ชิป Allwinner R128 : wireless SoC มี RISC-V core 64 บิต, Arm Cortex-M33 core และ HiFi 5 audio DSP

Allwinner R128

Allwinner เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในเรื่องโปรเซสเซอร์ Arm ราคาถูกที่ใช้ Android หรือ Linux แต่ชิป Allwinner R128 เป็น wireless audio SoC ที่มาพร้อมกับ C906 64-bit RISC-V application core, แกน Arm Cortex-M33 real-time , HiFi 5 audio DSP และมีการเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth ในตัว SoC ยังมาพร้อมกับ SRAM 1MB, แฟลชสูงสุด 16MB, PSRAM สูงสุด 32MB, อินเทอร์เฟสสำหรับจอแสดงผลและกล้อง, รองรับไมโครโฟนแบบ array และขา I/O มากมายที่เหมาะสำหรับลำโพงอัจฉริยะและเครื่องใช้ภายในบ้านที่ควบคุมด้วยเสียงอื่นๆ และมีหน้าจอหรือไม่มีหน้าจอก็ได้ สเปคของ Allwinner R128: Application core – Xuantie C906 64-bit RISC-V core โอเวอร์คล็อกที่ 600 MHz DSP – Cadence HiFi 5 audio DSP โอเวอร์คล็อกที่ 400 MHz Communication core – Arm M33 Star (Cortex-M […]

สเปคของ Amlogic S928X : ชิป SoC มี Arm Cortex-A76/A55 แบบ penta-core พร้อม GPU Mali-G57 และชิป NPU ความเร็ว 3.2 TOPS

Amlogic S928X block diagram

Amlogic S928X Cortex-A76/A55 จะเป็นขุมพลังของ Android TV ความละเอียด 8K ของ SDMC และตัวอื่น ๆ ในไม่ช้า และตอนนี้เรามีข้อมูลสเปคโดยละเอียดเป็น “Quick Reference Manual” ที่ฉันได้รับทาง Inbox เช่นเดียวกับชิปประมวลผล Amlogic ส่วนใหญ่ รุ่น S928X ถูกออกแบบมาสำหรับกล่องทีวี แต่ชิปประมวลผลแบบ penta-core นี้อาจจะมีปลายทางไปยังคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวที่มีราคาไม่แพงแต่ทรงพลังพร้อมคุณสมบัติต่างๆ เช่น HDMI 2.1a, Gigabit Ethernet, PCIe 2.0 หรือ USB 3.0 สเปคของ Amlogic S928X: หน่วยประมวลผล CPU 1x คอร์ Arm Cortex-A76 และ 4x คอร์ Arm Cortex-A55 ที่มีการกำหนดค่า big.LITTLE รองรับส่วนขยาย NEON และ Crypto Private L2 cache และ unified system L3 cache Build-in RISC-V core สำหรับการประมวลผลการควบคุมระบบ หน่วยประมวลผล GPU A […]

Raspberry Pi Debug Probe : อุปกรณ์ SWD bridge สำหรับการพัฒนา Bare Metal ราคา~400฿

Raspberry Pi Debug Probe

Raspberry Pi Debug Probe เป็น USB serial adapter ที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และออกแบบมาเพื่อใช้ในการดีบักกับบอร์ด Raspberry Pi Pico, บอร์ด RP2040 ของบริษัทอื่น และบอร์ด Arm เกือบทุกชนิด โดยใช้การเชื่อมต่อหรืออินเทอร์เฟสผ่าน SWD และ/หรือ UART ความแตกต่างของ Raspberry Pi Debug Probe กับ USB-to-serial adapter ทั่วไปคือการมี Serial Wire Debug (SWD) bridge ที่ใช้สำหรับการพัฒนาและการดีบักโค้ดที่เขียนแบบ Bare Metal ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น OpenOCD สเปคของ Raspberry Pi Debug Probe: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+  ที่ความเร็ว 133 MHz พร้อม SRAM ขนาด 264KB หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล – SPI flash 2MB (W25Q16JVUXIQ) อินเทอร์เฟสดีบัก ช่องเชื่อมต่อ Serial Wire Debug […]

การเปิดตัว Linux 6.2 – กับเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.2 release

Linus Torvalds ได้เปิดตัว Linux 6.2 พร้อมกับการประกาศบน LKML ตามปกติ Linux 6.1 รุ่นก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวเป็น LTS (Long Term Support) kernel พร้อมรองรับภาษาโปรแกรม Rust และ KMSAN kernel memory sanitizer รวมถึงการปรับปรุง Multi-gen LRU (MG-LRU) เพื่อการจัดการ swap file/partition ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย จุดเด่นของลินุกซ์ 6.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.2 ประกอบด้วย: Linux 6.2 มีการปรับปรุงในการแก้ไขช่องโหว่ Retbleed ที่เกิดจาก speculative execution บน x86-64 และ ARM processors ให้เร็วขึ้น และ FineIBT –ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของระบบ แต่ Linux 6.2 ได้พัฒนาวิธีการแก้ไขที่เบากว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้นสำหรับชุดคำสั่ง Skylake-based cores โดยที่การเปิดใช้งาน IBRS จะไม่มีผลกระทบต่ […]

Puya PY32 : ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M0+ อาจมีราคาถูกที่สุดในโลก

PY32 MCU development board

ชิป PY32 Arm Cortex-M0+ ของบริษัท Puya Semiconductor (Shanghai) เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ในตระกูล Arm MCU 32 บิต ซึ่งหนึ่งในตระกูลคือชิป PY32F002AL15S6TU อาจมีราคาถูกที่สุดในโลก ขายราคาต่ำกว่า 8 เซนต์ (~2.7฿) ต่อหน่วยในคำสั่งซื้อ 5,000 ชิ้นขึ้นไปพร้อม SRAM 3KB, flash 20KB ในแพ็คเกจ 8-pin SOP-8 เมื่อปี 2016 เมื่อฉันเคยค้นหา MCU ที่ถูกที่สุดในโลกฉันพบไมโครคอนโทรลเลอร์ Holtek HT48R002 8 บิต และเมื่อไม่กี่ปีต่อมา (2019) ฉันก็พบ MCU Padauk PMS150C “3 Cents” ทั้งสองเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิต ซึ่งมี OTG (One-Time Programming) ROM ซึ่งไม่สามารถใช้งานในการพัฒนาหรืออัพเดทได้ง่าย แต่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Puya PY32 อยู่ในช่วงราคาเดียวกัน แต่มี 32-บิต Arm Cortex-M0+ ที่มีความเร็ว 24-48MHz, พื้นที่เก็บข้อมูล flash 16KB-64KB และ SRA […]

Balthazar : โน้ตบุ๊คโอเพ่นซอร์ส สามารถใช้ RISC-V, Arm หรือ FPGA

Balthazar RISC V laptop

Balthazar Personal Computing Device (BPCD) เป็นโน้ตบุ๊คต้นแบบ (Prototype) ขนาด 13.3 นิ้ว เป็นฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สที่สามารถโมดูล RISC-V, Arm หรือ FPGA และออกแบบเพื่อให้สามารถอัพเกรด, เพิ่มประสิทธิภาพ และมีการใช้งานยาวนานได้ นักพัฒนากล่าวว่าโน้ตบุ๊คนี้เป็นผลิตภัณฑ์ถูกพัฒนาขึ้นด้วยหลายแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการ EOMA68 ซึ่ง EOMA68 เป็นโมดูล CPU ที่ใช้ form factor ของ PCMCIA และโมดูล Allwinner A20 EOMA68 ได้รับการจัดแสดงเป็นต้นแบบ (Prototype) ของ Rhombus Tech โน้ตบุ๊ค Libre ขนาด 15.6 นิ้ว แต่ฉันไม่คิดว่าโครงการนี้เคยผลิตจริง คุณสมบัติโน้ตบุ๊คของ Balthazar: SoM พร้อมตัวประมวลผล RISC-V, FPGA หรือ Arm Cortex-A7x พร้อมหน่วยความจำและแฟลช ที่เก็บข้อมูล – SATA SSD, คอนเนกเตอร์ eSATA, ช่องเสียบ microSD card หน้าจอ […]

AirJet : ชิประบายความร้อนที่เงียบและบางเฉียบ อาจมาแทนที่พัดลมได้

AirJet Mini

ชิประบายความร้อนของ Frore Systems มี 2 รุ่น คือ Airjet Mini และ Airjet Pro เป็นชิประบายความร้อนให้กับโปรเซสเซอร์ แบบ Solid State Active Cooling  มีความบางเพียง 2.8 มม. และดูดอากาศเย็นจากด้านบนของชิปอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่จะดันออกด้านข้างโดยมีจุดประสงค์เพื่อแทนที่โซลูชันที่ใช้พัดลมแบบเดิมใน ultrabooks หรือใช้กับแว่น VR และสมาร์ทโฟนเพื่อการระบายความร้อนที่ดีขึ้น เราจะเห็นว่ากล้องสามารถทำความสะอาดเองอัตโนมัติด้วยการสั่นระดับไมโคร และชิป Airjet ก็เหมือนกันที่โปรเซสเซอร์สามารถระบายความร้อนด้วยการสั่น เนื่องจากชิป Airjet มีเมมเบรนขนาดเล็กที่เกิดการสั่นสะเทือนด้วยความถี่อัลตราโซนิก สามารถทำให้เกิดการไหลของอากาศที่เข้าสู่ช่องระบายอากาศด้านบนและเปลี่ยนเป็นไอพ่นความเร็วสูงไหลออกที่ด้านหนึ่งของชิป โมดูล AirJet ไม่ได้วางโดยตร […]

Linux 6.1 LTS – กับการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux-6.1-LTS

Linus Torvalds ประกาศเปิดตัว Linux 6.1 kernel, อาจจะเป็นรุ่น LTS (Long Term Support) รุ่นล่าสุดสำหรับ Linux เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา: Linux 6.0 ที่ออกก่อนหน้านี้มีปรับปรุงการใช้พลังงาน มีการเพิ่มเติมบางอย่างกับสถาปัตยกรรม OpenRISC และ LoongArch เช่น รองรับ PCI buses, ใช้โปรโตคอล “send” เวอร์ชัน 2 ของ Btrfs และอินเทอร์เฟซ HEVC/H.265 ได้รับการเลื่อนระดับให้เสถียรแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจใน Linux 6.1 LTS ดังนี้ กำลังเริ่มรองรับภาษา Rust ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่บทความที่ lwn.net KMSAN (kernel memory sanitizer) เป็นเครื่องตรวจจับข้อผิดพลาดแบบไดนามิกที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาตัวแปรที่ไม่ได้กำหนด (uninitialized values) และคล้ายกับเครื่องมือ MemorySanitizer ที่ใช้ใน userspace ควรเปิดใช้งานสำหรับการดีบักเท่านั้น เนื่องจา […]