Adafruit Metro ESP32-S3 : บอร์ดพัฒนา IoT รองรับ WiFi และ Bluetooth ในรูปแบบ Arduino UNO

Adafruit Metro ESP32-S3 Arduino UNO board

Adafruit Metro ESP32-S3 เป็นบอร์ดพัฒนา IoT ที่ใข้ ESP32-S3 รองรับการสื่อสารไร้สาย WiFi และ Bluetooth พร้อม PSRAM 8 MB และ Flash 16 MB ในรูปแบบฟอร์มแฟคเตอร์ Arduino UNO หรือ Adafruit Metro บอร์ดนี้ยังมาพร้อมกับตัวเชื่อมต่อ STEMMA QT I2C 2 ช่องสำหรับการขยายเพิ่มเติม, มีช่องเสียบ microSD card socket สำหรับเก็บข้อมูล, JTAG header สำหรับการดีบักขั้นสูง และรองรับตัวเลือกพลังงานต่างๆ ด้วย DC 6-12V  ผ่านช่อง DC jack, DC  5V ผ่าน พอร์ต USB -C และคอนเนกเตอร์ 2 ขาสำหรับแบตเตอรี่ LiPo รวมทั้งบอร์ดได้ทำการรวมชิปการชาร์จและตรวจวัดแบตเตอรี่ไว้ด้วย สเปค Adafruit Metro ESP32-S3: Wireless module ESP32-S3-WROOM-1 MCU –  ไมโครโปรเซสเซอร์ ESP32-S3 dual-core LX7 @ สูงสุด 240 MHz พร้อมVector extension สำหรับ machine learning หน่วยควา […]

WeAct ESP32H2-N4 – บอร์ดพัฒนาที่รองรับ Bluetooth 5.2 LE, Zigbee 3.0 และ Thread

WeAct ESP32-H2 development board

WeAct ESP32H2-N4 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-H2 พร้อมรองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.2 LE, Zigbee 3.0 และ Thread โดยมีการออกแบบที่คล้ายกับ บอร์ดพัฒนา ESP32-H2-DevKitM-1 ของ Espressif Systems มาก แต่มีราคาถูกกว่า $5.70(~200฿) ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32-H2 เป็นรุ่นถัดจาก ESP32-C6 ที่ไม่มี WiFi และมีเป้าหมายที่โหนดที่ใช้พลังงานต่ำและส่งข้อมูลในระยะสั้นๆ ในระบบเครือข่ายสำหรับ IoT ก่อนหน้านี้เราเคยเห็นในฮาร์ดแวร์ Espressif เช่น ESP32-H2-DevKitM-1 และบอร์ด ESP Thread Border Router ที่รวมชิปไร้สาย ESP32-H2 และ ESP32-S3 แต่ยังไม่พบในบอร์ดของบุคคลที่สาม สเปค WeAct ESP32H2-N4: Wireless module– ESP32-H2-MINI-1 MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Espressif Systems ESP32-H2 ที่ใช้ RISC-V 32 บิตที่ความเร็วสูงสุด 96 MHz […]

Nordic เปิดตัว nRF7002 EK รองรับ WiFi 6 ในรูปแบบ Arduino Shield, และชิประบุตำแหน่งของ Wi-Fi ที่ใช้ nRF7000 SSID

WiFi 6 Arduino Shield

Nordic Semi เปิดตัว nRF7002 Evaluation Kit โดยใช้ nRF7002 ชิป IoT ที่รองรับ dual-band WiFi 6 ของบริษัท และอยู่ในรูปแบบของ Arduino shield ที่ทำงานร่วมกับชุดพัฒนาของ Nordic เช่นชุดพัฒนา nRF52840 DK, nRF5340 DK และ nRF9160 DK  และบริษัทได้เปิดตัวชิประบุตำแหน่ง Wi-Fi ที่ใช้ nRF7000 SSID nRF7002 เมื่อต้นปีบริษัทได้เปิดตัว ชุดพัฒนา nRF7002 ซึ่งเป็นชุดพัฒนา IoT ที่ใช้ nRF7002 WiFi 6 และไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย nRF5340 dual-core Arm Cortex-M33 แต่สำหรับนักพัฒนาที่เป็นเจ้าของ nRF devkits อยู่แล้ว และบริษัทจึงได้เปิดตัว nRF7002 Evaluation Kit ในรูปแบบ Arduino Shield ใหม่นี้มาเพิ่ม สเปคของ nRF7002 Evaluation Kit: Wireless chip – Nordic Semi nRF7002 Dual-band Wi-Fi 6 (802.11ax) โหมดสถานี WiFi Target Wake Time (TWT) ช่องสัญญ […]

LILYGO T-Display S3 Pro ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมจอทัชสกรีนขนาด 2.33 นิ้วและเคสพลาสติก

T-Display S3 Pro

LILYGO T-Display S3 Pro เป็นจอแสดงผลที่ใช้ ESP32-S3 รองรับ WiFi และ Bluetooth  โดยมีหน้าจอทัชสกรีนสี LCD ขนาด 2.33 นิ้ว, พร้อมเคสพลาสติก, รองรับ USB-OTG, คอนเนกเตอร์ QWIIC สองตัว และแบตเตอรี่ 470 mAh T-Display S3 Pro เป็นรุ่นอัพเดตของ T-Display S3 (และต่อมาจากรุ่น T-Display S3 Touch และ T-Display S3 AMOLED) แต่มีหน้าจอแสดงผลค่อนข้างใหญ่กว่าที่ 2.33 นิ้วและความละเอียดที่สูงกว่า (480×222) มาพร้อมเคส ABS มีแบตเตอรี่ในตัวโดยค่าเริ่มต้น, เพิ่มการรองรับ USB OTG และเซนเซอร์ สเปค T-Display S3 Pro: Wireless MCU – Espressif Systems ESP32-S3R8 dual-core Tensilica LX7 @ สูงถึง 240 MHz พร้อมคำสั่ง vector instructionsรองรับ AI acceleration , RAM 512KB, PSRAM 8MB , การเชื่อมต่อ wireless ที่เก็บข้อมูล – flash 16MB, ช่องเสียบ m […]

รีวิว AirGradient ONE : อุปกรณ์สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร

airgradient one ready to work

AirGradient ONE เป็นผลิตภัณฑ์ของ AirGradient Co. Ltd. ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร นอกจากจะสามารถวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นของอากาศแล้วก็ยังมีความสามารถในการวัดค่าอื่น ๆ ได้อีกหลายค่า เช่น CO2, TVOC, NOx และ PM เป็นต้น ซึ่ง AirGradient ONE รุ่นที่รีวิวนี้เป็นรุ่นล่าสุด (9-th generation) ผู้ผลิตปรับให้เป็น open-source แล้ว มีทั้ง source code และ Schematic/PCB ให้เราดาวน์โหลดไปศึกษาและพัฒนาต่อเองได้ รวมถึงมีไฟล์โมเดลสามมิติของตัวกล่องใส่อุปกรณ์ซึ่งสามารถนำไปพิมพ์สามมิติได้เอง เปิดกล่อง เวอร์ชันที่ได้รับมาทดสอบครั้งนี้เป็นแบบชุดคิท (kit) ซึ่งจะต้องมีการประกอบอุปกรณ์เองบางส่วน อุปกรณ์ทั้งหมดถูกบรรจุมาในกล่องกระดาษลูกฟูก มีการ์ดข้อความขอบคุณจากผู้ผลิตซึ่งมี QR-code ไปยังเว็บไซต์ที่แสดงละเอียดก […]

เปิดตัว Arduino ESP32 Core version 3.0.0 เพื่อใช้งานกับ ESP32-C6 และ ESP32-H2

ESP32 C6 ESP32 H2 Arduino

ล่าสุดบริษัท Espressif Systems ได้มีปล่อย Arduino ESP32 Core version 3.0.0 (alpha version) เพื่อทดลองใช้งานกับ ESP32-C6 และ ESP32-H2 ที่ใช้ร่วมกับ Arduino IDE และรวมถึงการฟีเจอร์ใหม่ๆ มากมายที่ใช้ ESP-IDF 5.1 SDK ตามประกาศในปี 2021, และเมื่อต้นปีได้เปิดตัวโมดูลและบอร์ดพัฒนา ESP32-C6 รองรับ WiFi 6, Bluetooth 5 LE และ 802.15.4 แต่จนถึงขณะนี้สามารถเขียนโปรแกรมได้เฉพาะเวอร์ชันล่าสุด ESP-IDF v5.1 รวมถึงชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-H2 รองรับ Bluetooth 5.2 และ 802.15.4 (Zigbee/Thread) เช่นกัน และตอนนี้ Arduino ESP32 Core version 3.0.0 (alpha version) ให้การรองรับชิปไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นใหม่และมีการวางแผนการเปิดตัวที่เสถียรในเดือนธันวาคม 2023 การปล่อย Arduino ESP32 Core v3.0.0 ออกมาเป็น เป็นการเปลี่ยนแปลงจาก Arduino ESP3 […]

RAKwireless Blues.ONE ชุดพัฒนา IoT รองรับการเชื่อมต่อ LoRaWAN, LTE-M และ NB-IoT พร้อม Blues NoteCard

Blues.ONE LTE M NB IoT devkit

RAKwireless Blues.ONE เป็นชุดพัฒนา IoT รองรับการเชื่อมต่อ LoRaWAN และรองรับการเชื่อมต่อเซลลูล่าร์แบบ LTE-M และ NB-IoT ผ่าน Blues NoteCard พร้อม Data package  500 MB. สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปี ชุดพัฒนาใช้ระบบต้นแบบ WisBlock modular IoT พร้อมด้วย RAK13102 WisBlock Blues Notecarrier, Blues NoteCard, บอร์ดฐาน WisBlock และโมดูล WisBlock Core สามารถใช้เพื่อสร้างต้นแบบหรือพัฒนาอุปกรณ์ IoT สำหรับระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและการติดตามตำแหน่งอุปกรณ์ (asset-tracking) สเปค Blues.ONE: RAK4631 WisBlock Core Module SoC – Nordic nRF52840 ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M4F @ 64 MHz พร้อม Flash 1 MB, RAM 256 KB, Bluetooth Low Energy 5.0 protocol stack LoRaWAN – Semtech SX1262 LoRa Transceiver พร้อม LoRaWAN 1.0.2 protocol s […]

รีวิวอุปกรณ์เทคโนโลยี Z-Wave – RaZberry 7 Pro และ Z-Uno2

RaZberry 7 Pro & Z Uno2

เมื่อเร็วๆนี้เราได้รับ RaZberry 7 Pro และ Z-Uno2 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ Smart Home ที่ใช้ Z-Wave เทคโนโลยีจากบริษัท Z-Wave.Me มาทำการทดสอบ บริษัทนี้สร้างผลิตภัณฑ์บน Z-Wave เทคโนโลยีเป็นหลัก และเป็นสมาชิกของ Z-Wave Alliance สำหรับหลายคนที่ปวดหัวกับปัญหาของคลื่นความถี่ที่ทับซ้อนกันมากมายในย่าน 2.4GHz (Wifi, Zigbee,Thread) เทคโนโลยี Z-Wave เป็นทางเลือกที่ดีมากๆ เพราะใช้คลื่นความถี่ในย่าน 800-900 MHz ที่แออัดน้อยลง นอกเหนือจากนั้นเทคโนโลยี Z-Wave ยังมีมาช้านานกว่า 20 ปี ทำให้มีอุปกรณ์ที่ใช้ Z-Wave มากมายในท้องตลาดและสามารถใช้ร่วมกันข้ามค่ายได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นข้อดีอีกข้อนึงถ้าจะเปรียบเทียบกับโปรโตคอลอื่นๆ อุปกรณ์ที่เราได้รับมีสองชิ้นคือ RaZberry 7 Pro ซึ่งเป็น Shield ที่เสียบลงบน GPIO ของ Raspberry Pi เพื่อทำให้ Raspber […]

Exit mobile version