CYOBot v2 แพลตฟอร์มหุ่นยนต์โมดูลาร์แบบโอเพนซอร์สที่ใช้ ESP32-S3 รองรับเซอร์โวได้สูงสุด 16 ตัว

cyobot modular robotics platform

Create Your Own Bot (CYOBot) v2 เป็นแพลตฟอร์มหุ่นยนต์โมดูลาร์แบบโอเพ่นซอร์สสำหรับนักเรียน, ครูผู้สอน, ผู้ที่สนใจทำกิจกรรมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และวิศวกรในอนาคต โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 และรองรับการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ได้สูงสุดถึง 16 ตัว เพื่อการควบคุมที่ซับซ้อน CYOBot v2 เป็นการพัฒนาต่อจากแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สี่ขาจากบริษัทเดียวกัน โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น การออกแบบโมดูลาร์, การอัปเกรดไปใช้ชิป ESP32-S3, ช่องมอเตอร์ที่มากขึ้น, และบล็อกขยายที่รองรับอุปกรณ์เสริมมากขึ้น นอกจากนี้ยังรองรับการรวมระบบ AI เช่น ChatGPT เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน CYOBot รองรับการตั้งค่า 3 รูปแบบผ่าน CYOBrain ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนแพลตฟอร์มหุ่นยนต์และควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ รวมถึงส่วนประกอบที่พิมพ์ 3D แยกต่างหาก รูปแบบ CYOBot Crawler คือหุ่ […]

Nova : บอร์ดพัฒนาแบบโอเพนซอร์ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2040 มาพร้อม RGB LED matrix 70 ดวง

Nova 7x10 RGB LED board

Nova ของ Vcc Labs เป็นบอร์ดพัฒนาแบบโอเพนซอร์สขนาดจิ๋วที่ใช้ Raspberry Pi RP2040 โดยมีพอร์ต USB-C, RGB LED matrix แบบโปรแกรมได้จำนวน 70 ดวง (7×10), และส่วนขยาย GPIO header 12 ขา 2 แถว เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในงานอุปกรณ์สวมใส่, หน้าจอขนาดเล็ก, งานศิลปะแบบโต้ตอบ, เกมสนุก ๆ และอื่น ๆ สเปคของ Nova: MCU – Raspberry Pi RP2040 ไมโครคอนโทรลเลอร์ Cortex-M0+ แบบ dual-core ความเร็วสูงสุด 133 MHz พร้อม SRAM 264KB ที่เก็บข้อมูล – QSPI flash 2MB จอแสดงผล – LED RGB WS2812 ขนาด 7×10 แต่ละดวงขนาดเพียง 1×1 มม. USB – พอร์ต USB Type-C สำหรับจ่ายไฟ, ข้อมูล และการเขียนโปรแกรม การขยาย – 2x 12-pin header พร้อม 20x GPIO, 2x SPI, 2x I2C, 2x UART, 4x ADC, Vin, 5V, 3.3V และ GND อื่นๆ – ปุ่ม Reset และ BOOT กสนจ่ายไฟ 5V ผ่านพอร์ต USB-C 7V […]

จอแสดงผลสีทรงกลมขนาด 1.28 นิ้วที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว, GPIO headers, เคสโลหะ

RP2350 Rounded LCD

Waveshare เปิดตัว RP2350-LCD-1.28 เป็นโมดูลจอแสดงผลสีทรงกลมขนาด 1.28 นิ้วที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมความละเอียด 240×240 พิกเซล และ IPS panel 65,000 สี บอร์ดนี้ยังมีตัวจัดการแบตเตอรี่ลิเธียมแบบชาร์จไฟได้ IMU 6 แกนพร้อม gyroscope 3 แกนและ accelerometer 3 แกน, GPIO pins หลายขาและคอนเนกเตอร์ USB Type-C สำหรับการเขียนโปรแกรมและการจ่ายไฟ นอกจากนี้ ยังรองรับการเชื่อมต่อ USB 1.1 แบบ host/device, เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ, และช่อง PWM จำนวน 24 ช่อง ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถกำหนดค่าได้อย่างยืดหยุ่นสำหรับการใช้งานขา I/O ที่หลากหลาย คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้โมดูลนี้เหมาะกับการใช้งานใน IoT, เทคโนโลยีสวมใส่, และแอปพลิเคชันระบบฝังตัว ทางบริษัทยังมีตัวเลือกเคสโลหะ CNC ซึ่งช่วยเพิ่มความทนทานและการระบายความร้อน เหมาะสำหรับการใช้งานแบบพกพ […]

FlexiPi : Raspberry Pi Pico clone ทำจากแผ่น PCB แบบยืดหยุ่นสามารถโค้งงอได้

Flexible Raspberry Pi Pico

FlexiPi เป็นบอร์ดที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 ที่ทำจากแผงวงจรแบบยืดหยุ่น (flexible PCB) สามารถโค้งงอได้ โดยมี Layout เหมือนกับ Raspberry Pi Pico แบบเดิม แต่เปลี่ยนพอร์ต micro USB เป็นพอร์ต USB-C แทน บอร์ดนี้พัฒนาต่อจาก Flexduino เป็นบอร์ด Arduino UNO clone ที่ทำจาก PCB แบบยืดหยุ่น สร้างโดย “EDISON SCIENCE CORNER”, FlexiPi ของ “TOP Gadgets” ที่มีขนาดเล็กกว่าอาจเหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่จำกัดหรือหรือกลมได้ สเปคของ FlexiPi: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+ @ 48 MHz (สามารถโอเวอร์คล็อกได้ถึง 133 MHz) พร้อม SRAM ขนาด 264KB ที่เก็บข้อมูล – หน่วยความจำแฟลช QSPI ขนาด 2MB USB – พอร์ต USB Type-C 1.1 จำนวน 1 พอร์ต ใช้สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม การขยาย 2x 20-pin header ระยะห่าง […]

DALI2 expansion module สำหรับบอร์ด ESP32-C6-Pico และ ESP32-S3-Pico ช่วยใช้งานในระบบไฟอัจฉริยะได้ง่ายขึ้น

DALI2 expansion module for ESP32-C6-Pico

Waveshare ได้เปิดตัวโมดูล Pico-DALI2 expansion module สำหรับบอร์ด ESP32-Pico series ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการสื่อสารผ่านโปรโตคอล DALI โมดูลนี้ใช้งานได้กับบอร์ดพัฒนา เช่น ESP32-C6-Pico และ ESP32-S3-Pico และมาพร้อมกับขั้วต่อแบบ screw terminal เพื่อให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ DALI ภายนอกได้ DALI (Digital Addressable Lighting Interface) เป็นโปรโตคอลมาตรฐาที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบแสงสว่างในระบบอัตโนมัติของอาคาร โปรโตคอล DALI2 เป็นรุ่นล่าสุดของโปรโตคอล DAL มีความสามารถที่ดีกว่า โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมได้แก่ รองรับการทำงานแบบ multi-master ระบบสามารถรองรับการทำงานของผู้ควบคุมหลายตัว และความสามารถในการจัดการพลังงานที่ดีขึ้น อุปกรณ์ DALI2 สามารถสื่อสารแบบสองทิศทาง คือสามารถสื่อสารได้ทั้งการส่งคำสั่งและรับข้อมูลสถานะกลับจากอุป […]

Kumquat – บอร์ดสมองกลฝังตัวที่ใช้ Allwinner V3s พร้อม CAN แบบแยกสัญญาณ, Ethernet, และ ESP32 สำหรับ WiFi และ Bluetooth

Kumquat Allwinner V3s development board

Kumquat เป็นบอร์ดสมองกลฝังตัว (Embedded System Board) ที่ใช้ Allwinner V3s ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม, ระบบอัตโนมัติในบ้าน, โครงการ IoT, หุ่นยนต์ และการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว, Allwinner V3s มาพร้อมกับซีพียู ARM Cortex-A7 cores และหน่วยความจำแรม DDR2 ขนาด 64MB พร้อมที่เก็บข้อมูลแบบ SPI flash ขนาด 8MB, มีตัวเลือกการเชื่อมต่อประกอบด้วย Ethernet, USB-C, CAN-FD แบบแยก สัญญาณ (isolated) และ WiFi/Bluetooth ผ่านโมดูล ESP32 นอกจากนี้ Kumquat ยังมาพร้อมกับขา IO ที่ตรวจจับอัตโนมัติได้ 8 ช่อง สำหรับแรงดันไฟฟ้า 12/24V และรีเลย์ 4 ตัว สำหรับควบคุมอุปกรณ์ภายนอก อีกทั้งยังมีวงจร RTC (Real-Time Clock) พร้อมแบตเตอรี่สำรอง, Kumquat ใช้ระบบปฏิบัติการ Buildroot Linux พร้อม Mainline Linux kernel และสามารถเขี […]

บอร์ด Wiznet W55RP20-EVB-Pico ที่ใช้ชิป W55RP20 SiP โดยรวมคอนโทรลเลอร์ Ethernet W5500 และ MCU RP2040

W55RP20-EVB-PICO evaluation board

Wiznet เปิดตัวบอร์ดพัฒนา W55RP20-EVB-Pico ซึ่งเป็นบอร์ดขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ชิป W55RP20 เป็นประเภท SiP (System-in-a-Package) โดยรวมไอซี 2 วงจรไว้ในแพคเกจเดียวกัน ได้แก่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และคอนโทรลเลอร์ W5500 Ethernet นอกจากนี้ยังมีชิปแฟลชขนาด 2MB สำหรับเก็บเฟิร์มแวร์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนา W5100S-EVB-Pico2 และ W5500-EVB-Pico2 ซึ่งทั้งสองบอร์ดใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 รุ่นใหม่และคอนโทรลเลอร์ Ethernet ภายนอก (W5500 หรือ W5100S) โดยที่ RP2350 มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น หน่วยความจำ One Time Programmable (OTP), การบู๊ตอย่างปลอดภัย (Secure Boot) และเทคโนโลยี Arm TrustZone ทำให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น ในทางกลับกัน W55RP20 ได้รวมคอน […]

Phyx LANA-TNY – บอร์ดพัฒนาที่ใช้ MCU RISC-V WCH CH32V203 สำหรับแอปพลิเคชันแบบฝังตัว

LANA-TNY CH32V203

LANA-TNY เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดที่สร้างโดย Phyx และใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203 RISC-V บอร์ดนี้ได้นำเสนอโซลูชันต้นทุนต่ำสำหรับการพัฒนาระบบสมองฝังตัวและมี USB bootloader ในตัว ซึ่งช่วยให้ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเมอร์ภายนอกเพื่อแฟลชเฟิร์มแวร์ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับช่องเชื่อมต่อ USB-C และการออกแบบที่เรียบง่าย โดยมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นสำหรับเริ่มต้นการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว Phyx LANA-TNY ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ CH32V203G6U6 ซึ่งเป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ขนาด 32 บิตจาก WCH Electronics สามารถทำงานที่ความเร็วสูงสุด 144MHz พพร้อมรองรับการคูณ/หาร 1 ไซเคิล บอร์ดนี้มีหน่วยความจำ SRAM ขนาด 10KB หน่วยความจำ Flash แบบ single-cycle 32KB และ Flash ภายนอกเพิ่มเติมอีก 224KB สำหรับจัดเก็บโปรแกรมหรือข้อมูล แม้ว่าหน่วยควา […]