NBIOT/LTE-M Air Monitor : อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศที่ใช้โซล่าเซลล์ โดยใช้ ESP32-S3 พร้อมเซนเซอร์หลายตัว

nbiotlte m air monitor air temperaturehumiditylight co2 2 1200

NBIOT/LTE-M Air Monitor เป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจวัดสภาพอากาศใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยใช้โมดูล ESP32-S3 และ SIM7080G สำหรับตรวจสอบสภาพแวดล้อมจากระยะไกล อุปกรณ์นี้ตรวจสอบและส่งพารามิเตอร์ทางสิ่งแวดล้อม เช่นวัดค่าอุณหภูมิ, ความชื้น, CO2, TVOC และความเข้มของแสง โดยใช้เทคโนโลยี low-power wide-area network (LPWAN) ทำให้เครือข่ายเชื่อมต่อในระยะทางไกลได้โดยใช้พลังงานต่ำ มีประสิทธิภาพ และการส่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศที่คล้ายกัน เช่น Airlytix ES1, Sonoff SC WiFi, V-Air Monitro และอุปกรณ์ เช่น Arduino MKR IoT Carrier Rev2 ,  Radair mini gateway และ Nicla Sense ME  ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานตรวจสอบสภาพแวดล้อม สเปคของ NBIOT/LTE-M Air Monitor โมดูลไร้สาย – ESP32-S3-WROOM-1-N16 […]

M5Stamp Fly : โดรน WiFi ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมจอยสติ๊ก และใช้โปรโตคอล ESPNOW สำหรับการสื่อสาร

M5Stamp Fly ESP32 Drone

M5Stamp Fly ของ M5Stack เป็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้โมดูล M5Stamp S3 WiFi 4 และ BLE IoT ของบริษัทที่ใช้ ESP32-S3 ซึ่งมีมอเตอร์ 4 ตัวและเซนเซอร์หลายตัว และสามารถควบคุมได้ด้วยจอยสติ๊ก M5Atom WiFi joystick controller โดยใช้ชิป ESP32-S3 WiSoC เช่นกัน เมื่อไม่นานมานี้เราได้เห็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้ ESP32 หรือ ESP8266 เช่นโดรน DIY ที่ใช้ ESP32 และโดรน PiWings 2.0 แต่ M5Stamp Fly เหนือกว่า โดยมีเซนเซอร์ทั้งหมด 6 ตัว ซึ่งได้แก่ Barometer (วัดความดันบรรยากาศ), เซ็นเซอร์วัดระยะทางแบบ time-of-flight 2 ตัว, 6-axis IMU, 3-axis magnetometer  และเซนเซอร์ล็อคตำแหน่ง (optical flow sensor) นอกจากนี้ยังมีพอร์ต Grove 2 พอร์ตสำหรับเซนเซอร์หรือโมดูลเพิ่มเติม สเปคของ M5Stamp Fly (K138) : ตัวควบคุมหลัก – โมดูล M5Stamp S3 WiSoC – Es […]

Tuya Ivy กระถางดอกไม้อัจฉริยะ เชื่อมต่อผ่าน WiFi พร้อมหน้าจอที่จะแจ้งความต้องของต้นไม้ของคุณ

Tuya Ivy Smart Flower Pot

Tuya Ivy เป็นกระถางดอกไม้อัจฉริยะที่เชื่อมต่อผ่าน WiFi พร้อมหน้าจอที่จะแจ้งความต้องการน้ำของต้นไม้, ความต้องการแสงเพิ่มเติม และแม้กระทั่งความเหงา… กระถางดอกไม้อัจฉริยะ Ivy พัฒนาโดย PlantsIO ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32 ที่เชื่อมต่อกับเซนเซอร์ 7 ตัว เช่นเซนเซอร์วัดแสงและความชื้น และมีหน้าจอเพื่อแสดงอารมณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟ, ช่องเสียบ microSD card สำหรับการจัดเก็บข้อมูล, ปุ่มต่างๆ และ Touch Bar สำหรับการโต้ตอบกับผู้ใช้ สปคของ Tuya Ivy: โมดูลไร้สาย – ESP32-WROVER-E SoC –  ESP32 dual-core LX6 processor ที่ทำงานที่ความถี่ 240 MHz พร้อม RAM ภายใน 520KiB หน่วยความจำ – PSRAM  64 Mbit (ESP PSRAM64H) ที่เก็บข้อมูล – SPI flash 64Mbit (XMC 25QH64CH10) การเชื่อมต่อไร้สาย – WiFi 2.4 […]

Arduino Plug and Make Kit สำหรับผู้เริ่มต้น ประกอบด้วยบอร์ด Arduino UNO R4 WiFi และโมดูล I2C Modulino

Arduino UNO R4 WiFi Modulino nodes

Arduino เพิ่งเปิดตัวชุดคิท “Plug and Make” ที่ออกแบบมาสำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งประกอบด้วยบอร์ด Arduino UNO R4 WiFi, โมดูล Modulino 7 ตัว, ฐาน “Modulino” สำหรับติดตั้ง UNO R4 และโมดูลและมีสายเคเบิล, สเปเซอร์, สกรู และน็อตต่างๆ เมื่อคิดถึงโปรเจกต์ Arduino อาจนึกถึงบอร์ดทดลองหรือแม้แต่การบัดกรี แต่ชุด Arduino Plug and Make ใหม่นี้ไม่ต้องการสิ่งเหล่านั้น ไม่ต้องใช้บอร์ดทดลอง สายจัมเปอร์ หรือการบัดกรี ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อโมดูลกับบอร์ด Arduino ผ่านสาย Qwiic ติดตั้งทุกอย่างอย่างเรียบร้อยบนฐานที่มีมาให้ และทำตามหนึ่งในเจ็ดโครงการที่มีคำแนะนำทีละขั้นตอนที่มาพร้อมกับชุดนี้ได้เลย เนื้อหาชุด Arduino Plug and Make บอร์ด Arduino UNO R4 WiFi 7x โมดูล Modulino I2C Modulino Knob* – ตัวเข้ารหัสสำหรับการปรับค่า Modulino Pixels* – ไ […]

รีวิว Agrosense LoRaWAN sensors และ SenseCAP M2 LoRaWAN indoor gateway

SenseCAP M2 Multi Platform LoRaWAN Indoor Gateway review

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมารีวิวเซ็นเซอร์ในซีรี่ย์ Agrosense ซึ่งเป็นกลุ่มของเซ็นเซอร์ไร้สายที่รับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN ของ MakerFabs ครับ โดยคราวนี้ผมได้รับเซ็นเซอร์สำหรับการวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมมา 4 ชุด และได้รับเกตเวย์ (gateway) สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN มาเพิ่มอีก 1 ชุด ตามรายการด้านล่างนี้ครับ AgroSense LoRaWAN Barometric Pressure Sensor สำหรับการวัดความกดอากาศ (barometric pressure) สามารถวัดค่าได้ในช่วง 300 ถึง 1100 hPa (±0.12 hPa) มีความละเอียด 0.01 hPa AgroSense LoRaWAN Light Intensity Sensor สำหรับการวัดความเข้มแสง (light intensity) ในช่วง 1 ถึง 65535 lx (±1 lx) และความละเอียด ±20% AgroSense LoRaWAN Temperature & Humidity Sensor สำหรับการวัดอุณหภูมิในช่วง -40℃ ถึง 85℃ (±0.2℃ ) และความชื้นในช่วง 0 […]

บอร์ด Infineon CY8CKIT-062S2-AI evaluation kit ที่ใช้ PSoC 6 พร้อมเซนเซอร์, Arduino Header และคอนเนกเตอร์ Pmod

Infineon CY8CKIT-062S2-AI PSoC 6 Edge AI evaluation kit

บอร์ด Infineon CY8CKIT-062S2-AI evaluation kit เป็นแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล PSoC 6 และออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและทดสอบแอปพลิเคชันด้าน Edge AI ได้อย่างง่ายดาย บอร์ดพัฒนานี้มีเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เรดาร์, ไมโครโฟน, เซนเซอร์ Magnetometer, IMU และเซนเซอร์วัดความดันอากาศ ซึ่งทำให้การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องง่าย นอกจากนี้ บอร์ดยังมีการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth และมีขั้วต่อขยายเพิ่มเติมที่สามารถใช้เชื่อมต่อโมดูลและเซ็นเซอร์อื่นๆ คุณสมบัติทั้งหมดนี้ทำให้บอร์ดนี้มีประโยชน์ในการสร้างแอปพลิเคชันที่ใช้ AI ในหลายด้าน เช่น ระบบอัตโนมัติในบ้านอัจฉริยะ, การตรวจสอบอุตสาหกรรม, อุปกรณ์สวมใส่ อุปกรณ์ดูแลสุขภาพ และหุ่นยนต์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับโมดูล AI Edge ที่ใช้พลังงานต่ำที่คล้ […]

รีวิว SONOFF Zigbee Water Leak Sensor (SNZB-05P) เซนเซอร์ตรวจจับน้ำรั่ว พร้อมใช้งานร่วมกับ eWeLink และ Home Assistant

SONOFF Zigbee Water Leak Sensor SNZB 05P review

วันนี้เราจะมารีวิวเซ็นเซอร์ตัวใหม่อีกตัวจาก SONOFF ที่เป็นแบบ Zigbee มันก็คือ Water Leak Sensor (SNZB-05P) ตัวนี้เป็นรุ่นแรกเลยของเซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่วที่ SONOFF มี ที่ผ่านมาเราได้ทำการรีวิวเซ็นเซอร์ Zigbee ตัวอื่นๆแต่เป็นแบบอัพเกรดจากรุ่นก่อนๆ สำหรับสาวก SONOFF น่าจะชอบใจเพราะเซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่วเป็นตัวที่ควรจะมีใน ecosystem ของ SONOFF มาตั้งนานแล้ว ในเมื่อออกมาทีหลังสะขนาดนี้มันก็มีจุดต่างเพิ่มขึ้นมาด้วยคือ มาพร้อมกับสายขยายระยะการตรวจจับ (Extended Detection Cable) และมีขายต่างหากต้องการระยะที่มากขึ้นเกิน 2m ไอ้เจ้าสายนี้ดูแล้วน่าจะทำให้การนำไปใช้งานทำได้หลากหลายมากกว่าแค่เซ็นเซอร์ตรวจจับน้ำรั่ว มาดูกัน! มาแกะกล่อง SONOFF Zigbee Water Leak Sensor (SNZB-05P) ภายในกล่องประกอบไปด้วย ตัวเซ็นเซอร์ สายขยายระยะ […]

รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic

Cytron Maker Uno RP2040 review CircuitPython

หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้  Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และกา […]

Exit mobile version