OMGS3 ที่ใช้ ESP32-S3-PICO เป็นโมดูล/บอร์ด ESP32-S3 มีขนาดเล็กที่สุดในโลก พร้อมคุณสมบัติครบครัน

OMGS3 board

OMGS3 ของ Unexpected Maker ที่ใช้ ESP32-S3-PICO system-in-package (SiP) เป็นโมดูล/บอร์ด ESP32-S3 ที่มีฟีเจอร์ครบถ้วนและมีขนาดเล็ก ซึ่งโดยผู้ออกแบบอ้างว่าเป็นบอร์ดที่เล็กที่สุดในโลกในประเภทเดียวกัน โดยมีขนาดเพียง 25×10 มม. บอร์ดนี้จะมาแทนที่ Unexpected Maker NanoS3 รุ่นก่อน ที่ใช้ ESP32-S3FN8 SoC มีขนาด 28 x 11 มม. OMGS3 ที่ใช้ ESP32-S3-PICO SiP รวมเอา SoC ไร้สาย ESP32-S3 แบบ dual-core ที่รองรับ WiFi และ BLE, หน่วยความจำ QSPI flash ขนาด 8MB และ PSRAM QSPI ขนาด 2MB บนบอร์ดเองยังมีสายอากาศ 3D, ไฟ LED RGB, ไฟ LED สองดวงสำหรับพลังงานและการชาร์จ และมีการเชื่อมต่อ I/O ผ่านทางแผ่นบัดกรี 26 จุด สเปคของ Unexpected Maker OMGS3: SiP – Espressif ESP32-S3-PICO SoC ESP32-S3 dual-core Tensilica LX7 สูงสุด 240 MHz พร้อม SR […]

Cytron IRIV IO Controller – อุปกรณ์ตัวควบคุมอินพุต/เอาต์พุตสำหรับงานอุตสาหกรรม ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350

Raspberry Pi RP2350 industrial controller

Cytron IRIV IO Controller เป็นอุปกรณ์ตัวควบคุมสำหรับ “Industrial Revolution 4.0” (หรือ Industry 4.0) ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งมาพร้อมกับพอร์ต Ethernet ที่เชื่อมต่อผ่านชิปเซ็ต W5500 และมีอินเทอร์เฟสแบบแยกหลายประเภท เช่น อินพุตดิจิทัล (DI) และเอาต์พุตดิจิทัล (DO) ที่รองรับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดถึง 50V, อินพุตแอนะล็อก 2 ช่อง, รวมถึงอินเทอร์เฟสแบบ Serial RS232 และ RS485 ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่าน Terminal blocks เมื่อปีที่แล้วบริษัทได้เปิดตัว Cytron IRIV PiControl อุปกรณ์ตัวควบคุมสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้โมดูล Raspberry Pi CM4 และ IRIV IO Controller เป็นโซลูชันที่มีราคาถูกกว่ามาก โดยมีฟีเจอร์เพียงบางส่วนและการออกแบบที่ดูคล้ายกัน สเปคของ IRIV IO Controller: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP […]

บอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 กับโมดูล ESP32-C6 WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE

Raspberry Pi RP2350 board ESP32 C6 WiFi module

คุณไม่ต้องรอ Raspberry Pi Pico 2 W เพื่อให้ได้บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มี WiFi และ Bluetooth เพราะมีบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่รวมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350A กับโมดูล ESP32-C6 ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 2.4 GHz WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE บอร์ดนี้ใช้ Adafruit Feather form factor โดยมีรู (Through holes) 28-pin สำหรับ I/O ทำให้สามารถเข้ากันได้กับบอร์ดเสริม FeatherWings มาพร้อมพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และมีคอนเนกเตอร์ JST พร้อมวงจรชาร์จสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ LiPo สเปคของบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5: ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Arm Cortex-M33 processor @ 150MHz Dual-core 32-bit RISC-V processor @ 150MHz สามารถใช้งานได้เพียง 2 […]

โมดูล “RP2350 Stamp” ของ Solder Party ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350A หรือ RP2350B

RP2350 Stamp RP2350 Stamp XL

โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party เป็นรุ่นอัปเดตโมดูล RP2040 Stamp ขนาดจิ๋วของบริษัท ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350A  และยังเปิดตัวโมดูล RP2350 Stamp XL ที่ใช้ RP2350B ที่มีขา GPIO มากขึ้น พร้อมทั้งเปิดตัวบอร์ดฐาน “RP2xxx Stamp Carrier XL” ที่สามารถรองรับโมดูลทั้งสองตัวอีกด้วย โมดูล RP2350 Stamp และ RP2350 Stamp XL RP2350 Stamp ออกแบบ Layout เหมือนกันกับ RP2040 Stamp แต่ใช้ Cortex-M33 cores ที่ทรงพลังกว่า, มีความจุหน่วยความจำมากขึ้น และคุณลักษณะด้านความปลอดภัย ในขณะที่รุ่น XL เพิ่มขา GPIO มากขึ้น, เพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับชิป PSRAM รวมถึงตัวเชื่อมต่อ UART และ SWD ทั้งสองรุ่นมาพร้อมกับ SPI flash ขนาด 16MB สำหรับการจัดเก็บข้อมูล สเปคของโมดูล RP2350 Stamp : ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU – โปรเซส […]

Cytron MOTION 2350 Pro – บอร์ด Raspberry Pi RP2350 สำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์

Cytron MOTION 2350 PRO

ตามที่กล่าวไว้ในบทความ Raspberry Pi Pico 2 มีบริษัทอื่นที่ได้พัฒนาบอร์ดและใช้ชิป RP2350 อีกหลายบริษัทและหนึ่งในนั้นคือบอร์ด MOTION 2350 Pro จาก Cytron ที่ออกแบบมาสำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์ บอร์ดนี้มาพร้อมกับ DC motor driver สำหรับขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 4 ตัวเป็นแบบ brushed โดยมีช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 3.6V ถึง 16V นอกจากนี้ยังมีพอร์ตเซอร์โว 5V จำนวน 8 พอร์ต, พอร์ต GPIO จำนวน 8 พอร์ต และพอร์ต Maker จำนวน 3 พอร์ตสำหรับโมดูลเซนเซอร์หรือ Actuator โดยขา I/O แต่ละขาจะจับคู่กับ LED ของตัวเอง ซึ่งทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับตลาดการศึกษาและยังช่วยในการดีบักได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 1.1 host สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น RF dongle สำหรับจอยสติ๊กหรือคีย์บอร์ด สเปคของ Cytron MOTION 2350 Pro: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – […]

บอร์ด ESP32-CAN-X2 ของ Autosport Labs ที่มี CAN bus transceivers สองตัวและมีพาวเวอร์ซัพพลายระดับยานยนต์

ESP32-CAN-X2

Autosport Labs เป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับมอเตอร์สปอร์ต ได้เปิดตัวบอร์ด ESP32-CAN-X2 ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3, มีอินเทอร์เฟส CAN bus สองตัว, และพาวเวอร์ซัพพลายเกรดระดับยานยนต์ที่มีช่วงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 6V ถึง 20V บอร์ด ESP32 ที่มี CAN Bus มีมานานหลายปีแล้ว โดยเริ่มจากบอร์ด Olimex ESP32-EVB และตามมาด้วยบอร์ดต่างๆ เช่นบอร์ด CAN32, CanLite ESP32 หรือ RejsaCAN-ESP32-S3, ESP32-CAN-X2 เพิ่มตัวเลือกอื่นด้วย ESP32-S3 และอินเทอร์เฟส CAN Bus สองตัว สเปคของบอร์ด ESP32-CAN-X2: โมดูลไร้สาย – ESP32-S3-WROOM-1-N8R8 MCU – ESP32-S3 dual-core Tensilica LX7 microcontroller สูงสุด 240 MHz พร้อม ROM 384KB, SRAM 512KB, SRAM 16 KB ใน RTC หน่วยความจำ – PSRAM 8MB สตอเรส – fl […]

รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic

Cytron Maker Uno RP2040 review CircuitPython

หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้  Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และกา […]

บอร์ดพัฒนา RPGA Feather ได้รวมชิป RP2040 กับ Lattice iCE40 FPGA สำหรับโครงการ Sensor Fusion

rpga feather board

บอร์ด RPGA Feather ของ Oak Development Technologies ได้รวมไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 เข้ากับ iCE5LP4K FPGA ของ Lattice Semiconductor ลงในบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather iCE5LP4K FPGA เป็นชิปที่ใช้พลังงานต่ำ (ultra-low-power) ในตระกูลผลิตภัณฑ์ iCE40 Ultra ที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันบนมือถือ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพา ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 ทำให้การเขียนโปรแกรมด้วย CircuitPython บน FPGA ง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ของ Oak Development Technologies ที่ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather เช่น บอร์ด IcyBlue (ที่ใช้ก iCE5LP4K FPGA) และ Lattice FeatherWing สเปคของ RPGA Feather: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์  Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+  @ 133 […]