Adafruit ได้เปิดตัว Adafruit Sparkle Motion Stick อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเป็นบอร์ดควบคุม Neopixel แบบ USB ที่มีขนาดกะทัดรัด รองรับการใช้งานร่วมกับ WLED ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถูกออกแบบมาสำหรับโปรเจกต์ไฟ LED แบบโต้ตอบกับเสียง (audio-reactive), อุปกรณ์คอสเพลย์, ไฟประดับเทศกาล และการใช้งานอื่นๆ บอร์ดนี้ใช้โมดูล ESP32-S3 เป็นหลัก มาพร้อมพอร์ต USB Type-A สำหรับทั้งการโปรแกรมและจ่ายไฟ (5V, 2A สูงสุด) และมีเคสพลาสติกแบบเรียบง่ายสำหรับป้องกันบอร์ด (ไม่กันน้ำ) คุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่นไมโครโฟนแบบ I2S ในตัว สำหรับตรวจจับเสียงเพื่อใช้งานร่วมกับเอฟเฟกต์ไฟ, ตัวรับสัญญาณ IR (อินฟราเรด) สำหรับควบคุมระยะไกล, ปุ่มกดที่สามารถโปรแกรมได้ตามต้องการ, ไฟ NeoPixel หนึ่งดวงบนบอร์ด และไฟแสดงสถานะสีแดง (status LED), ขั้วต่อแบบ screw te […]
Huawei Matebook Pro แล็ปท็อปรุ่นแรกที่วางจำหน่ายโดยใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS
Huawei Matebook Pro (HAD-W24 / HAD-W32) เป็นแล็ปท็อปที่มากับหน้าจอขนาด 14.2 นิ้ว หน่วยความจำ RAM ขนาด 24GB ถึง 32GB และที่เก็บข้อมูล SSD ขนาด 1TB หรือ 2TB สิ่งที่ไม่ค่อยพบเห็นคือไม่มีการระบุชื่อหน่วยประมวลผล และแล็ปท็อปรุ่นนี้ยังเป็นรุ่นแรกที่รันระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของ Huawei ที่พัฒนาขึ้นเอง ทั้งสองรุ่นนี้เป็นผลมาจากมาตรการคว่ำบาตรของประเทศตะวันตกต่อบริษัทจีนอย่าง Huawei เดิมที Huawei เคยจำหน่ายแล็ปท็อปที่ใช้ชิปของ Intel และระบบปฏิบัติการ Windows รวมถึงสมาร์ทโฟน Android แต่ช่วงหลังมานี้ไม่ได้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ใช้เทคโนโลยีจากสหรัฐฯ อีกต่อไป เนื่องจากการรองรับด้านซอฟต์แวร์จะสิ้นสุดลงในที่สุด บริษัทจึงต้องพัฒนาทางเลือกใหม่ชื่อ HarmonyOS ซึ่งได้ถูกใช้งานกับสมาร์ทวอทช์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ Mat […]
ThinkNode M2 : อุปกรณ์สื่อสาร Meshtastic ที่ใช้ชิป ESP32-S3 พร้อมกับหน้าจอ OLED 1.3 นิ้ว และแบตเตอรี่ 1,000 mAh
Elecrow ThinkNode M2 เป็นอุปกรณ์สื่อสาร Meshtastic อีกหนึ่งรุ่นสำหรับการส่งข้อความและแชร์พิกัด GPS โดยไม่ต้องพึ่งเครือข่ายโทรศัพท์ (off-grid) โดยใช้โมดูล ESP32-S3 ที่ให้การเชื่อมต่อ Bluetooth กับสมาร์ทโฟน และชิปส่งสัญญาณ LoRa รุ่น Semtech SX1262 สำหรับการสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำ อุปกรณ์นี้เป็นการพัฒนาต่อจากรุ่น ThinkNode-M1 ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ LILYGO T-Echo โดยใช้โมดูล Bluetooth ของ Nordic Semi รุ่น nRF52840 ร่วมกับชิป SX1262 และเสาอากาศภายนอกในกล่องที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ส่วน ThinkNode M2 รุ่นใหม่นี้มีความคล้ายกัน แต่ใช้โมดูล ESP32-S3 ที่ทรงพลังมากขึ้น แทนที่จอ e-paper ขนาด 1.54 นิ้วด้วยหน้าจอ OLED ขนาด 1.3 นิ้ว และบรรจุในกล่องพลาสติก ABS แทน สเปคของ ThinkNode M2 : โมดูลหลัก – โมดูล ESP32 […]
Adafruit Sparkle Motion – บอร์ดควบคุมไฟ LED แบบ addressable ที่ใช้ชิป ESP32 พร้อมเอาต์พุต 4 ช่อง, พอร์ตจ่ายไฟ USB-C 100W และรองรับ WLED/xLights
Adafruit Sparkle Motion เป็นบอร์ดควบคุมไฟ LED ที่ใช้ชิป ESP32 ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable เช่น WS2812B, APA102, SK6812, LPD8806, UCS2904 และ SM16704 โดยรองรับการใช้งานร่วมกับทั้งโครงการ WLED และ xLights และมาพร้อมพอร์ต USB-C PD ที่รองรับกำลังไฟสูงถึง 100W เพื่อรองรับการใช้งานกับไฟ LED ที่ต้องการแรงดันสูงได้ บอร์ดนี้รองรับการจ่ายไฟได้ 2 แบบ ได้แก่ พอร์ต USB-C PD (เลือกได้ระหว่าง 5V, 12V และ 20V) และแจ็ค DC ขนาด 2.1 มม. มีฟิวส์ขนาด 5A และขั้วต่อสัญญาณขาออกที่มีการแปลงระดับแรงดันไฟ (level-shifted) เพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable นอกจากนี้บอร์ดยังมีไมโครโฟนดิจิทัล I2S ในตัว, ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด (IR), พอร์ต Stemma QT สำหรับ I2C, ระบบ USB-Serial พร้อมวงจรรีเซตอัตโนมัติ, GPIO breakout pads, NeoPi […]
Air Lab – อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา รองรับ Wi-Fi และ Bluetooth LE มาพร้อมหน้าจอสัมผัสแบบ e-paper
Air Lab จาก Networked Artifacts เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบพกพา ที่ใช้ชิป ESP32-S3 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth LE โดยมาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสแบบ e-paper และเซ็นเซอร์หลากหลายชนิดสำหรับวัดค่าคุณภาพอากาศ เช่น CO2, อุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์, มลพิษทางอากาศ (VOC, NOx) และความดันบรรยากาศ อุปกรณ์นี้มีแบตเตอรี่แบบชาร์จได้ขนาด 1,500 mAh ซึ่งสามารถใช้งานได้ประมาณ 21 วันต่อการชาร์จหนึ่งครั้งในโหมดประหยัดพลังงาน (วัดค่าทุก ๆ นาที) และยังสามารถจ่ายไฟผ่านพอร์ต USB-C ได้อีกด้วย ตัวเครื่องมีพอร์ต debug สำหรับนักพัฒนาที่ต้องการแก้ไขเฟิร์มแวร์ และมีขา GPIO header สำหรับต่อเซ็นเซอร์เพิ่มเติมตามต้องการ ข้อมูลที่วัดได้สามารถแสดงผลผ่านหน้าจอ e-paper หรือส่งผ่าน Bluetooth LE และ MQTT เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ Home Assis […]
ANAVI Miracle Emitter – คอนโทรลเลอร์ RGB LED ที่รองรับ WiFi และ BLE ใช้งานร่วมกับ Home Assistant หรือเฟิร์มแวร์ WLED
ANAVI Miracle Emitter เป็น open source hardware (OSHW) ที่ใช้ชิป ESP32-C3 รองรับทั้ง WiFi และ Bluetooth Low Energy (BLE) ออกแบบมาเพื่อควบคุมแถบไฟ RGB LED strips แบบ Addressable ที่ใช้ไฟ 5V โดยสามารถใช้งานร่วมกับ Home Assistant ผ่านโปรโตคอล MQTT และยังรองรับเฟิร์มแวร์ยอดนิยมอย่าง WLED ที่ช่วยให้สามารถควบคุมแถบไฟ LED strips ได้ง่ายผ่านเว็บอินเทอร์เฟซ บอร์ดยังมี I2C headers จำนวน 4 ช่อง สำหรับเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์และจอ OLED ขนาดเล็ก, UART header และ GPIO header. เป็นการอัปเดตจาก Leon ANAVI Miracle Controller รุ่นก่อนหน้าที่เปิดตัวในปี 2019 ซึ่งใช้ชิป ESP8266 โดยในปัจจุบันการควบคุมแถบไฟ RGB LED strips ด้วยซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์โอเพ่นซอร์สนั้นง่ายกว่า สเปคของ ANAVI Miracle Emitter : Wireless Module – Seeed Studio XI […]
รีวิว การใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 พร้อมอุปกรณ์เสริม Rotary Extension และ Safety Enclosure บนโปรแกรม LDS (Part 2)
เราได้ดูสเปค แกะกล่อง LaserPecker LP5 ที่เเป็นเครื่องแกะสลักเลเซอร์อัจฉริยะขนาด 20W แบบ 2-in-1 ที่รวม Fiber Laser + Diode Laser ซึ่งสามารถแกะสลักบนวัสดุได้เกือบทุกชนิด และบริษัทยังได้ส่ง Rotary Extension เป็นอุปกรณ์เสริมที่ขยายความสามารถของเครื่องแกะสลัก ในการจัดการกับวัตถุทรงกระบอกที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ ช่วยให้แกะสลักได้สะดวกแก่ขึ้นและยังมีปุ่มปรับมุมที่อยู่ด้านข้างเพื่อช่วยตั้งค่าการหมุนที่แม่นยำด้วย และ Safety Enclosure ตู้ครอบนิรภัยสำหรับเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LP5 ให้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีการควบคุมอัจฉริยะ เหมาะสำหรับการแกะสลักด้วยเลเซอร์ในร่ม ในบทความนี้เราจะมาทดลองใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 พร้อมอุปกรณ์เสริม Rotary Extension และ Safety Enclosure กับโปรแกรม LDS software บน windows และ […]
แฮ็กสายอากาศเพิ่มระยะสัญญาณของบอร์ด ESP32-C3 USB-C ได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า
มีบอร์ด IoT ขนาดเล็กที่ใช้ชิป ESP32-C3 และมาพร้อมพอร์ต USB-C วางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาด ซึ่งถึงแม้ว่าบอร์ดเหล่านี้จะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่การออกแบบสายอากาศนั้นแตกต่างกัน และถ้าออกแบบมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อระยะของสัญญาณ WiFi และ Bluetooth Peter Neufeld ตัดสินใจดัดแปลงบอร์ด ESP32-C3 ราคาประหยัดตัวหนึ่งด้วยการเพิ่มสายอากาศแบบปรับแต่งเอง และผลลัพธ์ก็คือบอร์ดตัวนั้นสามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า และในบางกรณีก็เกือบถึงสามเท่า บอร์ดขนาดเล็กเหล่านี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงแทบไม่มีพื้นที่รอบ ๆ เสาอากาศเซรามิกที่มักใช้กัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ต่ำลง เพื่อแก้ปัญหานี้ Peter จึงเพิ่มสายอากาศความยาว 31 มม. ที่ทำจากลวดเคลือบเงิน โดยดัดเป็นวงกลมขนาดประมาณ 8 มม. อยู่นอกตัวบอร์ด แ […]