Seeed Studio เปิดตัว Sensor Kit ที่ใช้ ESP32-C6 และ mmWave 60GHz สำหรับตรวจจับคนล้มและการหายใจ/การเต้นของหัวใจ

mmWave human fall detection and heartbeat sensor

เราเคยได้รีวิว โมดูล MR60FDA1 60GHz mmWave Sensor เป็นเซนเซอร์ตรวจจับสถานะคนล้ม ซึ่งใช้โมดูล XIAO ESP32C3 เป็นตัวประมวลผลหลักพร้อมการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแอปพลิเคชัน IoT ได้หลากหลาย และตอนนี้ Seeed Studio ได้เปิดตัวโมดูล mmWave Sensor ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นสำหรับสำหรับการตรวจจับคนล้มและการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ โดยโมดูล MR60FDA2 ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการตรวจจับสถานะคนล้ม ในขณะที่ โมดูล MR60BHA2 ถูกออกแบบมาเพื่อการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉพาะ โมดูลทั้งสองใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C6 รองรับ WiFi 6 และ Bluetooth LE ให้การตรวจจับที่เชื่อถือได้สำหรับการตรวจสอบคนล้มแบบเรียลไทม์และการติดตามการเต้นของหัวใจอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับไฟ RGB LED ที่ปรับแต่งได้แล […]

บอร์ดพัฒนา Cocket Nova CH552 ที่ใช้ CH552G ไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต 8051 core ราคา 200฿

Cocket Nova CH552 dev board

Cocket Nova CH552 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ราคาถูกและใช้งานได้หลากหลาย ที่ใช้ CH552G เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต 8051 core รุ่นที่ได้รับการปรับปรุงและทำงานที่ความเร็ว 24MHz ออกแบบมาเพื่อผู้เริ่มต้นและผู้ที่ชื่นชอบการพัฒนา บอร์ดนี้มาพร้อมการโปรแกรมที่ง่ายผ่าน USB Type-C มีไฟ LED ในตัว, Neopixel RGB, ปุ่มรีเซ็ตและปุ่มบูต, และคอนเน็กเตอร์ Qwiic/STEMMA QT เพื่อการขยายฟังก์ชันที่ง่าย นอกจากนี้ยังเข้าถึง GPIO ได้ถึง 17 พิน รองรับ PWM, ADC และฟังก์ชันปุ่มสัมผัส ฟีเจอร์เหล่านี้รวมกับต้นทุนต่ำและสามารถนำใช้กับเบรดบอร์ดมาตรฐาน ทำให้บอร์ดพัฒนานี้เหมาะสำหรับการเรียนรู้และการทดลอง เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH552G/T เช่น คีย์บอร์ดที่สามารถโปรแกรมผ่าน Arduino ราคา $10(~300฿). Turing Smart Screen […]

บอร์ด Wiznet W55RP20-EVB-Pico ที่ใช้ชิป W55RP20 SiP โดยรวมคอนโทรลเลอร์ Ethernet W5500 และ MCU RP2040

W55RP20-EVB-PICO evaluation board

Wiznet เปิดตัวบอร์ดพัฒนา W55RP20-EVB-Pico ซึ่งเป็นบอร์ดขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ชิป W55RP20 เป็นประเภท SiP (System-in-a-Package) โดยรวมไอซี 2 วงจรไว้ในแพคเกจเดียวกัน ได้แก่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และคอนโทรลเลอร์ W5500 Ethernet นอกจากนี้ยังมีชิปแฟลชขนาด 2MB สำหรับเก็บเฟิร์มแวร์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนา W5100S-EVB-Pico2 และ W5500-EVB-Pico2 ซึ่งทั้งสองบอร์ดใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 รุ่นใหม่และคอนโทรลเลอร์ Ethernet ภายนอก (W5500 หรือ W5100S) โดยที่ RP2350 มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น หน่วยความจำ One Time Programmable (OTP), การบู๊ตอย่างปลอดภัย (Secure Boot) และเทคโนโลยี Arm TrustZone ทำให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น ในทางกลับกัน W55RP20 ได้รวมคอน […]

Phyx LANA-TNY – บอร์ดพัฒนาที่ใช้ MCU RISC-V WCH CH32V203 สำหรับแอปพลิเคชันแบบฝังตัว

LANA-TNY CH32V203

LANA-TNY เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดที่สร้างโดย Phyx และใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203 RISC-V บอร์ดนี้ได้นำเสนอโซลูชันต้นทุนต่ำสำหรับการพัฒนาระบบสมองฝังตัวและมี USB bootloader ในตัว ซึ่งช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเมอร์ภายนอกเพื่อแฟลชเฟิร์มแวร์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับช่องเชื่อมต่อ USB-C และการออกแบบที่เรียบง่าย โดยมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นสำหรับเริ่มต้นการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว Phyx LANA-TNY ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203G6U6 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ขนาด 32 บิตจาก WCH Electronics สามารถทำงานที่ความเร็วสูงสุด 144MHz พพร้อมรองรับการคูณ/หาร 1 ไซเคิล บอร์ดนี้มีหน่วยความจำ SRAM ขนาด 10KB หน่วยความจำ Flash แบบ single-cycle 32KB และ Flash ภายนอกเพิ่มเติมอีก 224KB สำหรับจัดเก็บโปรแกรมหรือข้อมูล แม้ว่าหน่วยควา […]

Arduino เปิดตัว Power Management Library สำหรับโมดูล Arduino Pro เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

Arduino Portenta C33 Power Management Library Battery Monitoring

Arduino ได้ปล่อย Power Management Library ใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับโมดูล Arduino Pro เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการใช้แบตเตอรี่, ปรับแต่งพารามิเตอร์การชาร์จ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโค้ด Arduino โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดใช้งานโหมด sleep และ standby บนอุปกรณ์ที่รองรับ ปัจจุบันบอร์ด Arduino Portenta H7, Arduino Portenta C33 และโมดูล Nicla Vision รองรับ Power Management Library ใหม่นี้ โดยบริษัทอธิบายว่าบอร์ดบางรุ่นใช้พลังงานน้อยกว่า 100 ไมโครแอมป์ในโหมด deep sleep ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานต่อเนื่องได้หลายเดือนหรือแม้กระทั่งเป็นปีด้วยการชาร์จเพียงครั้งเดียว ดังนั้นการใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ช่วยให้ประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์สวมใส่ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ฟีเจอร์สำคัญของ Power Management Library สำห […]

บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX รองรับการแสดงผลวิดีโอและการเชื่อมต่อหน้าจอ

Adafruit Feather RP2350 with HSTX Port

“Adafruit Feather RP2350 with HSTX port” เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่มีพอร์ตอินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ขนาด 22 พินบนบอร์ด นอกจากนี้บอร์ดยังมีที่ชาร์จ LiPo 200mA+ ในตัว, ไฟ LED RGB, คอนเนกเตอร์ STEMMA QT และพอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม บอร์ดนี้สามารถใช้งานร่วมกับ FeatherWings และรองรับการพัฒนาด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่โปรเจกต์ฝังตัว อุปกรณ์ IoT ไปจนถึงการศึกษาและการสร้างต้นแบบ ก่อนหน้านี้เราเคยกล่าวถึงบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 หลากหลายรุ่น เช่น MOTION 2350 Pro ที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมหุ่นยนต์และมอเตอร์, โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party สำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่จำ […]

STMicro STM32C071 : ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M0+ ได้เพิ่มอินเทอร์เฟส USB FS เน้นการใช้งาน GUI ที่มีต้นทุนต่ำ

STM32C071 development board graphical user interface

STMicro ได้ประกาศการวางจำหน่าย STM32C071 ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M0+ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ STM32C0 series พร้อมหน่วยความจำแบบ Flash 128 KB และ RAM 24 KB เหมาะสำหรับขับจอแสดงผลขนาดเล็ก 320 x 240 ผ่านอินเทอร์เฟซ SPI และสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้งานแบบกราฟิก (GUI) สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยต้นทุนต่ำ ไมโครคอนโทรลเลอร์ยังเพิ่มอินเทอร์เฟสอุปกรณ์ USB FS แบบไม่ต้องใช้คริสตัล, อินเทอร์เฟส SPI และ I2C เพิ่มเติม และ GPIO เพิ่มเติม (สูงสุด 61 ขา) ซึ่งรองรับแรงดันไฟฟ้า 5V ทั้งหมด สำหรับการทดลองใช้งาน (Evaluation) และเริ่มต้นพัฒนาเฟิร์มแวร์อย่างรวดเร็ว STMicro ยังมีบอร์ดพัฒนา NUCLEO-C071RB และบอร์ดขยายหน้าจอ X-NUCLEO-GFX01M2 STM32C071 ไมโครคอนโทรลเลอร์ Cortex-M0+ ราคาถูกสำหรับ GUI ในอุปกรณ์ สเปคของ STM32C071: MCU Core – Arm 32 […]

บอร์ดพัฒนา Raspberry Pi RP2350 พร้อมพอร์ต Ethernet RJ45 ที่ใช้ชิป Ethernet controller ของ WIZNet W5500 หรือ W5100S

Wiznet W5500-EVB-Pico2 and W5100S-EVB-Pico2 Dev boards

WIZnet ได้เปิดตัวบอร์ด Ethernet ใหม่ 2 รุ่นที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 ได้แก่ W5100S-EVB-Pico2 และ W5500-EVB-Pico2 ซึ่งใช้ชิป Ethernet controller ที่แตกต่างกัน โดยบอร์ด W5100S-EVB-Pico2 ระดับ entry-level ใช้ชิป Ethernet controller ของ W5100S ที่มี 4 ซ็อกเก็ตอิสระและหน่วยความจำบัฟเฟอร์ 16 กิโลไบต์ ในขณะที่ W5500-EVB-Pico2 ใช้ชิป Ethernet controller ของ W5500 ซึ่งมี 8 ซ็อกเก็ต หน่วยความจำบัฟเฟอร์ 32 กิโลไบต์ และฟีเจอร์ความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น เช่น หน่วยความจำ OTP, การบูตที่ปลอดภัย (Secure Boot) และเทคโนโลยี Arm TrustZone ซึ่งทำให้ W5500-EVB-Pico2 เหมาะสมกับโครงการที่ต้องการจัดการเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรการความปลอดภัยขั้นสูง หลังจากที่ประกาศเปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 เมื่อไม่นานนี้ เราก็ได้เห็นบอร์ดพัฒนา […]