheap CH32V003 RISC V development board

เมื่อเราเขียนครั้งแรกเกี่ยวกับ CH32V003 RISC-V MCU ราคา 10 cents (3.70฿) นั้นมีบอร์ดพัฒนาราคา $7(~240฿) และต้องใช้ MounRiver Studio IDE ที่เป็น closed-source  สำหรับการเขียนโปรแกรม และมีการปรับปรุงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 ตอนนี้คุณสามารถซื้อบอร์ดพัฒนา CH32V003 ได้ในราคาเพียง $1.5 (~52฿) และมี GCC toolchain และ flasher/downloader แบบ open-source ที่สามารถใช้งานได้แล้ว เรามาดูฮาร์ดแวร์กันก่อนด้วยบอร์ดพัฒนา nanoCH32V003 ราคาถูกที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์  CH32V003 RISC-V ความเร็ว 48 MHz พร้อม SRAM 2KB และ Flash 16KB, พอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟ, ปุ่ม Reset และ Headers 2 แถวสำหรับ GPIO สเปคของ MuseLab nano CH32V003: MCU – ไมโครคอนโทรเลอร์ 32 บิต RISC-V2A ชิป WCH CH32V003F4U6 ความเร็วสูงสุด 48 MHz พร้อม SRAM 2KB และ Fla […]

Badger 2040 W : ป้ายชื่อหน้าจอ e-Paper สามารถเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth ที่ใช้ Raspberry Pi Pico W

Badger RP2040 W

Pimoroni Badger 2040 W เป็นป้ายชื่อหน้าจอ e-Paper แบบไร้สายที่สามารถเขียนโปรแกรมได้  มาพร้อมกับจอ E-Ink ขาว-ดำ ขนาด 2.9 นิ้ว และบอร์ด Raspberry Pi Pico W สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi (และ Bluetooth) เป็นการอัปเดตสำหรับ Pimoroni Badger 2040 โดยมีจอที่เหมือนเดิม แต่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi Pico W แทน RP2040 ที่ด้านหลังของบอร์ด ซึ่ง Pimoroni อาจติดตั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการรับรอง FCC และ CE สเปคของ Badger 2040 W: บอร์ด MCU – บอร์ด Raspberry Pi Pico W พร้อม: Raspberry Pi RP2040 dual-core Arm Cortex M0+ ที่ทำงานได้สูงสุด 133Mhz พร้อม SRAM 264kB จัดเก็บข้อมูล – QSPI flash 2MB สื่อสารไร้สาย – 802.11b/g/n WiFi 4 และ Bluetooth Classic+LE พร้อมสายอากาศ ABRACON onboard (Infineon CYW43439 เชื่อมต่อผ่าน SPI) จอแสดงผล […]

Raspberry Pi Debug Probe : อุปกรณ์ SWD bridge สำหรับการพัฒนา Bare Metal ราคา~400฿

Raspberry Pi Debug Probe

Raspberry Pi Debug Probe เป็น USB serial adapter ที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และออกแบบมาเพื่อใช้ในการดีบักกับบอร์ด Raspberry Pi Pico, บอร์ด RP2040 ของบริษัทอื่น และบอร์ด Arm เกือบทุกชนิด โดยใช้การเชื่อมต่อหรืออินเทอร์เฟสผ่าน SWD และ/หรือ UART ความแตกต่างของ Raspberry Pi Debug Probe กับ USB-to-serial adapter ทั่วไปคือการมี Serial Wire Debug (SWD) bridge ที่ใช้สำหรับการพัฒนาและการดีบักโค้ดที่เขียนแบบ Bare Metal ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น OpenOCD สเปคของ Raspberry Pi Debug Probe: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+  ที่ความเร็ว 133 MHz พร้อม SRAM ขนาด 264KB หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล – SPI flash 2MB (W25Q16JVUXIQ) อินเทอร์เฟสดีบัก ช่องเชื่อมต่อ Serial Wire Debug […]

การเปิดตัว Linux 6.2 – กับเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.2 release

Linus Torvalds ได้เปิดตัว Linux 6.2 พร้อมกับการประกาศบน LKML ตามปกติ Linux 6.1 รุ่นก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวเป็น LTS (Long Term Support) kernel พร้อมรองรับภาษาโปรแกรม Rust และ KMSAN kernel memory sanitizer รวมถึงการปรับปรุง Multi-gen LRU (MG-LRU) เพื่อการจัดการ swap file/partition ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย จุดเด่นของลินุกซ์ 6.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.2 ประกอบด้วย: Linux 6.2 มีการปรับปรุงในการแก้ไขช่องโหว่ Retbleed ที่เกิดจาก speculative execution บน x86-64 และ ARM processors ให้เร็วขึ้น และ FineIBT –ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของระบบ แต่ Linux 6.2 ได้พัฒนาวิธีการแก้ไขที่เบากว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้นสำหรับชุดคำสั่ง Skylake-based cores โดยที่การเปิดใช้งาน IBRS จะไม่มีผลกระทบต่ […]