Spark Analyzer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ESP32-C3 เพื่อปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนาและการดีบักในฟังก์ชัน USB-C Power Delivery (UCPD) บอร์ดออกแบบมาแบบเรียบง่าย กะทัดรัด และการจ่ายไฟ (Power Delivery) และการวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ในราคาที่ไม่แพง Spark Analyzer รันบนไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C3FH4 ซึ่งเป็นชิปเซ็ต (SoC) พลังงานต่ำที่มี CPU RISC-V แบบ single-core พร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi 2.4 GHz และ Bluetooth 5 (Low Energy) ในตัว ชิปไร้สายช่วยให้ผู้ใช้ควบคุม Spark Analyzer และตรวจสอบการทำงานของเครื่องได้จากระยะไกล นอกจากนี้ยังรองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ผ่าน Matter อุปกรณ์ช่วยให้ปรับแต่งการส่งพลังงานไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 5V ถึง 20V ขึ้นอยู่กับความต้องการของโปรเจกต์ของคุณ พลังงานถูกส่งไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน termi […]
Microchip เปิดตัว PolarFire SoC Discovery Kit เป็นชุดพัฒนาราคาประหยัด รองรับ Linux และแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์
SoC Discovery Kit เป็นชุดพัฒนาหรือ Development Kit ผลิตภัณฑ์ใหม่รุ่นล่าสุดของ Microchip สำหรับ PolarFire series เป็นรุ่นแรกของตระกูล SoC FPGA ที่ใช้ซีพียู RISC-V มีคุณสมบัติการใช้พลังงานต่ำ, มีประสิทธิภาพการระบายความร้อนเยี่ยม และมีระบบป้องกันที่มีความปลอดภัยในระดับสำหรับระบบเครือข่ายอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังรองรับระบบความจำย่อย L2 แบบ Deterministic ซึ่งรองรับระบบ Linux และแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ เมื่อปี 2020, Microchip ได้เปิดตัวชุดพัฒนา Icicle Kit สำหรับ PolarFire SoC และตามมาด้วย Video and Imaging Kit ซึ่งมีไว้สำหรับแอปพลิเคชันวิดีโอและวิดีโอที่มีแบนด์วิดท์ระดับกลาง ตอนนี้นี้ Microchip ได้ประกาศเปิดตัวชุดพัฒนา Discovery Kit ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีราคาถูกกว่า Icicle Discovery Kit ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จำเป็นสำห […]
อุปกรณ์ M1 – ทางเลือกของ Flipper Zero ที่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32H5 และสามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi
M1 เป็นอุปกรณ์มัลติทูล (multitool) ที่รวมอุปกรณ์แฮกและเจาะระบบหลายรายการในแพ็คเกจที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นเก่า และเป็นทางเลือก Flipper Zero ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicro STM32H5 Cortex-M33 ที่มีประสิทธิภาพสูงและทรงพลังกว่า มีฮาร์ดแวร์ Arm TrustZone ที่เสริมความปลอดภัยสูงสำหรับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญ อุปกรณ์มัลติทูล M1 มีตัวส่งสัญญาณ (transceivers) สำหรับอินฟราเรด, sub- 1 GHz, Bluetooth, NFC, RFID และ Wi-Fi ซึ่งหมายความว่า M1 สามารถแทนที่รีโมทส่วนใหญ่ของคุณและของใช้ที่ใช้ RFID และ NFC (บัตรสมาชิก, นามบัตร บัตรเครดิต และอื่นๆ ) นอกจากนี้ ยังมี 12- pins GPIO ขนาด 3.3V (ทนทานต่อแรงดัน 5V) ซึ่งสามารถใช้เพิ่มฟังก์ชันพิเศษให้กับอุปกรณ์ได้ด้วย สเปคของะ M1: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ […]
Ovrdrive USB เป็น USB flash drive แบบโอเพ่นซอร์สที่เน้นใช้งานส่วนบุคคล สามารถล้างข้อมูลด้วยตัวเองได้
ก่อนหน้านี้เราได้กล่าวถึง Tillitis Tkey ซึ่งเป็น Security key มีการเข้ารหัสความปลอดภัยเป็นแบบโอเพ่นซอร์สในเคส USB-C, แต่ Ovrdrive USB stick ไม่ใช่ Security key เป็นเพียง USB flash drive ทั่วไปที่มีคุณสมบัติความปลอดภัยพิเศษ ถ้าเสียบ flash drive ปกติอาจจะปรากฎความว่างเปล่าจนกว่าจะต้องจะเสียบไดรฟ์นี้เข้ากับพอร์ต USB 3 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็วข้อมูลถึงจะขึ้นมา Ovrdrive flash drive มุ่งเน้นไปที่นักข่าวในพื้นที่ที่มีการจำกัดเสรีภาพและนักวิจัยด้านความปลอดภัย รวมถึงมีประโยชน์ต่อผู้ที่ชื่นชอบในความปลอดภัยและฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สอื่นๆ เกี่ยวกับวิธีการทำงาน Ovrdrive มีวงจร 2 แบบที่เหมือนกันซึ่งเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ ATtiny24A ที่ควบคุมฟังก์ชันในการเสียบแบบรวดเร็ว เมื่อเสียบ Flash drive ไมโครคอนโทรลเลอร์ถูกจะเปิดขึ […]
CERBERUS 2100 – บอร์ดเพื่อเรียนรู้การเขียนโค้ดภาษา BASIC พร้อม CPU 8 บิต Z80 และ 6502
Olimex เปิดตัว CERBERUS 2100 ฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สที่เป็นคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาแบบมัลติโปรเซสเซอร์ 8 บิต พร้อมที่มีทั้ง CPU Z80 และ 6502 รวมถึง Microchip AVR ที่ใช้ที่เป็นตัวควบคุมขา I/O CERBERUS 2100 มี CPLD หลายตัวและสามารถเขียนโปรแกรมได้ตั้งแต่ระดับต่ำสุด (individual gates และ flip-flop) ไปจนถึงตัวแปลงภาษา BASIC ที่ทำงานบน CPU Z80 และ 6502 โดย Olimex ไม่ได้ออกแบบเองแต่ การออกแบบฮาร์ดแวร์มาจาก Bernardo Kastrup (หรือ TheByteAttic) ในขณะที่ตัวแปลงภาษา BASIC ด้วย Alexander Sharikhin (6502) และ Dean Belfield (Z80) สเปค CERBERUS 2100: โปรเซสเซอร์ Zilog Z80 8-bit microprocessor ที่ 4 หรือ 8 MHz (ผู้ใช้สามารถเลือกได้) Western Design Center W65C02S 8-bit microprocessor ที่ 4 หรือ 8 MHz (ผู้ใช้สามารถเลือกได้) “FAT-CA […]
Boondock Echo : วิทยุแฮมที่ใช้ ESP32-A1S devkit สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
Boondock Echo เป็นวิทยุแฮม อุปกรณ์บันทึกและเล่นเสียงหรือรับฟังเสียงแบบโอเพ่นซอร์สที่รองรับอินเทอร์เน็ต สำหรับอุปกรณ์สื่อสารสองทาง สามารถลดเสียงรบกวน ถอดเสียง แปลภาษา และส่งอีเมลเมื่อได้ยินคำสำคัญ/เรียกชื่อได้ เป็นโซลูชันราคาประหยัดสำหรับการสื่อสารทางวิทยุแบบเลื่อนเวลาที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความถี่และบันทึกเสียงจากวิทยุที่เชื่อมต่อได้ เมื่อมีข้อความถูกจับได้ จะถูกอัปโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์และถูกเขียนเป็นข้อความโดยใช้ OpenAI บนเซิร์ฟเวอร์ในคลาวด์ ข้อความเสียงที่ถูกจับยังผ่านอัลกอริทึม DSP (Digital Signal Processing) เพื่อลดเสียงรบกวนและปรับระดับเสียงให้ชัดเจนและใช้งานได้ง่ายขึ้น Boondock Echo เป็นอุปกรณ์ที่มีเป้าหมายเป็นผู้ปฏิบัติงานวิทยุสมัครเล่นและผู้ช่วยเหลือในพื้นที่ห่างไกลและในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นสถานการ […]
Wiser อุปกรณ์ wireless-to-serial ช่วยในการดีบักและการเขียนโปรแกรมอุปกรณ์ฝังตัว
WiSer เป็นชุดอุปกรณ์สื่อสาร wireless-to-serial ที่ประกอบด้วย USB dongle (WiSer-USB) และบอร์ด USB TTL debug (WiSer-TTL) ทั้งสองตัวใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S2 ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อไร้สาย P2P ระหว่างคอมพิวเตอร์โฮสต์และบอร์ดการพัฒนาหรือเซ็นเซอร์ได้ การทำงานเหมือนบอร์ด debug USB to TTL ทั่วไป แต่สามารถทำงานผ่าน WiFi และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการดีบักโค้ด, อัปเดตเฟิร์มแวร์. บันทึกข้อมูล หรือถ่ายโอนไฟล์โดยไม่ต้องใช้สาย USB หรือแม้กระทั่งไม่ต้องมีเราเตอร์ WiFi เนื่องจากเชื่อมต่อไปยัง peer-to-peer นอกจากนี้ยังมีประโยชน์เมื่อโฮสต์และอุปกรณ์ทดสอบ (DUT) อยู่ห่างกันมากเกินไป สเปคของ WiSer: Wireless SoC – ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S2 Wi-Fi (และ Bluetooth) USB – 1x พอร์ต USB Type-C ที่ให้พอร์ต serial เสมือนบนโฮสต์และ […]
ไมโครซอฟท์เตรียมจะเปิดซอร์สโค้ด Eclipse ThreadX ระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์ (RTOS)
ไมโครซอฟท์เตรียมจะเปิดซอร์สโค้ด Eclipse ThreadX ระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์ หรือ Real-Time operating system (RTOS) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ฝังตัวใช้งานมากกว่า 12 พันล้านเครื่องทั่วโลกนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 1997 ตัวอย่างเช่น บนโปรเซสเซอร์ Broadcom ที่ใช้ Raspberry Pi SBC ThreadX เป็นระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์ในเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการรับรองความปลอดภัย ซึ่งไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อกิจการ Express Logic ในปี 2019 แล้วนำมาให้บริการกับลูกค้าองค์กรภายใต้ชื่อ Azure RTOS เมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเริ่มกระบวนการเปิดเซอร์สโค้ดทั้งหมดของ Azure RTOS โดยสมบูรณ์ภายใต้ใบอนุญาต MIT และจัดการโดย Eclipse Foundation ดูแลต่อภายใต้ชื่อใหม่ว่า “ Eclipse ThreadX “ โครงการ Eclipse ThreadX ไม่เพียงแต่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ของ RTOS เท […]