Android 16 developer preview เวอร์ชั่นแรกถูกปล่อยออกมา (เร็วกว่าที่คาดไว้มาก)

Android 16 developer preview

Google ปล่อยระบบปฏิบัติการ Android รุ่นใหม่ทุกปี โดย Android 15 Developer Preview เวอร์ชันแรก ถูกปล่อยออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ แต่บริษัทก็ได้ประกาศเปิดตัว Android 16 Developer Preview เวอร์ชันแรกหลังจากปล่อย Android 15 อย่างเป็นทางการบน AOSP เพียงไม่กี่เดือน โดยให้เหตุผลว่าเป็น “ความพยายามที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมในแอปและอุปกรณ์ได้เร็วขึ้น” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Google มีแผนจะปล่อย Android API สองเวอร์ชั่นในปีหน้าโดยเวอร์ชันหลัก (Major SDK) ที่จะเปิดตัวในไตรมาส 3 ขยับมาเป็นไตรมาส 2 ของปี 2025 และเวอร์ชันย่อย (Minor SDK) เปิดตัวในไตรมาส 4 ของปี 2025  ซึ่งเวอร์ชั่นย่อpจะเน้นเพียงการอัปเดตฟีเจอร์ การปรับแต่งประสิทธิภาพ และการแก้ไขบั๊กเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่เพื่อให้สอดรับกับการเปิดตัวมือถือรุ่นใหม่ท […]

Orange Pi 4A : บอร์ด SBC ที่ใช้ชิป Allwinner T527 SoC (Cortex-A55 octa-core) พร้อม NPU 2TOPS

Orange Pi 4A

Orange Pi 4A เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์เดี่ยว (SBC) ขนาดเท่าบัตรเครดิต ราคาประหยัด ที่ใช้ชิปประมวลผล Allwinner T527  ซึ่งเป็นซีพียู Cortex-A55 แบบ 8 คอร์ (Octa-core) พร้อมมีตัวประมวลผล NPU 2TOPS และมีตัวเลือกหน่วยความจำ RAM ขนาด 2GB หรือ 4GB บอร์ดยังมาพร้อมกับตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลหลายแบบ ได้แก่ SPI NOR Flash ขนาด 128 หรือ 256Mbit สำหรับ bootloader, ช่องเสียบ eMMC สำหรับโมดูลขนาดสูงสุด 128GB, ช่อง M.2 สำหรับ NVMe SSD และช่องเสียบ microSD card นอกจากนี้ยังมาพร้อมพอร์ต USB 2.0 จำนวน 4 ช่อง, พอร์ต Gigabit Ethernet, อินเทอร์เฟสแสดงผล 3 แบบ (HDMI, MIPI DSI, eDP), อินเทอร์เฟสกล้อง 2 ช่อง และ GPIO header 40 พินแบบ “Raspberry Pi”, Orange Pi 4A ถือว่าเป็นบอร์ดที่มีความสามารถเทียบเท่ากับ Raspberry Pi 3 หรือ 4 แบบ […]

GenBook RK3588 : แล็ปท็อป Linux แบบโมดูลาร์ มาพร้อมโมดูลซีพียู Arm แบบ 8 คอร์และ RAM 32GB

GenBook RK3588 Linux Laptop

GenBook RK3588 เป็นแล็ปท็อป Linux (และ Android) แบบโมดูลาร์ที่ใข้โมดูล (SoM) Rockchip RK3588 Arm และสามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย ผู้ใช้สามารถเพิ่มที่เก็บข้อมูล M.2 NVMe SSD, สลับโมดูลไร้สาย และอัปเกรดเป็นโมดูล (SoM) ที่ทรงพลังยิ่งขึ้นในอนาคต หรือแม้แต่เปลี่ยนหน้าจอได้ แล็ปท็อปนี้คล้ายกับ Cool Pi แล็ปท็อป Arm Linux มากและผลิตโดยบริษัทเดียวกัน ดยตัวแทนจากบริษัทได้บอกกับ CNX Software ว่า GenBook RK3588 เป็นรุ่นอัปเกรดของ Cool Pi แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม สเปคของแล็ปท็อป GenBook RK3588: System-on-Module – GenM5 (เหมือนกับ Cool Pi CM5 แต่เปลี่ยนจาก LPDDR4/4X เป็น LPDDR5) SoC – โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588 octa-core พร้อม 4x CortexA76 cores, 4x CortexA55 cores GPU: Arm Mali-G610 MP4 ตัวถอดรหัสวิดีโอ – รองรับ 8Kp60 H.2 […]

Graperain G3562 – โมดูลและบอร์ดพัฒนาที่ใช้ Rockchip RK3562

Rockchip RK3562 development board

Graperain G3562 เป็นโมดูล (SoM หรือ system-on-module) ที่ใช้ Rockchip RK3562 แบบ quad-core Cortex-A53 มาพร้อม RAM LPDDR4 สูงสุด 8GB  และ eMMC flash สูงสุด 128GB เหมาะสำหรับการใช้งานด้าน Edge AI, IoT, ระบบอัตโนมัติ, และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค นอกจากนี้ บริษัทยังบอร์ดพัฒนา G3562 สำหรับโมดูลนี้ พร้อมซ็อกเก็ต M.2 สำหรับ NVMe SSD, Ethernet แบบคู่, WiFi 5 และ Bluetooth 5.0 และการเชื่อมต่อเครือข่าย 4G LTE/3G (อุปกรณ์เสริม) พร้อมทั้งพอร์ตเชื่อมต่อหน้าจอแบบ MIPI DSI/LVDS, พอร์ตกล้องสองช่องแบบ MIPI CSI, พอร์ต USB 2.0 จำนวนสามช่อง, อินเทอร์เฟซเสียง, และการขยายเพิ่มเติมผ่าน GPIO header 30 พิน และตัวเชื่อมต่อ UART โมดูล GrapeRain G3562 สเปคของโมดูล GrapeRain G3562: SoC –  Rockchip RK3562 CPU – โปรเซสเซอร์ Quad- […]

Banana Pi BPI-M1S : บอร์ด SBC ที่ใช้ RK3528 พร้อม HDMI 2.0, 2.5GbE, WiFi 6

Banana Pi BPI-M1S

Banana Pi BPI-M1S หรือ ArmSoM-Sige1 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) มีการออกแบบที่บาง (low-profile) ใช้ชิปประมวลผล Rockchip RK3528 quad-core Cortex-A53 ออกแบบมาสำหรับกล่องทีวี 4K ระดับ entry-level ซึ่งต่างจากบอร์ด SBC รุ่นอื่นๆ ที่ใช้ RK3528(A) ที่เราเคยพูดถึง เช่น Radxa Rock E20C และ FriendlyELEC NanoPi Zero2 ซึ่งเน้นต้นทุนต่ำและขนาดเล็กสำหรับการใช้งานในระบบเครือข่ายแบบ Headless (ไม่มีหน้าจอและอุปกรณ์แสดงผล) Banana Pi BPI-M1S มีคุณสมบัติที่หลากหลายกว่า เช่น HDMI 2.0 สำหรับเอาต์พุตวิดีโอ 4K และเสียง, การเชื่อมต่อเครือข่ายด้วย 2.5GbE และ WiFi 6 รวมถึงมี Pin GPIO header 40 ขาสำหรับการขยายการใช้งาน สเปคของ Banana Pi BPI-M1S: SoC – Rockchip RK3528 CPU – Quad-core Arm Cortex-A53 @ 2.0 GHz GPU – Arm Mali-G450 GPU รอง […]

Rubik Pi AI SBC ที่ใช้ Qualcomm QCS6490 รองรับระบบปฏิบัติการ Android, Linux และ “LU”

RUBIK Pi AI SBC

Thundercomm เปิดตัว Rubik Pi AI SBC ที่ใช้ SoC Qualcomm QCS6490 พร้อม AI accelerator ที่มีประสิทธิภาพ 12.5 TOPS, บอร์ด SBC ที่ใช้รูปแบบของบอร์ดให้ไปเป็นตามบอร์ด PI-CO ITX Form Factor ซึ่งได้รวมมาตรฐาน Pico-ITX กับ GPIO header 40 พินที่พบใน Raspberry Pi SBC บอร์ด SBC มาพร้อมกับอินเทอร์เฟสมาตรฐานได้แก่ USB, HDMI out, รองรับกล้อง MIPI-CSI, Ethernet, Wi-Fi 5, Bluetooth 5.2 และอื่นๆ นอกจากนี้ บอร์ดยังมีขั้วต่อ 40 พินสำหรับ GPIO, UART สำหรับการดีบัก, เอาต์พุตเสียง และรองรับแบตเตอรี่ RTC ทางบริษัทระบุว่านี่เป็นระบบ Pi แรกที่ใช้แพลตฟอร์ม AI ของ Qualcomm จึงรองรับบอร์ดขยาย Raspberry Pi HAT/HAT+ ทำให้เหมาะสำหรับโครงการ AI, IoT และ Edge computing สเปคของบอร์ด Rubik Pi AI SBC SoC – Qualcomm QCS6490 CPU – Octa-core Kryo 670 […]

DigiPort : อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ HDMI Dongle ที่ใช้ Raspberry Pi Compute Module 4 (CM4)

HDMI computer dongle Raspberry Pi CM4

Shivam Goyal ซึ่งใช้ชื่อ Geeky Tronics ได้พัฒนา DigiPort ซึ่งเป็น HDMI Dongle อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เอาไว้ต่อกับทีวีผ่านพอร์ต HDMI โดยใช้ Raspberry Pi CM4 system-on-module และออกแบบมาให้เชื่อมต่อโดยตรงที่ด้านหลังของพอร์ต HDMI หรือผ่านสาย HDMI ได้ เนื่องจาก DigiPort ไม่รองรับ MHL จึงต้องใช้แหล่งพลังงานผ่านพอร์ต USB-C นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อคีย์บอร์ดและเมาส์ผ่านพอร์ต USB 2.0 จำนวนสองพอร์ตหรือผ่าน Bluetooth ได้ และสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้โดยผ่าน WiFi 5 ทำให้อุปกรณ์นี้เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่พร้อมใช้งานทันที สเปคของ DigiPort: System-on-Module ที่รองรับ – Raspberry Pi CM4 SoC – โปรเซสเซอร์ Broadcom BCM2711 Cortex-A72 แบบquad-core Cortex-A72 @ 1.5 GHz หน่วยความจำ– LPDDR4-3200 SDRAM ขนาด 1GB ถึง 8GB ที่เก็บข้อมูล […]

โดรน LiteWing DIY ที่ใช้ ESP32 ใช้งบประมาณในการสร้าง 440฿

DIY ESP32 Drone

LiteWing ของ ทีมงาน Circuit Digest ได้ออกแบบโดรน DIY ราคาถูกที่ควบคุมด้วยโมดูล ESP32 โดยใช้แผ่น PCB แบบกำหนดเองและชิ้นส่วนที่มีจำหน่ายในร้านค้าทั่วไป ซึ่งงบประมาณในการสร้างประมาณ 1,000 รูปี หรือประมาณ 440฿ โดรน DIY ESP32 ได้รับการออกแบบให้เป็นทางเลือกแทนโดรน DIY ที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งโดยทั่วไปจะมีราคาเกือบ $70(~2,500฿) ผลลัพธ์ที่ได้คือโดรนมีขนาดเท่าฝ่ามือและควบคุมผ่าน WiFi โดยใช้สมาร์ทโฟน และไม่ใช้ชิ้นส่วนที่สร้างจากการพิมพ์ 3D Printer โดยใช้แผ่น PCB เป็นโครงลำของโดรน คุณสมบัติและส่วนประกอบสำคัญของโดรน DIY ESP32 โมดูลไร้สาย – ESP32-WROOM-32 สำหรับการควบคุม WiFi โดยใช้สมาร์ทโฟน ที่เก็บข้อมูล – ช่องเสียบ MicroSD card slot เซนเซอร์ – MPU6050 IMU สำหรับการควบคุมความเสถียร การขับเคลื่อน 4x 720 มอเตอร์คัพแบบไม่มีแกน ( […]