รีวิว: ชุดหุ่นยนต์ BocoBot ขับเคลื่อนด้วยบอร์ดขยาย Robo Pico กับ Raspberry Pi Pico W

Robo Pico Robot Car

ชุดหุ่นยนต์  BocoBot เป็นชุดหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยบอร์ดขยาย Robo Pico กับ Raspberry Pi Pico W มีวิดีโอในการติดตั้งและโค้ดตัวอย่าง 5 ภารกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ไปทิศทางต่างๆ การเคลื่อนที่หลบหลีกสิ่งกีดขวางด้วยเซนเซอร์ Ultrasonic การเคลื่อนที่แบบตรวจจับแสง การเดินตามเส้น และการเคลื่อนที่ด้วย Web Browse ผ่านการเชื่อมต่อแบบ WiFi  และยังสามารถเพิ่มเติมโมดูลต่างๆเข้าไปได้อีกและสร้างสรรค์ผลงานได้ตามจินตนาการอีกด้วย อุปกรณ์ในชุด BocoBot บอร์ดขยาย Robo Pico จำนวน 1 ชิ้น แผงเซนเซอร์ Maker Line จำนวน 1 ชิ้น แผ่นฐานพลาสติก จำนวน 2 แผ่น TT มอเตอร์ 6 โวลต์ จำนวน 2 ชิ้น ล้อหุ่นยนต์ จำนวน 2 ล้อ ตัวยึดมอเตอร์ จำนวน 2 ชิ้น เสารองพลาสติก จำนวน 4 ชิ้น ล้อประคอง จำนวน 1 ชิ้น เซนเซอร์อ่านค่าแสง จำนวน 1 ชิ้น เ […]

บอร์ด Bee Data Logger ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อม RTC, ช่องเสียบ microSD card และคอนเนกเตอร์ Qwiic 2 ช่องสำหรับเซนเซอร์

ESP32 Data Logger

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาบริษัท SparkFun ได้เปิดตัว “Datalogger IoT – 9DoF” แพลตฟอร์มที่ไม่ต้องเขียนโค้ด ที่ใช้ ESP32 พร้อมเซนเซอร์ในตัว, microSD card และคอนเนกเตอร์ Qwiic  2 ช่องเพื่อเพิ่มเซนเซอร์เพื่อดำเนินการบันทึกข้อมูลโดยใช้การเขียนโค้ดที่น้อยที่สุดหรือไม่ต้องเขียนโค้ดเลย บริษัท Smart Bee Designs ได้ลดขนาดการออกแบบลง โดยเอาเซนเซอร์ที่มีอยู่ในโปรเซสเซอร์ออก และบอร์ด Bee data logger ใช้ ESP32-S3 ที่มีคุณสมบัติส่วนใหญ่ที่เหมือนกัน รวมถึง DS3231 RTC ในตัวและแบตเตอรี่สำรองสำหรับบอกเวลา และความสามารถทำคำสั่งแบบเวกเตอร์ใน ESP32-S3 สำหรับแอปพลิเคชัน machine learning สเปค Bee data logger: Wireless module – โมดูล Espressif Systems ESP32-S3-MINI-1 CPU –  ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 dual-core Tensilica LX7 @ สูงถึง 240 MHz […]

ANAVI เปิดตัวคีย์บอร์ด mechanical : Macro Pad 12 & Arrows สามารถโปรแกรมได้ด้วย CircuitPython

ANAVI Arrows ANAVI Macro Pad 12

ANAVI Technology เปิดตัวคีย์บอร์ดแบบ mechanical ที่เป็น open-source Hardware เพิ่ม 2 อันที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 พร้อมกับจอแสดงผล OLED และสามารถโปรแกรมได้ด้วย CircuitPython: ANAVI Macro Pad 12 มี 12 ปุ่ม และ ANAVI Arrows มี 4 ปุ่มและเอ็นโค้ดเดอร์แบบหมุน (Rotatory encoder) คีย์บอร์ด mechanical รุ่นใหม่เป็นไปตามอุปกรณ์อินพุต ANAVI Macro Pad 10 & Knobs ที่ใช้โมดูล Seeed Studio XIAO RP2040 MCU ที่รันเฟิร์มแวร์ KMK เขียนด้วย CircuitPython แต่มี form factors และคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน สเปค ANAVI Macro Pad 12: MCU module – Seeed Studio XIAO RP2040 พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+ @ สูงสุด 133 Mhz พร้อม SRAM 264KB, SPI flash 2MB, พอร์ต USB Type-C ปุ่ม – 12x Gateron […]

บอร์ด Challenger RP2040 UWB มีโมดูล DWM3000 สำหรับระบุตำแหน่งภายในอาคาร, รับส่งข้อมูลสูงสุด 10 Mbps

Challenger RP2040 UWB

บอร์ด Challenger RP2040 UWB มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 กับโมดูล DWM300 UWB (Ultra-Wide Band) ใน form factor ของ Adafruit Feather และถูกออกแบบมาสำหรับการระบุตำแหน่งภายในอาคาร (Indoor Positioning) และวัดระยะห่างด้วยความแม่นยำสูงสุดถึง 10 เซนติเมตร และสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 10 Mbps บอร์ด Challenger RP2040 ตัวแรกของบริษัท iLabs (Invector Labs) เปิดตัวในปี 2021 พร้อมกับชิป WiFi ESP8285 ตามมาด้วย Challenger RP2040 LoRa ที่มีโมดูล RFM95W LoRa และบริษัทฯ ยังมีรุ่นอื่นๆที่รองรับ NFC และการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ (Cellular) อีกด้วย บริษัทสวีเดนได้เปิดตัวบอร์ด Challenger รุ่นล่าสุดที่มี Challenger RP2040 UWB โดยใช้เทคโนโลยี UWB  ในการพัฒนา สเปคเบื้องต้นของบอร์ด Challenger RP2040 LoRa: M […]

รีวิว: Pico:ed V2 บอร์ดสมองกลเพื่อการเรียนรู้ด้วย Raspberry Pi RP2040

Pico ed V2 Dot Matrix Screen

Pico:ed V2 เป็นบอร์ดที่พัฒนาโดยบริษัท ELECFREAKS ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi Pico RP2040 ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีปุ่ม Bootsel เพื่อให้ผู้ใช้งานสะดวกในการอัพเดทของเฟิร์มแวร์ ได้ง่ายขึ้น มีปุ่มกดอินพุต แบบกดติดปล่อยดับที่สามารถเขียนโปรแกรมรับค่าได้ 2 ปุ่ม มีการแสดงผล LED แบบ Dot Matrix 7×17 ติดตั้งอยู่บนตัวบอร์ดสำหรับการแสดงกราฟฟิกและข้อความ และมีลำโพงแบบพาสซีพบัซเซอร์เพื่อเล่นเสียงเพลงได้หลากหลาย บอร์ด Pico:ed V2 สามารถเขียนโปรแกรมด้วย CircuitPython หรือ C++ ได้  นอกจากนี้มีการออกแบบรูปทรงที่โค้งมนมากขึ้นเพื่มความน่ารัก และมีการออกแบบขอบพินเป็นคลื่นเพื่อให้ผู้ใช้งานไม่เจ็บมือขณะใช้งาน สีสันสดใส ทำให้มีความสวยงามมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่ใช้กับ BBC micro:b […]

Adafruit Feather RP2040 พร้อม RFM95 LoRa Radio สำหรับการสื่อสาร IoT แบบ Long Range ใช้พลังงานต่ำ

Adafruit Feather RP2040 RFM95 LoRa Radio

Adafruit ได้ออกแบบ บอร์ด Feather RP2040 รุ่นใหม่ชื่อ “Adafruit Feather RP2040 พร้อม RFM95 LoRa Radio” ใช้โมดูล RFM95 “RadioFruit” ความถี่ 900 MHz และเป็นรุ่นที่ต่อจาก “Adafruit Feather RP2040 พร้อม DVI Output Port” ที่เราเขียนบทความไปแล้ว บอร์ดมาพร้อมกับหน่วยความจำแบบ QSPI Flash ขนาด 8 MB รองรับพลังงานแบตเตอรี่ USB-C หรือ LiPo, ตาม form factor ของ Adafruit Feather และโมดูล RFM95 ที่มีอยู่บนบอร์ด รองรับความถี่ 433 MHz, 868MHz และ 915MHz ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้จาก firmware เพื่อรองรับการใช้งานครอบคลุมทั่วโลก สเปค Adafruit Feather RP2040 พร้อม RFM95 LoRa Radio : MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Arm Cortex M0+ @ 133 MHz พร้อม RAM 264 KB ที่เก็บข้อมูล – หน่วยความจำแบบ QSPI Flash […]

รีวิว: บอร์ดขยาย Wukong 2040 สำหรับ Raspberry Pi Pico

Wukong40 Raspberry Pi Pico Robot

บอร์ดขยาย Wukong 2040 เป็นบอร์ดที่สามารถขยายอุปกรณ์ต่อพ่วง สำหรับ Raspberry Pi Pico รองรับการเชื่อมต่อสำหรับผู้สร้างโปรเจคหรือโครงงานในการขยายอินพุต เอาต์พุต ไม่ว่าจะเป็น ลำโพงแบบเปียโซ, ปุ่มกดแบบกดติดปล่อยดับ 2 ปุ่ม ปุ่มA และ ปุ่มB  มีไฟแสดงผลแบบ RGB มีพอร์ตการเชื่อมต่อมอเตอร์กระแสตรง 4 ช่อง ใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยถ่าน 18650 3.7V เพียง 1 ก้อน มี Chip การประมวลผลการจัดการด้านพลังงานในตัว แสดงสถานะพลังงานที่จะหมด อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องมากถึง 60 นาทีในการชาร์จ 1 ครั้ง และสามารถชาร์จถ่านได้จากช่อง USB Charger 5V บนบอร์ดได้อีกด้วย ตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างของบอร์ดขยาย Wukong 2040 สำหรับ Raspberry Pi Pico คุณสมบัติด้านเทคนิคและขนาดของบอร์ดขยาย Wukong 2040 สำหรับ Raspberry Pi Pico บอร์ดขยาย Wukong 2040 สามารถเชื่ […]

บอร์ด Adafruit Metro M7 ใช้ MCU 500 MHz และมีขนาดเท่า Arduino UNO

Adafruit Metro M7 AirLift WiFi module

Adafruit Metro M7 เป็นบอร์ดพัฒนาที่มีขนาดและรูปทรง (form factor) แบบ Arduino UNO และใช้ ชิป NXP i.MX RT1011 Cortex-M7 crossover MCU ความเร็ว 500 MHz เป็นตัวประมวลผลหลัก และมีโมดูล WiFi รุ่น AirLift ที่ใช้ ESP32 เพื่อเชื่อมต่อไร้สาย บอร์ดนี้มาพร้อมกับหน่วยความจำแบบ QSPI ขนาด 4MB, ไฟ LED และปุ่มบางปุ่ม, ปุ่มสำหรับใช้งาน มีคอนเนกเตอร์ Qwiic เพื่อเชื่อมต่อเพิ่มเติมนอกเหนือจาก Arduino Shields และมีคอนเนกเตอร์ SWD สำหรับการดีบัก, บอร์ดใช้อินพุต 6V ถึง 12V DC ผ่านผ่านทาง power barrel jack แต่ยังสามารถใช้พลังงานผ่านพอร์ต USB Type-C ได้ด้วย สเปคของ Adafruit Metro M7: SoC – ชิปประมวลผล Crossover Microcontroller จาก NXP iMX RT1011 ที่มี Arm Cortex-M7 ความเร็ว 500 MHz พร้อม SRAM/TCM ขนาด 128KB ที่เก็บข้อมูล – 4MB QSPI XIP […]