TRACEPaw: ขาหุ่นยนต์ใช้ machine learning พร้อมบอร์ด Arduino Nicla Vision

TRACEPaw

สุนัขหรือแมวไม่ได้เดินบนถนนยางมะตอยเพียงอย่างเดียวมันต้องเดินบนน้ำแข็งหรือทราย โดยใช้การมองเห็นด้วยตาและสัมผัสพื้นด้วยปลายประสาทแล้วปรับตัวตามสภาพ โปรเจค TRACEPaw open-source ซึ่งย่อมาจาก “Terrain Recognition And Contact force Estimation through Sensorized Legged Robot Paw” มีเป้าหมายเพื่อนำความสามารถแบบเดียวมาใช้กับหุ่นยนต์ที่มีขา Autonomous Robots Lab (ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์อิสระ) บรรลุเป้าหมายนี้โดยใช้ บอร์ด Arduino Nicla Vision ซึ่งใช้ประโยชน์จากกล้องและไมโครโฟนเพื่อรัน machine learning models บนไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32H7 Cortex-M7 เพื่อระบุประเภทของพื้นและประมาณการแรงที่ใช้บนขา” แต่กล้องไม่ได้ใช้เพื่อดูที่พื้นแต่ใช้เพื่อดูการเปลี่ยนรูปของซิลิโคนรูปกึ่งวงกลม ซึ่งทำจาก “Dragon Skin” ที่ปลายข […]

Flipper Zero : อุปกรณ์แฮกไร้สายแบบพกพา มีแอป store แบบ open-source

Flipper Zero

Flipper Zero อุปกรณ์ Hardware & Wireless hacking tool แบบพกพาที่สามารถใช้งานได้หลายอย่าง (multi-tool) สำหรับ Pentesters และ Hardware Hackers มีแอปพลิเคชัน “store” ประมาณ 100 แอป ทั้งแบบฟรีและเป็นแบบ open-source ที่พร้อมใช้งานผ่านแอป Android หรือ iOS ของอุปกรณ์ Flipper Zero เปิดตัวใน Kickstarterในเดือนกรกฎาคม 2020 และได้รับความนิยมอย่างมากโดยได้รับเงินระดมทุนเกือบ 5 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 170 ล้านบาท) จากผู้สนับสนุนกว่า 38,000 ราย อุปกรณ์นี้ดูเหมือนของเล่น แต่ช่วยให้สามารถแฮกด้วย GPIO และโปรโตคอลไร้สายระยะสั้น เช่น Bluetooth, RFID, NFC และอินฟราเรด สเปค Flipper Zero: Wireless MCU  – STMicro STM32WB55RG พร้อมArm Cortex-M4 application core @ 64 MHz, Arm Cortex-M0+ network core @ 32 MHz, flash 1024 KB, […]

System-on-Module (SOM) ขนาดจิ๋วที่ใช้ STM32MP135 พร้อม RAM สูงสุด 512MB, NAND flash 256MB หรือ eMMC flash 4GB

MYC Y135 development board

MYC-YF13X ของ MYiR Technology เป็น system-on-module ที่ใช้ STMicro STM32MP135 ไมโครโปรเซสเซอร์ Cortex-A7 รุ่นล่าสุด เป็นตัวประหยัดต้นทุน มาพร้อมกับหน่วยความจำ DDR3L 256MB หรือ 512MB, NAND Flash 256MB  หรือ eMMC flash 4GB  และ EEPROM 32Kbit MYC-YF13X รุ่นใหม่มีฟอร์มแฟกเตอร์เท่าขนาดแสตมป์ 39×37 มม. เช่นเดียวกับโมดูลซีพียู MYC-YA15XC-T รุ่นก่อนหน้าของบริษัทที่ใช้โปรเซสเซอร์ STM32MP15 Cortex-A7 และบอร์ดพัฒนายังมาพร้อมกับอินเทอร์เฟส LCD และกล้อง, Gigabit Ethernet คู่ , อินเทอร์เฟส RS485/RS232/CAN bus และอื่นๆ สเปค MYC-YF13X : SoC – โปรเซสเซอร์ STMicro STM32MP135 (STM32MP135DAF7) single-core Cortex-A7 สูงสุด @ 1 GHz มีการกำหนดค่าหน่วยความจำและพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 2 แบบ 256MB DDR3L, 256MB NAND Flash, 32KB EEPROM […]

STMicro เปิดตัวชิป MPU STM32MP2 ใช้ Arm Cortex-A35/M33 เริ่มต้นด้วย STM32MP25

STM32MP25 block diagram

STMicro ได้เปิดตัวชิป MPU (ไมโครโปรเซสเซอร์) ในตระกูล STM32 รุ่นที่สอง ด้วย STM32MP2 ที่เปลี่ยนไปใช้สถาปัตยกรรม Arm 64 บิต พร้อม Edge AI acceleration, ฟีเจอร์มัลติมีเดีย การประมวลผลกราฟิก และการเชื่อมต่อระบบดิจิตอล เพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมและแอปพลิเคชัน IoT edge ชิปตระกูลใหม่ต่อจากรุ่น STM32MP1 Arm Cortex-A7/M4 series ที่เปิดตัวในปี 2019 และชิปรุ่นแรกของตระกูลคือ STM32MP25 ที่มีคอร์ Cortex-A35 สูงสุด 2 คอร์ความเร็ว 1.5 GHz คู่กับคอร์ Arm Cortex-M33 แบบเรียลไทม์ที่โอเวอร์คล็อกที่ 400 MHz, 3D GPU และ 1.35 TOPS NPU สำหรับ AI acceleration คุณสมบัติและข้อมูลจำเพาะที่สำคัญของ STM32MP25: CPU – Arm Cortex-A35 cores แบบ Single หรือ dual ความเร็วสูงสุด 1.5 GHz Real-time MCU –Arm Cortex-M33 core ความเร็วสูงสุด 400 MHz GPU […]

STMicro STLINK-V3PWR : อุปกรณ์ Probe ใช้สำหรับดีบักโปรแกรม และสามารถวัดพลังงาน

STLINK V3PWR 2

STMicro STLINK-V3PWR เป็นอุปกรณ์ Probe ใช้สำหรับดีบักโปรแกรมในชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 และสามารถวัดพลังงานไฟฟ้าที่แม่นยำ อุปกรณ์ Probe ประโยชน์มากในการใช้งาน IoT และแอปพลิเคชันไร้สายที่ใช้แบตเตอรี่เพราะสามารถวัดกระแสไฟได้ตั้งแต่นาโนแอมป์ถึง ~500 มิลลิแอมป์ และมีความแม่นยำในการวัด ±0.5% นอกจากนี้ STLINK-V3PWR สามารถจ่ายไฟไปยังเป้าหมายผ่านสาย USB เดียวได้สูงสุดถึง 2A คุณลักษณะและสเปคของ STMicro STLINK-V3PWR: เครื่องวัดและจ่ายไฟแบบ 1-Quadrant: แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า ตั้งแต่ 1.6 ถึง 3.6 V ที่สามารถโปรแกรมได้ อัตรากระแสเอาต์พุต 500 mA พร้อมกับการป้องกันแรงดันสูง (OCP) ที่ 550 mA (มิลลิแอมป์) อัตรากาในการเก็บข้อมูลที่สามารถโปรแกรมได้ตั้งแต่ 1 SPS ถึง 100 kSPS การวัดแบบไดนามิก กระแสไฟฟ้า 100 nA ถึง 550 mA การวัดกำลังไ […]

STMicro เปิดตัว STM32MP13 เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ Cortex-A7 ที่เน้นราคาถูก

STM32MP135x DK Discovery Kit

STM32MP13 series ของ STMicroelectronics เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A7 แบบ single-core  ความเร็ว 1 GHz  เป็นรุ่นล่าสุดของตระกูล STM32MP1 ที่รองรับ Linux ด้วยการออกแบบประหยัดต้นทุนเน้นราคาถูก โดยไม่มี Cortex-M4 core สำหรับ real-time ที่พบใน STM32MP15 series เดิม แต่ยังคงมีฟีเจอร์ Ethernet, CAN FD, กล้อง และจอแสดงผลขึ้นอยู่กับ SKU ที่แตกต่างกันไป: STM32MP131, STTM32MP133 หรือ STM32MP135 STM32MP131 STM32MP131 เป็นชิปประมวลผลแบบ single-core Cortex-A7 ที่มีความถี่ 650 MHz หรือ 1GHz พร้อมการเชื่อมต่อ Ethernet และเป็นชิ้นส่วนที่มีราคาถูกที่สุดใน ต่ำที่สุดใน STM32MP13 series ใหม่นี้ มีชิ้นส่วนทั้งหมด 4 รุ่นให้เลือกซึ่งมีขนาดแพ็กเก็ตทั้งหมด 3 ขนาดต่างกัน (TGBGA 289, TFBGA 320, และ LFBGA 289) รวมถึงบางชิ้นส่วนที่มี & […]

เปิดตัวบอร์ด Arduino GIGA R1 WiFi พร้อมชิป STM32H7 มีขา I/O สูงสุด 76 ขา

Arduino GIGA R1 WiFi

บอร์ด Arduino GIGA R1 WiFi มาพร้อมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32H7 dual-core Cortex-M7/M4 ที่ใช้กับบอร์ด Portenta H7 มาสู่ฟอร์มแฟคเตอร์ Arduino Mega/Due ขนาดใหญ่ที่มี Pin-GPIO สูงสุด 76 ขา ตามชื่อของบอร์ด บอร์ดมาพร้อมกับโมดูล WiFi 4 (และ Bluetooth 5.1) รวมถึง Audio jack, พอร์ต USB Type-C สำหรับเขียนโปรแกรม, พอร์ตโฮสต์ USB 2.0 Type-A และตัวเชื่อมต่อสำหรับหน้าจอแสดงผลและกล้อง สเปคของบอร์ด Arduino GIGA R1 WiFi: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – STMicro STM32H747XI Cortex-M7 @ 480 MHz + M4 @ 200 MHz MCU พร้อมหน่วยความจำ Flash 2MB dual-bank, RAM 1 MB และ Chrom-ART graphical hardware accelerator หน่วยความจำ – SDRAM 8MB ที่เก็บข้อมูล – 1NOR flash 16MB QSPI การเชื่อมต่อ – WiFi 2.4GHz 802.11b/g/n ความเร็วสูงสุด 65 Mbps และ Bluetooth 5.1 […]

การเปิดตัว Linux 6.2 – กับเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.2 release

Linus Torvalds ได้เปิดตัว Linux 6.2 พร้อมกับการประกาศบน LKML ตามปกติ Linux 6.1 รุ่นก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวเป็น LTS (Long Term Support) kernel พร้อมรองรับภาษาโปรแกรม Rust และ KMSAN kernel memory sanitizer รวมถึงการปรับปรุง Multi-gen LRU (MG-LRU) เพื่อการจัดการ swap file/partition ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย จุดเด่นของลินุกซ์ 6.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.2 ประกอบด้วย: Linux 6.2 มีการปรับปรุงในการแก้ไขช่องโหว่ Retbleed ที่เกิดจาก speculative execution บน x86-64 และ ARM processors ให้เร็วขึ้น และ FineIBT –ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของระบบ แต่ Linux 6.2 ได้พัฒนาวิธีการแก้ไขที่เบากว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้นสำหรับชุดคำสั่ง Skylake-based cores โดยที่การเปิดใช้งาน IBRS จะไม่มีผลกระทบต่ […]