Dusun DSOM-042R เป็นโมดูลที่ใช้ Rockchip RK3588M สำหรับงานด้าน AIoT ของยานยนต์

Rockchip RK3588M SoM

Dusun DSOM-042R เป็นโมดูล (system-on-module) ที่ใช้ Rockchip RK3588M ชิปประมวลผลของ AI ใช้งานในรถยนต์ พร้อม RAM 8GB และ eMMC flash 128GB สามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 85°C เราพบชิป RK3588M SoC เป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วในบอร์ด Firefly AIO-3588MQ ซึ่งประกอบด้วยโมดูล (system-on-module) และบอร์ดฐาน (carrier board) ที่รองรับกล้องสูงสุด 16 ตัวและจอแสดงผล Full HD สูงสุด 6 จอเพื่อควบคุมระบบ Infotainment ภายในรถยนต์, กระจกมองหลังแบบดิจิตอล, หน้าจอมอนิเตอร์ที่พิงศีรษะด้านหลัง, ระบบ ADAS และอื่นๆ และยังมีผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้ RK3588M เกรดยานยนต์ และ DusunIoT DSOM-042R ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกด้วย สเปคของ Dusun RK3588M SoM: SoC – โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588M octa-core พร้อมด้วย CPU – 4x Cortex-A […]

VIA เปิดตัวโมดูล SMARC SoM, บอร์ด Pico-ITX SBC และ Edge AI embedded system ที่ใช้ MediaTek Genio 700

MediaTek Genio 700 SoM SBC fanless system

VIA Technologies ได้เปิดตัวโซลูชั่น Edge AI ใหม่ 3 รายการที่ใช้ชิปประมวลผล MediaTek Genio 700 Cortex-A78/A55 AI SoC ระดับกลาง ได้แก่ SOM-5000 เป็นโมดูล (SoM) SMARC 2.1.1, คอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) VAB-5000 และ ARTiGO A5000 ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded system) แบบ fanless ทั้งสามแพลตฟอร์มมาพร้อมกับหน่วยความจำ LPDDR4 ขนาด 4GB หรือ 8GB, eMMC flash 16GB, Gigabit Ethernet, อินเตอร์เฟสวิดีโอ และช่องเชื่อมต่อกล้อง และถูกออกแบบมาสำหรับงาน Edge Computing ในแอปพลิเคชันด้านอุตสาหกรรม พาณิชย์ และผู้บริโภค โมดูล (SoM) VIA SOM-5000 สเปค: SoC – MediaTek Genio 700 (MT8390) CPU – ชิปประมวลผล Octa-core พร้อม 2x Cortex-A78 คอร์ @ สูงสุด 2.2 GHz, 6x Cortex-A55 คอร์ @ สูงสุด 2.0 GHz GPU – GPU Arm Mali-G57 MC3 รองรับ OpenGL ES 1.1/2 […]

Microchip dsPIC33A ตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล 32 บิต ที่ความเร็ว 200 MHz พร้อม Double-Precision FPU

Microchip dsPIC33A series

Microchip Technology Inc. เป็นผู้จัดจำหน่ายชั้นนำของตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล (Digital signal controller หรือ DSC) ได้เปิดตัว dsPIC33A series ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ DSC ประสิทธิภาพสูง ตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัลเหล่านี้ได้รวมความสามารถของตัวประมวลสัญญาณดิจิทัล (DSP) เข้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วงมากมายของไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) dsPIC33A series ใช้สถาปัตยกรรม 32 บิต ที่มีความเร็วการทำงาน 200 MHz ซึ่งเป็นความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่สูงที่สุดในปัจจุบันสำหรับ dsPIC ประกอบด้วย Double-precision floating-point unit (DP FPU) และชุดคำสั่ง DSP สำหรับงานที่ใช้ตัวเลขเข้มข้นในวงปิดจำนวนมาก อัลกอริธึมการควบคุม สถาปัตยกรรม dsPIC33A ให้การควบคุมแบบเรียลไทม์ที่มีประสิทธิภาพสูงและแม่นยำสูงในแอปพลิเคชันต่างๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของ DSC […]

โมดูลที่ใช้ชิป Rockchip RK3576 พร้อมรูแบบ castellated และบอร์ดพัฒนา ที่เชื่อมต่อกล้องแอนะล็อก 12 ตัว

บอร์ดพัฒนา Rockchip RK3576 พร้อมกล้อง 12 analog

Boardcon CM3576 เป็นโมดูล (SoM) ที่ใช้ชิป Rockchip RK3576 มีรูแบบ castellated holes ที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับบอร์ดพัฒนา EM3576 ของบริษัทได้ พร้อมเชื่อมต่อกล้องแอนะล็อก 12 ตัวและอินเทอร์เฟซอื่นๆ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้กล่าวถึงแพลตฟอร์ม Rockchip RK3576 เช่น Firefly ROC-RK3576-PC SBC และ Banana Pi BPI-M5 SBC  และโมดูลอีกตัวหนึ่งคือ Forlinx FET3576-C ที่มีคอนเนกเตอร์ board-to-board 100-pin สี่ตัว Boardcon CM3576 เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เป็นโมดูล SoM ที่สามารถบัดกรีได้ โดยมีขอบข้างที่เป็นรูแบบ castellated โมดูล Boardcon CM3576 สเปค: SoC – Rockchip RK3576 CPU 4x Cortex-A72 cores @ 2.2GHz, 4x Cortex-A53 cores @ 1.8GHz Arm Cortex-M0 MCU ที่ 400MHz GPU – ARM Mali-G52 MC3 GPU รองรับ OpenGL ES 1.1, 2.0 และ 3.2 […]

Ezurio Sona NX611 : โมดูล Wi-Fi 6 ที่ใช้ NXP IW611 สำหรับใช้งาน IoT ในอุตสาหกรรม

Ezurio Sona NX611 Wi Fi 6 module

Ezurio หรือเดิมชื่อ Laird Connectivity ได้เปิดตัว Sona NX611 โมดูล Wi-Fi 6 ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งาน IoT อุตสาหกรรม โมดูลนี้ใช้ชิปเซ็ต NXP IW611 และรองรับ Wi-Fi 6 (802.11ax) และ Bluetooth 5.4 โดยโมดูลนี้ทำงานในย่านความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz สามารถให้ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดถึง 600 Mbps และสามารถทนต่ออุณหภูมิในสภาวะแวดล้อมอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่ -40°C ถึง +85°C Sona NX611 มีหลายรูปแบบ เช่น SiP (System-in-Package), M.2 1216 SMT และ M.2 2230 E-Key แบบปลั๊กอิน โมดูลนี้เข้ากันได้กับโปรเซสเซอร์ NXP และรองรับ software stack การเชื่อมต่อ Linux ของ Ezurio รวมถึงระบบปฏิบัติการ Android โมดูลนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะเริ่มผลิตจำนวนมากในเดือนกันยายน 2024 ซึ่งจะได้รับการรับรองทั่วโลก เช่น FCC, ISED, UKCA, CE และ […]

Quectel LG290P เป็นโมดูล GNSS แบบ quad-band (L1, L2, L5 และ E6) ตัวแรกของโลก

Quectel LG290P Multi constellation and multi Band GNSS module

Quectel LG290P เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง GNSS แบบ quad-band ที่มีความแม่นยำสูงและสามารถทำงานแบบ real-time kinematic (RTK) รองรับระบบดาวเทียม GPS, GLONASS, Galileo, BDS, QZSS, และ NavIC, โมดูล GNSS ทั่วไป เช่น SparkFun GNSS L1/L5 สามารถทำงานร่วมกับหนึ่งหรือสองคลื่นสัญญาณ แต่โมดูล Quectel สามารถทำงานร่วมกับคลื่นสัญญาณทั้ง L1, L2, L5, และ E6 ได้พร้อมกันและมีเทคโนโลยีป้องกันการรบกวนสัญญาณในตัวเพื่อปรับปรุงการรับสัญญาณในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย การออกแบบทั้งหมดนี้ทำให้ชิปนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น หุ่นยนต์อัตโนมัติ, UAVs, เกษตรแม่นยำ, การสำรวจและทำแผนที่, และการขับขี่อัตโนมัติ ก่อนหน้านี้เราได้เขียนเกี่ยวกับ โมดูล GPS ที่มีความแม่นยำสูง เช่น โมดูล SparkFun RTK EVK, โมดูล SparkFun RTK Torch , โมดูล Ca […]

โมดูล Forlinx FET3576-C ที่ใช้ Rockchip RK3576 พร้อมบอร์ดพัฒนา OK3576-C สำหรับแอปพลิเคชันด้าน AIoT

Forlinx FET3576 C SoM and Carrier Board

Forlinx FET3576-C เป็นโมดูล (SoM หรือ System-on-Module) ที่ใช้ Rockchip RK3576 SoC ซึ่งมีคอร์ Arm Cortex-A72 จำนวนสี่คอร์และคอร์ Cortex-A53 อีกสี่คอร์, เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต lithography 22 นาโนเมตร(nm), โมดูลมี RAM LPDDR4 ให้เลือกความจุ 2GB หรือ 4GB และมีที่เก็บข้อมูล eMMC สูงสุด 32GB นอกจากนี้ยังมี NPU ที่มีพลังการประมวลผล 6 TOPS และรองรับอุปกรณ์ต่อพ่วงมาตรฐาน เช่น GbE Ethernet, Wifi, Bluetooth, LVDS, MIPI DSI และอื่นๆ  ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดนี้ทำให้อุปกรณ์นี้เหมาะสมสำหรับการใช้งานด้าน IoT, edge computing, digital signage และแอปพลิเคชันอื่นๆ โมดูล FET3576-C และบอร์ดพัฒนา OK3576-C นั้นดูคล้ายกับโมดูล Forlinx FET3562J-C และบอร์ดบอร์ดฐาน (Carrier board) ที่เราเคยกล่าวถึงเมื่อต้นเดือนนี้ แต่ความแตกต่างหลักระหว่าง […]

รีวิว LattePanda Mu : Compute Module x86 ที่ใช้ซีพียู Intel N100 พร้อมทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04

LattePanda mu ubuntu benchmark review

หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ LattePanda Mu พร้อมอุปกรณ์เสริมไปแล้วบน Windows ซึ่งได้ทดสอบการใช้งาน Lite Carrier Board และ Full-Function Evaluation ไปแล้วในรีวิวแกะกล่องและทดสอบการใช้งานบน Windows นั้น ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบใช้งาน LattePanda Mu บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานเช่นเดียวกันกับบอร์ดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และเนื่องจาก LattePanda Mu เป็นสถาปัตยกรรม X64 ทำให้เราสามารถสร้าง boot disk เพื่อทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ได้เหมือนการติดตั้งทั่วไปเลย โดยหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะมาตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้นกันในหัวข้อด้านล่าง ข้อมูลระบบเบื้องต้น [crayon-67 […]

Exit mobile version