T-Pico-2350 ชุดพัฒนาแบบครบวงจรที่มาพร้อมชิป Raspberry Pi RP2350, ESP32-C6, หน้าจอสัมผัสสี 2.33 นิ้ว รองรับการแสดงผลวิดีโอผ่านพอร์ต HDMI

T-Pico-2350

LILYGO T-Pico-2350 หรือที่เรียกอีกชื่อว่า T-Pico2 เป็นชุดพัฒนาแบบปิดครอบสมบูรณ์ ซึ่งใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ร่วมกับชิป ESP32-C6 สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย มาพร้อมหน้าจอสัมผัสสีแบบ capacitive ขนาด 2.33 นิ้ว และพอร์ตเอาต์พุตวิดีโอแบบ HDMI (DVI) การออกแบบนี้เป็นการอัปเดตจากรุ่น T-PicoC3 ที่เปิดตัวในปี 2022 โดยใช้ดีไซน์เคสของ T-Display S3 Pro และชุดพัฒนายังมาพร้อมกับช่องใส่ microSD card, พอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม, ขา GPIO สองแถว, คอนเนคเตอร์ GPIO แบบ FPC ขนาด 13 พิน, คอนเนคเตอร์ Qwiic สำหรับ I2C/UART สองชุด และมีวงจรจัดการพลังงาน (PMU) สำหรับการใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ สเปคของ T-Pico-2350: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm Trustzone, S […]

Microchip SAMA7D65 : ไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้ Cortex-A7 มาในรูปแบบแพ็กเกจ SoC และ SiP ที่ใช้ Cortex-A7 MPU พร้อมแรม DDR3L ในตัวสูงสุด 2Gbit

Microchip SAMA7D65 Cortex-A7 MPU

Microchip เปิดตัว SAMA7D65 MPU, ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบฝังตัวประสิทธิภาพสูงที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm Cortex-A7 ออกแบบมาสำหรับงานด้าน HMI (Human-Machine Interface) และการเชื่อมต่อในแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม ภายในบ้าน การแพทย์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า MPU รุ่นนี้มีให้เลือกทั้งในรูปแบบ System-in-Package (SiP) และ System-on-Chip (SoC) โดยรองรับอินเทอร์เฟซการแสดงผลหลายแบบ เช่น MIPI DSI, LVDS และ 8-bit Serial RGB พร้อมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก 2D GPU สำหรับเร่งการประมวลผลภาพกราฟิก, หน่วยความจำและที่เก็บข้อมูลรองรับทั้ง DDR2/DDR3/DDR3L และ LPDDR2/3 แบบ 16 บิต พร้อมตัวเลือกหน่วยความจำ DDR3 ฝังในตัวขนาด 1 Gbit หรือ 2 Gbit, หน่วยความจำ NAND Flash, eMMC Flash และ SD card ด้านการเชื่อมต่อมี Ethernet แบบ Gigabit สองพอร์ตที่รองรับ […]

แฮ็กสายอากาศเพิ่มระยะสัญญาณของบอร์ด ESP32-C3 USB-C ได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า

ESP32-C3 board antenna hack

มีบอร์ด IoT ขนาดเล็กที่ใช้ชิป ESP32-C3 และมาพร้อมพอร์ต USB-C วางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาด ซึ่งถึงแม้ว่าบอร์ดเหล่านี้จะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่การออกแบบสายอากาศนั้นแตกต่างกัน และถ้าออกแบบมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อระยะของสัญญาณ WiFi และ Bluetooth Peter Neufeld ตัดสินใจดัดแปลงบอร์ด ESP32-C3 ราคาประหยัดตัวหนึ่งด้วยการเพิ่มสายอากาศแบบปรับแต่งเอง และผลลัพธ์ก็คือบอร์ดตัวนั้นสามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า และในบางกรณีก็เกือบถึงสามเท่า บอร์ดขนาดเล็กเหล่านี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงแทบไม่มีพื้นที่รอบ ๆ เสาอากาศเซรามิกที่มักใช้กัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ต่ำลง เพื่อแก้ปัญหานี้ Peter จึงเพิ่มสายอากาศความยาว 31 มม. ที่ทำจากลวดเคลือบเงิน โดยดัดเป็นวงกลมขนาดประมาณ 8 มม. อยู่นอกตัวบอร์ด แ […]

บอร์ด ESP32-P4 ขนาดเท่าบัตรเครดิตพร้อม Ethernet, WiFi 6, พอร์ต USB สี่ช่อง, GPIO header 40 พิน, และคอนเนกเตอร์ MIPI DSI และ CSI

ESP32-P4-Module-DEV-KIT

บอร์ด Waveshare ESP32-P4-Module-DEV-KIT ขนาดเท่าบัตรเครดิตอาจดูเหมือนบอร์ด Raspberry Pi ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux แต่จริง ๆ แล้วใช้โมดูล “ESP32-P4-Module” ซึ่งประกอบด้วย Espressif ESP32-P4 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ความเร็ว 400 MHz, ชิป ESP32-C6 ทำหน้าที่เป็น co-processor” สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi 6 และ Bluetooth 5 พร้อมหน่วยความจำแฟลช SPI NOR ขนาด 16MB ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชัน HMI (Human-Machine Interface) บอร์ดนี้มาพร้อมกับคอนเนกเตอร์ MIPI DSI และ CSI, พอร์ต Ethernet RJ45 ความเร็ว 100Mbps, พอร์ต USB 2.0 จำนวนสี่พอร์ต, GPIO header 40 พิน และอื่น ๆ โดยรวมแล้วบอร์ดนี้มีพอร์ตต่าง ๆ คล้ายกับบอร์ด Raspberry Pi SBC ยกเว้น HDMI แต่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แทนโปรเซสเซอร์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Linux สเปคของ Waveshare E […]

P42 Pico2 M.2 – บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ในรูปแบบ M.2

P42 Pico2 M.2 Raspberry Pi RP2350 board

P42 Pico2 M.2 อาจดูเหมือนโมดูล M.2 แต่จริง ๆ แล้วเป็นบอร์ดพัฒนา Raspberry Pi RP2350 ในรูปแบบ M.2 2230 ที่มีขั้วต่อ (edge connector) ซึ่งรองรับ USB, UART, I2C และขา I/O ควบคุมต่าง ๆ บอร์ดมาพร้อมกับหน่วยความจำ SPI flash ขนาด 2MB และรองรับระดับแรงดันไฟฟ้าตามข้อกำหนดของ M.2 โดยบางอินเทอร์เฟซทำงานที่ 1.8V อินเทอร์เฟซ SWD, +3.3V, GND และขา I/O จำนวน 16 ขาสามารถเข้าถึงได้ผ่านขั้วต่อแบบ castellated นอกจากนี้ยังมีขั้วต่อ QWIIC สำหรับโมดูล I2C แต่ไม่ได้ติดตั้งมาให้ตั้งแต่แรก บอร์ดยังมาพร้อมกับช่องเสียบ microSD ด้านล่าง และปุ่ม Reset กับ BOOT ตามมาตรฐาน สเปคของ P42 Pico M.2: SoC – Raspberry Pi RP2350A CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm Trust zone, Secure boot หรือ Dual-core RISC-V Hazard3 @ 150 MHz สามารถใช้ […]

TinyBeast FPGA – โมดูลที่ใช้ชิป FPGA Microchip PolarFire MPF300T/MPF100T ที่มาในรูปแบบ mini PCIe หรือโมดูลพร้อมบอร์ดฐาน

TineBeast FPGA

TinyBeast FPGA เป็นโมดูลขนาดกะทัดรัดที่ใช้ชิป FPGA Microchip PolarFire MPF100T หรือ MPF300T ซึ่งมีตรรกะสูงสุด 300K logic elements และมาพร้อมอินเทอร์เฟซ PCIe แบบฮาร์ดแวร์ เหมาะสำหรับการใช้งานด้านระบบอัตโนมัติ, การวัดผล และหุ่นยนต์ โมดูลมีให้เลือก 2 รุ่น ได้แก่: TinyBeast FPGA P เป็นโมดูล mini PCIe ออกแบบมาเพื่อการรวมเข้ากับระบบสมองกลฝังตัวและ TinyBeast FPGA S มาพร้อมคอนเนกเตอร์ B2B สำหรับเชื่อมต่อกับบอร์ดฐาน (carrier board) TinyBeast FPGA P สเปคของ TinyBeast FPGA P : FPGA – Microchip PolarFire FPGA TinyBest FPGA P-300 – MPF300T-1FCVG484E FPGA พร้อม 300K Logic Elements (LE), หน่วยความจำฝังตัว 10.6 Mbit RAM, และ 924 DSP blocks TinyBest FPGA P-100 – MPF300T-1FCVG484E FPGA พร้อม 100K LE, หน่วยความจำฝังตัว 5.2 Mbit R […]

NV8600-Nano AI Developer Kit ที่ใช้โมดูล NVIDIA Jetson Orin Nano 8GB, พอร์ต GbE 4 ช่อง และกล้อง Raspberry Pi Camera Module 2

AAEON NVIDIA Jetson Orin Nano Developer Kit Raspberry Pi Camera Modules

AAEON NV8600-Nano AI Developer Kit ที่ใช้ชิป NVIDIA Jetson Orin Nano 8GB ที่มีพลังประมวลผล 67 TOPS มาพร้อมกับบอร์ดฐาน (carrier board) ที่มีพอร์ต Gigabit Ethernet (GbE) จำนวนสี่พอร์ต, กล้อง Raspberry Pi Camera Module 2, ชุดพัดลมระบายความร้อน (ฮีทซิงก์พร้อมพัดลม), และอะแดปเตอร์ไฟ 60W บอร์ดฐาน carrier board ยังติดตั้ง SSD M.2 2280 M-key NVMe ขนาด 256GB, คอนเนคเตอร์ SATA, พอร์ตวิดีโอ HDMI 1.4, คอนเนคเตอร์ MIPI CSI สองช่องที่รองรับ Raspberry Pi Camera Modules, พอร์ต USB 3.2 Gen 2 Type-A จำนวนหกพอร์ต, อินเทอร์เฟซ serial หลายตัว, GPIO header 40 พินที่เข้ากันได้กับ Jetson Orin Nano (Super) developer kit และ M.2 sockets เพิ่มอีกสองช่องสำหรับการขยายเครือข่ายไร้สายหรือโมดูลเซลลูลาร์ สเปค NV8600-Nano AI Developer Kit : โมด […]

WCH CH570/CH572 : ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ RISC-V ราคา 3฿ พร้อมการเชื่อมต่อไร้สาย 2.4GHz, Bluetooth LE 5.0 และ USB 2.0

CH572 development board

Patrick Yang, CTO ของ WCH ได้เปิดตัว CH570 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ใช้สถาปัตยกรรมแบบ RISC-V พร้อมการเชื่อมต่อไร้สาย 2.4GHz และ USB 2.0 (โฮสต์และอุปกรณ์) ซึ่งเป็นการอัปเกรดจาก ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V003 ที่ใช้ RISC-V อเนกประสงค์ที่ได้รับความนิยม โดยเพิ่มฟีเจอร์มากขึ้นในราคาที่เท่าเดิม 10 เซนต์ (~3฿) CH570 มาพร้อมกับหน่วยความจำ SRAM ขนาด 12KB และแฟลช 256KB (เทียบกับ CH32V003 ที่มีเพียง 2KB SRAM และ 16KB แฟลช) รองรับ GPIO ได้สูงสุด 12 พิน, PWM 6 ช่อง, I2C, UART, SPI และโมดูลตรวจจับปุ่มกดแบบ 20 ช่อง นอกจากนี้ยังมี CH572 ที่มีสเปกเดียวกัน แต่เพิ่มการรองรับ Bluetooth LE 5.0 เราเคยเขียนเกี่ยวกับ CH572 RISC-V MCU พร้อม BLE ในปี 2019 แต่คาดว่ารุ่นนั้นอาจถูกยกเลิกไป เพราะใช้ OTP แทนแฟลช และ CH572 รุ่นใหม่ในปี 2025 นี้ถือว่า […]