TermDriver 2 : อะแดปเตอร์ USB-to-Serial พร้อมหน้าจอสีในตัว

TermDriver 2 USB-to-seriall debug board display

บอร์ด USB-to-Serial สำหรับการดีบักมักใช้ในขั้นตอนการเปิดใช้งานบอร์ด, ตรวจหาปัญหาเมื่อบอร์ดไม่สามารถบูตได้, หรือเข้าถึง serial console ในระบบที่ไม่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือวิดีโอเอาต์พุต โดยทั่วไปแค่ต่อสาย GND, Tx, Rx เข้ากับบอร์ดเป้าหมาย และต่อสาย USB กับคอมพิวเตอร์ จากนั้นเปิดโปรแกรมเทอร์มินัลอย่าง Putty, Minicom หรือ Bootterm ด้วยพารามิเตอร์ที่ถูกต้องก็จะสามารถใช้งานได้ แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ง่ายเสมอไป เช่น สาย Tx กับ Rx อาจสลับกัน หรือค่า baudrate ไม่ได้ระบุไว้, Excamera Labs จึงได้ออกแบบ TermDriver 2 อะแดปเตอร์ USB-to-Serial รุ่นใหม่ที่มีหน้าจอสีในตัวเพื่อให้การดีบักง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานแบบสแตนด์อโลน โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์, แสดงผลข้อมูลจาก serial console ได้โดยตรงบนหน้าจอขนาดเล็ก สเปคขอ […]

Embedr IDE มาพร้อม AI ที่ใช้ Google Gemini ช่วยเขียนโค้ด Arduino อัตโนมัติ

Embedr AI Arduino IDE

Embedr คือ IDE ที่ใช้ AI ช่วยพัฒนาโปรแกรม Arduino ซึ่งออกแบบมาให้ใช้งานง่ายสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่รองรับ Arduino รูปแบบหน้าตาจะคล้ายกับโปรแกรมแก้ไขโค้ด Cursor และใช้ Microsoft’s Monaco Editor รวมถึง Arduino CLI tools เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การแนะนำโค้ดอย่างชาญฉลาด การสร้างโครงร่างโปรเจกต์อัตโนมัติ และการดีบักแบบภาพ (visual debugging) Embedr มีฟีเจอร์ของ Arduino ครบถ้วนเหมือนที่คุณคุ้นเคย และนอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มโมเดลภาษาใหญ่ (LLMs) ตัวอื่น ๆ เพียงแค่ติดตั้งปลั๊กอินที่ต้องการและเชื่อมต่อผ่าน API key เพื่อทดลองใช้งาน เราเคยเห็น Arduino เปิดตัว Arduino Cloud Editor ที่ใช้โมเดล Claude ซึ่งรันบนเบราว์เซอร์เพื่อช่วยเขียนโค้ดแบบมีบริบท (context-aware) แต่ปัญหาคือถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ต จะไม่สามารถใช้ IDE นั้น […]

SATURN NITRO – บอร์ดพัฒนาที่ใช้ Microchip PIC32MK ในฟอร์มเฟคเตอร์ Arduino Nano

PIC32MK development board

แม้ว่า Microchip จะเปิดตัว ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PIC32 และมี Evaluation kits ออกมา แต่เราไม่ค่อยเห็นบอร์ดพัฒนา PIC32 จากผู้ผลิตรายอื่นมากนัก แต่ SATURN NITRO เป็นข้อยกเว้นบอร์ดพัฒนานี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Arduino Nano และมาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC32MK แบบ 32 บิตที่ใช้สถาปัตยกรรม MIPS ทำงานที่ความเร็ว 120 MHz ออกแบบมาสำหรับการควบคุมทั่วไปและมอเตอร์ โดยมี SRAM ขนาด 256KB, Flash ขนาด 1024KB และ EEPROM ขนาด 4KB บอร์ดนี้ได้รับการออกแบบให้คล้ายกับ Arduino Nano อย่างเป็นทางการ และสามารถมองว่าเป็นเวอร์ชันที่อัปเกรดขึ้น ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ทรงพลังยิ่งกว่า ให้ประสิทธิภาพ 198 DMIPS เมื่อเทียบกับ Microchip ATmega328P ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ 8 บิตที่ทำงานที่ 16 MHz และมีเพียง SRAM 2KB , Flash 32KB , EEPROM 1 […]

บอร์ดพัฒนา Adafruit Metro RP2350 ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ของ Arduino UNO และรองรับเอาต์พุต HSTX DVI

Adafruit Metro RP2350 dev board

Adafruit Metro RP2350 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 และมีรูปแบบฟอร์มแฟคเตอร์ที่คล้ายกับ Arduino UNO เพื่อความเข้ากันได้กับ Arduino Shields ที่มีอยู่ คุณสมบัติเด่น ได้แก่ GPIO จำนวน 37 ขา, สล็อต microSD, ตัวแปลงแรงดันไฟฟ้า 5V แบบ buck converter (รองรับอินพุต 6–17V), ไฟ RGB NeoPixel บนบอร์ด, พอร์ต Stemma QT สำหรับอุปกรณ์ I2C, พอร์ต HSTX 22 ขาสำหรับเอาต์พุตวิดีโอ DVI และพอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟและรับส่งข้อมูล นอกจากนี้ยังมีพอร์ตดีบัก Pico Probe, สวิตช์ RX/TX สำหรับความยืดหยุ่นของ UART และ UF2 bootloader สำหรับอัปเดตเฟิร์มแวร์ได้ง่าย บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานด้าน IoT, การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว, การสร้างต้นแบบฮาร์ดแวร์ และการศึกษา สเปคของ Adafruit Metro RP2350 SoC –  Raspberry Pi RP2350 ซีพียู D […]

CPico RP2350 บอร์ดทางเลือก Raspberry Pi Pico 2 มาพร้อมพอร์ต USB-C, flash 8MB, PSRAM 2MB, พอร์ต BConnect สำหรับ I2C และดีบัก

iLabs CPico RP2350

iLabs CPico RP2350 เป็นบอร์ดทางเลือกของ Raspberry Pi Pico 2 ที่มีขนาดและรูปทรงเหมือนกัน ยังคงใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 แต่ได้รับการปรับปรุงด้วยพอร์ต USB-C, หน่วยความจำแฟลช 8MB, PSRAM 2MB, ปุ่มรีเซ็ต, และพอร์ต BConnect สำหรับ I2C และดีบัก CPico RP2350 ยังคงคุณสมบัติอื่น ๆ ของ Raspberry Pi Pico 2 เช่น PGIO header แบบ 20 พินสองแถว และปุ่ม BOOT นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในทางเลือกของ Raspberry Pi Pico 2 เช่นเดียวกับ Waveshare RP2350-Plus ที่เพิ่มการรองรับแบตเตอรี่ สเปคของ CPico RP2350: SoC – Raspberry Pi RP2350 CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150MHz พร้อม Arm TrustZone, Secure boot หรือ Dual-core 32-bit Hazard3 RISC-V @ 150MHz สามารถใช้งานคู่กันได้สูงสุด 2 คอร์ แต่จะไม่สามารถทำงานได้พร้อมกัน หน่วยความจำ – […]

เครื่องทดสอบพอร์ต USB-C และ Lightning พร้อมแสดงแรงดันไฟฟ้าของแต่ละพินบนหน้าจอ LCD

VBEST Lightning port tester USB-C Tail insert detector

Tail Insert Detector ของ VBEST เป็นเครื่องทดสอบสาย/อุปกรณ์ USB-C และ Lightning ที่สามารถแสดงข้อมูล “แบบเรียลไทม์” ของกระแสไฟและแรงดันไฟฟ้าของแต่ละพินบนหน้าจอในตัว ช่วยให้การดีบักและทดสอบเป็นเรื่องง่ายขึ้น จุดเด่นและสเปคของเครื่อง VBEST Tail Insert Detector: ความเข้ากันได้ของพอร์ต – พอร์ต USB Type-C แบบ male และ Lightning แบบ male จอแสดงผล – หน้าจอสี LCD คุณสมบัติ – ตรวจจับกระแสไฟและแรงดันไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ อื่นๆ – สวิตช์กดสำหรับเปิด/ปิดพลังงานและเปลี่ยนโหมดการแสดงผล พลังงาน 5V ผ่านพอร์ต USB-C แบบ female (ด้านข้าง) แบตเตอรี่ในตัว ขนาด – ประมาณ 52 x 35 x 14 มม. น่าเสียดายที่ไม่มีเอกสารคู่มือมากนัก ทำให้ไม่ชัดเจนว่ามีโหมดการแสดงผลกี่แบบ นอกจากนี้ยังมีความสับสนเกี่ยวกับการรายงานแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟแบบ “ […]

เฟิร์มแวร์ CapibaraZero ช่วยสร้างอุุปกรณ์ทางเลือก Flipper Zero ต้นทุนต่ำใช้กับฮาร์ดแวร์ ESP32-S3

CapibaraZero ESP32 S3 Flipper Zero alternative

CapibaraZero เป็นเฟิร์มแวร์โอเพ่นซอร์สที่เป็นทางเลือก Flipper Zero ต้นทุนต่ำโดยใช้กับแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่ใช้ ESP32-S3 และในอนาคตยังรองรับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32 โดยเฉพาะ LilyGO T-Embed CC1101 ซึ่งคล้ายกับรุ่นเดิม T-Embed ที่ใช้ ESP32-S3 WiSoC แต่ยังมีไมโครคอนโทรลเลอร์ Texas Instruments CC1101 Sub-GHz และโมดูล NXP PN532 NFC/RFID ด้วย Flipper Zero เป็นอุปกรณ์มัลติทูล (multitool) แบบพกพาที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้ทดสอบระบบความปลอดภัย (pentesters) และ hardware hackers โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย STMicro STM32WB55 ที่รองรับ Bluetooth 5 LE และ 802.15.4 รวมถึงไมโครคอนโทรลเลอร์ TI CC1101 Sub-GHz อย่างไรก็ตาม Flipper Zero เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เช่น ข้อเสนอให้แบนในแคนาดาเมื่อปีที่แล […]

Olimex USB-SERIAL-L : บอร์ด USB-to-serial สำหรับดีบัก พร้อมขา CTS/RTS และสามารถปรับแรงดันไฟ 0.65V ถึง 5.5V

Olimex USB-SERIAL-L

Olimex USB-SERIAL-L เป็นบอร์ด USB-to-serial แบบ open-source hardware ที่มีความสามารถเหนือกว่าบอร์ดดีบักทั่วไปในตลาด ด้วยฟีเจอร์ที่ไม่เพียงแค่รองรับขา Tx/Rx เท่านั้น แต่ยังมีขา CTS/RTS, รองรับอัตรา baud rate สูงสุด 3 Mbps และสามารถปรับแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 0.65V ถึง 5.5V เพื่อใช้งานกับบอร์ดหลากหลายประเภท สเปคของ Olimex USB-SERIAL-L: ชิป USB-to-serial – Silicon Labs CP2102N ขาสัญญาณ 7 เส้น – +5V, GND, CTS, RTS, TX, RX, Vref อัตรา Baud rate ตั้งแต่ 50bps ถึง 3Mbps Output buffers ปรับระดับแรงดันได้ตั้งแต่ 0.65V ถึง 5.5V USB – พอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟและเชื่อมต่อกับโฮสต์ อื่นๆ – ไฟ LED แสดงสถานะ Power, Tx และ Rx แหล่งจ่ายไฟ อินพุต – 5V ผ่านพอร์ต USB-C เอาท์พุต – +5V ไปยังอุปกรณ์เป้าหมาย ขนาด – 35 x 35 x 8 มม. ( […]