บอร์ด FLIP_C3 ที่ใช้ ESP32-C3 มาพร้อมอินพุต DC สูงสุด 60V และเฟิร์มแวร์ ESPHome

flip_c3 board ESP32-C3

Voidbox FLIP_C3 เป็นบอร์ดที่เป็น open-source hardware ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C3 WiFi และ BLE ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC สูงสุด 60V มีตัวแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง DC-DC step-down ลดลงเหลือ 5V/2A และพร้อมกับเฟิร์มแวร์ ESPHome เป็นค่าเริ่มต้นสำหรับการใช้งานร่วมกับ Home Assistant บอร์ดนี้มีขั้วต่อแบบสปริงปลดล็อกแบบกด ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้สายไฟแบบลวดเล็กๆหลายๆเส้นเอามาพันกัน (Stranded) แนะนำให้ใช้ ferrules หรือการบัดกรีปลายสาย และสายไฟแบบลวดใหญ่เส้นเดี่ยว (Solid) ในการติดตั้งอุปกรณ์ในระบบ off-grid/พลังงานแบตเตอรี่ได้ โดยรองรับสูงสุดถึง 16s LiFePO4 ที่จ่ายไฟ 48V ผ่านพอร์ตอินพุต 6-60V บนบอร์ด ESP32-C3 ไฟ LED WS2812B บนบอร์ดสามารถใช้เป็น null pixel/level shifter สำหรับสายไฟที่มีพิกเซลที่ตั้งค่าได้ยาวกว่า ESP3 […]

HackBat – อุปกรณ์ DIY open-source hardware ทางเลือกแทน Flipper Zero พร้อม Raspberry Pi RP2040 MCU

HackBat DIY open source pentesting device

HackBat เป็นอุปกรณ์ใช้ทดสอบระบบความปลอดภัย เป็น open-source hardware ที่ออกแบบมาสำหรับแฮกเกอร์และผู้ผลิต และใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040, โมดูล WiFi ESP8266, sub-GHz RF transceiver, NFC, จอ OLED และอื่น ๆ โดยพื้นฐานแล้วเป็นทางเลือกแทนอุปกรณ์แฮกไร้สาย Flipper Zero ยอดนิยม ที่สามารถผลิตและประกอบเองได้ อุปกรณ์ Flipper Zero กำลังจะถูกรัฐบาลแคนาดาเตรียมแบน เนื่องจากเชื่อว่าสิ่งนี้ถูกนำไปใช้เพื่อการโจรกรรมรถยนต์ ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งของ Flipper Zero เช่น M1 เป็นอุปกรณ์มัลติทูล (multitool) ได้รับความสนใจเ แต่อุปกรณ์ที่เป็นแบบ closed-source ก็อาจถูกแบนได้ มีอุปกรณ์ open-source hardware ของ HackBat มีโอกาสที่จะถูกแบนน้อยกว่า แม้ว่าหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องนี้จะต้องกำหนดค่าปรับจำนวนมาก ถ้าถูกนำมาใช้เป็นในท […]

ardEEG shield ใช้งานร่วมกับ Arduino UNO R4 WiFi สำหรับการวัดสัญญาณชีวภาพ

ardEEG Shield Arduino UNO R4

PiEEG ได้เปิดตัว ardEEG shield ที่ออกแบบมาสำหรับ Arduino UNO R4 WiFi และสามารถวัดสัญญาณชีวภาพได้ เช่น ที่ใช้ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การตรวจคลื่นกล้ามเนื้อ (EMG) และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) บริษัท PiEEG นำโดย Ildar Rakhmatulin นักวิจัยประจำที่มหาวิทยาลัย Heriot-Watt ในเมืองเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ เมื่อปีที่แล้วได้เปิดตัว PiEEG shield สำหรับ Raspberry Pi ใช้ในเทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ และตอนนี้บริษัทกำลังได้เปิดตัว ardEEG shield ที่ออกแบบมาสำหรับ Arduino พร้อม 8 ช่อง อิเล็กโทรด (Electrodes) แบบเปียกหรือแห้ง คุณสมบัติและสเปคของ ardEEG shield ADC – Texas Instruments ADS1299 Analog-to-Digital Converter สำหรับวัดสัญญาณชีวภาพ บอร์ดที่รองรับ – Arduino UNO R4 WiFi 8 ช่องสำหรับเชื่อมต่ออิเล็กโทรด (Ele […]

ESParagus Media Center เป็นอุปกรณ์ audio streamer แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ ESP32

Louder ESParagus

Sonocotta ได้มีการเปิดตัวสินค้าในกลุ่ม ESParagus Media Center เป็นอุปกรณ์ audio streamer (อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานเหมือนเครื่องคอมสำหรับเล่นเพลงโดยเฉพาะ) อุปกรณ์นี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้โมดูล ESP32 มี 3 รุ่นได้แก่ ESParagus HiFi MediaLink , Loud ESParagus และ Louder ESParagus อุปกรณ์สามารถจ่ายไฟให้กับระบบลำโพงสเตอริโอรุ่นเก่าที่ไม่มีความสามารถในการสตรีมได้ เป็นโอเพ่นซอร์สโดยสมบูรณ์แบบ มีการใช้พลังงานน้อยเมื่อไม่ได้ใช้งาน และบูตเครื่องได้ภายในไม่กี่วินาที ESParagus Media Center ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้โมดูล ESP32-WROVER พร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth และมีชิป PSRAM ในตัว, ติดตั้งสายอากาศ Wi-Fi ภายนอกและรุ่น Louder ESParagus (รูปภาพด้านบน) ติดตั้งชิป LAN W5500 สำหรับเครือข่าย Ethernet ESParagus […]

บอร์ด IoT ESP32-C3 ที่ใช้แบตเตอรี่ พร้อมเฟิร์มแวร์ ESPHome ใช้งานร่วมกับ Home Assistant

nanocell v2 stack

NanoCell V2.1 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิป Espressif ESP32-C3 SoC (system-on-a-chip) มาพร้อมกับเฟิร์มแวร์ ESPHome ที่โหลดไว้แล้ว สำหรับแอปพลิเคชันที่ใช้พลังงานต่ำและการจัดการแบตเตอรี่ Lithium ที่ปรับปรุงแล้ว บอร์ดพัฒนาเป็นแผงวงจรพิมพ์สีขาวที่มีหน้าสัมผัสเคลือบทองและวงจรไอซีที่ใช้วัดหรือตรวจสอบปริมาณพลังงานที่เหลืออยู่ในแบตเตอรี่ บอร์ดพัฒนาออกแบบโดยห้องทดลองของ Frapais ในประเทศกรีซ ตามชื่อ NanoCell V2.1 เป็นรุ่นล่าสุดใน series ของอุปกรณ์ที่ใช้ ESP32-C3 ซึ่งมีเป้าหมายไปที่แอปพลิเคชันที่ใช้พลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับรุ่นเดิมจะให้การใช้งานที่ดีขึ้นและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน บอร์ดพัฒนารุ่นใหม่มี ตัวแปลง buck-boost converter ที่ช่วยลดการใช้พลังงานในโหมดสแตนด์บายเป็น 66uA (ไม่รวมไปยังกระแสที่ใช้โดยโมดูล ESP32), วงจร […]

บอร์ด Olimex ESP32-POE2 ให้กำลังไฟฟ้าสูงสุด 25W สำหรับแอปพลิเคชันที่ใช้พลังงานมาก

ESP32-POE2

Olimex ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ได้ออกแบบบอร์ด ESP32 ใหม่พร้อมฟังก์ชัน Power over Ethernet (PoE) บอร์ด Olimex ESP32-POE2 เป็นรุ่นพัฒนาจาก ESP32-POE รุ่นเดิมและใช้โมดูลไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-WROOM-32 เหมือนกันกันพร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth แต่ความแตกต่างคือ ESP32-POE2  สามารถรองรับการจ่ายพลังงานได้สูงสุดถึง 25W จากพอร์ต Ethernet ผ่าน PoE และสามารถนำไปใช้ในโครงการที่มีความต้องการพลังงานมาก บอร์ด Olimex ESP32-POE2 มีการออกแบบที่ใช้พลังงานต่ำและใช้พลังงานเพียง 200µA ในโหมด deep sleep,  บอร์ดสามารถจ่ายไฟผ่านแบตเตอรี่ USB-C, Ethernet หรือ Li-Po ได้ อินเทอร์เฟส Ethernet ใช้ชิป TPS2378PW ของ Texas Instruments พร้อมรองรับ IEEE 802.3at และรองรับ PoE แบบเดิม การจ่ายไฟด้วย PoE ต้องใช้ไฟอย่างน้อย 37V DC พื่อให้การทำงานเป็ […]

Open Home Foundation จะเป็นผู้ดูแล Home Assistant, ESPHome, Zigpy สำหรับโครงการสมาร์ทโฮมที่มีมากกว่า 240 โครงการ

Open Home Foundation

มูลนิธิ Open Home Foundation เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรจะเป็นผู้ดูแลจัดการ Home Assistant, ESPHome, Zigpy, Piper และ Improv Wi-Fi รวมถึงมาตรฐาน ไดรเวอร์ และไลบรารี สำหรับการใช้งานโครงการสมาร์ทโฮมที่มีมากกว่า 240 โครงการ โดยมีเป้าหมายเพื่อ Privacy รักษาความเป็นส่วนตัว, Choice สามารถเลือกใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมได้อย่างอิสระ และ Sustainability ส่งเสริมความยั่งยืนสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม องค์กรไม่แสวงผลกำไรนี้เปิดตัวในงาน “State of the Open Home 2024” (สามารถดูวิดีโอที่ท้ายบทความนี้) กับ Nabu Casa บริษัทที่หากำไรเชิงพาณิชย์ที่อยู่เบื้องหลัง Home Assistant ถ่ายโอนโครงการทั้งหมดของบริษัทไปยังองค์กรใหม่ใหม่ และ นอกจากนี้ Open Home Foundation ยังจะช่วยในการพัฒนาโครงการภายนอกที่สำคัญ เช่น Z-Wave JS, WLED, Rhasspy และ […]

Louder Raspberry Pi เครื่องเล่นเสียงภายในบ้านแบบ open-source ที่ใช้ Raspberry Pi Zero และ TI TAS5805M DAC

louder raspberry pi

Louder Raspberry Pi เป็นเครื่องเล่นเสียงภายในบ้านแบบ open-source โดยใช้ Raspberry Pi Zero W หรือ Zero 2 W และ Texas Instruments TAS5805M DAC เป็นแพลตฟอร์มความบันเทิงด้านเสียงที่สร้างโดย Andriy Malyshenko จากบริษัท Sonocotta, เป็น Maker ที่มีความสนใจด้านอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศโปแลนด์ Louder Raspberry Pi ได้รวม Computing Power (พลังการประมวลผล) ของ Raspberry Pi Zero และความสามารถในการประมวลผลเสียง Hi-Fi ของ TI TAS5805M DAC มาไว้ในเคสอะลูมิเนียมขนาดเล็ก อุปกรณ์นี้ให้เอาต์พุตสเตอริโอสูงสุด 25W ต่อช่องสัญญาณ และจ่ายไฟผ่านอะแดปเตอร์ 65W+ USB-C PD3.0, สามารถที่จะจับคู่กับระบบลำโพงขนาดกลางถึงใหญ่ และรองรับทั้ง Wi-Fi และ Ethernet บอร์ด Raspberry Pi เหนือบอร์ด lightweight รุ่นอื่นๆ เนื่องจากความง่ายในการพัฒนาและขนาดของบอ […]

Exit mobile version