Olimex RVPC เป็นคอมพิวเตอร์ RISC-V ราคา 1 ยูโร(~36฿) ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ WCH CH32V003 RISC-V และมาพร้อมกับพอร์ต VGA สำหรับการแสดงผลวิดีโอ และคอนเนกเตอร์ PS/2 สำหรับเชื่อมต่อคีย์บอร์ด คุณอาจจะไม่สามารถทำอะไรได้มากนักกับอุปกรณ์นี้ในฐานะผู้ใช้งานทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะบอร์ด RVPC ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สนี้มีเป้าหมายหลักที่ตลาดการศึกษา โดยนำเสนอเป็นชุดคิทที่ต้องบัดกรีเอง เพื่อให้ราคาขายต่ำลงและใช้เป็นชุดเรียนรู้การบัดกรีด้วย สเปคของ Olimex RVPC: MCU – WCH CH32V003 ไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V2A 32 บิต สูงสุด 48 MHz พร้อม SRAM 2KB, flash 16KB (แพ็คเกจ SOP8 พร้อม 6x GPIO) เอาท์พุตวิดีโอ – คอนเนกเตอร์ VGA (3x GPIO ใช้สำหรับ Vsync, HSync และ RGB) พอร์ตคีย์บอร์ด – คอนเนกเตอร์ PS/2 (ใช้ 2x GPIO) พอร์ตโปรแ […]
บอร์ด Pimoroni Explorer สำหรับการเรียนรู้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมจอ LCD 2.8 นิ้ว, breadboard sensors และอื่นๆ
บอร์ด Pimoroni Explorer เป็นบอร์ดสำหรับการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 มีหน้าจอ LCD ขนาด 2.8 นิ้ว, ขั้วต่อสำหรับลำโพง, และพอร์ต I/O ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถสร้างวงจร ทดลองโปรเจกต์ และสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด Breadboard ขนาดเล็ก, ปุ่มสัมผัส และขั้วต่อแบบ crocodile clip terminals ทำให้เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ Raspberry Pi Limited เพิ่งเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 พร้อมกับ บอร์ด Raspberry Pi Pico ราคา $5 (~180฿) และเราได้เห็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 มากมาย เช่น Cytron MOTION 2350 Pro, Bus Pirate 5XL และ 6 รวมถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ, Pimoroni Explorer เป็นอีกหนึ่งบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 สเปคขอ […]
Cytron MOTION 2350 Pro – บอร์ด Raspberry Pi RP2350 สำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์
ตามที่กล่าวไว้ในบทความ Raspberry Pi Pico 2 มีบริษัทอื่นที่ได้พัฒนาบอร์ดและใช้ชิป RP2350 อีกหลายบริษัทและหนึ่งในนั้นคือบอร์ด MOTION 2350 Pro จาก Cytron ที่ออกแบบมาสำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์ บอร์ดนี้มาพร้อมกับ DC motor driver สำหรับขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 4 ตัวเป็นแบบ brushed โดยมีช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 3.6V ถึง 16V นอกจากนี้ยังมีพอร์ตเซอร์โว 5V จำนวน 8 พอร์ต, พอร์ต GPIO จำนวน 8 พอร์ต และพอร์ต Maker จำนวน 3 พอร์ตสำหรับโมดูลเซนเซอร์หรือ Actuator โดยขา I/O แต่ละขาจะจับคู่กับ LED ของตัวเอง ซึ่งทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับตลาดการศึกษาและยังช่วยในการดีบักได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 1.1 host สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น RF dongle สำหรับจอยสติ๊กหรือคีย์บอร์ด สเปคของ Cytron MOTION 2350 Pro: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – […]
MechDog หุ่นยนต์สุนัข AI ที่ใช้ ESP32-S3 รองรับการเขียนโปรแกรม Scratch, Python และ Arduino
MechDog ของ Hiwonder เป็นหุ่นยนต์สุนัข AI ขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ ESP32-S3 เป็นตัวควบคุมมีเซอร์โวมอเตอร์ไร้แกนความเร็วสูง 8 ตัว หุ่นยนต์ตัวมีระบบการคำนวน inverse kinematics ในตัวสำหรับการเคลื่อนไหวที่แม่นยำและคล่องตัว และมีพอร์ตสำหรับเซนเซอร์ I2C ต่างๆ เช่น เซนเซอร์อัลตราโซนิกและ IMU หุ่นยนต์ตัวนี้ใช้โครงสร้างเป็นอะลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ทนทานและแบตเตอรี่ลิเธียม 7.4V 1,500mAh ที่สามารถถอดออกได้เพื่อจ่ายพลังงาน MechDog ใช้โมดูล AI Vision ของ ESP32-S3 ซึ่งรองรับการสื่อสารเครือข่ายแบบสองโหมด คือ โหมด AP Hotspot Direct Connection หรือ STA LAN Mode เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหน้าเว็บที่กำหนดผ่านแอปมือถือหรือคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบแบบเรียลไทม์โดยใช้กล้องความละเอียดสูง นอกจากนี้ หุ่นยนต์สุนัขนี้ยังรองรับโมดูลเซนเซอร์ต […]
M5Stamp Fly : โดรน WiFi ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมจอยสติ๊ก และใช้โปรโตคอล ESPNOW สำหรับการสื่อสาร
M5Stamp Fly ของ M5Stack เป็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้โมดูล M5Stamp S3 WiFi 4 และ BLE IoT ของบริษัทที่ใช้ ESP32-S3 ซึ่งมีมอเตอร์ 4 ตัวและเซนเซอร์หลายตัว และสามารถควบคุมได้ด้วยจอยสติ๊ก M5Atom WiFi joystick controller โดยใช้ชิป ESP32-S3 WiSoC เช่นกัน เมื่อไม่นานมานี้เราได้เห็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้ ESP32 หรือ ESP8266 เช่นโดรน DIY ที่ใช้ ESP32 และโดรน PiWings 2.0 แต่ M5Stamp Fly เหนือกว่า โดยมีเซนเซอร์ทั้งหมด 6 ตัว ซึ่งได้แก่ Barometer (วัดความดันบรรยากาศ), เซ็นเซอร์วัดระยะทางแบบ time-of-flight 2 ตัว, 6-axis IMU, 3-axis magnetometer และเซนเซอร์ล็อคตำแหน่ง (optical flow sensor) นอกจากนี้ยังมีพอร์ต Grove 2 พอร์ตสำหรับเซนเซอร์หรือโมดูลเพิ่มเติม สเปคของ M5Stamp Fly (K138) : ตัวควบคุมหลัก – โมดูล M5Stamp S3 WiSoC – Es […]
Adeept Robot HAT สำหรับ Raspberry Pi ออกแบบมาสำหรับโครงการ DIY และการเรียนรู้
Adeept Robot HAT V3.0 เป็น HAT สำหรับขับมอเตอร์และเซนเซอร์ที่รองรับ Raspberry Pi 5, Pi 4 และ Pi 3 โดยบอร์ดนี้มีพอร์ตหลายตัวที่ให้การเข้าถึงตัวควบคุมเซนเซอร์และมอเตอร์ รวมถึงพอร์ตเซอร์โวมอเตอร์ 16 ตัว, เซนเซอร์ติดตามเส้นสามช่อง, เซนเซอร์ Ultrasoni, ตัวรับสัญญาณ IR, WS2812 RGB LEDs และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีตัวชาร์จแบตเตอรี่ 8.4V ในตัวพร้อมพอร์ต Type-C สำหรับการชาร์จ ฟีเจอร์ทั้งหมดนี้ทำให้การสร้างโครงการหุ่นยนต์ DIY และรถยนต์อัจฉริยะด้วย HAT นี้เป็นเรื่องง่าย ก่อนหน้านี้เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับชุดหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ เช่น Arduino Alvik หุ่นยนต์สามล้อออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้ด้าน STEAM, XGO-Rider หุ่นยนต์ 2 ล้อ สามารถปรับสมดุลตัวเองได้, หุ่นยนต์ UGV Rover ของ Waveshare หุ่นยนต์ 6 ล้อสำหรับการเรียนรู้ด้าน AI และอ […]
High Torque Robotics Mini π : หุ่นยนต์สองขาที่ใช้บอร์ด Orange Pi 5 SBC
Mini π ของ High Torque Robotics เป็นหุ่นยนต์สองขา (Bipedal robot) สูง 54 ซม. สามารถเดินและเต้นได้โดยใช้ขาสองข้าง และใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของบอร์ด Orange Pi 5 SBC เช่น AI accelerator 6 TOPS ในโปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S หุ่นยนต์นี้มีอิสระในการเคลื่อนไหว 12 องศา (DOF) และสามารถวิ่ง กระโดด และแม้กระทั่งตีลังกาได้ด้วยมอเตอร์ข้อต่อ 12 ตัวที่บริษัทพัฒนาขึ้น Mini π ถูกออกแบบมาเพื่อการวิจัยอัลกอริทึมการเคลื่อนไหวและการศึกษา และรองรับอัลกอริทึมการควบคุมการเคลื่อนไหว ZMP (Zero Moment Point), MPC (Model Predictive Control), reinforcement learning locomotion control และฟีเจอร์ ROS SLAM navigation คุณสมบัติเด่นของหุ่นยนต์สองขา Mini π: บอร์ด SBC – คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว Orange Pi 5 RK3588S ตัวควบคุม – “high-performance u […]
รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic
หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้ Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และกา […]