Akeana เปิดตัว RISC-V core 10 รุ่นสำหรับชิปไมโครคอนโทรลเลอร์จนถึงชิป Data Center

Chip Diagram Akeana 5000

Akeana ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณสามปีที่แล้ว และเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมประกาศผลิตภัณฑ์ซีพียู RISC-V 32 บิตและ 64 บิต และ IP SoC ใหม่ 3 รายการได้แก่ Akeana 100 series สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต, Akeana 1000 series สำหรับซีพียู 64 บิตพร้อม MMU และAkeana 5000 series ที่มีประสิทธิภาพการทำงานแบบเธรดเดียวสูงกว่าและออกแบบมาเหมาะสำหรับการใช้งานในแล็ปท็อป, Data Center และระบบคลาวด์ บริษัทได้เปิดตัว Scalable Coherent Interconnect, Interrupt Controller และ IOMMU IP สำหรับการสร้างระบบ compute subsystems โดยอิงจาก RISC-V cores, รวมถึงคอร์ Vector RISC-V ที่มุ่งเน้น AI และ IP สำหรับ Matrix Computation โดยทีมออกแบบได้รับรายงานว่ามีประสบการณ์การทำงานกับชิปเซิร์ฟเวอร์ ThunderX2 ของ Marvell มาก่อน Akeana 100 Series Akea […]

บอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 กับโมดูล ESP32-C6 WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE

Raspberry Pi RP2350 board ESP32 C6 WiFi module

คุณไม่ต้องรอ Raspberry Pi Pico 2 W เพื่อให้ได้บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มี WiFi และ Bluetooth เพราะมีบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่รวมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350A กับโมดูล ESP32-C6 ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 2.4 GHz WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE บอร์ดนี้ใช้ Adafruit Feather form factor โดยมีรู (Through holes) 28-pin สำหรับ I/O ทำให้สามารถเข้ากันได้กับบอร์ดเสริม FeatherWings มาพร้อมพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และมีคอนเนกเตอร์ JST พร้อมวงจรชาร์จสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ LiPo สเปคของบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5: ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Arm Cortex-M33 processor @ 150MHz Dual-core 32-bit RISC-V processor @ 150MHz สามารถใช้งานได้เพียง 2 […]

โมดูล “RP2350 Stamp” ของ Solder Party ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350A หรือ RP2350B

RP2350 Stamp RP2350 Stamp XL

โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party เป็นรุ่นอัปเดตโมดูล RP2040 Stamp ขนาดจิ๋วของบริษัท ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350A  และยังเปิดตัวโมดูล RP2350 Stamp XL ที่ใช้ RP2350B ที่มีขา GPIO มากขึ้น พร้อมทั้งเปิดตัวบอร์ดฐาน “RP2xxx Stamp Carrier XL” ที่สามารถรองรับโมดูลทั้งสองตัวอีกด้วย โมดูล RP2350 Stamp และ RP2350 Stamp XL RP2350 Stamp ออกแบบ Layout เหมือนกันกับ RP2040 Stamp แต่ใช้ Cortex-M33 cores ที่ทรงพลังกว่า, มีความจุหน่วยความจำมากขึ้น และคุณลักษณะด้านความปลอดภัย ในขณะที่รุ่น XL เพิ่มขา GPIO มากขึ้น, เพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับชิป PSRAM รวมถึงตัวเชื่อมต่อ UART และ SWD ทั้งสองรุ่นมาพร้อมกับ SPI flash ขนาด 16MB สำหรับการจัดเก็บข้อมูล สเปคของโมดูล RP2350 Stamp : ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU – โปรเซส […]

เปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 พร้อมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่ใช้ซีพียู RISC-V หรือ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core

Raspberry Pi Pico 2

Raspberry Pi Pico 2 เป็นบอร์ดพัฒนา MCU ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ใหม่ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งมีคอร์ RISC-V แบบ dual-core หรือ Cortex-M33 แบบ dual-core พร้อม SRAM บนชิปขนาด 520 KB, flash ขนาด 4MB, พอร์ต micro USB สำหรับการจ่ายไฟและโปรแกรม และมีขา GPIO headers เหมือนกับบอร์ด Raspberry Pi Pico ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2040 dual-core Cortex-M0+ พร้อม SRAM ขนาด 264KB RP2350 มีทั้งซีพียู Hazard3 RISC-V  แบบ dual-core ที่เป็น open-source  และ Cortex-M33 แบบ dual-core, แต่สามารถใช้ได้เพียงหนึ่งคลัสเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากการมีคอร์ MCU ที่เร็วขึ้นและ SRAM ที่มีความจุสูงขึ้นแล้ว RP2350 ยังคล้ายกับ RP2040 แต่มี PIO block เพิ่มอีกหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็นสาม ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือความปลอดภัยในตัวเมื่อใช้คอร์ Arm Cortex-M33 ที่มี […]

MyoWare 2.0 Muscle Sensor Wireless Kit ชุดคิทเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)

MyoWare 2.0 Muscle Sensor with ESP32 Arduino board

MyoWare 2.0 Muscle Sensor Wireless Kit เป็นชุดคิทเซนเซอร์ไร้สายตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ที่เข้ากันได้กับ Arduino สามารถตรวจจับและวัดสัญญาณไฟฟ้าที่สร้างขึ้นจากเส้นใยกล้ามเนื้อในร่างกาย ชุดคิท MyoWare 2.0 เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง SparkFun และ Advancer Technologies MyoWare 2.0 เป็นรุ่นปรับปรุงให้เหนือรุ่นเดิมโดยการออกแบบที่กะทัดรัด, คอนเนกเตอร์แบบ snap ที่ไม่ต้องบัดกรี และใช้ชิปเซ็ตที่อัปเกรดเพื่อความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีชิลด์ที่ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ MyoWare 2.0 Muscle, ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ EMG แบบสวมใส่ที่ใช้งานร่วมกับ Arduino ได้ การออกแบบของ Muscle Sensor โดยสามารถติดแผ่นเซนเซอร์และ shield เสริมเข้ากับบอร์ดโดยตรง โดยทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายเดี่ […]

อุปกรณ์ Zigbee Coordinator 1.0 ที่ใช้ชิป CC2652P7 รันเฟิร์มแวร์โอเพ่นซอร์ส ทำงานร่วมกับ Zigbee2MQTT, Home Assistant และ ioBroker

codm zigbee coordinator

cod.m Zigbee Coordinator 1.0 (CZC 1.0) เป็นอุปกรณ์ ZigBee Coordinator แบบไฮบริดที่สามารถใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่านเครือข่าย (Ethernet/Wi-Fi) และ USB ได้ ZigBee Coordinator เวอร์ชัน 1.0 เป็นการอัปเกรดจากเวอร์ชัน 0.2 ที่เปิดตัวในปี 2022, CZC 1.0 โดยแทนที่ชิป Texas Instruments CC2652P2 ด้วยชิป CC2652P7 ที่ทรงพลังมากกว่า และใช้โมดูล ESP32-WROOM-32E แทนชิป USR-K6 และเพิ่มความเข้ากันได้กับ Home Assistant (การรวม ZHA) สามารถสร้างเครือข่าย Zigbee และจับคู่อุปกรณ์ Zigbee ผ่าน Ethernet, WiFi หรือ Serial (USB) มาพร้อมกับชิป Texas Instruments CC2652P7 คล้ายกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ SMLIGHT อุปกรณ์ ZigBee Coordinator ที่สามารถเชื่อมต่อ Ethernet/WiFi/USB และ USB dongles, CZC 1.0 มีสองรุ่น คือ รุ่นที่รองรับ Power over Ethernet และรุ่นที […]

Olimex NEO6502 : คอมพิวเตอร์ย้อนยุค ที่ใ่ช้ W65C02 และ Raspberry Pi RP2040 พร้อมพอร์ต HDMI, USB และอื่นๆ

Olimex Neo6502 Dev Board

Olimex ได้เปิดตัว NEO6502 เป็นคอมพิวเตอร์ย้อนยุค (retro computer) แบบฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์ส ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้และความบันเทิง และยังสามารถใช้สำหรับเล่นเกม Retroได้ บอร์ดนี้มีความเป็นเอกลักษณ์มาก เนื่องจากสร้างขึ้นโดยใช้ MPU 65C02 และ MCU Raspberry Pi Pico RP2040 ในรูปแบบโปรเซสเซอร์คู่ MOS6502 จัดการโปรแกรมจำลอง Apple II, Oric และ Commodore 64 emulators ในขณะที่ RP2040 จัดการกับส่วนอื่น ๆ ทั้งหมดรวมถึงเอาต์พุตวิดีโอ HDMI (DVI) โดยใช้โครงการ PicoDVI เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับชุดคอมพิวเตอร์ย้อนยุคที่คล้ายกัน เช่น CERBERUS 2100, TinyLlama x86, DevTerm with ClockworkPi v3.14, Olimex AgonLight2 และอื่นๆ สเปคของบอร์ด Olimex NEO6502 โปรเซสเซอร์ Western Design Center W65C02S ไมโครโปรเซสเซอร์ 8 บิต @ 6.25 MHz พร้อม […]

Pico Display Base Board : บอร์ดฐานสร้างจอแสดงผล LCD ที่ใช้ Raspberry Pi Pico

Pico Display BaseBoard

Pico Display Base Board เป็นบอร์ดฐานที่แผงวงจรพิมพ์จาก Applying Microcontroller Solutions ที่ให้แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างโปรเจกต์จอแสดงผลที่ใช้ Raspberry Pi Pico เป็นการทำงานร่วมระหว่างบอร์ด Raspberry Pi Pico และหน้าจอ LCD ที่ใช้คอนโทรลเลอร์จอแสดงผล Solomon Systech SSD1963 Pico Display Base Board มี header 40-pin (Display Port) ที่เชื่อมต่อกับ GPIO บน Pico เพื่อให้มีอินเทอร์เฟสแบบขนาน (parallel) 8 บิตสำหรับจอแสดงผลและSPI pins  สำหรับหน้าจอสัมผัสและ SD card ในตัว บอร์ดฐานรองรับจอแสดงผลตั้งแต่ 4.3 นิ้ว ถึง 7 นิ้ว จอแสดงผลที่มีขนาดไม่เกินห้านิ้วสามารถใช้พลังงานโดยตรงจาก Pico, Jumper block บนบอร์ดสามารถใช้เพื่อส่งพลังงานไปยังจอ LCD และเชื่อมต่อชิปแฟลชของจอแสดงผลไปยัง Pico ได้ พอร์ต USB-C บนบอร์ดสามารถให้แหล่งพลังงานท […]