Qualcomm ได้เปิดตัวชิป Snapdragon X (ซีพียู Arm 8 คอร์) ที่งาน CES 2025 ซึ่งออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ AI ระดับ Mainstream รองรับฟีเจอร์ Copilot+ ที่มีราคาเริ่มต้นที่ $600(~20,000฿) ขึ้นไป ซึ่งถือเป็นการต่อยอดจากชิป Snapdragon X Elite ใช้ซีพียู 12 คอร์ระดับไฮเอนด์ที่มีความเร็ว 4.3GHz ที่เปิดตัวในปี 2023 และ Snapdragon X Plus ใช้ซีพียู 10-/8-คอร์เมื่อปีที่แล้ว ทำให้คอมพิวเตอร์ AI เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้บริโภคในวงกว้างขึ้น Snapdragon X มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz มาพร้อม Hexagon NPU ที่มีประสิทธิภาพ 45 TOPS รองรับการจัดเก็บข้อมูล NVMe, แรม LPDDR5 สูงสุด 64GB, หน้าจอในตัวความละเอียดสูงสุด 2560 x 1440 และจอแสดงผลภายนอกสูงสุด 3 จอที่ความละเอียด 4Kp60 รวมถึงกล้องตัวเดียวที่มีความละเอียดสูงสุด 36MP ระบบที่ใช้โปรเซสเซอ […]
รีวิวแกะกล่อง Raspberry Pi Development Kit for CM5 (Part 1)
Raspberry Pi ได้เปิดตัว Compute Module 5 (CM5) และทางบริษัทได้ส่งชุดพัฒนา “Raspberry Pi Development Kit for CM5” มาให้เราได้รีวิวและทดลองใช้งานโมดูล Broadcom BCM2712 รุ่นใหม่ ซึ่งมาแทนที่ Raspberry Pi Compute Module 4 (CM4) ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2020 วันนี้เราจะมาแกะกล่องและดูชุดพัฒนาเบื้องต้น โดยเริ่มจากการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริม การบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Raspberry Pi OS และการเก็บข้อมูลระบบพื้นฐาน ทั้งนี้ ซึ่งจะทำการรีวิวเชิงลึกในบทความต่อไป แกะกล่อง Raspberry Pi Development Kit for CM5 เราได้รับชุดพัฒนาในกล่องที่มีข้อความระบุว่า “Raspberry Pi Development Kit” และ “For Raspberry Pi CM5” ด้านล่างของกล่องมีการระบุรายการอุปกรณ์ในชุด ซึ่งเราจะทำการตรวจสอบ พร้อมทั้งลิงก์ไปยังเอกสารประกอบ มาดูกันว […]
รีวิว Raspberry Pi 500 keyboard PC และ Raspberry Pi Monitor แกะกล่องและแกะเครื่อง
หลังจากเปิดตัว Raspberry Pi 500 คอมพิวเตอร์ในรูปแบบคีย์บอร์ด และจอ Raspberry Pi Monitor ขนาด 15.6 นิ้ว และเราได้รับตัวอย่างจาก Raspberry Pi เพื่อมารีวิว ฉันได้ทดลองใช้งานอุปกรณ์ทั้งสองแล้ว ดังนั้นในรีวิวนี้ ฉันจะพูดถึงการแกะกล่องชุดอุปกรณ์ที่ได้รับ และรายงานประสบการณ์การใช้งานทั้ง Keyboard PC และ Monitor แกะกล่อง เราได้รับพัสดุสองกล่อง กล่องแรกเป็น Raspberry Pi Monitor และกล่องที่สองประกอบด้วย Raspberry Pi 500 (UK layout keyboard), อะแดปเตอร์ไฟ USB-C กำลังไฟ 27W และสาย micro HDMI to HDMI แต่ไม่ใช่ชุด Raspberry Pi 500 Desktop Kit เพราะไม่มีเมาส์และคู่มือสำหรับผู้เริ่มต้น เริ่มกันที่คีย์บอร์ดพีซี ด้านล่างของกล่องมีข้อมูลสเปกและโลโก้ที่ระบุว่าเป็นคีย์บอร์ด Layout “UK ” ภายในกล่องมีเพียงคีย์บอร์ดพีซีเท่ […]
รีวิว : มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite (Intel Processor N100) – Part 3 : ทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04
เราได้ดูสเปค แกะกล่องและลองใช้งาน และทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 ของ มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite พร้อมหน่วยความจำ DDR4-3200 8GB, SATA SSD 256GB, พอร์ต HDMI กับ DisplayPort ให้อย่างละ 1 ช่อง, การเชื่อมต่อ Gigabit Ethernet, การเชื่อมต่อไร้สายก็มี WiFi 6 และ Bluetooth 5.3 และพอร์ต USB 3.2/2.0 Type-A จำนวน 6 พอร์ต ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 Linux โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, ทดสอบประสิทธิภาพ Benchmarks, การทดสอบประสิทธิภาพของที่เก็บข้อมูล (SSD และพอร์ต USB), ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย, การทดสอบ Stress test และอุณหภูมิ CPU, เสียงของพัดลม และการใช้พลังงานของมินิพีซี พร้อมทั้งจะทำการเปรียบเทียบกับมินิพีซี GEEKOM Mini Air12 ที่ใช้ซีพียูเหมือนกัน เราจะทำการติดต […]
รีวิว : มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite ที่ใช้ซีพียู Intel Processor N100 – Part 2 : ทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 Pro
หลังจากที่เราได้ดูสเปค แกะกล่องใช้งาน มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite ที่ใช้ซีพียู Intel Processor N100 โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือมีพอร์ต expansion header 9-pin ที่ภายนอกเพื่อการขยายเผื่อไว้ทำปุ่มเปิด/ปิดเครื่องเพิ่มเติมนั้น (นอกจากปุ่ม power ด้านหน้า) เป็นโซลูชันราคาประหยัดที่สามารถนำไปติดกับจอภาพเพื่อโฆษณา หรือใช้เป็นเครื่องให้บริการอัตโนมัติ (ตู้ Kiosk) ตามสเปคที่ GEEKOM ระบุมินิพีซีมาพร้อมหน่วยความจำ DDR4-3200 8GB, SATA SSD 256GB, พอร์ต HDMI กับ DisplayPort ให้อย่างละ 1 ช่อง, การเชื่อมต่อ Gigabit Ethernet, การเชื่อมต่อไร้สายก็มี WiFi 5 และ Bluetooth 5.1 และ และพอร์ต USB 3.2/2.0 Type-A จำนวน 6 พอร์ต ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบมินิพีซี บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 Pro โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, […]
รีวิว : มินิพีซี Maxtang T0-FP750 ที่ใช้ AMD Ryzen 7 8845HS – Part 3 : ทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04
หลังจากที่เราได้แกะกล่องและเปิดใช้งาน Part 1 และทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 (Part2) ของมินิพีซี Maxtang T0-FP750 ที่ใช้ AMD Ryzen 7 8845HS พร้อม RAM DDR5 32 GB, SSD M.2 512GB ที่มาพร้อมกับปฏิบัติการ Windows 11 Pro ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 Linux โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, ทดสอบประสิทธิภาพ Benchmarks, การทดสอบประสิทธิภาพของที่เก็บข้อมูล (SSD และพอร์ต USB), ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย, การทดสอบ Stress test และอุณหภูมิ CPU, เสียงของพัดลม และการใช้พลังงานของมินิพีซี พร้อมทั้งจะทำการเปรียบเทียบกับมินิพีซี Maxtang MTN-FP750 ใช้ซีพียู AMD Ryzen 7 7735HS ข้อมูลระบบบน Ubuntu 24.04 เมนู Settings About ใน Ubuntu 24.04.1 ยืนยันว่ามินิพีซี Maxtang T0-FP750 พร้อมซีพีย […]
รีวิว BeagleY-AI SBC พร้อมทดสอบประสิทธิภาพและทดลองใช้งานบน Debian
BeagleY-AI เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (single board computer : SBC) แบบ open-source ของ BeagleBoard.org โดยบอร์ด BeagleY-AI นี้ถูกออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยมีหน่วยประมวลผลหลักคือ ARM Coretex-A53 จำนวน 4 แกน ทำงานที่ความเร็ว 1.4 GHz นอกจากนั้นยังมี ARM Cortex-R5F ทำงานที่ความเร็ว 800MHz สำหรับการใช้งานทั่วไป รวมไปถึงการใช้งานกับ I/O แบบ low-lentency มี C7x DSP จำนวน 2 หน่วย พร้อมด้วย Multiply Accelertor (MMA) ที่ช่วยด้านการคำนวณปัญญาประดิษฐ์และเร่งความเร็วการคำนวณ Deel Learning โดย C7XDSP แต่ละหน่วยจะทำงานที่ความเร็ว 2 TOPs รวมสูงสุด 4 TOPS รวมทั้งยังมาพร้อมกับ BXS-4-64 ซึ่งเป็นหน่วยเร่งความเร็วกราฟิกส์ความเร็ว 50 GFlops สำหรับงานมัลติมีเดีย เช่น การเข้ารหัสและการถอดรหัสวิดีโอ สำหรับผู้ที่สนใ […]
รีวิว Radxa X4 Kit : บอร์ด SBC ที่ใช้ Intel N100 – ทดสอบประสิทธิภาพและ GPIO บน Ubuntu 24.04 (Part 2)
หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ Radxa X4 Kit เบื้องต้นไปแล้ว ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน Radxa X4 Kit บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับซิงเกิ้ลบอร์ดยอดนิยมอย่าง Raspberry Pi 5 โดยใช้การทดสอบตามหัวข้อดังนี้ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และหลังจากนั้นเรายังจะทดสอบการใช้งานขา GPIO จำนวน 40 ขาที่เชื่อมต่อกับ MCU RP2040 ที่ติดตั้งบนบอร์ดให้เห็นกันว่าถ้าต้องการจะใช้งานจะทำได้อย่างไร ข้อมูลระบบเบื้องต้น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 |
unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ cat /etc/lsb-release DISTRIB_ID=Ubuntu DISTRIB_RELEASE=24.04 DISTRIB_CODENAME=noble DISTRIB_DESCRIPTION="Ubuntu 24.04 LTS" unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ uname -a Linux radxa-x4 6.8.0-40-generic #40-Ubuntu SMP PREEMPT_DYNAMIC Fri Jul 5 10:34:03 UTC 2024 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ df -mh Filesystem Size Used Avail Use% Mounted on tmpfs 772M 2.3M 770M 1% /run /dev/nvme0n1p2 116G 12G 99G 11% / tmpfs 3.8G 4.0K 3.8G 1% /dev/shm tmpfs 5.0M 8.0K 5.0M 1% /run/lock efivarfs 192K 84K 104K 45% /sys/firmware/efi/efivars /dev/nvme0n1p1 1.1G 6.2M 1.1G 1% /boot/efi tmpfs 772M 2.6M 770M 1% /run/user/1000 |
โดยเราทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ลงไปบน SSD ขนาด 128GB และแรมขนาด 8GB จากนั้นเราทำการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้วย […]